https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
HR หัวใจมาร์เก็ตติ้ง : ปรับพฤติกรรมด้วยสภาพแวดล้อม MUSLIMTHAIPOST

 

HR หัวใจมาร์เก็ตติ้ง : ปรับพฤติกรรมด้วยสภาพแวดล้อม


647 ผู้ชม


HR หัวใจมาร์เก็ตติ้ง : ปรับพฤติกรรมด้วยสภาพแวดล้อม




ผมเคยกล่าวไว้เมื่อฉบับที่แล้วว่า สภาพแวดล้อมเปลี่ยนพฤติกรรมของคนเราได้จริงๆ สภาพแวดล้อมที่ไม่ใช่เพียงแค่ตัวอาคารบ้านเรือน เฟอรนิเจอร์ อุปกรณ์ต่างๆ เท่านั้น ยังรวมไปถึงบรรยากาศ รูป รส กลิ่น เสียง อะไรต่ออะไรที่เป็นผัสสะ (หมายถึง สัมผัส การกระทบ การแตะต้องที่ให้เกิดความรู้สึก)

ลองนึกตามเล่นๆ นะครับ ถ้าเราให้เด็กแว้นขาโจ๋ สไตล์ฮิบฮอบสักคนไปอยู่ในพระอุโบสถ เบื้องหน้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ รายล้อมด้วยเหล่าพระสงฆ์ที่กำลังสวดมนต์ภาวนา ฝาผนังประดับด้วยภาพจิตรกรรมอันวิจิตร อบอวลด้วยกลิ่นธูปควันเทียน เจ้าขาโจ๋คนนั้นก็คงต้องอยู่ในอาการสงบ นั่งพับเพียบเรียบร้อย ประนมมือ

ในทางกลับกันหากเราพาบัณฑิตเกียรตินิยมผู้คงแก่เรียน สุดเนี๊ยบ ภูมิฐาน ผูกเนคไทด์ใส่สูท มีตำราติดมือตลอดเวลา ก้าวเท้าเข้าไปในผับแห่งหนึ่งย่าน อาร์ ซี เอ ตอนห้าทุ่ม พร้อมกลุ่มเพื่อนซี้ เราก็คงเห็นเขาถอดสูทพาดบ่า พับแขนเสื้อ คลายเนคไทด์ ยืนเขย่าขาตามจังหวะเพลง นั่นไงครับ สภาพแวดล้อมมันเปลี่ยนพฤติกรรมเข้าให้แล้ว

ในทาง Marketing ก็ยังมีการใช้สภาพแวลล้อมช่วยโน้มน้าวจิตใจลูกค้าให้ตัดสินใจซื้อง่ายขึ้นเช่นกัน เคยรู้สึกมั้ยครับว่าพอเราเข้าไปนั่งในรถยนต์รุ่นใหม่ล่าสุดและมีพนักงานขายยืนเชียร์บรรยายสมรรถนะอยู่ข้างๆ แหม! จิตใจมันช่างร้อนรนอยากขับออกไปเดี๋ยวนั้นซะเหลือเกิน หรือในการขายบ้าน คอนโด ก็มักจะมีห้องตัวอย่างตกแต่งหรูเริด ให้ลูกค้าเข้าไป ยืน เดิน นั่ง นอน แล้วสุดท้ายก็ใจอ่อนอยากได้เป็นเจ้าของ นั่นก็เป็นอิทธิพลของการสร้างสภาพแวดล้อม

แล้วในงาน HR ของเราล่ะครับ เราจะใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมให้มีผลต่อการปรับพฤติกรรมของพนักงานที่เป็นลูกค้าของเรากันอย่างไร เราต้องการให้พนักงานมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างล่ะ เช่น เป็นคนมีน้ำใจ ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม (คล้ายๆ คำขวัญวันเด็กเนอะ!) ทำงานเป็นทีมอย่างเหนียวแน่น ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องดีเยี่ยม ทุกคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็น กระตือรือร้น กระหายที่จะทำงาน รู้จักกินรู้จักเก็บ แข็งแรงทั้งกายทั้งใจ ฯลฯ เราก็ต้องสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศให้เอื้อต่อการเกิดเรื่องราวเหล่านั้นขึ้นมาสิครับ

ตัดมาอีกฉากหนึ่ง ลองมองสภาพแวดล้อมในปัจจุบันขององค์กรเราว่าเป็นอย่างไร ต่างคนต่างอยู่ รู้จักกันแต่เฉพาะในแผนก มีผนัง รั้ว คอก โซน แบ่งอาณาเขต หรือเปล่า หากเป็นอย่างนี้ เรื่องความสัมพันธ์วงกว้าง คงเกิดได้ยาก ครั้นพอถึงเวลาประชุม หัวหน้าก็เอาแต่พูด พูด พูด สั่ง สั่ง สั่ง ไม่ฟังใคร ทุกข์ สุข ของน้องๆ เป็นอย่างไรไม่สน มองเพียงตัวเลขในรีพอร์ตเท่านั้นหรือเปล่า แบบนี้ความกระตือรือร้นของพนักงานจะหดหายลงเรื่อยๆ

