ความปลอดภัย เกี่ยวกับไฟฟ้า MUSLIMTHAIPOST

 

ความปลอดภัย เกี่ยวกับไฟฟ้า


974 ผู้ชม


ความปลอดภัย เกี่ยวกับไฟฟ้า




เจตนารมณ์ของกฎหมาย

เพื่อควบคุมอันตรายจากไฟฟ้าตั้งแต่อุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้า ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ การเดินสาย การป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินขนาด สายดิน สายล่อฟ้าตลอดจนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ใช้ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้

ใช้บังคับกับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปทุกประเภท

สาระสำคัญของกฎหมาย

1. สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องไม่ชำรุด

2. การปฏิบัติงานใกล้สิ่งที่มีไฟฟ้าต้องรักษาระยะห่างตามที่กำหนดเว้นแต่

2.1 ใส่เครื่องป้องกัน

2.2 มีฉนวนหุ้ม

2.3 มีเทคนิคการปฏิบัติงาน

3. ชนิดของสายไฟฟ้าที่ใช้ต้องเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นไปตามมาตรฐาน

4. มีเครื่องตัดกระแสติดตั้งไว้ ณ จุดที่มีการเปลี่ยนขนาดสายและระหว่างเครื่องวัดไฟฟ้ากับสายภายในอาคาร

5. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดเคลื่อนที่ได้ที่ใช้สายเคเบิ้ลอ่อนและสายอ่อนต้องไม่มีรอยต่อหรือต่อแยก

6. มีการติดตั้งเต้าเสียบเพียงพอต่อการใช้งาน

7. การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีแรงดัน 600 โวลท์ขึ้นไป ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

8. สวิตซ์ทุกตัวบนแผงสวิตซ์ต้องเข้าถึงได้ง่าย เพื่อสะดวกในการปลด และสับ แผงสวิตซ์มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะทนแรงปลดและสับได้

9. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีเปลือกเป็นโลหะ ต้องต่อสายดิน

10. มีการป้องกันฟ้าผ่าของปล่องควัน

11. การจัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าที่มีแรงดันมากกว่า 50 โวลท์ ขึ้นไปให้ลูกจ้าง

แนวการตรวจของผู้ตรวจประเมิน

1. ตรวจสอบสภาพของสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า

ตรวจสอบสายไฟฟ้าที่เดินอยู่ว่าสภาพของสายไฟฟ้ายังเรียบร้อยดีอยู่หรือไม่ เช่น ฉนวนฉีกขาด สายมีรอยไหม้ สายหลุดจากที่ยึดโยง

1.1 การเดินสายที่ถูกต้อง จะต้องเดินหรือติดตั้งอยู่บนลูกถ้วย อยู่ในราง เดินในท่อ หรือใช้เข็มขัดรัดสาย จะต้องไม่เดินสายฟ้าโดยการพาดไปตามส่วนต่างๆ ของตัวอาคาร ชั้นวางของหรือใช้เชือกผูกห้อยสายไฟฟ้าไปตาม ขื่อแป หรือลูกกรงเหล็ก

1.2 การเดินสายเข้าตัวเครื่องจักร ควรเดินในท่อ โดยอาจจะเดินจากที่สูงลงมาหรือฝังดิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันวัสดุต่างๆ ไปกระแทกกับสายไฟฟ้าซึ่งจะก่อให้เกิดการชำรุดได้ แต่ในบางกรณีอาจใช้สายเคเบิ้ลเดินเข้าเครื่องจักรได้โดยตรงโดยไม่ต้องใช้ท่อ

1.3 ในส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น กล่องควบคุม ตู้สวิตซ์บอร์ดต่างๆ มอเตอร์ ถ้าชำรุดแตกหัก ควรแนะนำให้แก้ไข เช่น

1.3.1 เครื่องตัดกระแสไฟฟ้า ได้แก่ สวิตซ์เบรกเกอร์ (ตัวสีดำ) สวิตซ์ตัดไฟอัตโนมัติ (ทั่วไปเรียกว่า ทิชิโน) ถ้าฝาครอบแตกร้าว น๊อตยึดสายไม่แน่น ต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่

