https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สรุป : ประเด็นจากหลักสูตร HR CoPs MUSLIMTHAIPOST

 

สรุป : ประเด็นจากหลักสูตร HR CoPs


1,013 ผู้ชม


สรุป : ประเด็นจากหลักสูตร HR CoPs (Community of Practices) เรื่อง Talent Management and Succession Planning




สรุป : ประเด็นจากหลักสูตร HR CoPs (Community of Practices)
เรื่อง Talent Management and Succession Planning
อำนวยการโดย  อาจารย์รุ่งโรจน์ อรรถานิทธิ์
วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2552

กลุ่ม CoPs 1 : ผู้เข้าร่วมคือ

No.

ชื่อบริษัท

ผู้เข้าสัมมนา

1

Corn Products (Thailand) Co.,Ltd.

Chiraporn Chongmankongcheep

2

Hitech Paper Co.,Ltd.

คุณเมธาวี น้อยเรือน 

3

United Thai Shipping Corporation Ltd.

Araya  Tinlakanont

4

บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด 

คุณโกมล  พุกนิลฉาย

5

บริษัท ทิปโก้ ฟูดส์ จำกัด (มหาชน)

คุณจตุรงค์ วัชรเฉลิม

6

บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด 

คุณศักดิ์ดา  เอกวัฒน์ชัย

7

บริษัท นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

คุณเสาวนีย์  ถาวรปรารถนา

8

บริษัท สำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น

คุณปาริชาติ  เส็นสด

9

บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด 

คุณกนกอร เธียไพรัตน์   

10

บริษัท เอ็ม กรุ๊ป  โฮลดิ้ง  จำกัด 

คุณสุริยะ  สาริวงค์

11

บริษัท แอล พี เอ็น เพลทมิล จำกัด (มหาชน)

คุณกษมาพร   เตียนสายอ้อ

12

โรงพยาบาลสระบุรี

คุณจันทร์เพ็ญ  กิติโสภากุล

13

บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด

คุณวารุณี ผู้ดี

14

บริษัท คาโปรแลคตัมไทย จำกัด (มหาชน)

คุณนิคม อ่อนละมัย


ความเห็นของอาจารย์ในเรื่องทฤษฎี Talent

  • ทฤษฎีเรื่อง Talent มีมานานตั้งแต่สมัยสงครามโลก มีการปฎิวัติอุตสหกรรม ซึ่งยุคแรกๆจะเรียกว่ายุค Personnel ต่อมาจึงได้พัฒนาแนวิคดเป็นยุคของ Human Resource ขึ้นมาจนแยกเป็น  HRM และ HRD ซึ่งจะมีเรื่องของการจูงใจพนักงานเข้ามาเกี่ยวข้อง หลายๆ องค์กรที่ประสบความาสำเร็จในเรื่องการบริหารคนส่วนใหญ่ยอมรับว่ามีพนักงานหรือบุคลากรเพียง 20% จากทั้งหมดจะเป็นคนที่มีศักยภาพสามารถขับเคลื่อนและผลักดันองค์กรต่อไปได้ซึ่งก็คือกลุ่มคนที่เรียกว่า Talent นั่นเอง 
  • แนวคิดเรื่องการสร้าง Talent หลังสงครามโลกก็มีอยู่ 2 ประเภท คือ
    1) การซื้อตัว (Shopping)
    2) การสร้าง Talent ภายในองค์กรเอง

    ซึ่งจริงๆแล้วการสร้าง
    Talent ขึ้นมานั้นต้องดูสถานการณ์หรือแนวโน้มทางธุรกิจขององค์กรเป็นหลัก และถ้าจะสร้าง Talent ขึ้นมานั้นก็ต้องมาดูว่าจะ Based on อะไร และการซื้อตัว Talent จากองค์กรอื่นนั้นก็เป็นสิ่งที่องค์กรหลายแห่งทำ เพื่อลดเวลาในการพัฒนาบุคลากรภายในซึ่งต้องใช้ทั้งระยะเวลาและงบประมาณที่สูงจนมีคนเคยเขียนหนังสือเรื่อง Talent War ขึ้นมา แต่จริงๆ แล้วเราควรจะมาศึกษาหรือหาเครื่องมือที่จะช่วยให้กลุ่มคนที่เรียกว่า Talent ขององค์กร อยู่กับเราไปนานๆ และช่วยให้องค์กรสามารถอยู่รอดต่อไปได้