ยิ่งถ้าคนในองค์กรไม่ค่อยได้พูดจากันด้วยแล้ว เอะอะก็ส่ง E-mail ส่งเฉยๆ ไม่พอต้อง Cc คนอื่นด้วย ส่งไปส่งมากลายเป็นทะเลาะกัน ซัดกันด้วยตัวอักษรตัวโตๆ Font Size ร้อยกว่าๆเต็มหน้าจอ แถมยัง Cc ให้ทุกคนในองค์กรรู้ด้วย เรียกว่าประจาน On Air กันเลย อย่างนี้ HR ปวดหัวหนักเลยนะครับ

ดังนั้น อยากได้สิ่งใดก็ต้องเสริมต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้สิ่งนั้นมันเกิดขึ้นครับ อย่าปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม

อยากได้ Speed ในการทำงาน ก็ต้องลดขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนลงไป ไม่ใช่ว่าจะเข้าพบหัวหน้าแต่ละที ต้องฝ่าด่านเลขาฯหน้าห้องตั้งสองสามขั้น งานที่ต้องตัดสินใจด่วนๆ จึงกลายเป็นงานด้วนๆ ไป

อยากสร้างพนักงานที่มีวินัย ก็ต้องปลูกฝังเรื่องความสะอาดในพื้นที่ทำงาน

อยากได้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จงอย่าให้ข้อบังคับข้อกำหนดหยุมหยิมมาปิดกั้นจินตนาการ (ยิ่งถ้าเสริมบรรดา Food for Though เข้าไปด้วยก็ยิ่งดีเหมือนเร่งปุ๋ยให้ต้นไม้)

อยากให้พนักงานกล้าแสดงความคิดเห็น ก็ต้องสร้างโอกาส สร้างบทบาท สร้างช่องทาง สร้างสื่อ สร้างแรงจูงใจ และสร้างกระบวนการรับรู้รับฟัง

อยากให้มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันก็ต้องเริ่มสร้างด้วยรอยยิ้ม ยิ้มกันตั้งแต่ CEO ไปจนถึงเสมียน และหาวิธีลดช่องว่าง ทลายกำแพงกั้นการสื่อสารภายในองค์กรลงให้ได้

อยากให้มีน้ำจิตน้ำใจ ก็ต้องเน้นเรื่องการเป็นผู้ให้ และให้เห็นผู้ที่ด้อยโอกาสกว่า

อยากให้เป็นคนดี มีจริยธรรม ศีลธรรม ต้องให้รู้จักคำว่า “อย่านะ คนอื่นเขาจะเดือดร้อน” การไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนก็เท่ากับการรักษาศีล 5 แล้ว คือ ไม่ฆ่า ไม่ขโมย ไม่มั่ว ไม่โม้ ไม่เมา

อยากให้เป็นคนที่รู้จักกิน รู้จักใช้ ไม่เป็นหนี้ ก็ต้องให้รู้จักพอ รู้จักออม

อยากให้พนักงานมีสุขภาพแข็งแรงไม่ใช่ว่าทำงานหาเงินแล้วเอาไปให้หมอซะหมด ก็ต้องสร้างโอกาสให้ได้ออกกำลังกาย ให้ได้ร่วมกิจกรรมกีฬา และต้องไม่ใช่แค่กีฬาสีปีละครั้ง ครั้งละวัน แต่ควรจะทำตลอดทั้งปี เป็นปีแห่งการกีฬา อะไรประมาณนี้ ทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ไม่เป็นไฟไหม้ฟาง

อยากให้พนักงานสนุกกับการทำงาน ก็ต้องสร้างบรรยากาศให้มันครื้นเครง

อยากให้ลูกน้องพัฒนา ก็ต้องให้โอกาส และเปลี่ยนบทบาทของผู้นำจากคุณอำนาจ เป็นคุณอำนวย

ทั้งหลายทั้งปวงนี้ มันก็คล้ายๆที่ฝรั่งพูดว่า You are what you eat. นั่นแหละครับ

เมื่อไม่นานนี้ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานสัมมนาในเรื่องที่เกี่ยวกับ “Happy Work Place” เป็นความร่วมมือจากหลายๆ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่หวังจะสร้างสถานที่ทำงานให้เป็นแหล่งกำเนิดความสุข

เก็บตกจากการสัมมนานี้เช่นกัน ไปพบโดยบังเอิญจึงขอนำมาฝากพวกเราชาว HR ครับ “วันนี้ HR มีหน้าที่แค่สร้าง Work Skill ให้คนในองค์กรเพียงพอแล้วหรือ ท่านมองข้าม Life Skill หรือไม่ ในเมื่อคนในองค์กร คือ คน มีชีวิต มีสุข มีทุกข์ ถ้าองค์กรสนใจแต่อยากให้คนเก่งในงาน แต่ล้มเหลวในการดำเนินชีวิต คนเก่งจะช่วยองค์กรให้ยิ่งใหญ่ได้จริงหรือ”

คำตอบอยู่ที่ตัวพวกเราเองครับ...

 

โดย ดุสิต รัชตเศรษฐนันท์


อัพเดทล่าสุด