https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พระราชบัญญัติ (ใหม่) สรุปพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐ MUSLIMTHAIPOST

 

พระราชบัญญัติ (ใหม่) สรุปพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐


1,063 ผู้ชม


พระราชบัญญัติ (ใหม่)
สรุปพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐

พฤหัสบดี ที่ 5 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2551
 

สรุปพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐

 

มาตรา ๑  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐”

 

มาตรา ๒ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

มาตรา ๓  ให้ยกเลิก

(๑) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑

(๒) ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง ห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจการอื่นใดในทางการเมือง ลงวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

(๓) ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๗ เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๕ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

(๔) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๕ เรื่อง ห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจการอื่นใดในทางการเมือง ลงวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ พ.ศ. ๒๕๕๐

(๕) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ พ.ศ. ๒๕๕๐

 

มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

“พรรคการเมือง” หมายความว่า คณะบุคคลที่รวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง โดยได้รับการจดแจ้งการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมุ่งที่จะส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และมีการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอื่นอย่างต่อเนื่อง

“สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกพรรคการเมือง

“ที่อยู่” หมายความว่า ที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

“การบริจาค” หมายความว่า การให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่พรรคการเมือง เพื่อการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง หรือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมือง หรือของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกเหนือจากค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองตามข้อบังคับพรรคการเมือง

“ประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้” หมายความรวมถึง

(๑) การปลดหนี้ หรือการลดหนี้ให้เปล่า

(๒) การให้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย

(๓) การเข้าค้ำประกันโดยไม่คิดค่าธรรมเนียม

(๔) การให้ใช้สถานที่ ยานพาหนะ หรือทรัพย์สิน โดยไม่คิดค่าเช่าหรือค่าบริการหรือคิดค่าเช่าหรือค่าบริการน้อยกว่าที่คิดกับบุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า

(๕) การให้ใช้บุคลากรซึ่งมิได้เป็นลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของพรรคการเมือง โดยพรรคการเมือง หรือสมาชิกไม่ต้องชำระค่าจ้างหรือสินจ้าง หรือต้องชำระค่าจ้างหรือสินจ้างเพียงบางส่วน เว้นแต่การเป็นอาสาสมัครนอกเวลาการทำงานโดยปกติของผู้นั้น

(๖) การให้ใช้บริการโดยไม่คิดค่าใช้บริการ หรือคิดค่าใช้บริการน้อยกว่าที่คิดกับบุคคลอื่นโดยปกติทางการค้า

(๗) การให้ส่วนลดในสินค้าหรือทรัพย์สินที่จำหน่าย โดยให้ส่วนลดมากกว่าที่ให้กับบุคคลอื่นโดยปกติทางการค้า

(๘) การให้เดินทางหรือให้ขนส่งบุคคลหรือสิ่งของโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่คิดกับบุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า

(๙) การจัดเลี้ยง การจัดมหรสพ หรือการบันเทิงอื่นให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่คิดกับบุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า

(๑๐) การให้บริการวิชาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สถาปนิก วิศวกร กฎหมาย หรือบัญชี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือคิดค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่คิดกับบุคคลอื่น โดยปกติทางการค้า

(๑๑) การอื่นซึ่งเป็นการกระทำที่ทำให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกได้ประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ หรือไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายซึ่งโดยปกติต้องจ่าย

การดำเนินการตาม (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) หรือ (๑๐) ซึ่งพรรคการเมืองจัดให้แก่สมาชิกและมิได้เป็นไปเพื่อการหาเสียงเลือกตั้งให้แก่สมาชิก มิให้ถือว่าเป็นการให้ประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

“กองทุน” หมายความว่า กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง

“นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนพรรคการเมือง

 

มาตรา ๕  ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และให้มีอำนาจออกประกาศโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

ประกาศตามวรรคหนึ่งเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

มาตรา ๖  ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นนายทะเบียนมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง ควบคุม ตรวจสอบการดำเนินงานของพรรคการเมือง และปฏิบัติงานให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

 

มาตรา ๗  ในการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้นายทะเบียนมีอำนาจเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้คำชี้แจงหรือให้ส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณาหรือตรวจสอบได้

ให้ถือว่านายทะเบียนเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นและให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง

 

                                                          หมวด ๑

                                                การจัดตั้งพรรคการเมือง

                       

มาตรา ๘  ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดหรือผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติซึ่งได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มีจำนวนตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไปอาจรวมกันดำเนินการจัดตั้งพรรคการเมืองได้

ในการจัดตั้งพรรคการเมือง ให้ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองจัดให้มีการประชุมเพื่อกำหนดนโยบายพรรคการเมือง กำหนดข้อบังคับพรรคการเมือง และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง

การประชุมตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

 

มาตรา ๙  พรรคการเมืองต้องมีชื่อ ชื่อย่อ ภาพเครื่องหมาย นโยบาย และข้อบังคับพรรคการเมือง ซึ่งมีลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดความแตกแยกในเรื่องเชื้อชาติหรือศาสนาระหว่างชนในชาติไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร และไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ซ้ำหรือพ้อง หรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายของผู้จดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองอื่น หรือของพรรคการเมืองที่ได้จดแจ้งไว้ก่อนตามมาตรา ๑๒ หรือของพรรคการเมืองที่ถูกยุบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

 

มาตรา ๑๐  ข้อบังคับพรรคการเมืองต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อและชื่อย่อของพรรคการเมือง

(๒) ภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง

(๓) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคการเมืองซึ่งต้องตั้งอยู่ในราชอาณาจักร

(๔) การเลือกตั้ง การดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง

(๕) แผนและกำหนดเวลาในการจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง อำนาจหน้าที่ของสาขาพรรคการเมือง การเลือกตั้ง การดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการสาขาพรรคการเมือง และอำนาจหน้าที่ของกรรมการสาขาพรรคการเมือง

(๖) การประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองและการประชุมใหญ่ของสาขาพรรคการเมือง

(๗) การรับเข้าเป็นสมาชิกและการให้ออกจากการเป็นสมาชิก

(๘) สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

(๙) ความรับผิดชอบของพรรคการเมืองต่อสมาชิก

(๑๐) วินัยและจรรยาบรรณของสมาชิก กรรมการบริหารพรรคการเมือง และกรรมการสาขาพรรคการเมือง

(๑๑) หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกสมาชิกเพื่อส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบสัดส่วน

(๑๒) การบริหารการเงิน ทรัพย์สิน และการจัดทำบัญชีของพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมือง

(๑๓) รายได้ของพรรคการเมือง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองและการบริจาคแก่พรรคการเมือง

(๑๔) การให้ความรู้ทางการเมืองแก่สมาชิกและประชาชนทั่วไป

(๑๕) การเลิกพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมือง

ข้อบังคับพรรคการเมืองต้องไม่มีลักษณะหรือความมุ่งหมายดังต่อไปนี้

(๑) ขัดหรือแย้งต่อหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(๒) ขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ

(๓) มีข้อกำหนดให้ดำเนินการทางวินัยหรือจรรยาบรรณ โดยมิได้เปิดโอกาสให้ผู้ถูกดำเนินการทางวินัยหรือจรรยาบรรณ มีโอกาสรู้ข้อกล่าวหาและแก้ข้อกล่าวหาได้ตามสมควร

(๔) มีข้อกำหนดให้มีการดำเนินการเพื่อให้สมาชิกที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ้นจากสมาชิกภาพของพรรคการเมือง เพราะเหตุที่สมาชิกผู้นั้นลงมติหรือไม่ลงมติในสภาผู้แทนราษฎรหรือในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา

(๕) การอื่นตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การจัดให้มีการประชุมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินการทางการเมือง หรือการลงมติในสภาผู้แทนราษฎรมิให้ถือว่าเป็นการต้องห้ามตามวรรคสอง

 

มาตรา ๑๑  คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง ประกอบด้วย หัวหน้าพรรคการเมืองรองหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง รองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง โฆษกพรรคการเมือง และกรรมการบริหารอื่นซึ่งเลือกตั้งจากสมาชิกผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๑๓) และ (๑๔) ของรัฐธรรมนูญ

กรรมการบริหารพรรคการเมืองมีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อบังคับพรรคการเมืองซึ่งต้องไม่เกินคราวละสี่ปี และอาจได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งอีกได้

 

มาตรา ๑๒  ให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองต่อนายทะเบียน โดยต้องยื่นพร้อมกับนโยบายพรรคการเมือง ข้อบังคับพรรคการเมือง บัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของพรรคการเมือง หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่ทำการพรรคการเมืองซึ่งต้องอยู่ในราชอาณาจักร และสำเนารายงานการประชุมตั้งพรรคการเมือง

การยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อและชื่อย่อของพรรคการเมือง

(๒) ภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง

(๓) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคการเมือง

(๔) ชื่อ อาชีพ ที่อยู่ และลายมือชื่อของผู้จดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง

(๕) ชื่อ อาชีพ ที่อยู่ และลายมือชื่อของกรรมการบริหารพรรคการเมือง

 

มาตรา ๑๓  เมื่อได้รับการยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง ให้นายทะเบียนพิจารณาตรวจสอบในเรื่องดังต่อไปนี้

(๑) ผู้จดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง และมีจำนวนตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไป

(๒) ชื่อ ชื่อย่อ และภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง นโยบายและข้อบังคับพรรคการเมืองมีลักษณะและความมุ่งหมายที่ไม่ขัดต่อมาตรา ๙

(๓) เอกสารการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองมีรายการครบถ้วนและถูกต้องตามมาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๒

(๔) คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๑

ในกรณีที่นายทะเบียนตรวจสอบแล้วเห็นว่าการยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองถูกต้องและครบถ้วน ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ

ในกรณีที่นายทะเบียนตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีรายการใดไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับการยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง

ผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองซึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองของนายทะเบียน อาจยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งตามวรรคสามต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าว

 

มาตรา ๑๔  ในกรณีที่นายทะเบียนตรวจสอบแล้วเห็นว่าเอกสารจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองตามมาตรา ๑๓ (๓) มีรายการไม่ครบถ้วน หรือมีข้อความไม่ชัดเจนหรือบกพร่องให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับการยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากนายทะเบียน

เมื่อผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองได้แก้ไขเอกสารการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารดังกล่าว

ถ้าผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองไม่ดำเนินการแก้ไขเอกสารการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองตามวรรคหนึ่ง หรือดำเนินการแก้ไขแล้วแต่ยังไม่ถูกต้อง ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และให้นายทะเบียนแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และให้นำความในมาตรา ๑๓ วรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