ความเห็นจากที่ประชุม

  • ปัญหาที่องค์กรพบบ่อยคือไม่สามารถรักษาคนเก่งหรือ Talent ไว้ได้นานและไม่สามารถพบสาเหตุที่แท้จริงว่าการที่คนเก่งไม่สามารถอยู่กับเราได้นานนั้นเกิดจากอะไร
  • Talent เป็นการคัดเลือกกลุ่มคนที่มีศักยภาพสูงและผลงานโดดเด่นมาเตรียมรับตำแหน่งที่สูงขึ้นเพื่อรองรับกรณีเกิดตำแหน่งงานในระดับการบริหารว่างขึ้น
  • Talent เป็นกลุ่มคนที่ชอบงานท้าทายความสามารถ และคนเก่งนั้นต้องเป็นคนดีด้วย คือพร้อมทั้งกายและใจ ซึ่ง HR จะเข้าไปมีบทบาทในการบริหารจัดการกลุ่มคนเหล่านี้ให้อยู่ในองค์กรอย่างยั่งยืนได้

คำถาม:  มีการแก้ปัญหาการจัดทำ Succession Planning แล้วให้ Commit พนักงานไม่ได้ว่าจะเป็นไปตามที่ต้องการเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดอย่างไร 

ความเห็นจากที่ประชุม

  • จะ Implement เลือก Successor แล้วและได้แจ้งกับตัวพนักงานไปแต่ยังไม่สามารถเลื่อนขึ้นตำแหน่งได้ก็เลยเสนอให้มีการจัด ตำแหน่งงานใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับพนักงานที่ถูก Promote เป็น Talent แต่ก็มีข้อจำกัดคือตำแหน่งงานตันไม่สามารถเติบโตได้อีก
  • กรณีถ้าเปิดตำแหน่งงานใหม่รองรับอาจจะทำให้เกิด Conflict กับหัวหน้างานได้คือคนที่กำลังขึ้นเป็นดาวรุ่งก็กลายเป็นดาวร่วงทันที จนกระทั่งไม่สามารถอยู่ร่วมกับองค์กรได้อีกต่อไป
  • เคยทำเป็น Program Team Assessment Center โดยมอบหมายงานให้กับพนักงานจะเป็นลักษณะงาน Business Development  แทน
  • มีการทำเป็นโครงการ Dynamic Talent หรือ Successor  โดยใช้โปรแกรมเข้าช่วย คือดูวัฒนธรรมองค์กรเป็นหลักแล้วจัดกิจกรรมให้เข้าร่วมและเก็บรวบรวมเป็น Profile ให้กับตัวพนักงานที่เป็น Talent เองเพื่อจะได้วิเคราะห์และตรวจสอบได้ว่าตนเองนั้นมีผลงานอะไรบ้างที่ผ่านมาซึ่งพนักงานสามารถ Update ประวัติของตนเองได้ตลอดเวลา โดยนำระบบ  IT  เก็บประวัติเป็นลักษณะ Database เป็นการทำให้พนักงานรู้ว่าตอนนี้ตนเองอยู่ใน Performance ระดับใด
  • สำหรับคนที่เป็น Talent เราจะสามารถให้งานเก่าเค้าทำได้ไหม จริง ๆ แล้วสำหรับคนที่เป็น Talent งานเก่าเค้ายังต้องสามารถทำได้ และต้องมีงานใหม่ที่ท้าทายเข้ามาด้วย และต้องยอมรับและเป็นข้อตกลงว่างานใหม่ที่เข้ามาถือเป็นการ  Develop ตัวเองด้วย
  • กรณีที่พนักงานรู้ตัวว่าเป็น Talent ก็จะตกเป็นเป้านิ่งของคนอื่น บางคนถูกลองของบ้าง ซึ่งอาจทำให้บางคนรู้สึกไม่ Happy บางคนอาจกมากถึงทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปเป็น Dead Wood ก็มี แต่ก็มี Talent บางคนที่เป็นคนทำลายวัฒนธรรมองค์กรเอง
  • Talent บางคนก็จะรู้ตัวว่าเป็น Talent จากการได้รับมอบหมายงานจากหัวหน้างาน และเมื่อได้ประกาศ Successor ที่เป็นเบอร์ 1 ก็จะทำให้คนที่มีความสามารถ และตกเป็นเบอร์ 2 ที่ยังไม่รู้ตัว ก็ต้องลาออกจากองค์กรไปก่อนที่จะได้รับเลือกเป็น Successor เพราะจะไม่ทราบว่าตนนั้นจะเป็นคนต่อไป

