https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การประเมินผลของโครงการด้านความปลอดภัย MUSLIMTHAIPOST

 

การประเมินผลของโครงการด้านความปลอดภัย


975 ผู้ชม


การประเมินผลของโครงการด้านความปลอดภัย




การประเมินผลโครงการด้านความปลอดภัยนั้น เป็นการประเมินผลเพื่อติดตามผลของโครงการที่ทางหน่วยงานได้ลงมือปฏิบัติไปแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ว่าผลงานนั้นทำให้หน่วยงานมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาก่อนดำเนินงานของโครงการ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นภาพและช่วยในการตัดสินใจว่าควรจะให้ดำเนินงานหรือจะปรับปรุงแก้ไขกันอย่างไรต่อไป
การเปรียบเทียบผลงาน


การประเมินผลโครงการนั้นสามารถที่จะนำไปเปรียบเทียบระหว่าง

1.หน่วยงานเดิมในช่วงก่อนที่จะดำเนินโครงการซึ่งจะต้องมีการเก็บข้อมูลก่อนดำเนินการ

2.หน่วยงานอื่นที่มีลักษณะการทำงานเหมือนหรือคล้ายๆ กัน เช่นการเปรียบเทียบกันระหว่างสายการผลิตที่เหมือนกัน

3.โรงงาน หรือบริษัท ที่มีการดำเนินกิจการอย่างเดียวกัน ทั้งนี้การเปรียบเทียบจะขึ้นอยู่กับขอบเขตของการดำเนินโครงการว่าจะกำหนดให้หน่วยงานที่ดำเนินการนั้นเล็ก ใหญ่ขนาดไหน
ตัวชี้วัดสำหรับการเปรียบเทียบ

หลายๆ องค์กรมักใช้จำนวนของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งเป็นตัวชี้วัด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอย่างง่ายไม่ซับซ้อนแต่อาจทำให้ผู้บริหารหรือบุคคลภายนอกเข้าใจผิดได้ เช่น บางครั้งหน่วยงานที่มีจำนวนอุบัติเหตุมาก อาจทำให้คนอื่นมองหน่วยงานนั้นในแง่ที่ไม่ดีบ้างหรือเป็นหน่วยงานที่อันตราย โดยมิได้มองถึงขนาดของหน่วยงานว่ามีพนักงานอยู่กี่คนซึ่งการที่มีพนักงานจำนวนมาก ย่อมจะทำให้สามารถเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้นเช่นกัน

รวมทั้งความรุนแรงของอุบัติเหตุที่มิได้มีการบันทึกไว้ ซึ่งถ้าสำรวจดีๆ แล้วอาจพบว่า บางครั้งเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ล้วนแล้วแต่เป็นอุบัติเหตุที่มีผลความรุนแรงเล็กน้อยเช่น หกล้ม เดินชนโต๊ะทำงาน หรือโดนมีดบาดนิ้ว ซึ่งค่าความเสียหายย่อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหน่วยงานที่มีอุบัติเหตุน้อยแต่มีความรุนแรงสูง เช่น เกิดระเบิดขึ้นเพียงครั้งเดียวแต่ทำให้มีผู้บาดเจ็บสาหัส

ตัววัดที่ใช้ในการบ่งชี้ว่าโครงการด้านความปลอดภัยนั้นมีค่าเท่าไร มีอยู่ด้วยกัน 3 อย่าง ได้แก่ 1.การวัดความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุ 2.การวัดความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ และ 3.การวัดความรุนแรงโดยเฉลี่ย

การประเมินผลของโครงการด้านความปลอดภัย

เวลาทำงานจริง คือ ผลคูณระหว่างจำนวนคนทั้งหมด กับเวลาทำงานเฉลี่ยของแต่ละคน

การประเมินผลของโครงการด้านความปลอดภัย การประเมินผลของโครงการด้านความปลอดภัย การประเมินผลของโครงการด้านความปลอดภัย


โจทย์ ถ้าในรอบปีที่ผ่านมามีคนงานทั้งหมด 2 กะ ทำงานกะละ 8 ชม. กะแรก จำนวน 40 คน กะที่ 2 จำนวน 30 คน ทำงานทั้งปีเป็นเวลา 250 วัน และเกิดอุบัติเหตุ 4 ครั้ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บดังนี้ครั้งที่ 1 บาดเจ็บ 2 คน โดยที่ คนแรกกระดูกแตกปลายนิ้วชี้ คนที่ 2 แตกปลายนิ้วกลางครั้งที่ 2 บาดเจ็บ 1 คน โดยพิการไร้ความสามารถตลอดชีวิตครั้งที่ 3 บาดเจ็บ 3 คน โดยที่ทั้ง 3 สูญเสียการได้ยินไป 1 ข้างเหมือนกันครั้งที่ 4
บาดเจ็บ 1 คน โดยตาบอดหนึ่งข้าง

การประเมินผลของโครงการด้านความปลอดภัย


ข้อพิจารณาในการปรับใช้

ด้วยค่า ADC นั้นสามารถสะท้อนความรุนแรงและความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุไปพร้อมกันได้ โดยอาศัยหลักการเฉลี่ยความรุนแรงของอุบัติเหตุลงไปในอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้องค์กรก็สามารถจะเปรียบเทียบการดำเนินการว่าได้ผลลัพธ์ดีหรือไม่เพียงไรได้อีกทางหนึ่ง

เช่น เมื่อองค์กรต้องการประเมินในภาพรวมว่าการดำเนินการขององค์กรในรอบปีที่ผ่านมานั้นได้ผลดีขึ้นเพียงใด ก็เพียงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลปีก่อน และหลังการดำเนินการมาทำการคำนวณหาค่า ADC หากค่า ADC นั้นมีค่าลดลงอย่างมาก ก็ย่อมสะท้อนให้เห็นว่า การดำเนินการโครงการความปลอดภัยที่ผ่านมานั้นให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ

จากวิธีการคำนวณและหลักการข้างต้น ก็จะทำให้องค์กรสามารถมีตัวแทนของการประเมินวัดผลการดำเนินการโครงการด้านความปลอดภัยที่สมบูรณ์กว่าการวัดเพียงแค่จำนวนครั้งในการเกิดอุบัติเหตุ (หรือจำนวนชั่วโมงที่สูญเสียซึ่งหลายครั้งพบว่าประเมินได้ยุ่งยาก และไม่ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องอย่างแท้จริง) และยังลดข้อขัดแย้งในเรื่องการวัดผลในแต่ละรอบของโครงการความปลอดภัย หรือแม้แต่การเปรียบเทียบระหว่างหน่วยก็ย่อมจะทำได้เช่นกัน

อย่างไรก็ดีหากองค์กรต้องการความชัดเจนยิ่งขึ้นอาจใช้ตัววัดอื่นๆควบคู่ไปด้วยเพื่อประเมินความถูกต้อง และสร้างความมั่นใจต่อผลการประเมินโครงการก็ย่อมจะทำได้ แต่ต้องระวังอย่าวัดด้วยจำนวนตัววัดที่มากเกินไป(2-3 ตัวก็เพียงพอ)เพราะแทนที่จะสร้างความมั่นใจและความชัดเจน อาจทำให้เกิดความสับสนยิ่งขึ้น


 


คำไข การประเมินผลโครงการความปลอดภัย ตัวชี้วัด SR FR ADC เคล็ดลับ-วิธีการ

จัดทำโดย อ.ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล

อัพเดทล่าสุด