https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
"เบื่อ... เซ็ง" มะเร็งร้ายของการทำงาน หากเกิดขึ้นกับคุณ.. จะทำอย่างไรดี ? MUSLIMTHAIPOST

 

"เบื่อ... เซ็ง" มะเร็งร้ายของการทำงาน หากเกิดขึ้นกับคุณ.. จะทำอย่างไรดี ?


815 ผู้ชม


"เบื่อ... เซ็ง" มะเร็งร้ายของการทำงาน หากเกิดขึ้นกับคุณ.. จะทำอย่างไรดี ?




 "เบื่อ... เซ็ง"
มะเร็งร้ายของการทำงาน
หากเกิดขึ้นกับคุณ.. จะทำอย่างไรดี ?

"เมื่อคุณเจอความเซ็งและเบื่อในการทำงาน
คุณต้องสำรวจตัวเองก่อน แล้วสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง
เรียนรู้ ข้อผิดพลาดในการปรับตัวสร้างจุดมุ่งหมายในการทำงาน
หาวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม"

    เคยไหมครับอาการของคำว่า "เซ็ง ๆ"  หรือ "เบื่อ ๆ" ในช่วงเวลาของการทำงาน ซึ่งสาเหตุของความเบื่อหน่ายในการทำงานมันเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ   บ้างก็เกิดจากเจ้านายของคุณที่มอบหมายงานให้ทำมันทั้งหนักและยาก  บ้างก็เกิดจากเพื่อนร่วมงานที่ไม่กินเส้นกันมา หรือเกิดขึ้นกับตัวคุณเอง ประเภททะเลาะกับที่บ้านก็พาลมาลงที่ออฟฟิศหมด ฯลฯ   นั่นจึงทำให้การทำงานของคุณไม่มีความสุขนัก แต่ที่รุนแรงเข้าขั้นโคม่า ประเภทเมื่อมาถึงออฟฟิศ เห็นแค่ประตูออฟฟิศก็เบื่อแล้ว  และช่วงการทำงานของคุณ คุณก็นำเอาเรื่องอะไรต่าง ๆ มาคิดและคอยบั่นทอนกำลังในการทำงานของคุณ นี่เป็นปัญหาใหญ่ที่คุณจะต้องรีบแก้ไข หลาย ๆ คนตัดปัญหาด้วยการลาออกไปเสียยังงั้น..ไม่ใช่เป็นทางออกที่ดีกับใครหลายคน แต่สำหรับผมแล้วผมมองว่าเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ใช่แก้ปัญหา สักวันหนึ่งเมื่อคุณเจอปัญหานี้อีกครั้งแล้วคุณจะทำอย่างไรครับ???
    วิธีการแก้ปัญหา วันนี้ผมมีข้อแนะนำมาเป็นแนวทางให้คุณที่กำลังเบื่อ ๆ เซ็ง ๆ กับการทำงาน ลองเอาไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้กับงานของคุณ มันจะทำให้การทำงานของคุณไม่เซ็งหรือเบื่ออีกต่อไป

    1.คุณต้องสำรวจตัวคุณเองก่อน สำหรับเรื่องที่มักจะเจอบ่อยที่สุดคือเรื่องของการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น เช่น คุณมองเห็นเพื่อนร่วมงานของคุณวัน ๆ ไม่ได้ทำอะไรเลย ก็ได้แต่สิ่งดี ๆ  ส่วนตัวคุณเองกลับทำงานงก ๆ อย่างหนัก กลับไม่มีผลงานปรากฏ  ยิ่งหากคุณคิดต่อไปก็ยิ่งทำให้คุณไม่หายจากอาการเซ็งแน่ ๆ ลองหยุดคิด เลิกเล่นกับความคิดในแง่ร้าย ๆ สักที วิธีที่ดีคือการไม่สนใจ มุ่งมั่นทำงานของคุณให้เต็มที่ เหนื่อยนักก็พักบ้าง ไม่ต้องกลัวหรอกครับกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของคุณและเขา หากคุณเป็นคนขยันเจ้านายก็จะเห็นคุณดีกว่าคนรอบข้างคุณอยู่แล้วละครับ... (ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้างานในการคิดเถอะครับ)