ความเห็นของอาจารย์

  • Successor นั้นเป็นการพัฒนาคนโดยการนำชื่อไปใส่ไว้ในตำแหน่งงานที่มีคนลาออกไป  ซึ่งเราควรเลือกทำเฉพาะตำแหน่งงานหลักๆ หรือ Key Position ไม่ใช่ทำทุกตำแหน่งงาน หรือเรียกว่าการทำ Succession Planning เพราะจะเป็นการแก้ปัญหาเชิงรุกที่มีการวางระบบที่แน่นอน และสามารถเตรียมการพัฒนาบุคลากรได้ทันเวลา
  • การสร้าง Talent เป็นการสร้าง Career แล้วจับคนมาใส่กล่องรอไว้ หรือ Talent Pool ซึ่งต้องมีการดูแล และฝึกฝนในกรณีที่ตำแหน่งงานนั้นยังไม่ว่าง ก็ต้องมีการพัฒนาตนเองซึ่งเราอาจให้งานเป็น Project Assignment ที่ท้าทายความสามารถและเมื่อตำแหน่งงานว่างขึ้นก็ค่อยจับไปเป็น Successor ต่อไป
  • การคัดเลือก Talent นั้นไม่ยากเพราะเราสามารถใช้เครื่องมือมาวิเคราะห์ได้แต่การรักษา Talent ให้อยู่กับองค์กรนั้นเป็นเรื่องที่ยากกว่า 

คำถาม:  มีองค์กรไหนบ้าง (ในประเทศไทย) ที่ประสบความสำเร็จในการทำ Talent Management and Succession Planning จนเป็นที่ยอมรับของทุกคนในองค์กร และเกิดเป็นความท้าทายของพนักงานทุกคนในการปรุงแต่งกิริยาของตน เพื่อที่จะก้าวไปสู่ความเป็น Talent and Successor

ความเห็นจากที่ประชุม

  • องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการทำ Talent ได้แก่ AIS , ปตท. , SCG
  • บางครั้งเมื่อเลือก Talent ได้แล้วก็จริงแต่ก็ไม่สามารถดันขึ้นไปได้เพราะตำแหน่งตัน

ความเห็นของอาจารย์

  • บริษัทที่เอ่ยชื่อนั้น ล้วนแล้วแต่มีการวางระบบที่ชัดเจนในการดูแล Talent และก็จะบอกกลุ่มคนเหล่านั้นเลยว่าต้องทำงานหนักกว่าคนอื่นนะ แต่ผลตอบแทนหรือสิ่งที่ได้รับมันก็ต้องมีมากกว่าเหมือนกัน ต้องมีการมาดูแลที่ด้วย
  • เป้าหมายในการบริหารจัดการในเรื่องของ  Talent  ต้องชัดก่อนและแยกให้ออกด้วยว่าคุณทำ Talent ไปเพื่ออะไร มีการวางเป้าหมายที่ชัดเจน ถ้าพนักงานทำได้จะมี Career ให้อย่างไร มีการดูแลอย่างไร และหากทำไม่ได้ มีระบบอะไรที่จะมารองรับหรือช่วยเหลืออย่างไร
  • การสร้าง Successor จาก Talent จะต้องมีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ และควรทำเฉพาะตำแหน่งงานที่สำคัญ หรือทำเฉพาะ Key Position ซึ่งต้องกลับไปวิเคราะห์ภายในองค์กรดูว่าที่ทำอยู่นั้นใช่หรือไม่ เหมาะกับองค์กรจริงหรือไม่
  • เมื่อจับ Talent ไปเป็น Successor แล้วต้องดูแลเค้าให้ได้ บางครั้งปัญหาที่พบคือ กรณีมีกลุ่ม Talent เบอร์ 1-3 โดยที่พนักงานรู้ตัวอยู่แล้ว เมื่อเบอร์ 1 ได้ไป เบอร์ 2-3 จะดูแลหรือรองรับคนเหล่านี้อย่างไรเพื่อไม่ให้ตัวพนักงานเองรู้สึกด้อยค่าที่ไม่ได้เป็นเบอร์ 1
  • การทำ Succession Plan นั้นต้องดูเป้าหมายของคนที่เป็น Talent เองด้วยว่าตัวเค้าเองต้องการเติบโตไปในทิศทางใด
  • คนที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น Talent จะต้องได้รับการทดสอบหลายรูปแบบต้องมีการเรียนรู้ Production Plan ขององค์กร เรียนรู้งานทุก Function เพราะคนที่เป็น Talent หมายถึงคนที่จะเติบโตไปเป็น Leader ขององค์กร ซึ่งผู้ที่สามารถผ่านการทดสอบไปได้ก็จะพิสูจน์ได้ว่าคนๆ นั้นเป็น Talent ตัวจริงหรือตัวปลอม

คำถาม:         ระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำ Successor Plan ควรจะเป็นเท่าใด

ความเห็นของอาจารย์

  • ไม่เท่ากันแล้วแต่องค์กร แล้วแต่เป้าหมายที่องค์กรต้องการและเรื่องของระบบที่จะมาบริหารจัดการ แต่โดยเฉลี่ยบางอองค์กรจะอยู่ที่ 3-5 ปี แต่บางองค์กรก็อาจจะอยู่ที่ 7-8 ปี

