https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ระบบคุณธรรมในการบริหารคน : สีขาวกับสีดำ MUSLIMTHAIPOST

 

ระบบคุณธรรมในการบริหารคน : สีขาวกับสีดำ


689 ผู้ชม


ระบบคุณธรรมในการบริหารคน : สีขาวกับสีดำ




ต้องยอมรับกันว่าเรื่องราวของการบริหารคนนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มีมานานและต้องนานมากทีเดียวเมื่อมนุษย์จำเป็นต้องมีการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นคณะ มีกิจกรรมทางธุรกิจหรือการดำเนินงานร่วมกัน
และไม่ว่ายุคสมัยใดพัฒนาการขององค์กร ธุรกิจ สังคม รวมถึงประเทศชาติจะถูกเทคโนโลยีที่ทันสมัยเลิศเลอหรือกระแสทุนที่มโหฬารปรับให้เปลี่ยนแปลงไปนับร้อยเท่าพันทวีเรื่องการบริหารคนจะยังคงเป็นสิ่งที่ธำรงแก่นแท้หลักหนึ่งในการบริหารองค์กร
ความสำเร็จขององค์กรหรือหน่วยงานที่เจริญก้าวหน้าเติบโตในกระแสโลกาภิวัตน์ สามารถพิจารณาได้จากสิ่งต่อไปนี้
-ด้านผลประกอบการหรือความสามารถในการทำกำไรที่นำมาซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจระดับประเทศ การจ้างงานให้คนในชาตินั้นได้มีอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว
-ด้านการสร้างสรรค์และธำรงไว้ซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งนี้จะแตกต่างจากองค์กรที่มักจะบอกว่า เราทำอะไรผิดกฎหมายหรือไม่ หรือไม่เห็นมีใครว่าในสิ่งที่เราทำ เพราะสิ่งนี้ไม่ใช่ลักษณะขององค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคม
-ด้านการบริหารจัดการภายในที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งส่วนหนึ่งที่จะดูกันมากคือ
การบริหารคนตั้งแต่การว่าจ้าง สรรหาคนให้เข้ามาทำงาน การเลื่อนตำแหน่งแต่งตั้ง การให้รางวัลในด้านคุณงามความดีและทำคุณประโยชน์ให้องค์กรใน 3 ด้านตามที่กล่าวมาเป็นหลักใหญ่ๆ ที่ใช้ดูความสำเร็จขององค์กรหรือธุรกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการบริหารคน ถ้าเป็นระบบอุปถัมภ์ (Spoil System) องค์กรนั้นถือว่าล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า แม้ว่าอื่นๆ จะดีหมดเพราะสิ่งที่เห็นนั้นเป็นเพียงเปลือกหรือการสร้างภาพทางการตลาดเท่านั้นเอง
ตราบาปในระบบคุณธรรมตามข่าวศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาว่า การตั้งรองอธิบดีกรมสรรพากร 4
คนเมื่อปี 2544 เป็นโมฆะ (นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ที่ 19 มิ.ย.2549 หน้า 47) ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในระบบคุณธรรมกับการบริหารคน
ผู้เขียนไม่ได้สนใจในเรื่องตัวบุคคลตามข่าวดังกล่าว แต่สนใจในหลักการของการบริหารคนที่ว่าด้วยระบบคุณธรรม
“ตามหลักการบริหารคนจะมีระบบคุณธรรม (Merit System) อยู่ 4 ประการด้วยกันคือ
1. หลักความรู้ หมายถึง ทุกคนที่เข้ามาในองค์กรจำเป็นจะต้องมีความรู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่งที่จะได้รับการว่าจ้าง บรรจุหรือแต่งตั้ง ซึ่งการศึกษาหาความรู้นี้ อาจจะเป็นทั้งความรู้ในระบบการศึกษา เช่น โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย หรือนอกระบบการศึกษา เช่น การศึกษาด้วยตนเอง การเข้ารับการฝึกอบรมและพัฒนา ดังนั้นใครก็ตามที่มีความรู้จะได้รับโอกาสเหมือนกัน
2. หลักความสามารถ การบริหารคนที่ยึดถือกันมาคือ “การจัดคนให้ตรงกับงาน” (Put the right man on the right job) ซึ่งยึดเป็นหลักคุณธรรมที่สำคัญมากในระบบบริหารคน ปัจจุบันพูดกันมากในเรื่อง “Competency” หรือ “ความสามารถ” (ราชการเรียกว่า สมรรถนะ) โดยไม่คำนึงถึงภูมิหลัง ชาติตระกูล เพศ ผิวพรรณ หรือญาติใครนามสกุลใหญ่โตแค่ไหน ฯลฯ ถ้ามีความสามารถบุคคลนั้นย่อมทีสิทธิเท่าเทียมกัน
