https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
P-PAC ถอดรหัสสมอง ค้นหาศักยภาพ สร้างสมดุล คน-งาน MUSLIMTHAIPOST

 

P-PAC ถอดรหัสสมอง ค้นหาศักยภาพ สร้างสมดุล คน-งาน


789 ผู้ชม


P-PAC ถอดรหัสสมอง ค้นหาศักยภาพ สร้างสมดุล คน-งาน




P-PAC ถอดรหัสสมอง ค้นหาศักยภาพ สร้างสมดุล คน-งาน
ปัจจุบันแทบทุกองค์กรมีกฎเกณฑ์ในการคัดเลือกกำหนดคุณสมบัติและมีแผนฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานมากมาย แต่จะมีเครื่องมือใดมาช่วยทำให้เรามั่นใจว่าได้ "Put the right man on the right job"
มุมมองของ "ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) อาจไม่แตกต่างจากซีอีโอองค์กรอื่น แต่สิ่งที่ต่างคือกุนซือเซเว่น
อีเลฟเว่นไม่ได้หยุดทุกอย่างไว้ที่ความคิด แต่พยายามค้นหาแนวทางในการทำให้ พนักงานทำงานอย่างมีความสุข
"ก่อศักดิ์" ย้อนให้ฟังถึงห้วงเวลา อันยิ่งใหญ่ว่า ในช่วงปลายปี 2550 ซีพี ออลล์ได้มีโอกาสเดินทางไปแข่งหมากล้อมอุดมศึกษาและเอเชี่ยนโกะทัวร์นาเมนต์ที่จังหวัดขอนแก่น ได้พบกับอาจารย์ เหลียนอี้ว์ซิง ผู้ก่อตั้งบริษัทซึ่งมีประสบการณ์ในการค้นคว้าวิจัยเรื่องลายผิววิทยากับศักยภาพของมนุษย์มา 10 กว่าปี สะสมฐานข้อมูลจากการวิจัยกรณีศึกษามากมาย หลังจากได้พูดคุยจึงสนใจบุกไปพิสูจน์ถึงสำนักงานที่ไต้หวัน
จากวันนั้นศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสายตา "ก่อศักดิ์" ก็เริ่มเปลี่ยนไป มองประโยชน์ในลักษณะที่ เชื่อมโยงการฝึกอบรมพนักงาน การบริหารและการสื่อสารในองค์กรไปพร้อม ๆ กัน
หลังจากนั้นไม่นาน "ศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพปัญญาธารา" หรือ "P-PAC" (Panyatara Potential Analysis Center) ก็ก่อกำเนิดขึ้นภายใต้ชายคาของ "ซีพี ออลล์" และพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ จนวันนี้ลูกค้าจองคิวขอรับบริการยาวเหยียด
หลายคนอาจสงสัยและตั้งคำถามในใจว่า การวิเคราะห์ด้วยลายนิ้วมือจะเหมือนกับหมอดูลายมือหรือเปล่า
คำตอบคือไม่ใช่ เพราะหมอดูจะดูลายมือจากเส้นที่เป็นร่องลึกลงไปในผิว แต่การวิเคราะห์ในศูนย์แห่งนี้จะเก็บข้อมูลจากลายนิ้วมือหรือลายผิวที่นูนขึ้นมาบนฝ่ามือและฝ่าเท้า ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "Dermatoglyphics" เป็นศาสตร์ที่ผ่านการค้นคว้าทางการแพทย์มากกว่า 100 ปี
ซีอีโอซีพี ออลล์บอกว่า กระบวนการ ตั้งศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพ software และ hardware นั้นเตรียมไม่ยาก แต่สิ่งที่ยากที่สุด คือการเตรียม humanware เพราะหัวใจสำคัญของการวิเคราะห์อยู่ที่นักวิเคราะห์ศักยภาพที่ต้องมีทักษะความรู้ มีบุคลิกที่เหมาะสมและยึดมั่นในจริยธรรม
P-PAC ถอดรหัสสมอง ค้นหาศักยภาพ สร้างสมดุล คน-งาน