คำถาม:         ประเด็นใดบ้างที่ Successor จะลาออกก่อนเลื่อนตำแหน่ง 

ความเห็นจากที่ประชุม

  • กรณีที่ Promote Talent ขึ้นไปแล้วก็สามารถปลดลงมาได้ แต่เคยมี Case ว่าเมื่อปลดลงมาแล้วทำให้พนักงานคนนั้นกลายเป็น Dead Wood และในที่สุดก็ลาออกจากองค์กรไป
  • บางครั้งการให้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นก็ไม่สามารถรักษาคนเก่งไว้ได้ เพราะบางครั้งที่คนเก่งลาออกไปสาเหตุที่มาจากหัวหน้างานก็มี หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงที่พนักงานไม่สามารถรับสถานการณ์ได้ก็ต้องจากองค์กรไปอีกเช่นกัน ดังนั้นการให้ใจจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกลุ่มคนที่เป็น Talent ต้องทำให้เค้ารู้สึกว่าผูกพันและรักองค์กรจริงจึงจะอยู่ร่วมงานต่อไป
  • ต้องดูว่าสิ่งที่ Talent  ต้องการจริง ๆ แล้วคืออะไร อาจเป็นเรื่องของงานที่ท้าทาย หรือในเรื่องของการดูแลเรื่องจิตใจหรือหัวหน้างงาน เพื่อนร่วมงานที่ดีหรือการยอมรับจากคนรอบข้าง

ความเห็นของอาจารย์

  • การดูแลเรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการเป็นสิ่งที่สำคัญ เราต้องดูแล Talent ให้ดีกว่าคนอื่นโดยสามารถเทียบกับค่าตอบแทนในตลาดได้ เช่น หากจ่ายคนอื่นที่ เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50  Talent ต้องเป็นที่ 75 อย่างนี้เป็นต้น
  • การจ่ายเป็นเงินช่วยเหลือพิเศษโดยไม่นำไปรวมกับฐานค่าจ้างก็เป็นการจูงใจอย่างหนึ่ง ยอมจ่ายสูงอีกนิด และถ้าหากว่า Talent ได้ถูกเลือกให้เป็น Successor แล้ว ถ้าเกิดไม่ได้รับการกระทบกระเทือนแบบ Big Change จากหัวหน้างาน หรือเรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการแล้ว ก็สามารถอยู่กับองค์กรต่อไปได้
  • เมื่อทำระบบ Talent แล้วก็ต้องทำระบบอื่นมา Support ควบคู่กันไปด้วยเพราะระบบ Talent ไม่สามารถเดินได้ตัวเองได้ เช่น Mentoring ประกบควบคู่ไปด้วยเพื่อ Support คนกลุ่มนี้ การดูแลกลุ่มคนที่เป็น Talent ต้องชัดเจน และไม่ให้กลายเป็นเป้านิ่ง แต่ต้องให้ทุกคนรู้ว่าคนที่เป็น  Talent  คือคนที่ทำงานหนัก

คำถาม:        เรามั่นใจได้อย่างไรว่าเราวางตัว Successor ในตำแหน่งงานนั้นได้ถูกต้อง? และหากขึ้นไปแล้วสามารถถอดลงได้หรือไม่

ความเห็นของอาจารย์

  • ถ้าเลือกแล้วไม่ใช่ก็สามารถเอาลงมาได้ แต่ต้องค่อยๆ ถอดลงมา มีช่วงเวลาให้ทำใจ ซึ่งถ้าหากตกอันดับลงมาก็ยังสามารถ Set ให้อยู่ในกลุ่มของ Talent Pool ได้อีกต่อไปแล้วค่อยหางานที่เหมาะสมให้ทำต่อไป
  • ประเด็นคือต้องค่อย ๆ ปรับลงไม่ใช่แบบฟันฉับทีเดียว ทำให้คนยอมรับไม่ได้กลายเป็น  Dead wood หรือไม่ก็ลาออกไปเลยก็มี
  • ผู้บริหารส่วนใหญ่มักใจร้อน พอไม่ใช่ก็ให้ถอดออกทันที เป็นหน้าที่ของ HR ที่จะต้องค่อย  ๆอธิบายว่าหากทำอย่างนั้นอาจทำให้เกิดความปั่นป่วนในองค์กรขึ้นได้  ดังนั้น HR ต้องพิสูจน์ให้ผู้บริหารเห็น และจะได้เชื่อ เพราะสุดท้ายหากทำอย่างนั้นก็เท่ากับองค์กรก็จะเสียคนที่มีความศัยภาพไปได้

คำถาม:         Talent ไม่จำเป็นต้องเป็น Successor ใช่หรือไม่ แล้วเราจะวางแผนพัฒนากลุ่ม Talent เหล่านี้อย่างไร?

