https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
หญิงไทยกับ กฎหมายแรงงานใหม่ MUSLIMTHAIPOST

 

หญิงไทยกับ กฎหมายแรงงานใหม่


593 ผู้ชม


หญิงไทยกับ กฎหมายแรงงานใหม่




หญิงไทยสมัยก่อนอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ทำงานบ้านเลี้ยงลูกปรนนิบัติสามี แต่ในปัจจุบัน ขืนอยู่บ้านรอสามีหาเงินคนเดียวมีหวังกินแกลบ จึงต้องออกทำงานหาเงินเอ๊ย หารายได้ช่วยสามีอีกทางหนึ่ง ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้วางกำหนดกฎเกณฑ์คุ้มครองแรงงานหญิงไว้หลายประการ

            ประการแรก ห้ามลูกจ้างหญิงทำงานอันตราย เช่น งานเหมืองแร่ หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา งานที่ต้องทำบนนั่งร้านสูงกว่าพื้นดินตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่ลูกจ้างหญิงที่ทำงานด้านวิชาชีพ หรือวิชาการที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงจะอนุญาตให้ทำงานด้านการผลิตวัตถุไวไฟได้ (มาตรา 38)

            ประการที่สอง ห้ามลูกจ้างหญิงทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 ประเภทคือ

  1. ทำงานช่วง 22.00 – 06.00 น.
  2. ทำงานล่วงเวลาเว้นแต่ลูกจ้างหญิงที่ทำงานในตำแหน่งผู้บริหาร งานวิชาการ งานธุรการ งานบัญชีหรือการเงิน ทำงานล่วงเวลาได้ โดยลูกจ้างหญิงนั้นยินยอมทำ
  3. ทำงานในวันหยุด
  4. ทำงานอันตรายต่อหญิงมีครรภ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 อย่าง

(1)    งานเกี่ยวกับเครื่องจักรเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน

(2)    งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ

(3)    งานยก แบก หาบ หาม ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกินสิบห้ากิโลกรัม

(4)    งานที่ทำในเรือ

(5)    งานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

ประการที่สาม นายจ้างต้องเปลี่ยนเวลาหรือลดเวลาทำงานเมื่อลูกจ้างหญิงทำงานในช่วงเวลา 24.00 – 06.00 น. แล้วพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างหญิง เช่น ทำงานเลิกตอนตีสอง แล้วไม่มีหอพัก ไม่มีรถรับส่ง ลูกจ้างหญิงต้องเดินทางกลับคนเดียวเข้าอยู่เปลี่ยว จะเจอเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นไม่อาจเดาได้ พนักงานตรวจแรงงานอาจสั่งให้ลดเวลาทำงานเหลือ 22.00 น. เป็นต้น (มาตรา 40)

ประการที่สี่ ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์ละไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างไม่เกิน 45 วัน (มาตรา 41,57)

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานต้องการคุ้มครองลูกจ้างหญิงแต่คุ้มครองมากไป กลับกลายเป็นข้อจำกัดตัดสิทธิของหญิง เพราะมีข้อจำกัดทั้งลักษณะงานที่ห้ามทำ วันและเวลาที่ห้ามทำ อีกทั้งยังห้ามเลิกจ้างลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์อีก ทำให้ลูกจ้างหญิงหางานทำยาก และยังหาสามียากอีกด้วย เพราะพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานห้ามมิให้มีการล่วงละเมิดทางเพศต่อลูกจ้างหญิง (มาตรา 16) ทำให้ชายเข็ดขยาดไม่กล้ามาจีบ กลัวจะถูกกล่าวว่าเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ

₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪₪

         โดย : รุ่งโรจน์  รื่นเริงวงศ์ ,หลากหลายแรงงาน, ตุลาคม 2544 (หน้า 156-158)

 

ที่มา : สมบัติ ลีกัล


อัพเดทล่าสุด