https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
คำสั่งของนายจ้างที่ลงโทษและภาคทัณฑ์ หากลูกจ้างกระทำผิดวินัยข้อใดอีก นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย MUSLIMTHAIPOST

 

คำสั่งของนายจ้างที่ลงโทษและภาคทัณฑ์ หากลูกจ้างกระทำผิดวินัยข้อใดอีก นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย


765 ผู้ชม


คำสั่งของนายจ้างที่ลงโทษและภาคทัณฑ์ หากลูกจ้างกระทำผิดวินัยข้อใดอีก นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย




คดีแดงที่  838/2531

นายพรชัย ไพบูลย์ธนกุล โจทก์
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ไอ ที เอฟ จำกัด จำเลย

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)

คำสั่งของนายจ้างที่ลงโทษและภาคทัณฑ์ลูกจ้างระบุว่าลูกจ้างทำผิดวินัย และมีคำเตือนว่าหากลูกจ้างกระทำผิดวินัยข้อใดอีก นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่คำสั่งดังกล่าวมิได้ระบุว่าลูกจ้างกระทำการใดที่ถือว่าเป็นการผิดวินัย ทั้งได้ระบุข้อวินัยที่อ้างว่าลูกจ้างทำผิดไว้ถึง 5 ข้อ เช่นนี้ จึงเป็นการเตือนที่กว้างเกินไป ลูกจ้างย่อมไม่อาจทราบและปรับปรุงตนเองเพื่อมิให้กระทำผิดซ้ำคำเตือนนี้ได้ นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนดังกล่าวและเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ47 (3) มิได้

ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานบริการมีหน้าที่ทำงานในลักษณะทั่วไปที่ใช้แรงงาน เช่น รักษาความสะอาด ยาม พนักงานเดินหนังสือ ได้รับคำสั่งให้มาทำหน้าที่เปิดปิดประตูสำนักงาน มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด โดยมักจะมาเปิดประตูไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

 

…………………..……………………………………………………………..

 

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานส่งเอกสาร เงินเดือน เดือนละ ๒,๖๕๐ บาท ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ๒๕๓๐ จำเลยกลั่นแกล้งตัดเงินเดือนโจทก์เดือนละ ๒๒๐ บาทเป็นเวลา ๓ เดือน ต่อมาวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๓๐ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดและไม่บอกกล่าวล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งโจทก์มิได้หยุดเป็นเวลา ๙ วัน เงินค่าล่วงเวลาที่จำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานก่อนเวลาวันละ ๔๕ นาทีเป็นเวลา ๒ เดือนครึ่ง สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างที่จำเลยตัดเงินเดือนโจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย ให้จำเลยชำระเงินสะสมที่จำเลยหักจากเงินเดือนของโจทก์ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ด้วย

จำเลยให้การว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ ๒,๒๐๐ บาทโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างที่จำเลยตัดเงินเดือนโจทก์ และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เพราะโจทก์กระทำผิดวินัยตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย โดยไม่เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบให้โจทก์ผลัดเปลี่ยนกันเปิดปิดประตูสำนักงานบริษัท กล่าวเท็จและรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ละทิ้งการงานที่ได้รับมอบหมายจำเลยได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๓๐ ลงโทษและภาคทัณฑ์โจทก์เป็นเวลา ๑ ปี แต่โจทก์คงทำผิดวินัยข้อเดิมอีก เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการพนักงานและฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยร้ายแรง ประกอบกับโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา ๓ วัน ติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์สำหรับค่าล่วงเวลานั้นโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องตามระเบียบการจ่ายเงินค่าล่วงเวลาของจำเลย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง เพราะโจทก์สละสิทธิไม่ลาพักผ่อนเอง ส่วนเงินสะสมโจทก์มีสิทธิเพียง ๔,๘๒๒.๖๓ บาทเท่านั้น ขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนางวันทนาโดยไม่มาปฏิบัติหน้าที่ในเวลา ๗.๓๐ นาฬิกา จำเลยไม่มีสิทธิจะลงโทษตัดเงินเดือนและไม่อาจสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยถือว่าโจทก์ทำผิดซ้ำคำเตือนพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยพร้อมด้วยดอกเบี้ย ให้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างที่จำเลยตัดเงินเดือน ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีพร้อมด้วยดอกเบี้ย และให้ชำระเงินสะสมแก่โจทก์ส่วนคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ได้ความว่า โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ทำหน้าที่พนักงานส่งหนังสือ ต่อมาจำเลยมีคำสั่งจัดให้โจทก์เป็นพนักงานบริการซึ่งตามระเบียบว่าด้วยการพนักงานของจำเลยหมายถึงพนักงานที่ทำงานในลักษณะทั่วไปที่ใช้แรงงาน เช่น พนักงานรักษาความสะอาดพนักงานรักษาความปลอดภัย ยาม พนักงานเดินหนังสือ เป็นต้น หลังจากนั้นนางวันทนาซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ มีคำสั่งให้โจทก์กับนายศุภชัย มาทำหน้าที่เปิดปิดประตูสำนักงานโดยผลัดกันคนละ ๑เดือน โจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด มักจะมาเปิดประตูไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด จำเลยจึงมีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนและภาคทัณฑ์โจทก์เป็นเวลา ๑ ปี ต่อมาวันที่ ๒๔ มิถุนายน๒๕๓๐ จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์