3. หลักความมั่นคงในอาชีพ หมายถึง องค์กรพยายามทำให้ทุกคนที่เข้ามาอยู่กับองค์กรแล้วมีความมั่นคงในอาชีพการงาน เช่น มีการจัดทำแผนกำลังคน มีการจัดทำแผนทางก้าวหน้าในอาชีพหรือแผนสืบทอดตำแหน่ง และจ่ายค่าตอบแทนตามค่าของความสามารถหรือผลของงาน เพื่อให้ทุกคนมีความรู้สึกว่าได้อยู่ในองค์กรที่มีโอกาสใช้ความรู้แสดงความสามารถให้เติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงาน คนก็จะทุ่มเททำงานให้กับองค์กร
4. หลักความเป็นอิสระจากการเมือง หมายความว่า ผู้บริหารองค์กรที่ทำหน้าที่ในการดูแลและผดุงระบบคุณธรรมในการบริหารคนจะทำอย่างไรให้ปลอดจากอิทธิพลทางการ-เมือง (ทั้งภายในและภานอก) อิทธิพลอำนาจมืดหรือผู้ที่สามารถให้คุณให้โทษได้ใช้อิทธิพลทำลายระบบคุณธรรม
ถ้าองค์กรใดธำรงรักษาไว้ซึ่งระบบคุณธรรม 4 ประการในการบริหารคน องค์กรนั้นจะมีกำลังคุณที่สร้างคุณูปการใหญ่หลวงให้แก่เศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติ”
ความจริงแล้วในคดีดังกล่าวจะอ่านเพียงข่าวจากหนังสือพิมพ์ไม่พอ ถ้าได้ลองเข้าไปอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดทั้งหมดจะพบว่า
“ประเด็นหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คดีนี้เป็นบทเรียนที่มีคุณค่าสำคัญต่อการเรียนการสอนให้ระดับอุดมศึกษาสำหรับหลักสูตรสาขาบริหารทรัพยากรบุคคล ที่ต้องให้นักศึกษาได้ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
(1)องค์กรกลางที่ทำหน้าที่ในการกำหนดกฏเกณฑ์ด้านการบริหารคน การธำรงและผดุงไว้ซึ่งระบบคุณธรรม ไม่ได้ทำหน้าที่ให้สมกับภารกิจที่ได้ถูกมอบหมายและธำรงรักษาไว้มาอย่างยาวนาน เพราะได้ไปออกกฏเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกที่หักล้างระบบคุณธรรมในการสรรหาและแต่งตั้งให้บุคคลได้เข้าสู่ตำแหน่งโดยไม่โปร่งใสและเป็นธรรม ในเรื่องการยกเว้นหลักเกณฑ์ไม่ผ่าน การประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหาร และได้ผ่านหลักสูตรนักบริหารระดับสูง ของหน่วยงานด้านนี้ ตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาไว้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้ยกเลิกหลักเกณฑ์ดังกล่าว
(2)ผู้ที่จะทำหน้าที่ในการออกกฎเกณฑ์หรือระเบียบปฏิบัติด้านบริหารคนขององค์กรสถาบันการศึกษาต้องสอนให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ถึงประเด็นนี้อย่างลึกซึ้ง อาทิ
-คงจะใช้เพียงคนที่ร่างกฎระเบียบได้ถูกต้องตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ไม่ได้อย่างแน่นอน
-ต้องเป็นบุคคลที่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพนั้นๆ เช่น ถ้าทำด้านบริหารคน คงต้องมีจรรยาบรรณในวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล
-การพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและจะนำไปสู่การพิจารณาฟ้องร้องเมื่อไม่ธำรงไว้ซึ่งระบบคุณธรรมในอนาคตอย่างไร
(3)และที่จะต้องเรียนรู้อย่างมากคือ การประเมินความสามารถ (Competency Assessment) ในระดับบริหาร ในความเป็นจริงจะต้องพัฒนาอย่างถูกต้องและเป็นที่ยอมรับของทุกคนในองค์กร ดังนั้นเครื่องมือต่างๆ ในการประเมินความสามารถ ต้องสร้างขึ้นจากผู้ที่รอบรู้ทั้งด้านยุทธศาสตร์ประเทศ องค์กรและหน่วยงาน ด้านบริหารจัดการสมัยใหม่ ด้านเครื่องมือวัด การใช้บุคคลที่เฉพาะทางมาดำเนินการจึงมักถูกปฏิเสธในการนำไปใช้ในทางปฏิบัติ”
ดังนั้นการบริหารคนนี้สามารถเป็นสีขาวก็ได้ (มีคุณธรรม) สีดำก็ได้ (เป็นอธรรม) ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายฝ่าย แต่ที่สำคัญที่สุดคือผู้คุมกฏ กติกา มารยาท หากไม่เป็นสีขาวเสียเองอะไรๆ ก็จะเป็นดังเช่นที่เห็นและเป็นอยู่
อ.ดนัย เทียนพุฒ
Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants

อัพเดทล่าสุด