https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กฎหมายแรงงาน : เงินประกันการทำงาน MUSLIMTHAIPOST

 

กฎหมายแรงงาน : เงินประกันการทำงาน


672 ผู้ชม


กฎหมายแรงงาน : เงินประกันการทำงาน




มาตรา 10 ภายใต้บังคับมาตรา 51 วรรคสอง ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ทั้งนี้ ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้างได้ ตลอดจนจำนวนเงินและวิธีการเก็บรักษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

        

        ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกัน หรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออก หรือสัญญาประกันสิ้นอายุ ให้นายจ้างคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี

         การเรียกเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างเป็นการกระทำที่สร้างความเดือดร้อนแก่ลูกจ้างตลอดมา เพื่อคุ้มครองลูกจ้างในเรื่องนี้ จึงต้องมีบทบัญญัติห้ามการเรียกเก็บเงินประกันโดยไม่มีเหตุผลอันควรไว้ ตามบทบัญญัติข้างต้นแสดงว่านายจ้างไม่มีสิทธิที่จะเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงิน ประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้างทั่วไปได้ คงเรียกได้เฉพาะลูกจ้างที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด ซึ่งประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงานหรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ลงเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2541 กำหนดให้นายจ้างเรียกหรือเก็บเงินประกันจากลูกจ้างที่ทำงานดังต่อไปนี้ได้ไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับอยู่ในวันที่นายจ้างรับเงินประกันคือ

        1.  งานสมุห์บัญชี

        2.  งานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน

        3.  งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้างหรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้าง

        4.  งานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน

        5.  งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ

        6.  งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่าทรัพย์ ให้เช่าซื้อ ให้กู้ยืม รับฝากทรัพย์ รับจำนอง รับจำนำ เก็บของในคลังสินค้า รับประกันภัย รับโอน หรือรับจัดส่งเงิน หรือการธนาคาร ทั้งนี้ เฉพาะลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมเงินหรือทรัพย์สินเพื่อการที่ว่านั้น

         คำพิพากษาฎีกาที่ 3034/2545  ลูกจ้างเป็นผู้จัดการสถานีจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง มีหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินภายในร้านสะดวกซื้อของนายจ้าง นายจ้างย่อมเรียกเงินประกันได้

        ส่วนการเรียกเงินประกันเพิ่มและการเก็บรักษาเงินประกันนั้น ประกาศดังกล่าว กำหนดว่า ในกรณีที่เงินประกันซึ่งนายจ้างเรียกหรือรับไว้ลดลงเนื่องจากการนำไปชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างตามเงื่อนไขของการเรียกหรือรับเงินประกัน หรือตามข้อตกลงหรือได้รับความยินยอมจากลูกจ้างแล้ว นายจ้างจะเรียกหรือรับเงินประกันเพิ่มได้ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ข้างต้นเท่านั้น

        ให้นายจ้างนำเงินประกันฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นโดยจัดให้มีบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคนและให้แจ้งชื่อธนาคารพาณิชย์หรือสถานบันการเงินอื่น ชื่อบัญชี และเลขที่บัญชีให้ลูกจ้างทราบเป็นหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รับเงินประกันทั้งนี้ นายจ้างจะเก็บรักษาเงินประกันโดยวิธีอื่นหรือนำไปจัดหาผลประโยชน์อื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้นี้มิได้

        สำหรับเงินประกันที่นายจ้างได้เรียกหรือรับไว้ก่อนวันที่กฎหมายมีผลบังคับ ( 19 สิงหาคม 2541) กฎหมายมิได้กำหนดให้คืน แต่การยึดถือเงินดังกล่าวไว้จะทำให้ลูกจ้างและบุคคลทั่วไปมีความรู้สึกในทางลบแก่นายจ้าง นายจ้างจึงควรคืนเงินประกันทั้งหมดแก่ลูกจ้าง

        นายจ้างที่ฝ่าฝืนมาตรานี้มีความผิดและมีโทษทางอาญาตามมาตรา 144 และลูกจ้างฟ้องเรียกเงินประกันและดอกเบี้ยจากนายจ้างได้

        การเรียกหรือรับเงินประกันเพื่อการใดๆ จากฝ่ายลูกจ้างเด็ก (จากเด็กที่เป็นลูกจ้างบิดามารดา หรือญาติของเด็ก) เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 51 วรรคสอง มีความผิดและมีโทษทางอาญาตามมาตรา 144

อัพเดทล่าสุด