แก้ไขการพูดของคุณได้แล้ว MUSLIMTHAIPOST

 

แก้ไขการพูดของคุณได้แล้ว


1,263 ผู้ชม


แก้ไขการพูดของคุณได้แล้ว




ถ้าอยากจะเป็นนักพูด คุณต้องจำไว้ว่า พูด “อย่างไร” นั้นสำคัญพอ ๆ กับพูด “อะไร”ถึงแม้คุณจะมีคำพูดที่แปลมคมปานใดมันก็ไม่มีค่าหากผู้ฟังไม่เข้าใจหรือไม่สนใจเวลาที่คุณพูด

หากคุณมีข้อด้อยเกี่ยวกับการพูด เป็นต้นว่า เป็นคนลิ้นคับปาก หรือพูดติดอ่าง ลองนึกดูว่าคุณมีวิธีแก้อย่างไรมีแต่คนประเภทที่ในหัวมีแต่เลขศูนย์เท่านั้นที่หยิบเอาปมด้อยของคุณมาเป็นเรื่องขัน คนประเภทนี้มีอยู่ไม่น้อยเสียด้วยสิและที่สำคัญปมด้วยในการพูดจะทำให้คุณระวังตัวแจมากขึ้นกระทั่งไปสะสมกับปัญหาที่คุณมีอยู่แล้วจนพาลให้พูดไม่ออกเอาทีเดียว

ถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการพูดอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ขอให้ใครสักคนพาไปพบผู้เชี่ยวชาญที่สามารถช่วยคุณได้ปัจจุบันมีโรงพยาบาลและคลินิกที่รับรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับการพูดอยู่ไม่น้อย ถ้าคุณยังไม่ทราบว่ามีที่ใดบ้างหรือมีเงินไม่พอรับการรักษาลองไปปรึกษาบรรณารักษ์ห้องสมุดดู เขาอาจแนะนำสถานที่หรือหนังสือ ดี ๆ ที่คุณจะใช้รักษาตนเองได้

มีนิสัยในการพูดอีกหลาย ๆ อย่างที่ไม่ถึงกับว่าเป็นความผิดปกติ แต่ก็เป็นจุดอ่อนในการสร้างความประทับใจหรือเสนอความคิดแก่คนฟัง ต่อไปนี้คือปัญหาที่พบบ่อยที่สุด
พูดอู้อี้

ตามปกติคนที่พูดอู้อี้มักไม่รู้ตัวเขาคิดว่ากำลังพูดตามธรรมชาติและโชคร้ายที่ว่านั่นเป็นการพูดตามธรรมชาติของเขาจริงๆเสียด้วยนอกจากนี้ยังไม่อีกไม่น้อยที่ชอบพูดรวบคำสั้นๆควบกล้ำไม่ชัดเจนซึ่งสร้างความลำบากให้ผู้ฟัง หรืออาจทำให้เข้าใจความหมายผิดไปพยายามแก้ไขวิธีการพูดเสียใหม่แต่วันนี้

ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าริมฝีปากจะทำงานได้ดีเพียงไร ครูฝึกพูดแนะว่า ให้ไปยืนหน้ากระจกและทักตัวเองว่า “สวัสดี คนสวย(หล่อ) คนน่ารักที่สุดในโลก”

คุณจะเห็นว่าริมฝีปากของคุณเผยอขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างน้อยครึ่งนิ้ว จนเห็นช่องว่าระหว่างฟันบนกับฟันล่าง ถ้ายังไม่เห็น ฝึกใหม่ เพราะคุณอาจกำลังพูดผ่านจมูก แทนที่จะเป็นริมฝีกปาก