จากอาสาสมัคร 30 กว่าคนในวันแรก ผ่านเข้าด่านสุดท้าย ยกระดับเป็นนักวิเคราะห์มืออาชีพ เข้ามาบุกเบิกโครงการเพียง 9 คนเท่านั้น
"จักษ์ ลีละเทพาวรรณ" ผู้จัดการ ศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพปัญญาธารา เล่าว่า คุณก่อศักดิ์มองเห็นคุณค่าของคนจึงให้ความสำคัญในเรื่องการวิเคราะห์และพัฒนาศักยภาพของบุคคล หลังจากที่พบว่าลายผิววิทยาเป็นการศึกษาความเชื่อมโยงของการทำงานของสมองและลายผิวมือที่มีงานวิจัยสนับสนุนมากมายและเป็นที่ยอมรับมากว่า 200 ปี จึงก่อตั้ง P-PAC ขึ้น
"ทุกคนเกิดมาจะมีความเก่งติดตัวมา 8 อย่าง แต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งลายผิววิทยาไม่ได้บอกว่าคนคนนั้นเก่งหรือไม่เก่ง แต่บอกว่ามีศักยภาพในการพัฒนาด้านใดดีกว่ากัน เพราะต่อให้เขาเก่ง แต่ถ้าไม่ได้รับการพัฒนาให้ถูกทิศถูกทาง ศักยภาพตรงนั้นก็จะไม่มีโอกาสแสดงออกมาได้ แต่ถ้าเรารู้ว่าตัวเองโดดเด่นด้านใด รูปแบบและลักษณะการเรียนรู้เป็นอย่างไร ก็จะผลักดันตัวเองไปได้ตรงจุด"
"หลังจากที่เซเว่นอีเลฟเว่นขยายสาขาไปกว่า 10,000 สาขา คุณก่อศักดิ์ก็มาบอกว่า เราน่าจะทำอะไรให้กับคนในสังคมได้ มากขึ้น ทำให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น บางคนถูกพ่อแม่บังคับให้เรียนแพทย์ทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่ถนัด แต่ก็เรียนไป พอจบก็ไปทำงานด้านศิลปะ ลักษณะนี้ทำให้เกิดความเสียหาย ตรงนี้จะเป็นอาวุธให้กับลูก ๆ ในการต่อสู้กับความคิดของพ่อแม่"
"จักษ์" บอกต่อว่า ศูนย์ P-PAC เริ่มเปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการแก่ พนักงานภายในและภายนอกองค์กรในช่วงต้นปี 2552 ปัจจุบันมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการแล้วกว่า 1,500 ราย
ลายผิววิทยาแม้จะเป็นเรื่องใหม่สำหรับเมืองไทย แต่ด้วยความแม่นยำในการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ลูกค้าต่างบอกต่อ ศูนย์ P-PAC จึงได้รับกระแสตอบรับค่อนข้างดี ในวันนี้ P-PAC ได้นำเรื่องลายผิววิทยามาประยุกต์กับ competency แล้วเปิดให้บริการอีกรูปแบบหนึ่ง ขายเป็นแพ็กเกจ เช่น องค์กรแห่งหนึ่งต้องการรับนักข่าว กำหนด competency ไว้ 5 ข้อ ทางศูนย์จะจัดการคัดเลือกให้ ตรงนี้จะช่วยให้การสรรหาคนตรงกับงาน ที่เรียกว่า Put the right man on the right job เพราะคุณก่อศักดิ์มักพูดเสมอว่า ถ้าคนได้ทำงานที่ตัวเองชอบ ตัวเองถนัด เขาก็จะรักในงานนั้นแล้วมีความสุข พลังในการทำงานก็มีสูง งานที่ออกมาก็มีประสิทธิภาพ
แน่นอนว่าอะไรที่เป็นสิ่งใหม่ การสร้างการยอมรับนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ในช่วงทดลองโครงการ ซีพี ออลล์จึงได้จัดตั้ง "ศูนย์อพยพ" ขึ้น เป็นโครงการสำหรับช่วยค้นหาศักยภาพในตัวของพนักงาน สำหรับ พนักงานบางคนที่อาจจะทำงานในสายงานที่ตนเองไม่ถนัดเลยทำงานได้แบบไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงร้องขอให้ผู้บังคับบัญชาแต่ละหน่วยงานส่งรายชื่อพนักงานใน หน่วยงานที่เห็นสมควรส่งเข้าศูนย์อพยพ
วันนี้พนักงานกลุ่มแรก 8 คนที่ถูกส่งเข้าไปอยู่ในศูนย์อพยพ ต่างขอบคุณองค์กรที่ทำให้เขารู้จักตนเอง และทำงานที่ใช่ ทำให้เขามีความสุขในชีวิตการทำงาน หลังจากเดินหลงทางมาเกือบค่อนชีวิต
ผู้จัดการศูนย์ P-PAC บอกต่อไปว่า ประโยชน์ของการวิเคราะห์ลายผิวมิได้จำกัดเฉพาะในงาน HR (human resource) เท่านั้น แต่คนทั่วไปก็สามารถที่จะใช้บริการเพื่อค้นหาศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง รู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้น เพื่อวางแผนชีวิตของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