ความเห็นของอาจารย์

  • ไม่จำเป็น เพราะ Talent บางคนอาจไม่ต้องเป็น Successor ในตำแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้นก็ได้ เราสามารถพัฒนา Talent ให้เป็น Expert หรือ Specialist ในงานได้ กรณีที่ Talent คนนั้นไม่สามารถ Management กับเรื่องการบริหารคนได้

คำถาม:         การ Identify Talent ใช้วิธีการและเครื่องมืออะไรบ้าง? จะทำอย่างไรให้ผลการประเมินพิสูจน์ว่า องค์กรเลือกคนเก่งไม่ผิด?

ความเห็นจากที่ประชุม

  • ใช้ผลงานย้อนหลังรวมกับ ประเมิน Competency
  • ใช้ดูจาก Job หรือ Key Position
  • ผู้บริหารเป็นผู้เลือกขึ้นมาเอง
  • ใช้ Policy ขององค์กรหรือจากบริษัทแม่ เช่น HPP (High Performance/ Potential)

ความเห็นของอาจารย์

  • มีอยู่ 2 ทาง คือ
    1) การสรรหา โดยการเปิดรับสมัครให้พนักงานเข้ามาแสดงตัวเพื่อเปิดโอกาสให้กับคนอื่นๆ ที่มั่นใจเข้ามาทดสอบความสามารถ และเป็นการป้องกันคำครหาได้อย่างหนึ่ง ข้อดีของการเปิดรับสมัครก็คือเป็นการให้โอกาสกับที่คนที่เราไม่เคยมองว่าเป็น Talent ได้มีโอกาสฉายแววให้เห็น หรือดึงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาให้เห็นกันชัดขึ้น สุดท้ายคือต้องมีการ Confirm และ Confirm
    2) การจัดตั้งคณะกรรมการสรรหา และสามารถยืนยันหรือ Confirm อีกครั้งโดยใช้เครื่องมือ 180 องศาในการประเมิน วิเคราะห์แล้ว Final เช็คอีกครั้ง ซึ่งโอกาสพลาดมีแต่ก็ไม่มาก

คำถาม:         HR มีบทบาทอย่างไรในการที่จะรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กร?

ความเห็นจากที่ประชุม

  • ดูเรื่อง Reward หรือ ระบบการประเมินผลงาน รวมทั้งระบบค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นให้กับพนักงานในกลุ่ม Talent คือให้ Package ที่ 75%
  • บางครั้ง Policy ขององค์กรคิดว่าการหา Talent ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
  • วางระบบเรื่องการดูแล การ Coach  หรือ Mentoring เข้ามาช่วย Support และให้  LM มาช่วยกันดูแลไมใช่แค่ HR ดูแลฝ่ายเดียวต้องช่วยกัน  

ความเห็นของอาจารย์

  • HR สามารถดูแลเรื่องอื่นๆ แทนได้ เช่น อาจจัดทำ Story ให้ระหว่างผู้บริหารกับพนักงานที่เป็นกลุ่ม Talent ได้พบปะพูดคุยกัน เช่น นัดไปทานข้าวกับผู้บริหาร ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูง
  • อาจใช้วิธีให้ไปพบคนที่เก่งและประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง อาจเป็นคนจากภายนอกองค์กร เพื่อให้ได้พูดคุยหรือฟังประวัติชีวิตของเค้าว่ากว่าจะมาถึงวันนี้ที่ประสบความสำเร็จได้ต้องผ่านอะไรมาบ้าง เพื่อเป็นการกระตุ้นและจูงใจ ซึ่งบางครั้งได้ผลดีมาก สามารถสร้างแรงผลักดันให้  Talent  ได้ดีมาก
  • ส่งไปดูงานต่างประเทศ กลับมาให้มาสรุปให้ฟัง ไม่ได้ส่งไปเพื่อ Assign แต่เหมือนส่งไปเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขึ้น
  • HR ต้องมีวิธีการจัดการ เช่น อาจจะไม่ได้มอบหมายให้หัวหน้างานโดยตรงเป็นคนบอก แต่ให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นคนแจ้งด้วยตนเอง จะทำให้พนักงานที่เป็น Talent รู้สึกว่าตนได้รับการยอมรับ โดย Commit กับ Package ให้เหมาะสมด้วย
  • HR ต้องปรับกระบวนการคิดโดยเอา  Line  เป็นตัวตั้ง