มาตรา ๑๕  ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายของพรรคการเมืองตามที่ปรากฏในเอกสารการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง ซ้ำหรือพ้องหรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายของพรรคการเมืองซึ่งผู้จดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองอื่นได้ยื่นจดแจ้งไว้ในวันและเวลาเดียวกัน ให้นายทะเบียนดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) แจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อให้ทำความตกลงกันว่าผู้จดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองคณะใดจะเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองนั้น เมื่อได้ตกลงกันเป็นประการใดแล้ว และไม่เป็นการซ้ำหรือพ้องหรือมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองตามที่ได้ตกลงกัน การตกลงกันดังกล่าวให้กระทำให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากนายทะเบียน

(๒) ในกรณีที่ผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องยืนยันไม่ยอมตกลงกัน หรือเมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม (๑) แล้ว ยังตกลงกันไม่ได้ ให้นายทะเบียนดำเนินการจับสลากโดยเปิดเผยเพื่อให้ได้ผู้มีสิทธิใช้ชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายของพรรคการเมืองนั้น และให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งรับการจดแจ้งจากผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองตามผลของการจับสลากนั้น

ให้นายทะเบียนแจ้งผลการดำเนินการตาม (๒) เป็นหนังสือไปยังผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ทราบผลตาม (๒)

 

มาตรา ๑๖  ให้นายทะเบียนจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองในทะเบียนพรรคการเมือง และให้ประกาศการจัดตั้งพรรคการเมืองในราชกิจจานุเบกษา โดยระบุชื่อ ชื่อย่อ และภาพเครื่องหมายของพรรคการเมือง นโยบายพรรคการเมือง ข้อบังคับพรรคการเมืองชื่อหัวหน้าพรรคการเมือง รองหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง รองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง โฆษกพรรคการเมือง และกรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมือง ให้พรรคการเมืองที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองแล้วเป็นนิติบุคคล

 

                                                           หมวด ๒

                                        การดำเนินกิจการของพรรคการเมือง

                        

มาตรา ๑๗  ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย นโยบายพรรคการเมือง ข้อบังคับพรรคการเมืองและมติของที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน และต้องส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในพรรคการเมือง

ให้หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้แทนของพรรคการเมืองในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกเพื่อการนี้ หัวหน้าพรรคการเมืองจะมอบหมายเป็นหนังสือให้กรรมการบริหารคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้

กรรมการบริหารพรรคการเมืองต้องรับผิดชอบร่วมกันในบรรดามติของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง และในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองตามข้อบังคับพรรคการเมืองและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

กรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่ต้องรับผิดตามวรรคสาม หากพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ร่วมกระทำการนั้น และได้คัดค้านในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองโดยปรากฏในรายงานการประชุม หรือได้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธานที่ประชุมภายในเจ็ดวันนับแต่สิ้นสุดการประชุมในกรณีที่ไม่ปรากฏในรายงานการประชุม

 

มาตรา ๑๘  คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีหน้าที่ต้องควบคุมไม่ให้สมาชิกกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระเบียบ หรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

เมื่อได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีหน้าที่ต้องควบคุมไม่ให้ผู้ซึ่งพรรคการเมืองส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้ง กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ระเบียบ หรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งอาจทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

 

มาตรา ๑๙  ผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกต้องเป็นบุคคลธรรมดาผู้มีสัญชาติไทย มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง โดยยื่นใบสมัครด้วยตนเองพร้อมเอกสารประกอบตามที่นายทะเบียนกำหนดต่อพรรคการเมืองที่ผู้นั้นประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิก และให้คำรับรองว่าตนมิได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นอยู่ในขณะเดียวกัน ตามสถานที่ที่พรรคการเมืองกำหนดและให้พรรคการเมืองส่งสำเนาใบสมัครและเอกสารประกอบดังกล่าวให้นายทะเบียน

ในกรณีที่พรรคการเมืองใดแอบอ้างว่าผู้ใดสมัครเป็นสมาชิกโดยผู้นั้นไม่รู้เห็นหรือไม่สมัครใจผู้ที่ถูกแอบอ้างหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ถูกแอบอ้าง อาจแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาลบชื่อของผู้นั้นออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้น โดยให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น

หัวหน้าพรรคการเมืองต้องจัดทำทะเบียนสมาชิกให้ตรงตามความเป็นจริงเก็บรักษาไว้ ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคการเมือง และพร้อมที่จะให้นายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตรวจสอบได้

ให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงพร้อมด้วยรายชื่ออาชีพและที่อยู่ของสมาชิกดังกล่าว ตามวิธีการที่นายทะเบียนกำหนด ให้นายทะเบียนทราบภายในวันที่เจ็ดของทุกสามเดือน และให้สรุปยอดจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทั้งหมดในรอบปีให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนมกราคมของทุกปี

ถ้าหัวหน้าพรรคการเมืองไม่แจ้งนายทะเบียนภายในระยะเวลาตามวรรคสี่ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนด

ทะเบียนสมาชิกให้เป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกำหนด

ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองของทุกพรรคการเมืองในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทะเบียนดังกล่าวเป็นทะเบียนที่ถูกต้องและแท้จริงตามกฎหมาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าเป็นอย่างอื่น

 

มาตรา ๒๐  สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง เมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙

(๔) พรรคการเมืองมีมติให้ออกตามข้อบังคับพรรคการเมืองเพราะกระทำผิดวินัยหรือจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง หรือมีเหตุร้ายแรงอื่น

(๕) พรรคการเมืองที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง เลิกหรือยุบไป

(๖) เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในขณะเดียวกันเกินกว่าหนึ่งพรรคการเมือง

(๗) กระทำการอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับพรรคการเมือง

การลาออกจากสมาชิกตามวรรคหนึ่ง (๒) ให้ถือว่าสมบูรณ์เมื่อได้ยื่นใบลาออกต่อนายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง

การสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวรรคหนึ่ง (๔) ถ้าสมาชิกผู้นั้นดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย มติของพรรคการเมืองต้องเป็นมติของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการบริหารพรรคการเมือง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองทั้งหมด และการลงมติให้ลงคะแนนลับแต่ถ้าสมาชิกผู้นั้นได้อุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พรรคการเมืองมีมติ คัดค้านว่ามติดังกล่าวมีลักษณะตามมาตรา ๖๕ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวมิได้มีลักษณะตามมาตรา ๖๕ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญให้ถือว่าสมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวมีลักษณะตามมาตรา ๖๕ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ สมาชิกผู้นั้นอาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยหรือจะคงสมาชิกภาพของพรรคการเมืองนั้นต่อไปก็ได้

การอุทธรณ์ตามวรรคสามให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

ให้หัวหน้าพรรคการเมืองส่งรายงานหรือเอกสารเกี่ยวกับการมีมติตามวรรคสามไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรและนายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พรรคการเมืองมีมติ

การสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวรรคหนึ่ง (๕) ถ้าสมาชิกผู้นั้นดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย และไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พรรคการเมืองยุบไป ให้สมาชิกภาพของผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันถัดจากวันที่ครบหกสิบวันนั้น

 

มาตรา ๒๑  ห้ามมิให้พรรคการเมืองรับบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่งเข้าเป็นสมาชิกหรือดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมือง หรือยอมให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของพรรคการเมือง

ห้ามมิให้ผู้ไม่มีสัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งเข้าเป็นสมาชิกหรือดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองหรือร่วมกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง

ห้ามมิให้สมาชิกที่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมืองพนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมืองหรือตำแหน่งอื่นใดของพรรคการเมือง

 

มาตรา ๒๒  ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือผู้ใดให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมเพื่อจูงใจให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดสมัครเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง

 

มาตรา ๒๓  ห้ามมิให้ผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ จากพรรคการเมืองหรือจากผู้ใด เพื่อยอมสมัครเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง

 

มาตรา ๒๔  ห้ามมิให้ผู้ใดเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในขณะเดียวกันเกินหนึ่งพรรคการเมือง

 

มาตรา ๒๕  ห้ามมิให้ผู้ใดใช้ชื่อ ชื่อย่อ ภาพเครื่องหมาย หรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นพรรคการเมือง หรือใช้ชื่อที่มีอักษรไทยประกอบว่า “พรรคการเมือง” หรืออักษรต่างประเทศซึ่งแปลหรืออ่านว่า “พรรคการเมือง” ในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความ หรือเอกสารอย่างอื่น หรือในข้อมูลทางการสื่อสารใด ๆ โดยมิได้เป็นพรรคการเมือง

 

มาตรา ๒๖  ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองนั้นต้องดำเนินการรับสมัครสมาชิกให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าพันคน ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมีที่อยู่ในแต่ละภาคตามบัญชีรายชื่อภาค และจังหวัดที่นายทะเบียนประกาศกำหนด และมีสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา

 

มาตรา ๒๗  เมื่อได้ดำเนินการตามมาตรา ๒๖ แล้ว ให้มีการเรียกประชุมใหญ่พรรคการเมืองเป็นครั้งแรกภายในหกสิบวัน ถ้าหัวหน้าพรรคการเมืองไม่เรียกประชุมใหญ่ภายในระยะเวลาดังกล่าวให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้หัวหน้าพรรคการเมืองเรียกประชุมใหญ่ภายในระยะเวลาที่กำหนดในการประชุมใหญ่พรรคการเมืองตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องพิจารณาเรื่องดังต่อไปนี้

(๑) การทบทวนนโยบายพรรคการเมืองที่ได้จดแจ้งไว้

(๒) การทบทวนข้อบังคับพรรคการเมืองที่ได้จดแจ้งไว้

(๓) การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองแทนคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองตามมาตรา ๘ วรรคสอง

(๔) การเลือกตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง คณะกรรมการนโยบายพรรคการเมือง และคณะกรรมการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในพรรคการเมือง

(๕) เรื่องอื่นที่เสนอโดยคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองตามมาตรา ๑๑ ประธานสาขาพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าสี่สาขา หรือตัวแทนสมาชิกไม่น้อยกว่าห้าร้อยคน

การลงมติในที่ประชุมใหญ่ตาม (๓) และ (๔) ให้ลงคะแนนลับ

 

มาตรา ๒๘  พรรคการเมืองต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งการดำเนินกิจการดังต่อไปนี้ให้กระทำโดยที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง

(๑) การเปลี่ยนแปลงนโยบายพรรคการเมือง

(๒) การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคการเมือง

(๓) การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคการเมือง รองหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมืองรองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง โฆษกพรรคการเมือง และกรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมือง

(๔) การเลือกตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง คณะกรรมการนโยบายพรรคการเมือง และคณะกรรมการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในพรรคการเมือง

(๕) รายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองที่ได้ดำเนินการไปในรอบปีที่ผ่านมา

(๖) แผนการดำเนินการสำหรับปีต่อไป โดยเฉพาะการหารายได้ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมือง และการพัฒนาบุคลากรทางการเมือง

(๗) การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและการรับรองงบการเงินประจำปีของพรรคการเมือง

(๘) กิจการที่เสนอโดยคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง ประธานสาขาพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าสี่สาขา หรือตัวแทนสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยคน

(๙) กิจการอื่นตามที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(๑๐) กิจการอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับพรรคการเมือง

 

มาตรา ๒๙  องค์ประชุมของที่ประชุมใหญ่ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับพรรคการเมืองซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยกรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหมด ผู้แทนของสาขาพรรคการเมืองไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสาขาพรรคการเมือง และตัวแทนสมาชิก ทั้งนี้ มีจำนวนรวมกันทั้งหมดไม่น้อยกว่าสองร้อยคน

การได้มาซึ่งตัวแทนสมาชิกตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับพรรคการเมือง ซึ่งต้องคำนึงถึงสัดส่วนของจำนวนสมาชิกที่มีตามสาขาในแต่ละภาคและสัดส่วนของจำนวนสมาชิกหญิงและชาย ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนความเห็นที่หลากหลายของสมาชิกทุกระดับ

การลงมติในที่ประชุมใหญ่ให้กระทำโดยเปิดเผย แต่การลงมติเลือกบุคคลตามมาตรา ๒๘ วรรคสอง (๓) และ (๔) หรือการลงมติในกรณีที่คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนร้องขอให้ลงคะแนนลับ ก็ให้ลงคะแนนลับ

การจัดให้มีมติโดยมิได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ จะกระทำมิได้

 

มาตรา ๓๐  สมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมการบริหารพรรคการเมืองจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ หรือไม่น้อยกว่าสองพันคน แล้วแต่จำนวนใดจะน้อยกว่ากัน มีสิทธิเข้าชื่อกันให้จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรคการเมือง

 

มาตรา ๓๑  เมื่อปรากฏว่าหัวหน้าพรรคการเมือง คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมือง จัดให้พรรคการเมืองกระทำการใด ๆ ฝ่าฝืนนโยบายพรรคการเมืองหรือข้อบังคับพรรคการเมือง ให้นายทะเบียนมีอำนาจเตือนเป็นหนังสือให้หัวหน้าพรรคการเมือง คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น ระงับหรือจัดการแก้ไขการกระทำนั้นภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด ในกรณีที่นายทะเบียนเตือนเป็นหนังสือแก่บุคคลที่ไม่ใช่หัวหน้าพรรคการเมือง ต้องส่งสำเนาหนังสือเตือนนั้นให้หัวหน้าพรรคการเมืองทราบโดยเร็ว

ถ้าหัวหน้าพรรคการเมือง คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่ปฏิบัติตามคำเตือนของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ระงับหรือจัดการแก้ไขการกระทำดังกล่าว หรือให้หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งคณะหรือบางคนออกจากตำแหน่งได้

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งคณะหรือบางคน ออกจากตำแหน่ง ผู้นั้นไม่มีสิทธิเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองอีก เว้นแต่จะพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง

 

มาตรา ๓๒  สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน แล้วแต่จำนวนใดจะน้อยกว่ากัน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนหัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมือง ออกจากตำแหน่งได้ในกรณีนี้ ให้จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรคการเมืองภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คำร้องขอไปถึงพรรคการเมือง

มติให้ถอดถอนตามวรรคหนึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนผู้ที่เข้าประชุมใหญ่วิสามัญ โดยให้ลงคะแนนลับ

ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งผู้ใดถูกถอดถอน ให้ที่ประชุมใหญ่ดำเนินการเลือกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งนั้น และให้นำความในมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ให้นำความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับการร้องขอถอดถอนประธานสาขาพรรคการเมืองหรือกรรมการสาขาพรรคการเมือง ด้วยโดยอนุโลมโดยให้ใช้สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ และให้มีการจัดประชุมใหญ่วิสามัญสาขาพรรคการเมืองนั้นเพื่อมีมติถอดถอน

การดำเนินการตามมาตรานี้ให้กระทำได้เพียงครั้งเดียวในวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง แต่ในกรณีที่หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การถอดถอนผู้นั้นตามมาตรานี้จะกระทำมิได้

 

มาตรา ๓๓  ในกรณีที่สมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมการบริหารพรรคการเมืองจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกอยู่นั้นจะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญหรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

ให้ถือว่ามติหรือข้อบังคับพรรคการเมืองซึ่งมีลักษณะและความมุ่งหมายตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง (๓) (๔) หรือ (๕) ขัดหรือแย้งต่อหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับพรรคการเมืองดังกล่าวขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้มติหรือข้อบังคับดังกล่าวนั้นเป็นอันยกเลิกไป

 

มาตรา ๓๔  ในกรณีที่พรรคการเมืองใดจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง ให้หัวหน้าพรรคการเมืองมีหนังสือแจ้งการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่จัดตั้งสาขาพรรคการเมืองนั้น

หนังสือแจ้งการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองให้เป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดและอย่างน้อยจะต้องมีรายการแสดงที่ตั้งสาขาพรรคการเมือง รายชื่อ อาชีพ และที่อยู่ของกรรมการสาขาพรรคการเมืองนั้น

เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองแล้ว ให้ออกหนังสือรับรองการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

 

มาตรา ๓๕  คณะกรรมการสาขาพรรคการเมือง ประกอบด้วย ประธานสาขาพรรคการเมืองรองประธานสาขาพรรคการเมือง เลขานุการสาขาพรรคการเมือง รองเลขานุการสาขาพรรคการเมือง เหรัญญิกสาขาพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิกสาขาพรรคการเมือง โฆษกสาขาพรรคการเมืองและกรรมการอื่นของสาขาพรรคการเมือง ซึ่งเลือกตั้งโดยที่ประชุมใหญ่สาขาพรรคการเมืองจากสมาชิกผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๑๓) และ (๑๔) ของรัฐธรรมนูญ

กรรมการสาขาพรรคการเมืองมีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อบังคับพรรคการเมืองซึ่งต้องไม่เกินคราวละสี่ปี และอาจได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งอีกได้

 

มาตรา ๓๖  ให้คณะกรรมการสาขาพรรคการเมืองมีหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญกฎหมาย นโยบายและข้อบังคับพรรคการเมือง

 

มาตรา ๓๗  คณะกรรมการสาขาพรรคการเมืองต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งก่อนการประชุมใหญ่ประจำปีของพรรคการเมืองและในกรณีที่จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งทั่วไปหรือเป็นการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง คณะกรรมการสาขาพรรคการเมืองต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อให้ความเห็นชอบในการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบสัดส่วนในกลุ่มจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของสาขาพรรคการเมืองนั้น

องค์ประชุมของที่ประชุมใหญ่สาขาพรรคการเมืองต้องประกอบด้วยกรรมการสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง และสมาชิกสาขาพรรคการเมืองซึ่งต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าสิบคน

การลงมติให้ความเห็นชอบในการเสนอชื่อบุคคลตามวรรคหนึ่ง และการลงมติเลือกตั้งคณะกรรมการสาขาพรรคการเมือง ให้ลงคะแนนลับ ส่วนการลงมติในเรื่องอื่นให้เป็นไปโดยเปิดเผย เว้นแต่คณะกรรมการสาขาพรรคการเมืองหรือสมาชิกสาขาพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าห้าสิบคนร้องขอให้ลงคะแนนลับ ก็ให้ลงคะแนนลับ

กิจการอื่นที่ต้องกระทำโดยที่ประชุมใหญ่สาขาพรรคการเมือง วิธีการเสนอเรื่องให้ที่ประชุมใหญ่สาขาพรรคการเมืองพิจารณา และวิธีการดำเนินการประชุม ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับพรรคการเมือง

 

มาตรา ๓๘  การพิจารณาส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบสัดส่วนของพรรคการเมือง ให้เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง

ในการพิจารณาส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองพิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองจากรายชื่อตามลำดับ ดังต่อไปนี้

(๑) รายชื่อผู้ซึ่งที่ประชุมใหญ่สาขาพรรคการเมืองให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๓๗

(๒) รายชื่อบุคคลอื่นที่เห็นสมควร

มติคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ให้ส่งผู้ใดเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นที่สุด

 

มาตรา ๓๙  นอกจากการพิจารณาส่งผู้ใดเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือแบบสัดส่วนตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๘ ที่ประชุมใหญ่พรรคการเมืองอาจใช้วิธีการให้ผู้เข้าร่วมประชุมใหญ่พรรคการเมือง ลงมติเลือกผู้สมควรส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือแบบสัดส่วนได้ ในกรณีเช่นนี้ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองจัดให้มีการดำเนินการดังกล่าว โดยให้ผู้เข้าร่วมประชุมใหญ่ตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง แต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนให้ผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเรียงลำดับลงไปในเขตเลือกตั้งใดเป็นผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือแบบสัดส่วนในเขตเลือกตั้งนั้น แล้วแต่กรณี

เมื่อที่ประชุมใหญ่พรรคการเมืองมีมติตามวรรคหนึ่ง มิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการเสนอชื่อการพิจารณา และการคัดเลือกผู้สมควรเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองตามมาตรา ๓๗ และมาตรา ๓๘ มาใช้บังคับแต่การเสนอชื่อบุคคลเพื่อให้มีการลงมติตามวรรคหนึ่งจะต้องขอความเห็นจากคณะกรรมการสาขาพรรคการเมืองในแต่ละภาคก่อน

การลงคะแนนตามมาตรานี้จะให้ลงคะแนนทางไปรษณีย์ตามที่กำหนดในข้อบังคับพรรคการเมืองก็ได้

 

มาตรา ๔๐  การไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ หรือมาตรา ๓๙ ของพรรคการเมืองไม่มีผลกระทบต่อการสมัครและการได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสมาชิกซึ่งพรรคการเมืองนั้นส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้ง

 