ครูฝึกพูดบางคนใช้วิธีให้นักเรียนของเขาอ่านหนังสือดัง ๆ 15 นาทีต่อวัน โดยมีจุกไม้ก๊อกขนาด 1 นิ้วคาบอยู่ วิธีนี้จะบังคับให้นักเรียนต้องอ้าปากกว้าง ๆ เพื่อให้ทุกพยางค์เปล่งออกมาได้อย่างชัดเจน คุณอาจไม่จำเป็นต้องฝึกวิธีนี้ทุกวัน แต่ทดลองดูหลายครั้ง จะรู้ว่าเสียงที่ออกมาเป็นอย่างไร จากนั้นคิดเสียว่าจุกก๊อกยังอยู่ในปากคุณทุกครั้งเวลาพูด

ถ้าคุณคิดว่าการพูดช้า ๆ ชัด ๆ ทีละคำเป็นเรื่องตลกแล้วละก็ ขอให้เปิดวิทยุหรือโทรทัศน์ แล้วฟังโฆษกอาชีพพูดว่าเป็นอย่างไรบาง – ตลก หรือว่าไพเราะ ระรื่นหู ชวนให้ติดตามกันแน่

พูดอุบอิบ

ถ้าคุณเคยคุยกับคนที่พูดอุบอิบเป็นนิจ คุณย่อมรู้ว่ามันเหนื่อยแค่ไหนในการพยายามทำความเข้าใจสิ่งที่เขาพูด หรือการต้องคอยพูดว่า “อะไรนะ” หรือ “ขอโทษเถอะ” ทุกครั้ง หนักขึ้นคุณก็จะเอ่ยขอตัวและหันไปคุยกับคนอื่นแทน

ถ้ามีคนที่เอาแต่พูดว่า “อะไรนะ” หรือ “ขอโทษ” และผละจากคุณไปกลางคัน รู้ไว้เถอะว่าคุณพูดอึบอิบจนเขา คร้าน จะฟังต่อ ก้าวแรกในการแก้นิสัยนี้ก็คือ หัดนั่งหรือยืนตรง ยืดไหล่ เชิดหน้า วางน้ำหนักลงบนเท้าทั้งสองข้าง ปล่อยขากรรไกรและลำคอตามสบาย สูดหายใจลึก ๆ ให้อากาศเข้ากะบังลมเต็มที่เหมือนกับเวลาที่คุณเป่าอากาศเข้าไปเต็มลูกโป่ง

กะบังลมเป็นอวัยวะที่อยู่กลางลำตัว ต่ำจากซี่โครงลงมาเล็กน้อย และเหนือสะดือขึ้นไป 2-3 นิ้ว วางมือลงที่กะบังลม คุณจะรู้สึกว่ามันยุบหนอ พองหนอตามจังหวะการหายใจ

เวลาที่พูดตามปกติ ลมที่ผ่านไปยังเส้นเสียงมาจากกะบังลมนี่เอง ลองวางมือไว้แล้วสูดลมหายใจลึก ๆ พูดอะไรสักคำสองคำ สังเกตว่าเสียงของคุณมีพลังขึ้นมากน้อยเพียงไร

ฝึกตัวเองให้คุณเหมือนขณะที่พูดเช่นนี้ทุกครั้ง เสียงของคุณจะดัง ฟังได้ชัดเจน ไม่อู้อี้อุบอิบเหมือนเก่า

เสียงที่ดังชัดเจนนี้จะทำให้ฟังน่าเชื่อถือ และจูงใจให้ฟังได้นาน ๆและเมื่อใดก็ตามที่คุณเห็นว่าผู้ฟังฟังคุณด้วยท่าทีตั้งใจจดจ่อแล้วคุณก็จะยิ่งมีกำลังใจในการพูดคุยกับเขามากขึ้น

หลบตา

ดวงตามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปาก ที่จะทำให้คุณกลายเป็นนักพูดชั้นยอด การสบตากับผู้ฟังจะช่วยให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าคุณสนใจและเห็นเขามีความสำคัญ นอกจากนี้ยังช่วยให้ขัน โกรธ หรือเบื่อ ซึ่งนั่นเป็นกุญแจสำคัญที่จะบอกคุณว่า ควร พูดอะไรต่อไป

