https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
บอกเล่าเก้าสิบ...โครงการบ้านสปส. - ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตน MUSLIMTHAIPOST

 

บอกเล่าเก้าสิบ...โครงการบ้านสปส. - ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตน


772 ผู้ชม


บอกเล่าเก้าสิบ...โครงการบ้านสปส. - ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตน




จากการที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้มีนโยบายอย่างชัดเจนในการที่สนับสนุน ให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง จึงได้ร่วมมือกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ จัดทำโครงการบ้าน สปส. - ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยของผู้ประกันตนซึ่งสำนักงานประกันสังคม สนับสนุนเงินฝากกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 3,000 ล้านบาท และนำไปปล่อยสินเชื่อด้านที่อยู่อาศัยให้กับผู้ประกันตนในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าท้องตลาด คือ คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 2.5 คงที่ 5 ปี หลังจากนั้นใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดยคิดตามวงเงินให้กู้ไม่เกิน 500,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย MRR - 1.75 (อัตราดอกเบี้ย MRR ใช้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์) วงเงินกู้ตั้งแต่ 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย MRR 1.25 และวงเงินกู้ตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป คิดอัตราดอกเบี้ย MRR - 1.00 ทั้งนี้โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกันตนซึ่งเป็นผู้ส่งเงินสมทบเข้า กองทุนประกันสังคมได้มีแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ในการไปซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
         
   สำหรับคุณสมบัติ
            - เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (เป็นลูกจ้างสถานประกอบการ) มาแล้วอย่างน้อย 5 ปี
            - ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนอย่างน้อย 60 งวดและมีรายได้ประจำ ซึ่งนายจ้างของผู้ประกันตนต้องยินยอม เป็นผู้หักเงินเดือนเพื่อส่งชำระเงินกู้

            โดยการกู้เงินนั้นจะต้องเป็นการขอสินเชื่อใหม่ เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด เพื่อปลูกสร้างอาคารหรือเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร เพื่อต่อเติมหรือขยายหรือซ่อมแซมอาคารที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ทั้งนี้ ไม่ให้กู้เพื่อไถ่ถอนจำนองและกรณีเป็นลูกหนี้เดิมของธนาคาร ก็ไม่สามารถใช้สิทธิโครงการนี้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในบัญชีกู้อยู่แล้วได้ ผู้ประกันตนที่สนใจสามารถตรวจสอบคุณสมบัติและกรอกใบผ่านสิทธิได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่ของนายจ้าง เพื่อขอใช้สิทธิกู้เงินได้ตั้งแต่วันที่ 1-19 พฤศจิกายน 2547 กรณีคุณสมบัติของผู้ประกันตนครบให้กรอกรายละเอียดในใบผ่านสิทธิ และให้เจ้าหน้าที่เซ็นต์รับรองการเป็นผู้ประกันตน และเก็บต้นฉบับไว้โดยสำนักงานประกันสังคม เก็บสำเนา และขอรับแบบหนังสือรับรองการหักเงินเดือนจากนายจ้าง เพื่อให้ยินยอมเป็นผู้หักเงินเดือนชำระเงินกู้ จากนั้นรอฟังผลประกาศรายชื่อผู้ได้รับสิทธิการกู้ โดยสำนักงานประกันสังคมจะทำการจับฉลากและเรียงลำดับผู้ที่ได้รับสิทธิก่อนหลังตามลำดับ ภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2547 และประกาศผลให้ทราบโดยทั่วกันในวันที่ 9 ธันวาคม 2547 โดยผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิการกู้ให้ไปติดต่อขอกู้เงินได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2548 พร้อมหลักฐาน คือ ใบผ่านสิทธิและหนังสือแจ้งการได้รับสิทธิจากสำนักงานประกันสังคม หนังสือแสดงความยินยอมจากนายจ้างในการหักเงินเดือนส่งชำระหนี้เงินกู้ และเอกสารหลักฐานการกู้เงิน
            สำหรับวงเงินที่ปล่อยกู้รอบแรกมีจำนวน 3,000 ลัานบาท คาดว่าจะปล่อยกู้ให้กับผู้ประกันตนได้ประมาณ 6,000 ราย ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมจะไม่ถอนเงินฝากจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ และให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์นำเงินต้นที่ผู้กู้ที่รับสิทธิครั้งนี้ ซึ่งเป็นรายเดิมส่งเป็นค่างวดกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ นำมาปล่อยกู้ให้กับรายต่อไปที่ขึ้นบัญชีเรียงตามลำดับไว้ ซึ่งเป็นลักษณะกองทุนเงินกู้เพื่อสวัสดิการ ของผู้ประกันตนที่หมุนเวียนให้ผู้ประกันตนกู้ได้ทั่วถึง สำนักงานประกันสังคมจะจัดให้ผู้ประกันตนระดับล่าง ที่รายได้น้อยให้ได้รับสิทธิมากที่สุด โดยจัดสรรวงเงินกู้ออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งให้สัดส่วนมากที่สุดแก่ผู้ประกันตนที่ขอวงเงินกู้น้อย ประกอบด้วย กลุ่ม A วงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท จะได้รับจัดสรร 60% ของวงเงินตามโครงการคิดเป็น 1,800 ล้านบาท กลุ่ม B วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท จะได้รับจัดสรร 30% ของวงเงินตามโครงการคิดเป็น 900 ล้านบาท และกลุ่ม C วงเงินกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้รับจัดสรร 10% ของวงเงินตามโครงการคิดเป็น 300 ล้านบาท ทั้งนี้ หากผู้ขอใช้สิทธิมากเกินกว่าจะใช้วิธีการจับฉลากเรียงลำดับผู้ขอใช้สิทธิ ดังนี้

