https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
นิยาม คำว่า การนัดหยุดงาน MUSLIMTHAIPOST

 

นิยาม คำว่า การนัดหยุดงาน


646 ผู้ชม


นิยาม คำว่า การนัดหยุดงาน




คำว่า การนัดหยุดงาน นั้น หมายความว่า  การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงานชั่วคราว เนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน คำว่า “การนัดหยุดงาน” เป็นคำที่แปลมาจากภาษาอังกฤษ (strike)  ซึ่งเป็นการกระทำของทางฝ่ายลูกจ้างที่ได้กระทำเพื่อกดดันหรือบีบบังคับให้นายจ้างตกลงยอมตามข้อเรียกร้องของฝ่ายลูกจ้าง การนัดหยุดงาน จะต้องเป็นการกระทำของลูกจ้างหลายคนโดยวิธีการร่วมกันไม่ทำงานให้แก่นายจ้างเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้จนกว่าที่จะได้รับประโยชน์ตามที่ได้เรียกร้องหรือได้รับประโยชน์จนเป็นที่พอใจแก่ฝ่ายลูกจ้าง การนัดหยุดงานตามความหมายของกฎหมายแรงงานสัมพันธ์นั้นจะต้องมีเหตุอันเกิดจากข้อพิพาทแรงงานเท่านั้น ถ้าการนัดหยุดงานเกิดจากเหตุอื่นไม่เกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงานก็ไม่ถือว่าเป็นการนัดหยุดงานตามกฎหมายนี้ เช่น พนักงานเก็บค่าโดยสารร่วมกันหยุดงานเนื่องจากไม่พอใจที่ถูกผู้โดยสารทำร้ายร่างกาย หรือพนักงานขับรถประจำทางร่วมกันนัดหยุดงานเพราะไม่พอใจที่เจ้าพนักงานตำรวจจราจรได้ดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเข้มงวดกวดขัน การนัดหยุดงานของพนักงานเก็บค่าโดยสารหรือพนักงานขับรถประจำทางดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการนัดหยุดงานและไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

คำพิพากษาฎีกาที่ 2019-2022/2523 นายจ้างเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจากข้อตกลงเดิมเป็นให้ลูกจ้างทำงานเป็นผลัด (หรือเป็นกะ) โดยลูกจ้างไม่ยินยอมไม่ได้เพราะการทำงานเป็นผลัดนั้นไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจึงเป็นการขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย การที่ลูกจ้างไม่เข้าทำงานเพราะไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานไม่ใช่การหยุดงานหรือนัดหยุดงาน

คำพิพากษาฎีกาที่ 7419/2537 นายจ้างได้เปลี่ยนเวลาทำงานและเพิ่มชั่วโมงทำงานจาก 7 ชั่วโมง เป็น 8 ชั่วโมง นายจ้างได้เชิญกรรมการสหภาพแรงงานเข้าประชุมกรรมการสหภาพแรงงานไม่ยินยอมเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างได้มีการเจรจากันเรื่องการจ่ายค่าจ้างเพิ่ม นายจ้างนัดหมายว่าจะแจ้งคำตอบให้พนักงาน พนักงานจึงไม่เข้าทำงานและไปรวมตัวกันฟังคำตอบจากนายจ้างตามที่นาจ้างนัดหมาย การที่ลูกจ้างไม่เข้าทำงานด้วยเหตุผลดังกล่าวไม่ใช่การนัดหยุดงานตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

คำพิพากษาฎีกาที่ 10158-10161/2539 การที่ลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุดงานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลา หรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้างจึงไม่อาจนำระยะเวลาระหว่างการหยุดงานของลูกจ้างดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นระยะเวลาทำงานของลูกจ้างได้

อ้างอิง : ศาตราจารย์เกษมสันต์ วิลาวรรณ, คำอธิบายกฎหมายแรงงาน

อัพเดทล่าสุด