มาตรา ๔๑  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายพรรคการเมือง ข้อบังคับพรรคการเมืองหรือรายการตามมาตรา ๑๒ วรรคสอง (๕) ที่จดแจ้งไว้กับนายทะเบียน หรือรายละเอียดที่แจ้งไว้ในแบบตามมาตรา ๓๔ ให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้พิจารณาแก้ไขรายละเอียดดังกล่าว

การเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้รับแจ้งการตอบรับการเปลี่ยนแปลงจากนายทะเบียน และให้นำความในมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ถ้าหัวหน้าพรรคการเมืองไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนด

การแก้ไขรายการที่ได้ประกาศไว้ตามมาตรา ๑๖ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

มาตรา ๔๒  ให้หัวหน้าพรรคการเมืองจัดทำรายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาให้ถูกต้องตามความเป็นจริงตามวิธีการที่นายทะเบียนกำหนด และแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนมีนาคมของทุกปี เพื่อประกาศให้สาธารณชนทราบ เว้นแต่พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นยังไม่ถึงเก้าสิบวันนับจนถึงวันสิ้นปีปฏิทิน

เมื่อครบระยะเวลาการรายงานตามวรรคหนึ่งแล้ว หากพรรคการเมืองใดยังไม่ได้รายงานให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้หัวหน้าพรรคการเมืองรายงานภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาแล้วยังมิได้รายงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการเพื่อให้มีการยุบพรรคการเมืองนั้น

 

มาตรา ๔๓  ห้ามมิให้พรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง ช่วยเหลือหรือสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือผู้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาเพื่อให้ได้รับเลือกตั้งหรือได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

 

                                                            หมวด ๓

                                           การเงินและการสนับสนุนพรรคการเมือง

                       

                                                            ส่วนที่ ๑

                                                 การเงินของพรรคการเมือง

                       

มาตร ๔๔  ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารการเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ของพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมือง ตลอดจนจัดให้มีการทำบัญชีตามมาตรา ๔๕ ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง

ในกรณีที่มีการจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง ให้ประธานสาขาพรรคการเมืองจัดให้มีการทำบัญชีของสาขาพรรคการเมืองตามมาตรา ๔๕ และรับรองความถูกต้อง ตลอดจนจัดส่งบัญชีของสาขาพรรคการเมืองเพื่อแสดงรวมไว้ในบัญชีของพรรคการเมือง

 

มาตรา ๔๕  บัญชีของพรรคการเมืองและบัญชีของสาขาพรรคการเมืองประกอบด้วย

(๑) บัญชีรายวันแสดงรายได้หรือรายรับ และแสดงค่าใช้จ่ายหรือรายจ่าย

(๒) บัญชีแสดงรายรับจากการบริจาคตามมาตรา ๖๒

(๓) บัญชีแยกประเภท

(๔) บัญชีแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน

การลงรายการบัญชีต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่ถูกต้องสมบูรณ์โดยครบถ้วน

บัญชีตาม (๑) และ (๒) ต้องลงรายการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่รายการนั้นเกิดขึ้น

บัญชีตาม (๓) และ (๔) ต้องลงรายการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น

 

มาตรา ๔๖  พรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมืองต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายในวันสิ้นปีปฏิทินที่ได้รับการจดแจ้งการจัดตั้งขึ้น และครั้งต่อไปเป็นประจำทุกปีในวันสิ้นปีปฏิทิน

การปิดบัญชีให้จัดทำงบการเงิน ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย งบดุลและงบรายได้ และค่าใช้จ่ายของพรรคการเมือง กรณีที่มีสาขาพรรคการเมือง งบการเงินให้รวมถึงงบการเงินของสาขาพรรคการเมืองทุกสาขาพรรคการเมืองด้วย

งบดุลต้องแสดงรายการ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของพรรคการเมือง

งบรายได้และค่าใช้จ่ายอย่างน้อยต้องแสดงที่มาของรายได้ซึ่งได้รับจากเงินบริจาค เงินสนับสนุนจากรัฐ และรายได้อื่นที่มี กับทางใช้ไปของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของพรรคการเมืองไว้โดยชัดเจน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ต้องแสดงรายละเอียดของรายการตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด

งบการเงินต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองการสอบบัญชี

 

มาตรา ๔๗  ให้หัวหน้าพรรคการเมืองเสนองบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองแล้วต่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองอนุมัติภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า และปิดประกาศไว้ ณ ที่ตั้งสำนักงานของพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน

งบการเงินซึ่งที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองอนุมัติแล้วตามวรรคหนึ่ง หัวหน้าพรรคการเมืองต้องรับรองความถูกต้องร่วมกับเหรัญญิกพรรคการเมือง และให้หัวหน้าพรรคการเมืองส่งงบการเงินต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองอนุมัติพร้อมทั้งสำเนาบัญชีตามมาตรา ๔๕

เมื่อนายทะเบียนได้รับงบการเงินและสำเนาบัญชีตามวรรคสองแล้ว ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งคณะบุคคลขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ คณะละห้าคนประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนกรมสรรพากร ผู้แทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินตามวรรคสองเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาและประกาศให้สาธารณชนทราบ

คณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตามวรรคสาม ให้ได้รับค่าตอบแทนตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

 

มาตรา ๔๘  รายได้และทรัพย์สินที่พรรคการเมืองได้รับตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร

 

มาตรา ๔๙  ให้หัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารพรรคการเมืองยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะพร้อมสำเนาหลักฐานที่พิสูจน์ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินในวันที่เข้ารับตำแหน่งวันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ หรือวันที่พ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี รวมทั้งสำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมา ในวันยื่นให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ หรือถูกยุบหรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง

บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายอื่นแล้ว บุคคลนั้นอาจส่งสำเนาบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นไว้ตามกฎหมายอื่นนั้นต่อนายทะเบียนแทนก็ได้

 

มาตรา ๕๐  เมื่อนายทะเบียนได้รับบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบตามมาตรา ๔๙ แล้ว ถ้านายทะเบียนมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่

หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบให้เป็นไปตามที่นายทะเบียนกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

 

มาตรา ๕๑  คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองต้องควบคุมไม่ให้พรรคการเมืองและผู้ซึ่งพรรคการเมืองส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้ง ใช้จ่ายเกินวงเงินตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใด รู้เห็นหรือทราบว่ามีการกระทำตามวรรคหนึ่ง ต้องยับยั้งเพื่อมิให้มีการกระทำดังกล่าว

ความในมาตรานี้ให้นำไปใช้บังคับกับประธานสาขาพรรคการเมืองและกรรมการสาขาพรรคการเมืองด้วย โดยอนุโลม

 

มาตรา ๕๒  ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองจัดสรรเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง ดังนี้

(๑) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนให้จัดสรรเป็นจำนวนรวมโดยพิจารณาตามจำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองเสนอไว้ในบัญชีรายชื่อแต่ละบัญชีที่ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง

(๒) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้จัดสรรให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองเป็นรายบุคคล

ค่าใช้จ่ายที่จัดสรรตาม (๑) และ (๒) ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง

ห้ามมิให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองจัดสรรเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองตาม (๑) และ (๒) เกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

 

                                                            ส่วนที่ ๒

                                                  รายได้ของพรรคการเมือง

                        

มาตรา ๕๓  พรรคการเมืองอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้

(๑) เงินค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองตามที่กำหนดในข้อบังคับพรรคการเมือง

(๒) เงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าหรือบริการของพรรคการเมือง

(๓) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ที่ได้จากการจัดกิจกรรมหาทุนของพรรคการเมือง

(๔) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ที่ได้จากการบริจาคแก่พรรคการเมือง

(๕) เงินอุดหนุนจากกองทุน

(๖) ดอกผลของเงินและรายได้จากทรัพย์สินของพรรคการเมือง

(๗) รายได้อื่น

การหารายได้ตาม (๒) และ (๗) ให้เป็นไปตามที่นายทะเบียน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด

 

มาตรา ๕๔  การหารายได้จากการจัดกิจกรรมหาทุนของพรรคการเมืองต้องกระทำโดยเปิดเผยและแสดงวัตถุประสงค์ว่าเป็นการหาทุนของพรรคการเมืองอย่างชัดเจน และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ที่ได้จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวจากผู้สนับสนุนรายใดที่มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป ให้ถือเป็นรายได้จากการบริจาค

เมื่อพรรคการเมืองได้ดำเนินกิจกรรมหาทุนในแต่ละครั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วให้รายงานรายได้ที่หาได้และกิจกรรมที่จัดขึ้นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่จัดกิจกรรมดังกล่าว

การรายงานตามวรรคสองให้ระบุชื่อบุคคลผู้สนับสนุนทางการเงินเป็นจำนวนตั้งแต่หนึ่งแสนบาทขึ้นไป แก่กิจกรรมหาทุนนั้นด้วย

 

                                                               ส่วนที่ ๓

                                                   การบริจาคแก่พรรคการเมือง

                       

มาตรา ๕๕  บทบัญญัติในส่วนนี้ให้ใช้บังคับกับการบริจาคของหัวหน้าพรรคการเมืองกรรมการบริหารพรรคการเมือง กรรมการสาขาพรรคการเมือง และสมาชิกให้แก่พรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย

 

มาตรา ๕๖  ภายใต้บังคับมาตรา ๕๔ วรรคสาม การบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป ให้กระทำโดยเปิดเผยชื่อผู้บริจาคและสามารถตรวจสอบได้

ห้ามมิให้หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง กรรมการสาขาพรรคการเมืองหรือสมาชิกผู้ใด รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ที่เป็นการบริจาคโดยไม่ปรากฏชื่อผู้บริจาคตามวรรคหนึ่ง หรือที่บริจาคให้ตนเป็นส่วนตัว

 

มาตรา ๕๗  ภายใต้บังคับมาตรา ๕๔ วรรคสาม การบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ห้าพันบาทขึ้นไป ต้องเปิดเผยชื่อผู้บริจาคต่อสาธารณชนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

การบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไป จะต้องบริจาคโดยวิธีการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงิน หรือเช็คขีดคร่อม

 

มาตรา ๕๘  การบริจาคโดยแสดงเจตนาในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ให้กระทำได้โดยผู้เสียภาษีแต่ละคนอาจระบุชื่อพรรคการเมืองที่ประสงค์จะบริจาคภาษีให้ได้หนึ่งพรรคการเมืองปีละหนึ่งร้อยบาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยอธิบดีกรมสรรพากร

การแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่งมิให้นำไปหักเป็นค่าลดหย่อนตามมาตรา ๖๑