คำถาม:     ทำอย่างไรให้คนเก่ง อยู่กับองค์กรนาน ๆ

 ความเห็นจากที่ประชุม

  • ต้องดูหลายๆ มิติ คือคนที่เป็น Talent นั้นต้องเป็นทั้งคนเก่งและคนดี เก่งคนและเก่งงาน
  • การเรียนเก่ง  ไม่ได้หมายความทำงานเก่งด้วย บางครั้งการจบสถาบันมีชื่อเสียงหรือมีเกรดดี ๆ  ก็ไม่ได้เป็นตัวบอกว่าเก่งงานด้วยเช่นกัน เพราะบอกได้แค่มิติเดียว

ความเห็นของอาจารย์

  • การจะบอกได้ว่าเป็น  Talent ตัวจริงหรือไม่ต้องอาศัยการ Confirm, Confirm และ Confirm เท่านั้น ต้องมีกระบวนการที่ชัดเจน
  • กระบวนการที่จะยืนยันว่าวิธีการคัดเลือกคนที่เป็น Talent ถูกต้องก็คือการทำ Talent Pool ไม่ใช่ Successor และต้องเปิดช่องว่างในการรับ Talent โดยใช้เครื่องมือ 180 องศาควบคู่ไปด้วย เพื่อดู Feedback คนอื่นในองค์กรว่าคนๆ นั้นมีแววจริง หรือมีผลงานที่โดดเด่นจริง คือเขียนกราฟประเมินผลงานจะต้องเป็นเส้นโค้งขึ้น แต่ถ้ากราฟมีลักษณะเป็นเส้นขึ้นๆ ลงๆ ก็ต้องเริ่มเอะใจว่าอาจจะไม่ใช่ ช่วงแรกๆ ของการคัดเลือกต้องค่อยๆ ทำ คัดทีละน้อย ๆ แต่ชัวร์คือประมาณ 2-3 คนก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่ม
  • วิธีการคัดเลือกจากหลายๆ ช่องทาง มีกฎกติการที่เข้มข้นในการคัดเลือกแต่ต้อง Flexible คือต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมให้สอดคล้องกับองค์กร
  • เครื่องมืออีกหนึ่งตัวที่สามารถยืนยันหรือ Confirm ได้ก็คือการทำ Assessment Center หรือศูนย์ประเมิน จะเป็นการสร้างสถานการณ์ที่กดดันในหลาย ๆ หลาย Part ด้านการเงิน, ด้าน Production, ด้าน HR  และด้านการตลาด เป็นต้น โดยจะมีทีมงานคอยบันทึกพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์จำลองอยู่ประมาณ 3-4 วัน  ซึ่งก็เป็นตัวช่วยอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถยืนยันได้ว่าพนักงานคนนี้จะใช่คนที่เป็น Talent แน่นอน

  ***************** The End  *****************


กลุ่ม CoPs 2 : ผู้เข้าร่วมคือ

No.

ชื่อบริษัท

ผู้เข้าสัมมนา

1

Toyota Boshoku Asia Co., Ltd.,

คุณพัชมน ปัญโญสุข

2

บริษัท ฮีโน่มอเตอร์สเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด

คุณปิยศักดิ์  สูตรนันท์ 

3

สายการบินแอร์ฟรานซ์-เค แอล เอ็ม

คุณเต็มพรรณ ศรีกลัด

4

Belton Industrial (Thailand) Co., Ltd.

คุณพนารัตน์ อุรานุกูล

5

บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด

คุณวิชชา สุนทรพิพิธ

6

บริษัทในเครือกิจดิเวลลอปเมนท์

คุณน้ำทิพย์  เหลืองประเสริฐ

7

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

คุณคมสิทธิ์ ยุวชิต 

8

Siam Food Services Ltd.

คุณฐิตารีย์  โภคินกิตติพงศ์

9

บริษัท ทีซีซี แลนด์ รีเทล จำกัด

คุณอัมพร  สูตรนันท์   

10

บริษัท โยชิโน มุ่งพัฒนา (ประเทศไทย) จำกัด

คุณเกียรติก้อง สุวรรณกูฏ

11

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)

คุณขวัญเรือน โพธิ์วิเชียร

12

บริษัท มูราคามิ แอมพาส (ประเทศไทย) จำกัด

คุณประไพ สาลี

13

บริษัท ยางสังเคราะห์ไทย จำกัด

คุณสุทิศา  ศรีแสน

14

Job top gun Co., Ltd.

