https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การลงทุนของกองทุนประกันสังคม "ต่อยอด" ความมั่นคง MUSLIMTHAIPOST

 

การลงทุนของกองทุนประกันสังคม "ต่อยอด" ความมั่นคง


600 ผู้ชม


การลงทุนของกองทุนประกันสังคม "ต่อยอด" ความมั่นคง




 ระเด็นที่ท่านผู้ประกันตนจำนวนมาก ได้แสดงความเป็นห่วงเป็นใยมาโดยตลอด ก็คือการที่กองทุนประกันสังคมได้กระจายเงินลงทุนส่วนหนึ่ง ไปลงทุนในหุ้นสามัญของรัฐวิสาหกิจ และหุ้นของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งในมุมของคนจำนวนมากนั้น การลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุน "หน้าต่างลงทุน" ฉบับนี้ขอนำเสนอหลักเกณฑ์และวิธีการที่ทีมงาน ด้านการลงทุนของสำนักงานประกันสังคมใช้ในการพิจารณาลงทุน ในหุ้นสามัญเพื่อให้ท่านผู้ประกันตนสบายใจมากขึ้น
              ขออนุญาตเกริ่นให้ทราบก่อนว่า แรกเริ่มเดิมทีนั้น กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนทั้งหมดในเงินฝากธนาคาร ซึ่งช่วง 7-8 ปี ก่อน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่า 10% ต่อปี ประกอบกับกองทุนมีขนาดไม่กี่หมื่นล้านบาท ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์อยู่ในภาวะขาดสภาพคล่อง จึงมีธนาคารจำนวนมากยินดีรับฝากเงินจากกองทุน
              ในระยะต่อมาอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเริ่มลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์เริ่มมีสภาพคล่องเหลือในระบบ คณะกรรมการประกันสังคม ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาลฝ่ายละเท่าๆ กัน ได้แสดงความเป็นห่วงว่าหากกองทุนยังลงทุนในเงินฝากอย่างเดียว อัตราผลตอบแทนจะไม่เพียงพอกับการจ่ายประโยชน์ทดแทน ให้กับผู้ประกันตนในอนาคต จึงได้มีมติปรับกรอบการลงทุนเพื่อกระจายเงินลงทุน ไปสู่ แหล่งลงทุนที่มีความมั่นคงและมีผลตอบแทนสูง เพื่อชดเชยกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลง
              การปรับเปลี่ยนกรอบนั้นเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากกระจายเงินลงทุนไปยังแหล่งที่มีความมั่นคงสูง เช่น พันธบัตรรัฐบาล และตั๋วเงินคลัง หุ้นกู้เอกชนที่ได้รับการจัดอันดับเครดิต หุ้นสามัญของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น จนมาถึงกรอบการลงทุนฉบับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ประกาศคณะกรรมการประกันสังคมเรื่อง กรอบและสัดส่วนการลงทุน กองทุนประกันสังคม กรณีสำนักงานประกันสังคมนำเงินกองทุนไปจัดหาผลประโยชน์" ลงวันที่ 2 กรกฏาคม 2546 กำหนดให้กองทุนประกันสังคมลงทุนในหุ้นสามัญของรัฐวิสาหกิจ ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินกองทุน และลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียน ได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินกองทุน

การลงทุนของกองทุนประกันสังคม "ต่อยอด" ความมั่นคง

              การปรับกรอบการลงทุนให้ลงทุนในหุ้นได้ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในช่วงกลางปี 2546 นั้น นับว่าเป็นจังหวะที่ค่อนข้างดี เพราะขณะนั้นดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 500 จุด และตลาดหลักทรัพย์ฯของไทยจัดว่าน่าลงทุนที่สุดในเอเซีย สำนักงานประกันสังคมจึงเริ่มทยอยลงทุน ในหุ้นทีละเล็กละน้อย นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 1 ปี มีเงินลงทุนในหุ้นสามัญจำนวนทั้งสิ้น 15,304 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7 ของเงินกองทุนประกันสังคม ท่านผู้ประกันตนน่าจะสบายใจขึ้น เมื่อทราบว่าถึงแม้ว่ากรอบการลงทุนจะกำหนดเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 15 แต่ที่ลงทุนจริงมีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้น ที่จริงมีการลงทุนในหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 7 ของเงินกองทุนมาตั้งแต่ต้นปี 2547 นั้นคือ ตลอดระยะเวลาครึ่งปีแรกของปี 2547 แทบจะไม่ได้ลงทุนในหุ้นเพิ่มเติมเลย
              เพื่อให้ท่านสบายใจยิ่งขึ้น ขอเรียนเพิ่มเติมว่า หุ้นสามัญที่ลงทุนทั้งหมดนั้น หากคิดตามราคาตลาดแล้วจะมีมูลค่ามากถึง 17,679 ล้านบาท นั่นหมายถึงลงทุนด้วยเงิน 15,304 ล้านบาท แต่วันนี้หากขายหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่จะได้เงินคืน 17,679 ล้านบาท หรือมีกำไร 2,374 ล้านบาท ไม่เพียงแค่นั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมากองทุนประกันสังคม ได้เก็บเกี่ยวเงินปันผลจากการลงทุนในหุ้นมาแล้วทั้งสิ้น 472.66 ล้านบาท และเก็บเกี่ยวกำไรจากการขายหุ้นที่ทางทีมงาน ลงทุนเห็นว่ามีราคาสูงกว่า ปัจจัยพื้นฐานมากถึง 1,016.29 ล้านบาท รวมเป็นเม็ดเงินผลกำไรที่กองทุนเก็บเข้ากระเป๋าไปแล้วมากถึง 1,488.95 ล้านบาท สรุปแล้วถึงแม้ว่าภาวะตลาดหุ้นจะผันผวนมากในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2547 แต่จากเงินลงทุน 15,034 ล้านบาท ยังคงมีกำไรจากการลงทุนในหุ้นรวมทั้งสิ้น 3,863 ล้านบาท