    2.
สร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง โดยการมองตัวเองอย่างมีคุณค่า ซึ่งจะทำให้คุณสนุกและอยากทำงานมากขึ้น  การที่คุณปลื้มคนอื่น ๆ ..แต่ไม่เคยเลยที่จะรู้จักปลื้มตนเอง  คุณจะกลายเป็นคนทุกข์ใจไปตลอด  ความน้อยเนื้อต่ำใจ  คือจุดถ่วงที่ทำให้คุณไม่มีความมั่นใจในตัวเอง  สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคนอื่น ๆ ลองหันกลับมามองตัวเองสิครับ ใช่ว่าคุณจะไม่มี
อะไรดีเสียเลย  เพียงแต่คุณอาจจะไม่ได้นำมันมาใช้บ่อยเหมือนคนอื่น  ๆ เขา..ก็เท่านั้นเองครับ

    3.
ใช้ความผิดพลาดในอดีตมาเป็นบทเรียน ยามที่คุณทำอะไรผิดพลาด พฤติกรรมประเภทฟูมฟายโทษตัวเองมากมาย ก็ให้คิดดูเสียว่าในโลกนี้  ยังมีคนอีกเยอะแยะที่ผิดพลาดยิ่งกว่าคุณ ฉะนั้น การทำงานก็ต้องรอบคอบ และต้องเผื่อความล้มเหลวไว้บ้าง เพราะความผิดพลาดใครๆ ก็ทำผิดกันได้

    4.มีจุดมุ่งหมายของการทำงาน หรือตั้งเป้าหมายของชีวิตการทำงานของคุณ เพื่อช่วยกระตุ้นให้คุณตั้งใจทำงาน เช่น คิดว่าเราต้องขยันทำงานเพื่อจะมีบ้านสักหลัง มีรถยนตร์สักคัน เพราะหากคุณไม่มีเป้าหมายการทำงานของคุณจะทำงานไปเรื่อยๆ เคว้งคว้างเลื่อนลอย ซึ่งเป็นบ่อเกิดของความเบื่อ
    5.เมื่อบรรยากาศในการทำงานทำให้คุณรู้สึกว่าคุณเริ่มจะเบื่อ ลองออกมาจากบรรยากาศที่นั่น ไปหาสถานที่สดชื่น ดื่มน้ำแก้ร้อน อ่านหนังสือตลก ๆ หรือทำอะไรก็ได้ที่ทำให้คุณสามารถยิ้มออกได้ แค่นี้คุณก็สามารถแก้ความเซ็งได้อย่างไม่น่าเชื่อ ลองทำดูสิครับ!

     ทั้งหมดที่กล่าวมา 5 ข้อ เป็นเพียงแนวคิด หรือแนวทางให้คุณแก้ปัญหาความเบื่อหน่ายในการทำงาน แต่หากว่าคุณใช้วิธีการต่าง ๆ ดูแล้ว มันก็ยังไม่ได้ผล สุดที่จะทนแล้ว ก็คงถึงเวลาที่คุณต้องโบกมือลาบริษัทเก่าของคุณเสียที

     แต่จำไว้ว่า ความเบื่อจากการทำงานย่อมมีขึ้นและมีลง เป็นเรื่องปรกติธรรมดา!!! อย่าถึงกับหมกมุ่นค้นหาคำตอบถึงขั้นลาออกหนีความทุกข์ไปเลย เพราะการออกจากงานโดยไม่มีงานใหม่รองรับ  ยิ่งจะทำให้ความเซ็งชีวิตเพิ่มขึ้นอีก  เพราะสมัยนี้ใช่ว่าจะหางานกันได้ง่าย  ๆ

     ฉะนั้น เมื่อคุณรู้สึกว่าเซ็งกับการทำงานแล้ว ต้องบอกและเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า "ต้องต่อสู้กับความเซ็ง ทุกครั้งที่เกิด อย่าท้อถอย"  แม้ว่ามันจะหนักไปนิด  แต่มันก็คุ้มค่านะครับ

ที่มา: นิตยสาร Recruit Update ฉบับที่ 403 วันที่  1-15  มิถุนายน  2547

อัพเดทล่าสุด