คุณอรพิมล  อ่อนเอี่ยม


คำถาม: จะทำอย่างไรในกรณีพนักงานที่เป็น Talent ไม่ได้แสดงออกซึ่งความสามารถที่โดดเด่นกว่าผู้อื่น

 ความเห็นจากที่ประชุม

  • ต้องมีการบริหารคนเก่งในองค์กร เพราะคนเก่งหรือดาวเด่นมักจะมีคนมาจีบแล้วก็จากไป
  • ในองค์กรมีคนเก่ง รวย และมีความสามารถสูง แต่พนักงานก็ยังลาออก ซึ่งทำให้ไม่สามาถหาคนมาทดแทนได้ทัน
  • ต้องกลับไปดูว่าตอนนี้งานที่ Talent นั้นได้รับมอบหมายอยู่ใช่วิถีของเค้าจริงหรือไม่ หรือตรงกับความสามารถที่แท้จริงรึเปล่า ซึ่งจริงๆ แล้วคนกลุ่มนี้จะดูโดดเด่นด้วยวิธีคิดและวิธีปฏิบัติตั้งแต่เริ่มรับเข้ามาครั้งแรก
  • วิธีการเลือกหรือขั้นตอนในการเลือกกลุ่มคนนี้เข้ามาเป็น Talent นั้นถูกต้องหรือไม่ หรือผู้ที่คัดเลือกเข้ามานั้นเข้าใจบทบาทของคนกลุ่มนี้มากแค่ไหน บางครั้งตอนประเมินผลงานผู้ประเมินอาจไม่มีความเข้าใจวิธีการประเมินผลงานก็ได้ ทำให้คะแนนออกมาจัดอยู่ในข่ายที่เป็น Talent

ความเห็นของอาจารย์

  • แนวคิดเรื่อง Talent มี 2 สคูล คือ 1.การซื้อตัว 2.การสร้าง Talent เอง ซึ่งจริงๆ แล้วการสร้าง Talent นั้นไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางธุรกิจในองค์กร ถ้าสร้าง Talent ขึ้นมาแล้วธุรกิจยังเติบโตไปได้ด้วยดีก็ถือว่าประสบความสำเร็จ แต่ถ้าสร้างแล้วธุรกิจเติบโตไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ 20% จากงานวิจัยพบว่า คนกลุ่มนี้จะสามารถพยุงองค์กรให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้จริง แต่ต้องมีวิธีการดูแลรักษาคนเก่งเหล่านี้ไว้ จึงเกิดระบบการสร้าง Talent ขึ้นมากและเกี่ยวข้องกับ Successor Plan คือ เมื่อมีคนที่เกษียณออกก็ต้องหาคนมาทดแทนจึงเป็นที่มาของ Successor Plan และควรทำเฉพาะตำแหน่งงานที่สำคัญหรือทำเฉพาะ Key Position ซึ่งคนที่อยู่ในกลุ่มของ Talent Pool ก็มีโอกาสเป็น Successor ได้
  • ต้องกลับไปดูที่ระบบและกลุ่มคนที่เป็น Talent ที่มีอยู่นั้นใช่จริงหรือไม่ โดยอาจใช้เครื่องมือ 180 องศามาประเมินด้วยก็ได้ หรือใช้ Assessment Center เข้ามาช่วย ซึ่งอาจใช้บุคคลภายในหรือภายนอกก็ได้ คือการเอางานของผู้บริหารที่มีความยากมากกว่า 2 เท่า มาให้ทำเพื่อดูแนวโน้มว่าทำได้จริง ถึงจะเข้าข่ายกลุ่ม Talent ซึ่งจะเป็นการทดสอบเพื่อพิสูจน์วิธีการทำงานจริงกับสถานการณ์บังคับ

คำถาม:    180 องศา ต่างกับ 360 องศา?

ความเห็นของอาจารย์

  • ต่างคือต้องตัดลูกน้องออกไป เพราะถ้าให้ลูกน้องประเมินด้วยบางครั้งจะเกิด Bias ขึ้นได้ เป็นแค่ หัวหน้า ตัวเอง และเพื่อนร่วมงานประเมิน ก็พอ
  • เราต้องทราบที่มาของการคัดเลือก Talent ก่อนว่าทำไปเพื่ออะไร เพราะจริงๆ แล้วคนที่เป็น Talent ก็คือคนที่จะเป็นผู้นำขององค์กรคนต่อไป หรือเป็น Leader คนต่อไปในอนาคต ซึ่งผู้นำต้องฉายแววให้เห็นก่อน ต้องสร้างทายาทขื้นมาก่อน แล้วค่อยมาจัดกระบวนการทดสอบที่ชัดเจน
  • การสร้าง Talent นั้นไม่จำเป็นต้องทำทุกตำแหน่ง แต่ต้องแยกกลุ่มที่เป็น Talent Pool กับ Specialist สร้าง Multi Career และแยกงานให้ชัดเจน โดยให้ Management Trainee เป็นคนคอยช่วยเหลือ

คำถาม :  อุปสรรคในการสร้าง Succession Planning หรือองค์ประกอบใดที่ทำให้ล้มเหลว?