จำเลยอุทธรณ์ว่า การที่นางวันทนาผู้บังคับบัญชาของโจทก์สั่งให้โจทก์มาเปิดปิดประตูสำนักงาน โจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด จำเลยย่อมมีสิทธิลงโทษและภาคทัณฑ์โจทก์ได้ และเมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำเตือน (หนังสือลงโทษภาคทัณฑ์) จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พิเคราะห์แล้ว คำสั่งของจำเลยที่ลงโทษและภาคทัณฑ์โจทก์ นั้นระบุว่าโจทก์มีความผิดทางวินัยตามระเบียบว่าด้วยการพนักงาน ๒๕๒๘ จำนวน ๕ ข้อ คือ ข้อ ๔.๑ (๒),๔.๑ (๓), ๔.๑ (๕), ๔.๑ (๘) และ ๔.๑ (๑๓) และมีคำเตือนว่าหากโจทก์กระทำผิดวินัยข้อใดก็ตามในบริษัทฯ อีก หลังจากที่บริษัทฯได้ประกาศตักเตือนเป็นคำสั่งฉบับนี้แล้ว บริษัทฯ อาจเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๓๐ จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าหลังจากจำเลยได้มีคำสั่งลงโทษและภาคทัณฑ์ดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังมิได้ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น ยังคงกระทำผิดในข้อเดิมอีก คือไม่ให้ความเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาฯ จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ศาลฎีกาเห็นว่า คำสั่งของจำเลยซึ่งจำเลยอุทธรณ์อ้างว่าเป็นคำเตือนตามนั้นมิได้ระบุว่าโจทก์กระทำการใดที่จำเลยถือว่าเป็นการผิดวินัยของพนักงานรวม ๕ ข้อ คำสั่งของจำเลยดังกล่าวเพียงแต่ระบุว่าโจทก์ทำผิดวินัยข้อใดบ้างเท่านั้น ทั้งได้ระบุข้อที่ทำผิดไว้ถึง ๕ ข้อ จึงเป็นการเตือนที่กว้างเกินไป โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างย่อมไม่อาจทราบและปรับปรุงตนเองเพื่อมิให้กระทำผิดซ้ำคำเตือนนี้ได้ กรณีนี้จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ ๔๗ (๓) เมื่อปรากฏว่าหนังสือเตือนครั้งแรกเป็นการเตือนที่กว้างเกินไปดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าโจทก์ทำผิดซ้ำคำเตือนได้ เมื่อเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ได้รับคำสั่งให้มาเปิดปิดประตูสำนักงานแล้วมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัดดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๓ จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ อุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง.

 

(ศรีภูมิ สุวรรณโรจน์ - จุนท์ จันทรวงศ์ - จำนง นิยมวิภาต )

 

ศาลแรงงานกลาง - นายธวัชชัย พิทักษ์พล

ศาลอุทธรณ์ -

อัพเดทล่าสุด