 

การลงทุนของกองทุนประกันสังคม "ต่อยอด" ความมั่นคง

              ขั้นตอนการตัดสินใจลงทุนมีหลายขั้น เริ่มจากทีมงานด้านการลงทุนเป็นผู้พิจารณาเลือกลงทุน ในบริษัทที่มีฐานะทางการเงิน และลักษณะธุรกิจที่มั่นคง มีผลประกอบการดีเยี่ยม มีแนวโน้มจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารมีความชำนาญในธุรกิจเป็นอย่างดี รวมทั้งมีบรรษัทภิบาลในการประกอบธุรกิจ ซึ่งการวิเคราะห์จะต้องทำอย่างละเอียด โดยคำนึงเสมอว่า กองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนระยะยาว จะต้องลงทุนในบริษัทนั้นๆ เป็นเวลา 5-10 ปี ขึ้นไป ดังนั้นบริษัทที่จะลงทุนได้จะต้องมีกิจการที่มั่นคงอย่างแท้จริง
              ในส่วนของทีมงานของสำนักงานประกันสังคม ต้องยอมรับว่าโครงสร้างของระบบราชการ ไม่ได้ผลิตบุคลากรด้านการลงทุนโดยตรง ปัจจุบันจึงมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน ที่เป็นมืออาชีพ มีประสบการณ์ในการลงทุนจากภาคเอกชนมากกว่า 10 ปี เป็นทีมวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน โดยมีทีมข้าราชการรุ่นใหม่ (ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลที่เรียนจบด้านการเงินโดยตรง) ทำงานประกบกับทีมผู้เชี่ยวชาญเพื่อเรียนรู้ประสบการณ์ไปพร้อมๆ กัน
              หลังจากคัดเลือกบริษัทที่น่าลงทุนแล้ว สำนักงานประกันสังคมจะต้องนำเสนอแผนการลงทุนที่ระบุรายละเอียด ว่าจะลงทุนในหุ้นของบริษัทอะไร จำนวนไม่เกินเท่าไหร่ ให้กับคณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบก่อนจึงจะสามารถลงทุนได้ หากมีบริษัทเสนอขายหุ้นออกใหม่ จะต้องผ่านการกลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุนก่อน ที่จะขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคม ฟังดูซับซ้อน แต่ขั้นตอนที่ซับซ้อนนี้ก็เพื่อให้ท่านผู้ประกันตนมั่นใจว่าการลงทุนในหุ้นไม่ได้ เกิดจากความคิดของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการซึ่งมีผู้แทนทั้งจากนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาลก่อนเสมอ
              หลังจากแผนการลงทุนได้รับความเห็นชอบแล้ว ไม่ได้แปลว่าสามารถกำเงินสดไปลงทุนได้ทันที ทีมงานจะต้องใช้โมเดลทางการวิเคราะห์ราคาหุ้นที่เหมาะสม แล้วกำหนดเป็นช่วงราคาที่สามารถลงทุนได้ เช่น สมมติว่า ทีมงานวิเคราะห์แล้วว่าหุ้นของการบินไทย (THAI) มีราคาที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 55-60 ก็ต้องลงทุนไม่เกินราคา 60 บาท เมื่อลงทุนแล้วก็ถือหุ้นไว้ในระยะยาว 5-10 ปี เป็นอย่างน้อย
              ในระหว่างที่ถือหุ้นอยู่นั้นมีบ้างเหมือนกัน ที่อาจจะขายหุ้นส่วนหนึ่งเพื่อทำกำไร เช่น หากราคาหุ้นการบินไทยเพิ่มขึ้นไปถึง 80 บาท และทีมงานคิดว่าเป็นราคาที่สูงเกินกว่าปัจจัยพื้นฐาน ของบริษัทจะรองรับได้ก็จะทยอยขายหุ้นออกไปบ้างเพื่อเก็บกำไรเข้ากระเป๋า เมื่อราคาหุ้นตกลงมาอยู่ในช่วงที่เหมาะสม จึงค่อยเข้าไปซื้อคืนมาใหม่ ซึ่งการขายเพื่อทำกำไรนั้น กำหนดเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินทุนในหุ้นเท่านั้น จะเห็นได้ว่าการลงทุนไม่มีการซื้อๆ ขายๆ แบบนักลงทุนรายย่อยที่นั่งอยู่ตามห้องค้าหลักทรัพย์ และไม่มีการ "เก็งกำไร" ระยะสั้นใดๆ ทั้งสิ้น การลงทุนส่วนใหญ่ต้องเป็นการลงทุนระยะยาวเท่านั้น
              นอกจากเรื่องของ "ราคา" ที่เหมาะสมแล้วยังมีทีมงานวิเคราะห์อีกทีมหนึ่ง ทำหน้าที่ติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิด และยังมีทีมงานกำกับการลงทุน ซึ่งมีหน้าที่ตรวจรายงานการลงทุนชนิดวันต่อวัน นอกจากนี้คณะกรรมการบริหารการลงทุนรวมทั้ง คณะกรรมการประกันสังคม จะคอยทำหน้าที่ตรวจสอบการลงทุนของกองทุนเป็นประจำทุกเดือนอีกด้วย

อัพเดทล่าสุด