ให้กรมสรรพากรจัดทำรายชื่อพรรคการเมืองที่ได้รับบริจาคตามวรรคหนึ่งพร้อมจำนวนเงินที่ได้จากการแสดงเจตนาบริจาคทั้งหมด ส่งให้นายทะเบียน และโอนเงินดังกล่าวให้กองทุนเพื่อโอนต่อให้พรรคการเมืองที่ได้รับบริจาคตามมาตรานี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งและกรมสรรพากรจะได้ตกลงกัน

 

มาตรา ๕๙  ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลบริจาคให้แก่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเกินกว่าสิบล้านบาทต่อปี

ในกรณีที่นิติบุคคลใดบริจาคให้แก่พรรคการเมืองตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป จะต้องได้รับอนุมัติหรือสัตยาบันโดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลนั้นหรือสมาชิกของนิติบุคคลนั้น

ห้ามมิให้หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือกรรมการสาขาพรรคการเมืองผู้ใด รับบริจาคจากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง

 

มาตรา ๖๐  เมื่อมีการบริจาคแก่พรรคการเมือง ให้พรรคการเมืองออกหลักฐานการรับบริจาคให้แก่ผู้บริจาคตามแบบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

เมื่อมีการบริจาคแก่พรรคการเมือง ให้หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือกรรมการสาขาพรรคการเมือง ซึ่งเป็นผู้ที่รับบริจาค ต้องจัดทำบันทึกการรับบริจาคไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งบันทึกการรับบริจาคของพรรคการเมืองพร้อมเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ รวมทั้งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้แก่พรรคการเมือง เพื่อนำส่งเข้าบัญชีแสดงรายรับจากการบริจาคของพรรคการเมืองไว้ก่อนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับบริจาค

เมื่อพรรคการเมืองได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้จากการบริจาคแล้ว ให้ลงรายการการรับบริจาคในบัญชีแสดงรายรับจากการบริจาคของพรรคการเมืองให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รายการนั้นเกิดขึ้น และให้จัดส่งใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานการรับบริจาคให้แก่ผู้บริจาคภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ออกใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับบริจาค

ในกรณีที่มีการบริจาคให้แก่พรรคการเมือง ให้หัวหน้าพรรคการเมืองจัดทำประกาศบัญชีรายชื่อผู้บริจาค และจำนวนเงิน รายการทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ที่ได้รับบริจาคในแต่ละสัปดาห์ ให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงให้แล้วเสร็จภายในวันทำการวันแรกของสัปดาห์ถัดมา แล้วปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคการเมืองเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน และจัดส่งประกาศดังกล่าวให้นายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประกาศ

 

มาตรา ๖๑  ผู้บริจาคเงินแก่พรรคการเมืองมีสิทธินำจำนวนเงินที่บริจาคไปหักเป็นค่าลดหย่อนตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากรได้ โดยให้ลดหย่อนได้ในกรณีบุคคลธรรมดาไม่เกินปีละห้าพันบาทและในกรณีนิติบุคคลไม่เกินปีละสองหมื่นบาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

 

มาตรา ๖๒  ภายใต้บังคับมาตรา ๕๔ วรรคสาม มาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๕๗ วรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าพรรคการเมืองจัดให้มีบัญชีแสดงรายรับจากการบริจาคซึ่งต้องมีรายการดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อ ที่อยู่ จำนวนเงิน และรายการทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ของผู้บริจาคทุกราย

(๒) วัน เดือน ปี ที่รับบริจาค

(๓) สำเนาหลักฐานการรับบริจาค

ในกรณีที่การบริจาคเป็นการให้หรือให้ใช้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ให้คิดมูลค่าโดยคำนวณตามอัตราค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามปกติในทางการค้า ในท้องที่นั้นหรือค่าของสิทธินั้นก่อนจึงบันทึกลงในบัญชี และในกรณีที่ไม่อาจคิดมูลค่าได้ ให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นนั้นให้ชัดเจนเท่าที่จะกระทำได้

 

มาตรา ๖๓  ในกรณีการบริจาคเป็นเงินสด ให้หัวหน้าพรรคการเมืองและเหรัญญิกพรรคการเมืองนำไปฝากไว้ในบัญชีธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา ๖๔ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับการบริจาคแล้วออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้บริจาคไว้เป็นหลักฐานภายในวันที่ได้รับบันทึกการบริจาค

ในกรณีการบริจาคเงินเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คขีดคร่อม ให้หัวหน้าพรรคการเมืองและเหรัญญิกพรรคการเมืองนำส่งเข้าบัญชีเงินฝากตามวรรคหนึ่ง เมื่อตั๋วแลกเงินหรือเช็คขีดคร่อมดังกล่าวไม่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ให้พรรคการเมืองออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้บริจาคไว้เป็นหลักฐานภายในวันที่ที่มีรายการนั้นเกิดขึ้น

 

มาตรา ๖๔  ให้หัวหน้าพรรคการเมืองและเหรัญญิกพรรคการเมืองเปิดบัญชีกับธนาคารพาณิชย์โดยระบุชื่อเจ้าของบัญชีในนามของพรรคการเมืองนั้น และให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งหมายเลขบัญชีของบัญชีเงินฝากและจำนวนเงินที่เปิดบัญชีของทุกบัญชีพร้อมทั้งส่งสำเนาบัญชีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์รับรองแก่นายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เปิดบัญชีดังกล่าว

 

มาตรา ๖๕  ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

มาตรา ๖๖  ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคจากผู้ใดเพื่อกระทำการหรือสนับสนุนการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือกระทำการอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการอันเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

 

มาตรา ๖๗  ห้ามมิให้สมาชิกซึ่งมิได้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง รับบริจาคหรือขอรับบริจาคจากผู้ซึ่งมิได้เป็นสมาชิก เว้นแต่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากหัวหน้าพรรคการเมืองหรือคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

 

มาตรา ๖๘  ห้ามมิให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการการเมืองอื่นใช้สถานะหรือตำแหน่งหน้าที่เรี่ยไรหรือชักชวนให้มีการบริจาคให้พรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยตนเอง

การเข้าร่วมกิจกรรมหาทุนของพรรคการเมืองโดยมิได้มีการกระทำ ตามวรรคหนึ่งก่อนกิจกรรมดังกล่าวเริ่มขึ้น มิให้ถือว่าเป็นการต้องห้ามตามวรรคหนึ่ง

 

มาตรา ๖๙  ห้ามมิให้พรรคการเมืองรับบริจาคเพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมืองจาก

(๑) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย

(๒) นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหรือกิจการหรือจดทะเบียนสาขาอยู่ในหรือนอกราชอาณาจักร

(๓) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร ซึ่งมีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีทุนหรือเป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบ ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การพิจารณาตามอนุมาตรานี้ ให้พิจารณาในวันก่อนวันที่บริจาคโดยให้ถือทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันก่อนวันที่บริจาค

(๔) องค์การหรือนิติบุคคลที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือซึ่งมีผู้จัดการหรือกรรมการเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย

(๕) บุคคล องค์การ หรือนิติบุคคลที่ได้รับบริจาค เพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมืองหรือเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองจากบุคคล องค์การ หรือนิติบุคคลตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

(๖) บุคคล องค์การ หรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

 

มาตรา ๗๐  ห้ามมิให้บุคคล องค์การ หรือนิติบุคคลตามมาตรา ๖๙ บริจาคแก่พรรคการเมืองหรือสมาชิกผู้ใดเพื่อดำเนินกิจการของพรรคการเมือง หรือเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมือง

 

มาตรา ๗๑  ห้ามมิให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ นิติบุคคลที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง บริจาคแก่พรรคการเมือง

กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ตามมาตรานี้ให้หมายถึงกิจการที่รัฐเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นอยู่เป็นจำนวนมากที่สุดในบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นแต่ละคนทุกคน และจำนวนหุ้นส่วนหรือหุ้นมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของหุ้นส่วนหรือหุ้นทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น

 

มาตรา ๗๒  เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเกี่ยวกับการบริจาคแก่พรรคการเมืองให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนดมาตรการและวิธีการควบคุมการได้รับการบริจาคของพรรคการเมืองให้เป็นไปโดยเปิดเผยและให้มีอำนาจตรวจสอบความถูกต้องของการบริจาคแก่พรรคการเมือง รวมทั้งให้มีอำนาจออกคำสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อให้พรรคการเมืองปฏิบัติให้เป็นไปโดยถูกต้อง

ให้พรรคการเมืองมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

 

                                                                  ส่วนที่ ๔

                                                    การสนับสนุนพรรคการเมืองโดยรัฐ

                        

มาตรา ๗๓  ให้มีกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายในการสนับสนุนพรรคการเมืองและการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการพัฒนาพรรคการเมืองตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยกองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินดังต่อไปนี้

(๑) เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่าย

(๒) เงินที่ได้รับมาจากกรมสรรพากรตามมาตรา ๕๘

(๓) เงินสนับสนุนสมทบจากรัฐตามมาตรา ๗๖

(๔) เงินค่าธรรมเนียมการสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

(๕) เงินค่าปรับที่ได้รับจากการลงโทษทางปกครองหรือทางอาญาต่อผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

(๖) เงินหรือทรัพย์สินที่พรรคการเมืองได้รับโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

(๗) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนตามมาตรา ๙๖

(๘) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อสมทบกองทุน

(๙) เงินดอกผลของกองทุน

(๑๐) เงินรายรับอื่น

การส่งเงินค่าปรับตาม (๕) หรือเงินหรือทรัพย์สินตาม (๖) เข้ากองทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

เงินตาม (๒) และ (๓) ให้จัดสรรให้พรรคการเมืองที่ผู้เสียภาษีเงินได้แสดงเจตนาบริจาคให้ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรแจ้งให้นายทะเบียนทราบตามมาตรา ๕๘

 

มาตรา ๗๔  ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมือง ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินทุนหมุนเวียน และพัฒนาพรรคการเมือง

ในการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองและควบคุมดูแลกองทุนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อทำหน้าที่แทน โดยคณะกรรมการดังกล่าวให้ประกอบด้วยนายทะเบียนเป็นประธานกรรมการ กรรมการการเลือกตั้งซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายหนึ่งคน ผู้แทนกระทรวงการคลังหนึ่งคน ผู้แทนสำนักงบประมาณหนึ่งคน ผู้แทนของพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกในสังกัดของพรรคตนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน ผู้แทนพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกในสังกัดของพรรคตนมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีซึ่งเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน ผู้แทนพรรคการเมืองที่มิได้มีสมาชิกในสังกัดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน เป็นกรรมการ และให้เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการ

