https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ศิลปะการพูดในการสัมภาษณ์ MUSLIMTHAIPOST

 

ศิลปะการพูดในการสัมภาษณ์


671 ผู้ชม


ศิลปะการพูดในการสัมภาษณ์




      ช่วงเวลาในการสัมภาษณ์ เป็นช่วงเวลาทองของผู้สมัครในการทำคะแนน เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์มองเห็น ความสามารถและความเหมาะสมกับงาน ดังนั้น จึงต้องรู้จักวิธีพูดและรู้จักเลือกพูดสิ่งที่ควรพูดด้วย
           
    ข้อแนะนำสำหรับการพูดในการสัมภาษณ์ มีดังนี้ 
  • น้ำเสียง ควรฝึกการออกเสียงให้ได้ดังต่อไปนี้ - เสียงดังฟังชัด ไม่อู้อี้อยู่ในลำคอ แต่ไม่ดังจนเกินไป ความดังของเสียงอยู่ในระดับที่ได้ยินชัดว่าอะไร ก็เพียงพอแล้ว บางคนมีอาการประหม่าตื่นเต้น จึงพยายามใช้เสียงดัง เพื่อข่มความกลัวความประหม่า แต่เสียงดังมากเกินไป จึงเหมือนกับตะโกนอยู่ตลอดเวลา - ไม่ใช้เสียงเบาเกินไป บางคนพูดเหมือนกระซิบอยู่ตลอดต้องคอยเงี่ยหูฟัง มิฉะนั้นจะไม่ทราบว่าพูดอะไร อาจเป็นไปได้ที่ความประหม่าทำให้พูดด้วยเสียงเบา ถ้าอย่างนั้นต้องรวบรวมสมาธิสร้างความกล้าหาญขึ้น ให้ได้ก่อนเข้ามาในห้องสัมภาษณ์ - น้ำเสียงเป็นกันเอง ไม่ใช้เสียงแข็งหรือพูดห้วน ๆ มีบางคนเสียงแข็งมาก จนกระทั้งถูกมองว่าอาจจะไม่ เต็มใจมาสัมภาษณ์ก็ได้
  • จังหวะในการพูด การพูดช้า อาจเป็นเพราะใช้เวลาในการคิดหาคำตอบ ถ้าเป็นกรณีนี้ การเตรียมตัวอย่างดีจะช่วยได้เพราะจะ ทำให้ตอบได้ทันที ดังนั้นจึงต้องศึกษาคำถามและเตรียมคำตอบไว้ก่อน มีบางคนเตรียมคำตอบไว้ดี สามารถ ตอบได้อย่างรวดเร็วคล่องแคล่ว แต่เมื่อผู้สัมภาษณ์พลิกแพลงคำถาม ไม่ถามตามสูตรที่ใช้กันโดยทั่วไป จึงเริ่ม เกิดปัญหาขึ้น บางคนพูดเร็วมาก เร็วจนฟังไม่ทันก็มี ความจริงพูดเร็วดีกว่าพูดช้า คนฟังจะเบื่อคนที่พูดช้า มากกว่าพูดเร็ว แต่ถ้าเร็วเกินไปก็ไม่ดี นอกจากฟังไม่ทันแล้ว ถ้าเผลอคิดอะไรหรือขาดสมาธิในการฟังสักครู่ อาจจะตามไม่ทันและปะติดปะต่อเรื่องไม่ได้เลย
  • ระวังคำซ้ำคำเกิน เช่น เอ้อ อ้า แบบว่า ก็ แล้วก็ คำต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผู้ฟังเบื่อรำคาญได้ ใครที่ติดคำจำพวกนี้ ต้องฝึกฝนด้วย การพยายามระวังตัว ไม่พูดคำเหล่านี้ ช่วงแรก ๆ อาจจะยังคงลดลงไม่ได้มาก แต่ต่อไปก็จะค่อย ๆ ลดลง จนกระทั่งไม่มีเลย หรือมีน้อยมาก
  • คำสแลง นอกจากจะถือว่าไม่สุภาพแล้ว คำสแลงยังทำให้เกิดความไม่เข้าใจขึ้นได้ด้วย ขอให้พยายามระมัดระวังใน การใช้คำที่เป็นภาษาเฉพาะ รับรู้กันในหมู่วัยเดียวกัน หรือในสถาบันนั้น ๆ เท่านั้น
  • ไม่พูดมากเกินไป ถึงแม้ว่าการสัมภาษณ์จะต้องใช้การพูดเป็นข้อสำคัญ แต่ก็ต้องระวังอย่าพูดมากเกินไป บางคนพูดมาก อธิบายมาก แม้ในเรื่องควรตอบเพียงสั้น ๆ จึงทำให้เสียเวลา และอาจถูกมองว่า ถ้ารับเข้ามาทำงานคงจะเสียเวลาในการทำงาน ไปกับการพูดเสียมากกว่า มีบางคนนอกจากพูดมาก ตอบยาวเกินไปแล้ว ยังไม่ค่อยสนใจฟังคำถามอีกด้วย ถามยังไม่ ทันจบก็รีบตอบเสียแล้ว ซึ่งไม่ถูกต้อง ควรฟังให้จบเสียก่อนแล้วจึงค่อยตอบจะดีกว่า 
  • ไม่พูดน้อยเกินไป ถ้าพูดน้อยเกินไป ไม่พยายามให้ข้อมูล ไม่นำเสนอตัวเองให้เป็นที่รู้จัก ผู้สัมภาษณ์จะพิจารณาได้อย่างไรว่า เหมาะสมกับงานยิ่งถ้าเป็นงานที่จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการพูดด้วยแล้ว ถ้าพูดน้อยโอกาสที่จะผ่าน การพิจารณาก็จะน้อยตามไปด้วย
  • อย่าโกหก ขนาดตอนสัมภาษณ์ ยังไม่เข้ามาทำงาน ยังหลอกกันแล้วจะมีใครไว้วางใจให้เข้ามาทำงานหรือบางคนโกหกเก่ง จึงอาจจะหลอกได้บ้าง แต่ต้องไม่ลืมว่าผู้สัมภาษณ์มีประสบการณ์มากกว่า โอกาสที่จะหลอกไม่สำเร็จ ถูกจับโกหก ได้จึงมีอยู่สูง การรู้จักเลี่ยง ไม่พูดความจริงที่เป็นผลเสีย แต่ไม่โกหก เป็นวิธีที่ดีกว่าการโกหก หรือพูดความจริง อย่างไม่ฉลาด

    บทความบางส่วนจากหนังสือ คู่มือสมัครงาน อ.ถาวร โชติชื่น สำนักพิมพ์ wisdom


  • อัพเดทล่าสุด