ถ้าคุณมีนิสัยไม่ชอบสบตาคน คุณอาจรู้สึกอึดอัดตอนแรก จงเริ่มฝึกด้วยการสบตากับคนที่มีแววเป็นมิตรก่อนเพียงแวบหนึ่ง ไม่ช้าคุณจะรู้สึกดีขึ้น จากนั้นก็ยืดเวลาออกไป คุณจะสบายใจเมื่อพบว่า ไม่ยากเลย ที่จะเสนอความคิดใด ๆ แล้วเขาก็รับฟังคุณด้วยดี เหตุผลน่ะหรือ ก็ทันทีที่เอาชนะความอึดอัดใจในตอนต้นได้แล้ว คุณจะเห็นอาการตอบสนองที่ดีขึ้นทันตาเห็นจากอีกฝ่ายน่ะสิ

พูดเร็ว

ความกังวลอาจทำให้คุณพูดเร็วขึ้น และถ้าคุณเป็นคนที่พูดเร็วอยู่แล้ว เมื่อคุณตึงเครียด วิธีพูดของคุณอาจเหมือนกับเทปที่เล่นผิดสปีดไปเลยก็ได้

หัดพูดด้วยอัตราเร็วปกติและบังคับให้ช้าลงด้วยด้วยถ้าเป็นการอ่านหรือพูดต่อหน้ากลุ่มคน

อัตราเร็วปกติคือเท่าไร ไม่มีการปิดประกาศให้ทราบกันทั่วไปเหมือนกำจำกัดความเร็วบนทางหลวง แต่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า 250 คำต่อนาทีถือว่าเร็วสุดขีด และ 100 คำต่อนาทีถือว่าช้าสุดขั้ว อัตราที่ยอมรับกาน อยู่ระหว่าง 120 – 160 คำต่อนาที

ถ้าคุณอย่างรู้ว่าอัตราของคุณเป็นเท่าไร ก็ให้อ่านหนังสือดัง ๆ และใช้นาฬิกาจับเวลาดู

เมื่อพยายามพูดให้ช้าลง เป็นไปได้ว่าคุณจะติด เอ้อ – อ้า มากกว่าที่จะลดความเร็ว คุณลองเว้นช่วงหายใจยาว ๆ ระหว่างคำและระหว่างประโยค ฝึกอ่านออกเสียงดัง ๆ เมื่อคุณเห็นคำหรือวลีไหนที่อยู่ด้วยกันก็ต้องอ่านให้ติดกัน เว้นระยะเพียงนิดเมื่อจบประโยค หรือถ้าจะให้ยาวขึ้นก็จนกว่าจะจบย่อหน้า จงอ่านดัง ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจังหวะการอ่านของคุณจะสม่ำเสมอและจับเวลาไว้จนกว่าอัตราเร็วของคุณจะเท่าอัตราปกติ

การอ่านดัง ๆ เป็นวิธีบำบัดอาการพูดเร็วที่ดีที่สุด เว้นระยะ และสูดลมหายใจเมื่อจบวลีหรือเห็นเครื่องหมายวรรคตอน สูดหายใจยาวอีกนิดเมื่อจบประโยค และยาวขึ้นไปอีกเมื่อจบย่อหน้าทุกย่อหน้า ฝึกตัวเองให้รักษาจังหวะดังนี้ให้ได้ในยามพูดคุย ให้แน่ใจว่าคุณสูดหายใจเข้าและผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ เมื่อหยุดพักหายใจ วิธีนี้จะช่วยให้คุณพูดช้าลง ที่สำคัญจะช่วยลดความวิตกของคุณลงได้ด้วย 

 

จากหนังสือ เทคนิดพูดจา มารยาทสังคม
อลิซ เฟลมิง เขียน
วัสสา แปลเรียบเรียง

เมื่อกำลังวิตกเกี่ยวกับการพูด คนเรามักจะพูดด้วยน้ำเสียงเบา ๆ อุบอิบซึ่งเป็นการยากที่อีกฝ่ายจะเข้าใจ


อัพเดทล่าสุด