ผู้แทนของพรรคการเมืองตามวรรคสอง จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิได้

วาระการดำรงตำแหน่ง เบี้ยประชุม การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของพรรคการเมือง และผู้ทรงคุณวุฒิ และการประชุมของคณะกรรมการตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

ในกรณีที่ไม่มีกรรมการครบองค์ประกอบคณะกรรมการตามวรรคสองให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่

 

มาตรา ๗๕  ในการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองให้จัดสรรเป็นรายปีให้แก่พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหลังสุด โดยได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละศูนย์จุดห้าของคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองทุกพรรคได้รับในการเลือกตั้งแบบสัดส่วนรวมกัน หรือได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละศูนย์จุดห้าของคะแนนเสียงที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนได้รับในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งรวมกันทั้งประเทศ

การจัดสรรเงินให้แก่พรรคการเมืองที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรเงินสนับสนุนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดสรรโดยจัดสรรเงินตามจำนวนคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน ร้อยละสี่สิบของจำนวนเงินทั้งหมดที่จัดสรร คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ร้อยละสี่สิบของจำนวนเงินทั้งหมดที่จัดสรร สาขาพรรคการเมือง ซึ่งมีลักษณะตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดร้อยละสิบของจำนวนเงินทั้งหมดที่จัดสรรและจำนวนสมาชิกซึ่งชำระค่าบำรุงรายปี ร้อยละสิบของจำนวนเงินทั้งหมดที่จัดสรร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด แต่จะจัดสรรให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของวงเงินทั้งหมดที่จัดสรรในปีนั้นมิได้

ในกรณีที่เป็นพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ การจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองตามมาตรานี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อพรรคการเมืองนั้นได้ดำเนินการครบถ้วนตามมาตรา ๒๖ และได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

 

มาตรา ๗๖  ให้รัฐจัดสรรเงินสนับสนุนสมทบแก่พรรคการเมืองที่ได้รับบริจาคตามมาตรา ๕๘ ร้อยละห้าของจำนวนเงินบริจาคทั้งหมดที่ได้รับจากการแสดงเจตนารวมกัน

การให้เงินสนับสนุนตามวรรคหนึ่งให้แก่ทุกพรรคการเมือง เมื่อรวมกันแล้วจะเกินกึ่งหนึ่งของวงเงินที่กองทุนจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองในปีนั้นมิได้ ในกรณีเช่นนี้ให้ลดการจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองเป็นสัดส่วนกัน

 

มาตรา ๗๗  ให้พรรคการเมืองที่ได้รับเงินสนับสนุนตามมาตรา ๗๕ และมาตรา ๗๖ จัดทำแผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงินตามมาตรา ๘๗ ของพรรคการเมืองในแต่ละปี ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการตรวจสอบและการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง เพื่อให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงินที่ได้ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง

 

มาตรา ๗๘  ให้ลดหรือเลิกการจัดสรรเงินสนับสนุนตามมาตรา ๗๕ แก่พรรคการเมืองตามสัดส่วนและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่สมาชิกของพรรคการเมืองใดไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปสองครั้งติดต่อกัน ให้ลดเงินสนับสนุนพรรคการเมืองที่คำนวณได้ตามมาตรา ๗๕ ลงกึ่งหนึ่ง

(๒) ในกรณีที่สมาชิกของพรรคการเมืองใดไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปสามครั้งติดต่อกัน ให้ลดเงินสนับสนุนพรรคการเมืองที่คำนวณได้ตามมาตรา ๗๕ ลงสามในสี่

(๓) ในกรณีที่สมาชิกของพรรคการเมืองใดไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปสี่ครั้งติดต่อกัน ให้เลิกให้เงินสนับสนุนตามมาตรา ๗๕ แก่พรรคการเมืองนั้น

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ คำว่า “ไม่ได้รับเลือกตั้ง” ให้หมายความรวมถึงการที่พรรคการเมืองไม่ได้ส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย

ในกรณีที่พรรคการเมืองใดมีสมาชิกได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งแทนตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ว่าง ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องดำเนินการตามมาตรานี้

 

มาตรา ๗๙  ให้นายทะเบียนจัดสรรเวลาออกอากาศให้แก่พรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกพรรค โดยคำนึงถึงจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมือง เพื่อให้แถลงผลงานของพรรคการเมืองปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสองครั้ง โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

ให้สถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐจัดสรรเวลาออกอากาศตามที่นายทะเบียนกำหนด

 

มาตรา ๘๐  ในกรณีที่พรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือสมาชิกได้ซื้อเวลาในการออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือได้ซื้อเนื้อที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์ หรือโฆษณาโดยวิธีอื่น ให้นำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งครั้งถัดไปด้วย

 

มาตรา ๘๑  คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจกำหนดให้พรรคการเมืองได้รับการสนับสนุนในเรื่องต่อไปนี้

(๑) ค่าไปรษณียากร

(๒) ค่าโทรศัพท์ หรือค่าโทรคมนาคมอื่น

(๓) การจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ของพรรคการเมือง

(๔) ค่าเช่าสำนักงานพรรคการเมือง หรือสาขาพรรคการเมือง

(๕) ค่าสาธารณูปโภค

(๖) ค่าเช่าสถานที่จัดประชุมใหญ่พรรคการเมือง หรือจัดประชุมใหญ่สาขาพรรคการเมืองหรือเพื่อการหาเสียงเลือกตั้ง

(๗) การอื่นเพื่อให้พรรคการเมืองสามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกันตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นสมควร

การสนับสนุนตามมาตรานี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และจำนวนค่าใช้จ่ายที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด โดยให้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เป็นจริงของพรรคการเมืองและสาขาของพรรคการเมืองประกอบด้วย

 

มาตรา ๘๒  พรรคการเมืองที่ได้รับเงินสนับสนุนต้องใช้จ่ายเงินสนับสนุนให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ และส่วนที่ ๕ การใช้จ่ายของพรรคการเมือง และจะต้องจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองในรอบปีปฏิทินให้ถูกต้องตามความเป็นจริง และยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป และให้นำความในมาตรา ๔๒ วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

มาตรา ๘๓  ในกรณีที่พรรคการเมืองใดได้รับเงินสนับสนุนไปแล้ว และปรากฏว่าพรรคการเมืองนั้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๗ ให้นายทะเบียนเรียกคืนเงินสนับสนุนพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายและให้นายทะเบียนนำเงินที่เรียกคืนส่งเข้ากองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด

 

มาตรา ๘๔  ในกรณีที่พรรคการเมืองใดได้รับเงินสนับสนุนไปแล้ว ถ้าต่อมาปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองนั้นไม่ดำเนินการตามมาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๔๗ ให้นายทะเบียนเรียกคืนเงินสนับสนุนพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย และให้นายทะเบียนนำเงินที่เรียกคืนส่งเข้ากองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด

 

มาตรา ๘๕  พรรคการเมืองใดได้รับเงินสนับสนุนไปแล้ว ภายหลังปรากฏว่ามีเหตุที่พรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง ต้องเลิก หรือยุบพรรคการเมืองตามหมวด ๔ การสิ้นสภาพ การเลิก และการยุบพรรคการเมือง ให้พรรคการเมืองนั้นคืนเงินสนับสนุนแก่กองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

 

มาตรา ๘๖  พรรคการเมืองใดไม่คืนเงินสนับสนุนแก่กองทุนตามมาตรา ๘๓ มาตรา ๘๔ และมาตรา ๘๕ ให้หัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นร่วมรับผิดชอบชดใช้เงินคืนแก่กองทุนอย่างลูกหนี้ร่วม

 

                                                         ส่วนที่ ๕

                                              การใช้จ่ายของพรรคการเมือง

                       

มาตรา ๘๗  พรรคการเมืองต้องใช้จ่ายเงินเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองหรือส่งผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามแผนการใช้จ่ายเงิน ดังนี้

(๑) ค่าตอบแทนบุคลากรของพรรคการเมือง และค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากรทางการเมือง

(๒) ค่าใช้จ่ายในการบริหารพรรคการเมือง และสาขาพรรคการเมือง

(๓) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามมาตรา ๕๒

(๔) ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในพรรคการเมือง

(๕) ค่าใช้จ่ายในการให้ความรู้ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทางการเมือง

(๖) ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด

การรายงานการใช้จ่ายเงิน และการลงรายละเอียดของรายการค่าใช้จ่าย ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด

 

มาตรา ๘๘  ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองใช้จ่ายเงิน หรือจำหน่ายทรัพย์สินของพรรคการเมือง ซึ่งมิได้เป็นไปตามมาตรา ๘๗

 

มาตรา ๘๙  ห้ามมิให้พรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง และสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ แก่บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล เว้นแต่เป็นการให้ตามปกติประเพณี ทั้งนี้ ตามจำนวน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง และสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ใด ฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง โดยการบริจาคหรือให้การสนับสนุนทางการเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ แก่บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคลในเขตเลือกตั้ง หรือกลุ่มจังหวัด ที่ผู้บริจาคหรือให้การสนับสนุนนั้นเป็นผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ถือว่าการบริจาคหรือการให้การสนับสนุนดังกล่าวเป็นการใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้นั้น และให้นำไปรวมคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้นั้นในการสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป

พรรคการเมืองใดฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามมาตรา ๕๒ โดยให้นำไปรวมคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองนั้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไป

 

มาตรา ๙๐  ห้ามมิให้บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ขอรับบริจาค หรือขอรับการสนับสนุนทางการเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้จากพรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 

                                                                หมวด ๔

                                        การสิ้นสภาพ การเลิกและการยุบพรรคการเมือง

                      

                                                                  ส่วนที่ ๑

                                                       การสิ้นสภาพพรรคการเมือง

                       


มาตรา ๙๑  พรรคการเมืองย่อมสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) ไม่สามารถดำเนินการตามมาตรา ๒๖ ได้ ภายในเวลาที่กำหนด

(๒) ไม่ส่งผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปสองครั้งติดต่อกัน หรือเป็นเวลาแปดปีติดต่อกัน สุดแต่ระยะเวลาใดจะยาวกว่ากัน

(๓) มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึงห้าพันคน เป็นระยะเวลาติดต่อกันหนึ่งปี

