https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สัมภาษณ์ดี .... มีเหตุผล แต่ไม่ได้รับพิจารณา!!! MUSLIMTHAIPOST

 

สัมภาษณ์ดี .... มีเหตุผล แต่ไม่ได้รับพิจารณา!!!


603 ผู้ชม


สัมภาษณ์ดี .... มีเหตุผล แต่ไม่ได้รับพิจารณา!!!




เชื่อว่าหลายคนที่กำลังหางานทำอยู่ รวมทั้งผู้ที่มีงานทำทั้งหลาย เคยมีประสบการณ์ในการสัมภาษณ์งานมาแล้วทั้งสิ้น ซึ่งคงจะมีคำถามคาใจอยู่บ้างพอสมควรว่า ทั้งๆ ที่สัมภาษณ์งานได้ดี มีความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยม โดยเฉพาะความรู้-ความสามารถ รวมทั้งด้านวัยวุฒิ และคุณวุฒิการศึกษาที่เพียบพร้อม แต่เมื่อผลลัพธ์ปรากฏออกมาแล้ว สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน เพราะฉะนั้น ผู้สมัครทั้งหลายที่มั่นใจในตัวเอง และต้องพบว่าผิดหวังหลังจากเข้ารับการสัมภาษณ์ทั้งๆ ที่ตอบคำถามได้อย่างไม่มีติดขัด เห็นทีจะต้องลอง พิจารณาข้อคิดเห็นต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องพลาดงานก็ได้
ผู้สมัครมั่นใจในเรื่องใด? ผู้สมัครบางคนมีประสบการณ์ในการทำงานทั้งในและต่างประเทศ แต่ต้องการจะเปลี่ยนงาน และผู้สมัครอีกจำนวนหนึ่งเป็นผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อนเลย แต่จุดนี้ส่วนใหญ่จะไม่เป็นการได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันเท่าใดนัก ถ้าจะพิจารณาถึงประเด็นต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบให้ได้รับหรือไม่ได้รับการคัดเลือก
ความมั่นใจในตัวเองที่มีอยู่อย่างสูง จากผู้สมัครที่เป็นคนเรียนเก่งมาก และจบการศึกษาปริญญาตรีจากสถาบันที่มีชื่อเสียง ทำให้เจ้าตัวภูมิใจว่าตนเองไม่ธรรมดา หาคนเทียบเคียงได้ยาก ยิ่งกว่านั้นยังไปศึกษา ต่อปริญญาโทในต่างประเทศ และมีโอกาสทำงานหาประสบการณ์ในต่างประเทศอีกด้วย เพราะฉะนั้น ผู้สมัครจึงมีเหตุผลแวดล้อมเพียงพอที่จะมั่นใจว่าตนเองมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์กับงานในตำแหน่งที่สมัครเหนือกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ ไม่ว่าจะพิจารณาด้านวุฒิการศึกษา หรือประสบการณ์
พวกเขาคิดว่าเขาสามารถแสดงความมั่นใจให้ผู้สมัครได้รู้ได้ฟังในสิ่งที่เขาเป็นและสิ่งที่เขามี เพื่อจะได้เห็นว่าเขาเหมาะสมที่จะได้รับการคัดเลือก ความมั่นใจในการพูดตอบคำถามของผู้สัมภาษณ์ ไม่ว่าจะเป็นคำถามที่เกี่ยวกับความรู้ทางวิชาการ หรือเกี่ยวกับประสบการณ์ ทุกประเด็นดูเหมือนจะไม่มีอะไรติดขัดเลย แถมผู้สัมภาษณ์ก็ทำท่าสนใจในการรับฟังคำตอบและข้อคิดเห็น ทำให้ผู้สมัครยิ่งแน่ใจว่าคงจะได้รับการพิจารณา ถ้าจะว่าถึงบุคลิกก็มั่นใจว่าดูดี ไม่ว่าจะในเรื่องของการแต่งกาย กิริยามารยาท เพราะได้ผ่านการศึกษาอบรมและการเข้าสังคมมาพอสมควร จนมั่นใจว่าไม่น่าจะมีข้อผิดพลาดบกพร่อง
คุณวุฒิทางการศึกษาและทรานสคริปต์ล้วนเป็นเครื่องยืนยันว่า ผู้สมัครเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติอันน่าจะเป็นที่น่าสนใจของผู้สัมภาษณ์ ทั้งหมดนี้แหละคือสาเหตุสำคัญให้ผู้สมัครคิดว่าตนน่าจะได้รับการคัดเลือกแต่ผลมิใช่เช่นนั้นเพราะเขาไมˆได้รับคัดเลือก