เรื่องของลายผิววิทยานอกจากจะสามารถนำมาใช้ในงานทรัพยากรบุคคลและการศึกษาแล้ว ยังสามารถใช้ในการตรวจสอบความผิดปกติของระบบประสาท เนื่องจากลายผิวบนฝ่ามือฝ่าเท้ามีความสัมพันธ์กับโครโมโซมและการพัฒนาของสมองในช่วงที่อยู่ในครรภ์ นอกจากนั้นในช่วงที่ผ่านมามีการศึกษาและยอมรับกันในทางการแพทย์ว่าลายผิววิทยาสามารถช่วยบ่งชี้โรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
"พรวิทย์ พัชรินทร์ตระกูล" ที่ปรึกษาศูนย์ P-PAC กล่าวว่า ในปัจจุบันเครื่องมือในการวัดศักยภาพคนนั้นมีมากมาย เรื่องของลายผิววิทยาก็เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นว่าแต่ละคนมีความโดดเด่นด้านไหน เพราะเส้นที่เป็นเส้นนูนจะเป็นเส้นที่อยู่ถาวรตั้งแต่เกิด ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในโลกใบนี้ไม่มีใครที่มีเส้นซ้ำกันเลย ทางไต้หวันได้มีการเก็บตัวอย่างคนมากกว่า 4 แสนคน โดยเอาเรื่องของบุคลิกภาพมาผนวกเข้ากับความสามารถ แล้วผนึกเข้ากับเส้นที่ปรากฏคำนวณออกมาในรูปของสถิติ แล้วเขียนออกมาเป็นรายงาน
ประเด็นหลักที่จะได้รับทราบจากผลการ วิเคราะห์ศักยภาพ เรื่องแรกคือ ลักษณะความเป็นตัวตน เรื่องที่สอง บุคลิกภาพ เรื่องที่สาม ลักษณะงานที่เหมาะสม เรื่องที่สี่ ศักยภาพโดดเด่นที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เรื่องที่ห้า ลักษณะการเรียนรู้ เรื่องที่หก วิธีที่เหมาะสมในการเรียนรู้
เรื่องสุดท้ายคือ ข้อควรระวังหรือข้อแนะนำในการใช้ชีวิต เช่น สิ่งที่จะช่วย ส่งเสริมศักยภาพที่โดดเด่นให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น โดยการเรียนรู้ การฝึกอบรมเฉพาะทาง
อาจารย์เหลียนได้เปรียบเทียบลักษณะบุคลิกภาพและพฤติกรรมหลักของมนุษย์ โดยใช้ลักษณะของนก 5 ประเภทเป็นตัวแทนบุคลิกหลัก ได้แก่
1.นกเหยี่ยว เน้นผลลัพธ์ ควบคุมเป้าหมาย ต้องการความชัดเจนตรงประเด็น
2.นกห่านป่า เน้นการทำตามมาตรฐาน มีความระมัดระวังเคารพกติกา ใส่ใจในคุณภาพและรายละเอียด
3.นกยูง เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ชอบแบ่งปันใส่ใจในภาพลักษณ์ มีชีวิตชีวา ชอบให้ความร่วมมือ
4.นกกระจอกเทศ เน้นการทำงานด้วยความอดทน ไม่ชอบบรรยากาศความขัดแย้ง มีความกลมเกลียวอ่อนโยน ให้ความร่วมมือกับทีม
5.นกแก้ว เน้นการปรับตัวและ การบูรณาการข้อมูล ชอบการเปลี่ยนแปลง หลีกเลี่ยงการตัดสินใจในทันที
นกทั้ง 5 ชนิดเป็นสัญลักษณ์แนวโน้มในการแสดงออกเชิงพฤติกรรม แบ่งเป็นการกำหนดเป้าหมาย จุดยืนและคุณค่าของ ตัวตน วิธีการทำงาน การวางแผนการตัดสินใจ และการผูกสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น นกยูงมักจะเป็นผู้ริเริ่มเข้าไปแนะนำตัวเอง นกกระจอกเทศจะหลบมุมในงานเลี้ยง หรือนกแก้วจะสนุกสนานอารมณ์ดี ฯลฯ
คนส่วนใหญ่จะมีนกตัวหลักและนกตัวรอง ประกอบ 1-4 ตัวเพิ่มความซับซ้อนในบุคลิกภาพ
การที่ผลวิเคราะห์ออกมาว่าเป็น ประเภทใด ก็ไม่ได้ความว่าคนคนนั้นจะมีคุณลักษณะเดียวในตัว เช่น ผลวิเคราะห์ออกมาว่าเป็น "เหยี่ยว" ก็ไม่ได้หมายความว่าเหนือกว่า "นกกระจอกเทศ" เพราะนกแต่ละประเภทนั้นเป็นเพียงตัวแทนบุคลิกของแต่ละคน ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ว่าคนคนนั้นเก่งกว่าคนนี้ แต่จะทำให้เรารู้ว่าเด็กคนนี้เราควรส่งเสริมไปในด้านไหน พนักงานคนนี้เหมาะกับงานในตำแหน่งไหน บางคนเหมาะกับการเป็นเซลส์ แต่บางคนเหมาะกับการทำงานบริหาร
วันนี้หากคุณยังค้นหาตัวเองไม่เจอ หรือไม่แน่ใจว่าเดินมาถูกทางหรือไม่ ลองแวะไปใช้บริการที่ศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพปัญญธารา แล้วจะรู้ว่าความสำเร็จในชีวิตอยู่ใกล้แค่เอื้อม
หน้า 31
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4178  ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดทล่าสุด