(๔) ไม่มีการเรียกประชุมใหญ่พรรคการเมือง หรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดทางการเมืองเป็นระยะเวลาติดต่อกันหนึ่งปี โดยมิได้มีเหตุอันสมควรอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย

เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนหรือเมื่อมีผู้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนว่ามีเหตุตามมาตรานี้ให้นายทะเบียนดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง ถ้าเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองใดจริงให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่าพรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง

ในกรณีที่หัวหน้าพรรคการเมืองที่ถูกประกาศว่าสิ้นสภาพตามวรรคสอง เห็นว่าการประกาศของนายทะเบียนไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น อาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้มีคำสั่งเลิกการประกาศได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

มิให้นำความในมาตรานี้มาใช้บังคับกับกรณีที่พรรคการเมืองมีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

 

                                                              ส่วนที่ ๒

                                                      การเลิกพรรคการเมือง

                       

มาตร ๙๒  พรรคการเมืองย่อมเลิกด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง เว้นแต่เป็นกรณีที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำเนินการยุบพรรคการเมืองตามมาตรา ๙๓ วรรคหนึ่ง

(๒) มีการควบรวมพรรคการเมืองตามหมวด ๕ การควบรวมพรรคการเมือง

เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามที่ระบุไว้ตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียนดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง ถ้าเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองจริงให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งเลิกพรรคการเมืองนั้น

เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งเลิกพรรคการเมืองใดตามวรรคสองแล้ว ให้นายทะเบียนประกาศคำสั่งเลิกพรรคการเมืองในราชกิจจานุเบกษา

 

                                                               ส่วนที่ ๓

                                                        การยุบพรรคการเมือง

                        

มาตรา ๙๓  ในกรณีที่พรรคการเมืองใดมีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมืองแต่พรรคการเมืองนั้นยังมีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ หรือในกรณีที่พรรคการเมืองใดไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง หรือมาตรา ๘๒ ให้ยุบพรรคการเมืองนั้น

เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองตามคำร้องของนายทะเบียน ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดแล้ว ให้นายทะเบียนประกาศคำสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา

 

มาตรา ๙๔  เมื่อพรรคการเมืองกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง

(๑) กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกระทำการตามที่รัฐธรรมนูญให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจโดยวิธีการดังกล่าว

(๒) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

(๓) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ

(๔) กระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรหรือขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ

(๕) กระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๓ มาตรา ๖๕ มาตรา ๖๖ มาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๑๐๔

 

มาตรา ๙๕  เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียน หรือเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งจากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าพรรคการเมืองใดกระทำการตามมาตรา ๙๔ ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งต่ออัยการสูงสุด พร้อมด้วยหลักฐาน เมื่ออัยการสูงสุดได้รับแจ้งให้พิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าอัยการสูงสุดเห็นสมควร ก็ให้ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าว ถ้าอัยการสูงสุดไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้นายทะเบียนตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่งโดยมีผู้แทนจากนายทะเบียนและผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน แล้วส่งให้อัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป ในกรณีที่คณะทำงานดังกล่าวไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการดำเนินการยื่นคำร้องได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่แต่งตั้งคณะทำงาน ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจยื่นคำร้องเอง

หากนายทะเบียนเห็นสมควรจะให้ระงับการดำเนินการของพรรคการเมืองซึ่งกระทำการตามมาตรา ๙๔ ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งต่ออัยการสูงสุดขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งระงับการกระทำดังกล่าวของพรรคการเมืองไว้เป็นการชั่วคราว

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดแล้ว ให้นายทะเบียนประกาศคำสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นในราชกิจจานุเบกษา และห้ามมิให้บุคคลใดใช้ชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองซ้ำ หรือพ้อง หรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองที่ถูกยุบนั้น เพื่อแสวงหาประโยชน์ในการดำเนินกิจการทางการเมือง หรือประโยชน์อื่นใดในทำนองเดียวกัน

 

มาตรา ๙๖  ในกรณีที่พรรคการเมืองสิ้นสภาพ เลิก หรือยุบ ตามบทบัญญัติในหมวดนี้ เว้นแต่กรณีตามมาตรา ๙๒ (๒) ให้หัวหน้าพรรคการเมืองส่งบัญชีและงบดุลรวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับการเงินของพรรคการเมืองภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พรรคการเมืองสิ้นสภาพ เลิก หรือยุบ และให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียน ถ้าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ขอขยายเวลาได้อีกไม่เกินหกเดือน

ให้หัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองตามวรรคหนึ่งยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่จนกว่าการชำระบัญชีจะแล้วเสร็จ แต่จะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในนามพรรคการเมืองที่สิ้นสภาพ เลิก หรือยุบ มิได้

ในการชำระบัญชี เมื่อได้หักหนี้สินและค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใดให้โอนให้แก่องค์การสาธารณกุศลตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับพรรคการเมือง ถ้าในข้อบังคับพรรคการเมืองไม่ได้ระบุไว้ ให้ทรัพย์สินที่เหลือนั้นตกเป็นของกองทุน

ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๓ ลักษณะ ๒๒ หมวด ๕ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัดมาใช้บังคับกับการชำระบัญชีของพรรคการเมืองโดยอนุโลม

 

มาตรา ๙๗  ในกรณีที่พรรคการเมืองต้องยุบเพราะเหตุอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนมาตรา ๔๒ วรรคสอง หรือมาตรา ๘๒ หรือต้องยุบตามมาตรา ๙๔ ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป จะจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีกไม่ได้ ทั้งนี้ ภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันที่พรรคการเมืองนั้นต้องยุบไป

 

มาตรา ๙๘  ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองใดเพราะเหตุอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนมาตรา ๘๒ หรือเหตุตามมาตรา ๙๔ และปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดมีส่วนร่วม รู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำดังกล่าวแล้วมิได้ยับยั้ง หรือแก้ไขการกระทำดังกล่าว ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง

 

                                                               หมวด ๕

                                                     การควบรวมพรรคการเมือง

                       

มาตรา ๙๙  ในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎร จะมีการควบรวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิได้

 

มาตรา ๑๐๐  การควบรวมพรรคการเมืองอาจเป็นการรวมกันเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่หรืออาจเป็นการรวมเข้าเป็นพรรคเดียวกับพรรคการเมืองที่เป็นหลักก็ได้

 

มาตรา ๑๐๑  ในกรณีที่การควบรวมพรรคการเมืองเป็นการรวมกันเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ให้พรรคการเมืองที่จะรวมกันขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคการเมือง

เมื่อที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคการเมืองเห็นชอบให้รวมกันแล้ว ให้หัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองจำนวนพรรคการเมืองละสิบคน ประชุมร่วมกัน เพื่อกระทำการเกี่ยวกับพรรคการเมืองที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ ดังนี้

(๑) กำหนดนโยบายพรรคการเมือง

(๒) กำหนดข้อบังคับพรรคการเมือง

เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคสองแล้ว ให้ดำเนินการจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างสมาชิกของทุกพรรคการเมืองที่จะรวมกัน เพื่อประชุมตั้งพรรคการเมืองตามมาตรา ๘ การเรียกประชุมตั้งพรรคการเมืองต้องแจ้งให้สมาชิกของพรรคการเมืองที่จะรวมกันทราบก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันและให้ดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งพรรคการเมือง

 

มาตรา ๑๐๒  เมื่อนายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองตามมาตรา ๑๐๑ แล้วให้นายทะเบียนดำเนินการตามมาตรา ๙๒ วรรคสอง เพื่อมีคำสั่งให้พรรคการเมืองเดิมที่รวมเข้ากันเป็นอันเลิกไป โดยให้สมาชิกพรรคการเมืองเดิมเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใหม่ที่จัดตั้งขึ้น และให้บรรดาทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิและความรับผิดของพรรคการเมืองเดิม โอนไปเป็นของพรรคการเมืองใหม่ตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่ง

ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายทะเบียนประกาศคำสั่งการเลิกและการควบรวมพรรคการเมืองในราชกิจจานุเบกษา

 

มาตรา ๑๐๓  ในกรณีที่การควบรวมพรรคการเมืองเป็นการรวมพรรคการเมืองหนึ่งหรือหลายพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคการเมืองเดียวกันกับอีกพรรคการเมืองหนึ่งที่เป็นหลักให้พรรคการเมืองที่จะรวมกันขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคการเมือง

เมื่อที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคการเมืองเห็นชอบให้รวมกันแล้ว ให้หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะรวมกันทุกพรรคการเมืองร่วมกันแจ้งการรวมพรรคการเมืองต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนดำเนินการตามมาตรา ๙๒ วรรคสอง เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งให้พรรคการเมืองที่รวมเข้ากับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลักนั้น เลิกไปนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่ง และให้นำมาตรา ๑๐๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

                                                             หมวด ๖

                                                       บทกำหนดโทษ

                       

มาตรา ๑๐๔  พรรคการเมืองหรือผู้ใดสมคบ รู้เห็นเป็นใจ หรือสนับสนุนให้บุคคลใดดำเนินการใด เพื่อให้บุคคลอื่นหรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง หลงเชื่อหรือเข้าใจว่าพรรคการเมืองอื่นหรือบุคคลใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้โดยปราศจากมูลความจริงต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าว

พรรคการเมืองหรือผู้ใดสมคบ รู้เห็นเป็นใจ หรือสนับสนุนให้บุคคลใดดำเนินการใดเพื่อกลั่นแกล้งพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง กรรมการสาขาพรรคการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง โดยปราศจากมูลความจริง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีพรรคการเมืองเป็นผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองให้ยุบพรรคการเมืองนั้นในกรณีที่บุคคลกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี

 

                                                                   ส่วนที่ ๑

                                                             โทษทางอาญา

                      

มาตรา ๑๐๕  ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ากรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๘ วรรคสอง หรือหัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง ประธานสาขาพรรคการเมือง หรือกรรมการสาขาพรรคการเมือง ผู้ใดมีส่วนรู้เห็น ปล่อยปละละเลย หรือทราบว่ามีการกระทำตามมาตรา ๕๑ วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี แต่มิได้ยับยั้งเพื่อมิให้มีการกระทำดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้แสดงหลักฐานว่ามีการดำเนินการใด ๆ เพื่อยับยั้งมิให้มีการกระทำตามวรรคหนึ่งโดยสมควรแล้ว ให้ผู้นั้นพ้นจากความรับผิด แม้ว่าจะยังคงมีการกระทำความผิดโดยฝ่าฝืนการยับยั้งนั้นก็ตาม

 