ทีนี้เราก็ต้องมาย้อนคิดอีกว่าอะไรคือข้อ ผิดพลาด? 
ทั้งๆ ที่มั่นใจไม่น่าจะพลาดงาน คงจะมีเหตุผลอะไรสักอย่าง หรือหลายอย่างที่ทำให้เกิดความผิดพลาดไม่ได้งานสมใจนึก และข้อนี้แหละเป็นข้อสงสัยที่หาคำตอบไม่ได้ของผู้สมัครที่มั่นใจแทบจะเกินร้อย จึงมีข้อคิดให้คุณลองพิจารณาดูว่า ควรจะเปลี่ยนท่าทีในการเข้ารับการสัมภาษณ์อย่างไรหรือไม่ เพื่อให้คุณได้งานอย่างที่หวัง
ความมั่นใจในตัวเองเป็นสิ่งที่ดีก็จริง แต่การพูดหรือการแสดงออกต่างหากที่จะทำให้ผู้รับฟังมีความรู้สึกที่ดี หรือไม่ดีต่อตัวคุณได้ โดยคุณอาจจะไม่คิดว่ามันมีความสำคัญ เพราะคุณรู้ว่าสิ่งที่คุณทำเสมอผู้สัมภาษณ์นั้น ล้วนเป็นความจริงทั้งนั้น และคุณก็ประสงค์ให้ผู้สัมภาษณ์ได้รู้คุณค่าทั้งหมดของคุณ คุณจึง พยายามพูดๆ โดยอาจจะไม่ได้สังเกตท่าทีและความรู้สึกของผู้สัมภาษณ์ คุณรู้หรือไม่ว่าความยากอย่างหนึ่งก็คือ การที่บอกคุณงามความดี ความสามารถและประสบการณ์ของตัวเองให้ผู้ฟังชื่นชมและชื่นชอบในตัวของคุณ เพราะมันจะต้องเป็นจุดที่พอดีๆ ตรงนี้แหละคือความลำบาก เพราะถ้ามากเกินไปในความรู้สึกของผู้สัมภาษณ์ ก็จะดูเหมือนเป็นการคุยโอ้อวดตัวจนเกินงาม แต่ถ้าน้อยเกินไปก็คงไม่ทำให้ ผู้สัมภาษณ์มองเห็นคุณค่าในตัวคุณ
สิ่งหนึ่งที่คุณพึงตระหนักก็คือ ผู้สัมภาษณ์ล้วนมีความรู้และประสบการณ์มากกว่าคุณอย่างแน่นอน การจะพูดถึงความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของคุณที่เราคิดเอาเองว่ามันยิ่งใหญ่อาจจะเป็นสิ่งน้อยนิดเมื่อเทียบกับสิ่งที่พวกเขามีมาด้วยเวลาอัน ยาวนาน คุณจึงต้องระมัดระวังในการเอ่ยถึงความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของคุณ เพื่อให้ดูไม่เว่อร์สำหรับผู้ใหญ่ที่กำลังพิจารณาคุณอยู่ การพูดและการนำเสนออย่างสุภาพอ่อนโยน ท่าทีที่นอบน้อม การใช้ถ้อยคำที่ถูกกาลเทศะบุคลิกภาพจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในการตัดสินคัดเลือก เพราะถ้าเขารับคุณเข้าทำงานกับองค์กร เขาต้องประสงค์จะให้คุณอยู่ทำงานในระยะยาว สามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วม งาน ผู้บังคับบัญชา และลูกค้าได้เป็นอย่างดี เพื่อความราบรื่นในการทำงาน
เนื่องจากความสามารถในการทำงานอาจจะ พัฒนาได้โดยไม่ยากนัก แต่การที่จะรับคนทำงานแล้วค่อยมาพยายามปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดีนั้นเป็นสิ่งที่ยาก เพราะถ้าปรับตัวหรือมีลักษณะเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ยากย่อมจะทำให้เกิดความขัดแย้งหรือไม่ได้รับการยอมรับ จะนำไปสู่ปัญหาความไม่ราบรื่นในการทำงาน กระทบต่อประสิทธิภาพในส่วนรวมของงานในองค์กร
ได้มีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับความสำคัญ ของความรู้ความสามารถในงานกับทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ โดยทำการศึกษาจากผู้บริหารระดับสูงจำนวนหนึ่ง มีข้อสรุปว่า ผู้บริหารที่ขาดความรู้ความสามารถหรือไม่ถึง 24.5% ไม่ได้เลื่อนเป็นผู้บริหาร ระดับสูง แต่ถ้าขาดความสามารถในการเข้ากับคน 75.5% ไม่ได้เลื่อนเป็นผู้บริหารระดับสูง