1.3.2 คัดเอาท์ใบมีด สำหรับใช้ตัดไฟฟ้า จะต้องมีฝาครอบภายในใส่ฟิวส์ ห้ามใช้ลวดทองแดงแทนฟิวส์ การต่อสายไปใช้งานควรยึดกับตัวน๊อต สำหรับต่อสาย ห้ามนำสายไฟมาเกี่ยวกับฟิลส์ หรือหัวตัวน๊อต เพราะการยึดสายไม่แน่นกับตัวน๊อตจะทำให้เกิดความร้อนที่ขั้วต่อสาย ไฟอาจจะไหม้ได้

1.3.3 อุปกรณ์เต้ารับและเต้าเสียบ หรือที่เรียกว่าปลั๊กไฟซึ่งติดอยู่กับผนัง ปกติเต้ารับเรียกปลั๊กตัวเมียและเต้าเสียบเรียกปลั๊กตัวผู้ ฝาครอบต้องไม่แตก ควรใช้ปลั๊กตัวผู้เป็นตัวเสียบใช้งานไม่ให้ใช้ปลายของสายไฟเสียบปลั๊กตัวเมีย และไม่ให้เสียบใช้งานหลายๆ จุดพร้อมกัน เพราะปลั๊กตัวเมียแต่ละชนิดจะมีอัตราการทนกระแสไฟฟ้าที่จำกัด ถ้าใช้หลายๆ จุดพร้อมกันจะทำให้เกิดความร้อนภายในตัวปลั๊กไฟ และอาจะไหม้ไฟได้

1.3.4 สวิตซ์ตัดไฟควบคุมการปิด-เปิดเครื่องจักรต่างๆ ฝาครอบต้องไม่ชำรุด เพราะอาจจะเป็นอันตรายเวลาจะปิด-เปิดเครื่องจักร โดยมืออาจจะพลาดไปถูกข้อต่อสายไฟ ถูกไฟช๊อตได้

2. การป้องกันในกรณีให้ลูกจ้างทำงานใกล้สิ่งที่มีไฟฟ้าแรงสูงน้อยกว่าระยะห่าง ที่กฎหมายกำหนด

กรณีลูกจ้างต้องทำงานใกล้ๆ สิ่งที่มีการใช้ไฟฟ้า เช่น มอเตอร์หม้อแปลงลูกเล็กๆ ที่ใช้กับเครื่องจักร แผนควบคุมสวิตซ์บอร์ดขนาดใหญ่ ต้องมีการป้องกันโดยการให้ตัดกระแสไฟฟ้าก่อน หากต้องเปิดให้กระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ลูกจ้างทำงาน ก็ควรจะหาสิ่งที่เป็นฉนวน เช่น แผงไม้อัด พลาสติก รั้วมากั้นระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้น

กรณีที่เป็นไฟฟ้าแรงสูงต้องมีระยะห่างตามตารางที่กฎหมายกำหนดไว้

3. ชนิดของสายไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการใช้งาน

การตรวจเช็คชนิดของสายไฟในทางปฏิบัติทำได้ยาก เพราะจะต้องมีการตัดสายเพื่อตรวจสอบ ดังนั้นการตรวจจึงทำได้โดยเพียงตรวจการใช้งานให้ใช้ได้และปลอดภัย เช่น

3.1 สายที่ใช้เป็นสายเมน ให้เดินบนลูกถ้วย เดินในราง เดินในท่อสายเมนควรใช้เป็นสายเดี่ยว มีฉนวนหุ้ม

3.2 สายที่เดินด้วยเข็มขัดรัดสาย ต้องเป็นสายพีวีซีคู่ มีฉนวนหุ้มสายไฟอีก 1 ชั้น

3.3 สายที่ใช้เดินใต้ดิน ต้องใช้สายฉนวน 2 ชั้น

4. มีเครื่องตัดกระแสติดตั้งไว้ ณ จุดที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

4.1 จากสายเมนนอกโรงงานจะเข้าภายในโรงงาน จะต้องมีเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อตัดกระแสไฟทั้งหมดภายในโรงงาน

4.2 จากสายเมนภายในโรงงานเข้าเครื่องจักรต่างๆ จะต้องมีเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าแต่ละจุด เพื่อใช้ปิด-เปิดเฉพาะเครื่องจักรตัวนั้น