            1. สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่และจังหวัดส่งรายชื่อผู้ขอยื่นกู้ และมีคุณสมบัติตามโครงการมาที่สำนักงานประกันสังงคม โดยแยกกลุ่มตามวงเงิน A : B : C
            2. สำนักงานประกันสังคมส่วนกลางจะนำรายชื่อกู้ผู้มีสิทธิทั่วประเทศ มาทำการจับฉลากโดยระบบคอมพิวเตอร์ เรียงลำดับที่ผู้ขอยื่นกู้ทุกรายโดยแยกตามกลุ่มวงเงินเป็นกลุ่ม A B และ C
            3. สำนักงานประกันสังคม จะพิจารณาผู้ได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์สัดส่วนวงเงินแต่ละกลุ่ม A : B : C / 60 : 30 : 10 ของวงเงินตามโครงการ
            4. สำนักงานประกันสังคม จะแจ้งรายชื่อผู้ที่ได้รับสิทธิตามเกณฑ์และแจ้งให้ผู้ประกันตนและธนาคารอาคารสงเคราะห์ทราบ เพื่อไปติดต่อขอใช้สิทธิต่อไป ทั้งนี้ จะขึ้นบัญชีของผู้ขอรับสิทธิไว้เป็นระยะเวลา 2 ปี หลังจากนั้นจะเปิดให้มีการยื่นขอกู้เพื่อจับฉลากใหม่

            ในการนี้หากสมาชิกของกองทุนประกันสังคม ต้องการซื้อบ้านเป็นจำนวนมากก็อาจขยายวงเงินในการขอกู้ได้ถึง 4,500 ล้านบาท ซึ่งจะมีการจัดทำโครงการปล่อยกู้ในระยะที่ 2 หรือเฟส 2 โดยมีเงื่อนไขในการปล่อยกู้ในลักษณะเช่นเดียวกับเฟสแรก แต่อาจจะมีการพิจารณาในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย สำหรับผู้ที่กู้วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท เพิ่มเติม สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งเป็นบุคคลที่ประกันตนแต่ไม่มีนายจ้างจะไม่ได้รับสิทธิในการขอกู้ เนื่องจากยังมีความเสี่ยงในการปล่อยกู้ ทั้งนี้ การที่กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้จัดทำโครงการนี้ ก็เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกันตนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และเพิ่มความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่การจัดทำโครงการครั้งนี้ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ประกันตนที่เดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยได้ทั้งหมด เนื่องจากตามกรอบการลงทุนเพื่อประโยชน์ทางอ้อมแก่ผู้ประกันตนได้เพียงไม่เกินร้อยละ 10 ของกองทุน ซึ่งเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนต่ำกว่าตลาด และหากกองทุนประกันสังคมมีการลงทุนประเภทนี้จำนวนมาก อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของกองทุนซึ่งมีภารกิจหลักในการจ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับผู้ประกันตนได้

แหล่งข้อมูล : https://www.sso.go.th

อัพเดทล่าสุด