นั่นหมายความว่า ทักษะในการเข้ากับคนมีความสำคัญกว่าความสามารถในงาน นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อคนทำงานมานานปีจนถึงจะเป็นผู้บริหารระดับสูงได้ พวกเขาจะต้องมีประสบการณ์ในงานเพิ่มขึ้นตามกาลเวลาอย่างไม่ต้องสงสัย คุณคิดบ้างหรือไม่ว่าผู้สัมภาษณ์คงไม่ห่วงนักในเรื่องความรู้ความสามารถของพนักงานเพราะเชื่อว่าอาจจะพัฒนาได้ด้วยวิธีการ ต่างๆ ดังนั้น พวกเขาจึงน่าให้ความสำคัญกับคุณสมบัติด้านมนุษยสัมพันธ์ การพูด การเข้ากับผู้คน การควบคุมตนเอง ความสุภาพอ่อนน้อม ความรู้กาลเทศะ เพราะมันมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าความรู้ความสามารถในการงานเลย
เรื่องของการแสดงความคิดเห็นหรือการตอบคำถามของผู้สัมภาษณ์ด้วยการพูดนั้น จริงอยู่คุณอาจจะมั่นใจในคำตอบ เช่น คำถามด้านวิชาการ ด้านความรู้ทั่วไป ด้านวิสัยทัศน์ คุณตอบได้อย่างมั่นใจว่าถูกต้อง ผู้สมัครหลายคนก็คงเป็นเช่นนั้น หรือคล้ายคลึงกัน หรือไม่มีความแตกต่างกันมากนัก แต่ความผิดพลาดก็อาจจะเกิดขึ้นโดยคุณนึกไม่ถึงก็คือ วิธีการพูดของคุณนั่นเอง คุณจำเป็นต้องตระหนักว่า คุณกำลังพูดอยู่กับใคร และคุณมีจุดประสงค์อะไรในการแสดงความคิดเห็น หรือการตอบคำถามผู้สัมภาษณ์
เพราะถ้าหากคุณไม่คำนึงถึงในข้อนี้ คุณอาจจะต้องผิดหวังที่ไม่ได้งานอย่างที่มั่นใจ และถ้าหากไม่มีการแก้ไขในจุดนี้ มันก็คงจะเป็นปัญหาซ้ำซากในการสมัครงาน การที่คุณต้องตระหนักว่าคุณกำลังพูดอยู่กับใครนั้น ก็เพื่อเตรียมตัวเองว่า ผู้ที่จะสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกคุณนั้น ย่อมเป็นผู้ที่มีประสบการณ์เหนือ คุณอย่างแน่นอน กว่าที่เขาจะมาถึงจุดนั้น อีกทั้งยังมีวัยวุฒิมากกว่าคุณอีกต่างหาก
ดังนั้น การพูดจาหรือการแสดงความคิดเห็นจึงต้องอยู่บนพื้นฐานของความรู้กาลเทศะ โดยมีความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสกว่า การแสดงความรู้ความสามารถและประสบการณ์นั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่จะต้องเป็นไปด้วยความเหมาะสม มิฉะนั้นผลอาจจะเป็นลบกับตัวของคุณก็ได้ เพราะกับการพบคนในครั้งแรก คุณจำเป็นต้องดูตาม้าตาเรือ หรือรู้เขารู้เราพอสมควร คุณไม่อาจตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น หรือได้แย้งอย่างที่คุณแสดงออกเหมือนตอนกำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือในการประชุมใน ที่ทำงานเดิมของคุณ เพราะนั่นเป็นกลุ่มคนที่คุ้นเคยและร่วมงานกันมาพอสมควรซึ่งพอจะอภัยให้กัน ได้บ้าง
ผู้ที่อาวุโสกว่าคุณ และมีตำแหน่งบริหารระดับกลางขึ้นไป จะเป็นผู้สัมภาษณ์คุณ ความไม่สุภาพอ่อนน้อม ความไม่สำรวม ความไม่รู้กาลเทศะ การแสดงอารมณ์ โดยปราศจากการควบคุม การเถียงเอาชนะแบบหัวชนฝา เพราะคุณคิดว่าคุณต้องชนะเหนื่องจากเป็นความคิด หรือเป็นเหตุผลที่ถูกต้อง ทั้งหมดนี้...ล้วนเกิดผลลบกับคุณทั้งนั้น มีประโยชน์อะไรที่จะไปต่อล้อต่อเถียง เพียงต้องการชนะ ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลที่ถูกต้อง แต่สรุปแล้วไม่ได้งานทำ

 

 

 

แหล่งข้อมูล : ฐานเศษรฐกิจ


อัพเดทล่าสุด