มาตรา ๑๐๖  นายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองผู้ใด แอบอ้างชื่อผู้ใดสมัครเป็นสมาชิกพรรคของตนตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง หรือหัวหน้าพรรคการเมืองหรือนายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองผู้ใดจัดทำทะเบียนสมาชิกอันเป็นเท็จตามมาตรา ๑๙ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา ๑๐๗  กรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือกรรมการสาขาพรรคการเมืองผู้ใดรู้อยู่แล้วแต่จัดให้พรรคการเมืองกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี

 

มาตรา ๑๐๘  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ วรรคสอง หรือวรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา ๑๐๙  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๒ หรือมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีที่การฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี

 

มาตรา ๑๑๐  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใดโดยเจตนาสมคบกันตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไปดำเนินกิจการเช่นเดียวกับพรรคการเมือง หรือดำเนินการไม่ว่าด้วยวิธีใดให้เข้าใจว่าเป็นพรรคการเมืองโดยมิได้จดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา ๑๑๑  กรรมการบริหารพรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมืองผู้ใด ช่วยเหลือหรือสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือผู้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา ๑๑๒  หัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๙ หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา ๑๑๓  กรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๒ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา ๑๑๔  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๔ มาตรา ๕๖ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๙ วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มาตรา ๖๐ หรือมาตรา ๖๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่น้อยกว่าสามเท่าของจำนวนเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ที่ให้แก่พรรคการเมืองหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี

 

มาตรา ๑๑๕  หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือกรรมการสาขาพรรคการเมืองผู้ใด ฝ่าฝืนมาตรา ๕๙ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา ๑๑๖  หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง กรรมการสาขาพรรคการเมือง หรือสมาชิกผู้ใด กระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๖๖ มาตรา ๖๗ หรือมาตรา ๖๙ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี

 

มาตรา ๑๑๗  นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการการเมืองผู้ใด กระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี

 

มาตรา ๑๑๘  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา ๑๑๙  หัวหน้าหน่วยงานตามมาตรา ๗๑ หรือกรรมการผู้มีอำนาจอนุมัติในนามหน่วยงานดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา ๑๒๐  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๕ วรรคสาม หรือมาตรา ๙๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา ๑๒๑  หัวหน้าพรรคการเมืองผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๙๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

                                                              ส่วนที่ ๒

                                                            โทษทางปกครอง

                      

มาตรา ๑๒๒  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนซึ่งสั่งตามมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง ต้องชำระค่าปรับทางปกครองไม่เกินห้าพันบาท

 

มาตรา ๑๒๓  หัวหน้าพรรคการเมืองผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๙ วรรคสี่ มาตรา ๔๗ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๘๗ วรรคสอง ต้องชำระค่าปรับทางปกครองไม่เกินห้าหมื่นบาท

 

มาตรา ๑๒๔  หัวหน้าพรรคการเมืองผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐ วรรคห้า มาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๗ วรรคสอง ต้องชำระค่าปรับทางปกครองไม่เกินห้าหมื่นบาทและต้องชำระค่าปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

หัวหน้าพรรคการเมืองผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำเตือนของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๙ วรรคห้า มาตรา ๓๑ วรรคสอง หรือมาตรา ๔๑ วรรคสาม หรือมาตรา ๔๒ วรรคสอง หรือมาตรา ๘๒ ต้องชำระค่าปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท และต้องชำระค่าปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

 

มาตรา ๑๒๕  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๔ ต้องชำระค่าปรับทางปกครองไม่เกินสามพันบาท

 

มาตรา ๑๒๖  คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือประธานสาขาพรรคการเมืองผู้ใดไม่จัดให้มีการทำบัญชีของพรรคการเมืองหรือสาขาพรรคการเมือง แล้วแต่กรณีตามมาตรา ๔๔ หรือจัดให้มีการทำบัญชีของพรรคการเมืองหรือสาขาพรรคการเมืองโดยละเว้นการลงรายการในบัญชีลงรายการในบัญชีเป็นเท็จ แก้ไขบัญชี ซ่อนเร้นหรือทำหลักฐานในการลงบัญชีอันจะเป็นผลให้การแสดงที่มาของรายได้และการใช้จ่ายของพรรคการเมืองไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๖ ต้องชำระค่าปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท

 

มาตรา ๑๒๗  หัวหน้าพรรคการเมืองผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนซึ่งสั่งตามมาตรา ๒๗ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๒ มาตรา ๖๔ หรือมาตรา ๗๒ วรรคสอง ต้องชำระค่าปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท

 

มาตรา ๑๒๘  หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง กรรมการสาขาพรรคการเมือง หรือสมาชิกผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๓ หรือมาตรา ๘๘ ต้องชำระค่าปรับทางปกครองเท่ากับหรือไม่เกินสองเท่าของจำนวนเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับบริจาค

 

มาตรา ๑๒๙  ผู้บริหารสูงสุดของสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ของรัฐแห่งใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๙ วรรคสอง ต้องชำระค่าปรับทางปกครองเป็นเงินจำนวนสองแสนบาท และต้องชำระค่าปรับทางปกครองอีกวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติตามที่นายทะเบียนกำหนด

 

มาตรา ๑๓๐  หัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๓ และมาตรา ๘๔ หรือมาตรา ๘๕ และหากต่อมาได้รับคำเตือนจากนายทะเบียนแล้วยังฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำเตือนนั้น ต้องชำระค่าปรับทางปกครองไม่เกินสองเท่าของเงินสนับสนุนและดอกเบี้ยตามกฎหมายที่ต้องคืนให้แก่กองทุน

 

มาตรา ๑๓๑  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙๐ ต้องชำระค่าปรับทางปกครองเป็นจำนวนเงินสองเท่าของเงิน หรือมูลค่าทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ที่ตนได้รับ

 

มาตรา ๑๓๒  ให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการปรับทางปกครองตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ โดยให้นายทะเบียนหรือผู้ที่นายทะเบียนมอบหมายเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจปรับและบังคับทางปกครอง เงินค่าปรับทางปกครองให้นำส่งกองทุน

ในกรณีที่ผู้ใดไม่ชำระค่าปรับทางปกครองตามคำสั่งนายทะเบียนหรือผู้ที่นายทะเบียนมอบหมาย ให้ดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้น โดยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลอื่นที่มีหน้าที่ในทางทะเบียนหรือครอบครองทรัพย์สินของผู้ไม่ชำระค่าปรับทางปกครองมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือผู้ที่นายทะเบียนมอบหมาย ในกรณีที่เป็นสิทธิเรียกร้องเป็นเงินที่บุคคลภายนอกต้องจ่ายให้แก่ผู้ไม่ชำระค่าปรับทางปกครอง ให้บุคคลภายนอกชำระเงินให้แก่นายทะเบียนหรือผู้ที่นายทะเบียนมอบหมายแทน

 

                                                                 บทเฉพาะกาล

                       

มาตรา ๑๓๓  ในวาระเริ่มแรก มิให้นำบทบัญญัติดังต่อไปนี้มาใช้บังคับกับกรณีต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(๑) การคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งตามมาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙ ในการเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรกหลังจากวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ

(๒) การบริจาคโดยแสดงเจตนาตามมาตรา ๕๘ และการที่รัฐต้องจัดสรรเงินสนับสนุนสมทบแก่พรรคการเมืองตามมาตรา ๗๖ ให้มีผลใช้บังคับเมื่อครบหนึ่งปีนับจากวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ

(๓) การดำเนินการตามมาตรา ๘๐ ในการเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรกหลังจากวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ

(๔) การห้ามกระทำการตามมาตรา ๘๘ มาตรา ๘๙ มาตรา ๙๐ และการกระทำความผิดทางปกครองตามมาตรา ๑๒๒ มาตรา ๑๒๓ และมาตรา ๑๒๕ ให้มีผลใช้บังคับเมื่อครบหนึ่งปีนับจากวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ

 

มาตรา ๑๓๔  ในวาระเริ่มแรก ในกรณีที่พรรคการเมือง หัวหน้าพรรคการเมืองกรรมการบริหารพรรคการเมือง กรรมการสาขาพรรคการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในพรรคการเมือง สมาชิก หรือบุคคลใด กระทำความผิดทางอาญาหรือทางปกครองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เป็นครั้งแรก ให้ศาลหรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้วแต่กรณีพิจารณาโทษทางอาญาหรือทางปกครองตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้กำหนดให้การกระทำนั้นเป็นความผิดขึ้นใหม่ โดยคำนึงถึงความร้ายแรงและพฤติการณ์ของการกระทำความผิด ผลของการกระทำความผิดและเหตุสมควรอื่น โดยให้ศาลหรือคณะกรรมการการเลือกตั้งลงโทษทางอาญาหรือทางปกครองตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในหมวดนี้เพียงใดก็ได้

 

มาตรา ๑๓๕  ให้พรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

ในกรณีที่พรรคการเมืองที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ พรรคใด ยังมิได้ดำเนินการให้มีสมาชิกไม่น้อยกว่าห้าพันคน หรือมีสาขาพรรคการเมืองตามจำนวนที่กำหนดในมาตรา ๒๖ หรือมิได้มีการดำเนินการอื่นให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ให้พรรคการเมืองนั้นดำเนินการให้ครบถ้วนตามมาตรา ๒๖ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ

ในกรณีที่พรรคการเมืองใดไม่ดำเนินการให้ครบถ้วนตามวรรคสอง ให้พรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพพรรคการเมือง

 

มาตรา ๑๓๖  ให้กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

 

มาตรา ๑๓๗  ในกรณีที่ผู้ใดเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเกินกว่าหนึ่งพรรคการเมือง ก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้สมาชิกภาพของผู้นั้นสิ้นสุดลงทุกพรรคการเมืองตามมาตรา ๒๐ นับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ

 

มาตรา ๑๓๘  ให้พรรคการเมืองที่ได้รับการจัดสรรเงินตามโครงการและแผนงานประจำปี ๒๕๕๐ จากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ยังคงดำเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดและดำเนินการให้ครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้บัญญัติไว้

 

มาตรา ๑๓๙  พรรคการเมืองใดที่เลิกหรือถูกยุบก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพ เลิก หรือถูกยุบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ แล้วแต่กรณี

 

มาตรา ๑๔๐  ให้อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๖๑ และดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตามมาตรา ๕๘ ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีให้เสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการแทน และให้กรมสรรพากรถือปฏิบัติตามนั้น

 

 

                                                          ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

                                                              พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

                                                                      นายกรัฐมนตรี


อัพเดทล่าสุด