https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ฎีกาแรงงาน คำพิพากษา คดีแรงงาน ต่างๆที่น่าสนใจ พาแขกนายจ้างเที่ยว ฝ่าฝืนไม่ร้ายแรง MUSLIMTHAIPOST

 

ฎีกาแรงงาน คำพิพากษา คดีแรงงาน ต่างๆที่น่าสนใจ พาแขกนายจ้างเที่ยว ฝ่าฝืนไม่ร้ายแรง


647 ผู้ชม


พาแขกนายจ้างเที่ยว ฝ่าฝืนไม่ร้ายแรง




ฎีกา 60/2539   พาแขกนายจ้างเที่ยว ฝ่าฝืนไม่ร้ายแรง

ป.มท. ข้อ 47 (3) , ป.พ.พ. ม.538

 

นายกิตติศักดิ์  เจียมบัว                                             โจทก์

บริษัท ไม้ท่อนพัฒนา จำกัด กับ พวก                         จำเลย

โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้พาแขกที่มาพักโรงแรมของนายจ้างและซื้อบริการนำเที่ยวของนายจ้างออกไปเที่ยวนอกโรงแรม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้จัดการ เป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างในหัวข้อเรื่องระเบียบวินัย ข้อ 20.16 และข้อ 20.35 ซึ่งมิได้กำหนดไว้มีโทษสถานใด แต่นายจ้างสามารถลงโทษผู้ฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวได้เพียงการตักเตือนด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร ตัดค่าจ้าง พักงานหรือลดตำแหน่งจะเลิกจ้างทันทีมิได้ แม้นายจ้างจะมีคำสั่งกำชับมิให้ลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบวินัยดังกล่าว ก็ไม่ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างในกรณีร้ายแรง นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เมื่อเลิกจ้างแต่การที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบวินัยดังกล่าว ถือเป็นกรณีโจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้าง นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583

        -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

                จำเลยให้การต่อสู้คดี

                ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ได้พาชาวญี่ปุ่นที่พักโรงแรมของจำเลยและซื้อบริการนำเที่ยวจากจำเลยไปเที่ยวนอกโรงแรมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้จัดการ เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่มิใช่กรณีร้ายแรง พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

                ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ข้อแรกว่า การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่พาแขกออกไปเที่ยวนอกโรงแรมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้จัดการหรือผู้จัดการทั่วไปเป็นการกระทำเพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตัว ทำให้จำเลยที่1 ไม่มีพนักงานปฏิบัติหน้าที่แทนโจทก์ จำเลยที่1 จึงได้รับความเสียหาย การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ในกรณีร้ายแรง พิเคราะห์แล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์ตามข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 เอกสารหมายเลข จ.1 ในหัวข้อเรื่องระเบียบวินัย ข้อ 20.16 ที่กำหนดว่า ไม่พาหรือรับเชิญจากลูกค้าออกไปท่องเที่ยวจัดหาหรือซื้อของนอกโรงแรมของบริษัทไม่ว่าจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ก็ตาม และข้อ 20.36 ที่กำหนดว่า ไม่ออกนอกบริเวณโรงแรมในระหว่างเวลาปฏิบัติงานโดยมิได้รับอนุญาตจากหัวหน้าฝ่ายของตนหรือผู้รักษาการแทนเสียก่อน สำหรับโทษในกรณีกระทำผิดระเบียบวินัย มีกำหนดไว้ในข้อ 19 ว่า ลูกจ้างผู้ใดที่ละเมิดหรือฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน บริษัทอาจพิจารณาลงโทษลูกจ้างตามความหนักเบาของการฝ่าฝืนนั้น ดังนั้น

                19.1 ตักเตือนด้วยวาจาหรือตักเดือนเป็นลายลักษณ์อักษร

                19.2 ตัดค่าจ้างโดยมีการกำหนดระยะเวลา หรือพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 7 วัน

                19.3 ลดตำแหน่ง

                19.4 ปลดออกจากงาน

ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 มิได้กำหนดว่าการฝ่าฝืนระเบียบวินัยข้อใดที่ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรง คงกำหนดไว้ว่า การฝ่าฝืนระเบียบวินัยตั้งแต่ข้อ 20.52 ถึงข้อ 20.69 จะถูกลงโทษโดยการปลดออกจากงาน ส่วนการฝ่าฝืนระเบียบวินัย 20.1 ถึงข้อ 20.51 มิได้กำหนดไว้ว่ามีโทษสถานใด แต่จำเลยที่ 1 สามารถลงโทษพนักงานหรือลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบวินัยข้อดังกล่าวได้เพียงการตักเตือนด้วยวาจา ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ตัดค่าจ้าง หรือลดตำแหน่ง ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 19.1 ถึง 19.3 เท่านั้น จะเลิกจ้างทันทีมิได้แสดงว่าจำเลยที่ 1 ถือว่าการฝ่าฝืนระเบียบวินัยตั้งแต่ข้อ 20.51 ถึงข้อ 20.69 เป็นการฝ่าฝืนระเบียบวินัยตามข้อ 20.14 และข้อ 20.35 และแม้จำเลยที่ 1 จะได้มีคำสั่งกำชับมิให้ลูกจ้างและพนักงานฝ่าฝืนระเบียบวินัยดังกล่าวตามเอกสารหมายเลข จ.1 ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ในกรณีร้ายแรงจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) คำพิพากษาฎีกาที่จำเลยอ้างข้อเท็จจริงจึงไม่ตรงกับคดีนี้ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

                จำเลยอุทธรณ์ข้อต่อไปว่า โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จำเลยที่ 1 มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เห็นว่า โจทก์ได้ฝ่าฝืนระเบียบวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ 1 โดยการพาแขกซึ่งมาพักที่โรงแรมของจำเลยที่ 1  ไปเที่ยวนอกโรงแรมโดยไม่ได้อนุญาตจึงเป็นกรณีที่โจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้างที่กำหนดโดยข้อบังคับ จำเลยที่ 1 จึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่า โจทก์ มิได้กระทำการใดๆ ตามบทบัญญัติดังกล่าว และพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฏีกา อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ข้อนี้ฟังขึ้น

                พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสี่ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง

ชะลอ       บุญยเนตร

พรชัย      สมรรถเวช

ธวัชชัย     พิทักษพล


อัพเดทล่าสุด