https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วันหยุดตามประเพณี - กฎหมายแรงงาน MUSLIMTHAIPOST

 

วันหยุดตามประเพณี - กฎหมายแรงงาน


1,034 ผู้ชม


วันหยุดตามประเพณี - กฎหมายแรงงาน




ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.29 ได้กำหนดให้นายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้า โดยกำหนดไว้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วันทำงานโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติ

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดวันหยุดประเพณี

 

          นายจ้างจะต้องกำหนดโดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังนี้

           เป็นวันหยุดราชการประจำปี  ได้แก่ วันสำคัญเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ  วันจักรี  วันฉัตรมงคล   วันปิยมหาราช หรือวันสำคัญอื่นๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่  วันสงกรานต์ วันพืชมงคล  วันรัฐธรรมนูญ   วันสิ้นปี

            เป็นวันหยุดเกี่ยวกับทางศาสนาได้แก่ วันมาฆะบูชา วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา

            เป็นวันหยุดตามขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น เช่น วันตรุษจีน วันสารทจีน  ทำบุญเดือนสิบของชาวภาคใต้  เป็นต้น

    กรณีที่วันหยุดประเพณีใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง  ให้ลูกจ้างหยุดชดเชยวันหยุดประเพณีในวันทำงานถัดไป

    กรณีที่นายจ้างจะเปลี่ยนวันหยุดประเพณีไปหยุดวันอื่นหลังจากที่ได้ประกาศกำหนดวันหยุดประเพณีแล้ว  นายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแทนการหยุดนั้น หรือจะให้ลูกจ้างไปหยุดในวันอื่นแทนวันหยุดประเพณีนั้นได้โดยจะต้องตกลงยินยอมกับลูกจ้างก่อน  เฉพาะงานที่มีลักษณะและสภาพของงานตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงเท่านั้น

งานที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดในวันหยุดประเพณีได้

 

ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 ได้กำหนดงานที่มีลักษณะและสภาพที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดในวันหยุดประเพณีได้ นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันไปหยุดวันอื่นแทนวันหยุดประเพณีนั้น หรือจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแทนการหยุดก็ได้   ได้แก่

    งานกิจการโรงแรม  ร้านมหรสพ  ร้านขายอาหาร  ร้านขายเครื่องดื่ม  สโมสร  สมาคมสถานพยาบาล และสถานบริการการท่องเที่ยว

   งานในป่า  งานในที่ทุรกันดาร  งานขนส่ง  และงานที่มีสภาพและลักษณะของงานต้องทำติดต่อกันไป  ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน

 

กรณีวันหยุดประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง

 

ให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยวันหยุดตามประเพณีนั้นในวันทำงานถัดไปอีกวันหนึ่ง โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากนายจ้างก่อน เพราะลูกจ้างได้หยุดชดเชยโดยหยุดชดเชยโดยผลของกฎหมาย (มาตรา 29 วรรคสาม)   ลูกจ้าง หมายถึงทุกประเภท รวมทั้งลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน

ที่มา : สมาชิกHR

    

อัพเดทล่าสุด