เครื่องตัดกระแสที่ติดตั้งเพื่อตัดกระแสไฟเวลาปิด-เปิดใช้งาน ตามปกติจะตัดไฟได้เองโดยอัตโนมัติ ถ้าเกิดกรณีใช้กระแสไฟฟ้าเกิดหรือเกิดไฟฟ้าซ๊อต (แต่จะไม่ตัดเมื่อกระแสไฟฟ้ารั่ว)

5. สายเคเบิ้ลอ่อนและสายอ่อน ต้องไม่มีรอยต่อหรือต่อแยก

สายเคเบิ้ลอ่อนหรือสายอ่อน ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ได้ เช่น สว่านมือไฟฟ้า พัดลมระบายอากาศ เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มแช่ ปั๊มลมเล็กๆ เป็นต้น เครื่องมือเหล่านี้มีการใช้งานเคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีรอยต่อหรือต่อแยก อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วได้

6. มีการติดตั้งเต้าเสียบเพียงพอต่อการใช้ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย

7. การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีแรงดัน 600 โวลท์ขึ้นไปให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้

7.1 หม้อแปลงไฟฟ้าที่ติดตั้งภายในอาคาร จะต้องห่างจากฝาผนังด้านละ 1 เมตร และมีการต่อสายดินจากตัวหม้อแปลงลงดินเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว

7.2 หม้อแปลงไฟฟ้าที่ติดตั้งบนเสานอกอาคาร ต้องสูงจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 3.4 เมตร กรณีมียานพาหนะวิ่งผ่านต้องสูงไม่น้อยกว่า 4 เมตร

7.3 ในกรณีติดตั้งอยู่บนพื้น ต้องทำรั้วล้อมรอบห่างจากตัวหม้อแปลงไฟฟ้าด้านละ 1 เมตร และทำสายดินที่รั่วโลหะ

8. สวิตซ์ทุกตัวบนแผนสวิตซ์ต้องเข้าถึงได้ง่าย เพื่อสะดวกในการปลดและสับ

9. แผงสวิตซ์มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะทนแรงปลดและสับได้

10. เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีเปลือกหุ้มภายนอกเป็นโลหะต้องต่อสายดิน

การต่อสายดินประกอบด้วย

1. หลักดิน ใช้เหล็กอาบทองแดงกันการผุกร่อน ยาวไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 16 มิลลิเมตร ตอกลึกลงไปในดิน 2.40 เมตร

2. สายดิน ใช้สายไฟขนาด 4-6 มิลลิเมตร ต่อกับหลักดินให้แน่น โดยการใช้น๊อตยึดหรือการเชื่อมสายกับหลักดิน และนำไปต่อกับโครงอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นโลหะ เช่น มอเตอร์ เครื่องกลึง เครื่องใส ฯลฯ

11. สายล่อฟ้า

หากตรวจพบในสถานประกอบการมีการใช้ปล่องควัน

11.1 ปล่องควันที่เป็นโลหะ ไม่ต้องมีสายล่อฟ้า ส่วนโคนปล่องควันจะต้องมีสายต่อลงดิน ลวดโลหะยึดโยงทุกเส้นต้องต่อลงดินเช่นกัน

11.2 ปล่องควันที่เป็นอิฐก่อหรือคอนกรีต เช่น ปล่องโรงสีข้าวต้องมีสายล่อฟ้า

12. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

12.1 เครื่องมือที่ใช้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า เช่น คีม ไขควง จะต้องมีฉนวนหุ้ม

12.2 ขณะปฏิบัติงานเกี่ยวกับการซ่อมไฟฟ้า ควรใส่ถุงมือยาง ถุงมือหนัง รองเท้าพื้นยางหุ้มส้น เส้นผ้าจะต้องไม่เปียกชื้น

12.3 ขณะปฏิบัติงานตรวจสอบ ซ่อมแซม ติดตั้งไฟฟ้า ให้แขวนป้าย “ ห้ามใช้” “ กำลังซ่อม” “ อันตราย” ขณะเดียวกัน ให้ใส่กุญแจล๊อคไว้ที่สวิตซ์ใบมีด เพื่อป้องกันการสับสวิตซ

ที่มา : moodythai.com


อัพเดทล่าสุด