ความเห็นของอาจารย์

  • โปรแกรม Retrain มีปัญหา อาจจะเป็นเพราะ Mentor, หัวหน้างาน ซึ่งต้องเลือกหรือหาเครื่องมือให้เจอและตรงกับกลุ่ม Talent

คำถาม : Successor มี Role Model จะต้องเทรนยังไง

ความเห็นของอาจารย์

  • ต้องมี Step การโค้ช โดยเริ่มจากระดับบนลงสู่ระดับล่าง และมีผู้บริหารหลายๆ องค์กรที่อยากได้โค้ชแต่ไม่กล้าพูด ซึ่งถ้าหากเรามีโค้ชในองค์กรทุกคนก็จะ Follow ไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้เหมือนกันและจะได้ Successor Based Role Model on Culture

คำถาม :  ท่านมีวิธีการอย่างไรในการพัฒนาคนเก่งให้สามารถทำงานร่วมกับบุคลากรในองค์กรให้อยู่ได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ

ความเห็นของอาจารย์

  • Program Talent Pool สำคัญ แต่ต้องแยกออกให้ชัดว่าเป็น Expert หรือ Specialist แยกเบอร์ 1,2,3 กลุ่ม  A,B,C ในงานได้ กรณีที่ Talent คนนั้นไม่สามารถ Management กับเรื่องการบริหารคนได้
  • เราต้องหาเวที เพื่อ Develop ให้เจอโปรแกรมที่ใช้วัดต้องสามารถวัดเป็น ROI ได้ต้องตามงานที่มอบหมายให้ ซึ่งต้องดูวัฒนธรรมองค์กรด้วย

คำถาม :  เนื่องจากในการจัดทำ Succession plan ต้องมีการเก็บความลับในระดับ มีหลักการหรือวิธีการในการกำหนดระดับของบุคลากรหรือตัวบุคคลที่ควรจะมีส่วนร่วม ในการจัดทำ Succession plan

ความเห็นของอาจารย์

  • ในการเก็บความลับ หากต้องการให้รู้เฉพาะกลุ่มของผู้บริหาร บางที่ใช้วิธีจดด้วยลายมือของผู้บริหารแล้วเซ็นชื่อกำกับไม่ต้องให้ลูกน้องพิมพ์ และหากมี แก้ไขตรงไหนให้ใช้วิธีขีดฆ่า แล้วเซ็นชื่อกำกับไว้เท่านั้น ดังนั้นข้อมูลก็จะไม่หลุด

คำถาม :  มีเทคนิคหรือวิธีการในการถ่ายทอดสื่อสารให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งควรจะรับทราบในเรื่องของ Succession plan อย่างไร

 ความเห็นจากที่ประชุม

  • ใช้วิธี  Coach  หัวหน้างานโดยใช้การ Role Play ทำกันเองในกลุ่ม สมมติสถานการณ์ขึ้นมาว่าหากเจอลูกน้องแบบนี้จะมีวิธีการพูดคุยอย่างไร เป็นการสอนให้หัวหน้างานมีทักษะการสื่อสารมากขึ้น
  • ใช้วิธีการคุยแบบเป็น  Step เช่น 2 เดือน คุยที 6 เดือน ก็คุยไปแล้ว 3 รอบ การคุยไม่จำเป็นต้องเป็นทางการ อาจใช้วิธีชวนไปกินข้าว หรือคุยแบบนอกรอบ วิธีนี้ก็จะเป็นการกระตุ้นและทำให้เค้าได้ปรับตัวไปเรื่อย ๆ  เพราะพวกนี้เวลาแผ่วลงก็จะเห็นชัด อย่าใช้วิธี 1 ปีประเมินที ระยะเวลามันนานไป พอถึงเวลานั้นก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว
  • การคุยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บังคับบัญชา หรือ HR  เท่านั้น อาจเป็น  Coach ภายนอกมาช่วยก็ได้

คำถาม :     คนเก่งกับคนดี สร้างให้สมดุล อย่างยั่งยืนต้องทำอย่างไรค่ะ...และถ้าสร้างแล้ว องค์กรไม่สามารถสนองความต้องการได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในฐานะฝ่ายบุคคล ต้องทำอย่างไรค่ะ

ความเห็นของอาจารย์

  • ในการสร้าง Talent  สิ่งแรกที่ควรประเมินคือ “จริยธรรม” เพราะ Talent คือคนเก่งและคนดี ไม่ใช่เป็นคนเก่งอย่างเดียว
  • การทำให้ยั่งยืนต้องเริ่มจากเบอร์ 1 ขององค์กรคือ  CEO ต้องเห็นด้วยและให้การสนับสนุนจึงจะเกิดความยั่งยืนขึ้น และการทำต้องทำให้เป็นแบบแผนและระบบที่ชัดเจน และต้องมีระบบมารองรับให้เป็นรูปธรรมในการสร้างทั้งคนเก่งและคนดีขององค์กร 

ที่มา : hrcenter.co.th


อัพเดทล่าสุด