https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โฟกัส"สังคมไฮ-5" พื้นที่ของคนอยากเป็น"somebody" MUSLIMTHAIPOST

 

โฟกัส"สังคมไฮ-5" พื้นที่ของคนอยากเป็น"somebody"


784 ผู้ชม


โฟกัส"สังคมไฮ-5" พื้นที่ของคนอยากเป็น"somebody"
 

โดย สุทธาสินี จิตรกรรมไทย

โฟกัส"สังคมไฮ-5" พื้นที่ของคนอยากเป็น"somebody" "มี Hi5 มั้ย"

"เล่น Hi5 หรือเปล่า"

ไม่ต้องแปลกใจที่เดี๋ยวนี้ใครต่อใครโดยเฉพาะวัยรุ่น ต่างพูดถึง Hi5 กันอย่างหนาหู

แล้ว Hi5 คืออะไร?

          Hi5 (ไฮไฟฟ์) คือเว็บไซต์หนึ่งในโลกอินเตอร์เน็ต จัดอยู่ในจำพวก "เครือข่ายทางสังคม" (Social Networking) เพราะเป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้ มี รามู ยาลามันชี ชาวอเมริกัน ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เป็นผู้ก่อตั้ง

          ชื่อ "Hi5" มาจากประโยคทักทายที่ว่า "กิฟ มี ไฟฟ์ อัพ" (Give me 5 up.) พร้อมกับยกมือขึ้นมาชู 5 นิ้ว แปลได้ว่า สวัสดี

          Hi5 เปิดพื้นที่ให้สมาชิกได้ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนที่มีอยู่แล้ว และไปเจอกันต่อในเว็บไซต์ หรือเพื่อนใหม่ที่เจอกันใน Hi5 ให้พื้นที่ในการลงรูปภาพ ลงเพลง ลงคลิปวิดีโอ รวมถึงสามารถฝากข้อความทิ้งไว้ได้

          ประกอบกับการใช้งานที่ง่าย แถมยังมีลูกเล่นแพรวพราวให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสีฉากหลัง การทำสไลด์ภาพแบบต่างๆ ฯลฯ ทำให้ Hi5 มาแรงแซงโค้งเว็บไซต์ประเภทเดียวกัน ทะยานขึ้นเป็นเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ใหญ่สุดติดอันดับ "ท็อป เท็น" ในโลกอินเตอร์เน็ต

          ถึงวันนี้ มีสมาชิก (สาวก..?) Hi5 กระจายอยู่ทั่วโลกถึงราว 100 ล้านคน

          ในจำนวนนี้ มีสมาชิก Hi5 อยู่ในประเทศไทยเกือบ 3 ล้านคน!!

          ตื่นเช้ามาเปิดเว็บไซต์ Hi5 ฝากข้อความไว้ให้เพื่อนสักหน่อย ถึงที่ทำงานเข้า Hi5 อีกสักนิด ดูว่ามีใครมาฝากข้อความถึงตัวเองไว้บ้าง ตกเย็นกลับบ้านพอมีเวลาก็ลงรูปภาพที่เพิ่งไปเที่ยวมาให้เพื่อนๆ ได้เข้ามาดู ก่อนเข้านอนเปิด Hi5 อีกสักครั้งด้วยความเคยชิน

          ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายคนทำอย่างที่ว่ามาจริงๆ กระทั่งกลายเป็นคนเสพติด Hi5 ไปเสียแล้ว!!

          "ผมมองว่าเป็นปรากฏการณ์ของคนขี้เหงา" ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งใน "บล็อกเกอร์" ประจำ www.gotoknow.org - เว็บไซต์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดถึงมุมมองที่มีต่อ Hi5

โฟกัส"สังคมไฮ-5" พื้นที่ของคนอยากเป็น"somebody"
รามู ยาลามันชี (บน) ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช (ล่าง)

          สาเหตุที่เป็นอย่างนั้น อาจารย์หมอวิจารณ์บอกว่า เป็นเพราะบางคนคิดว่าตนเองไม่มีที่ทางจะยืนในสังคม เป็นแค่คนตัวเล็กๆ ทำอะไรไปก็ไม่มีใครสนใจเท่าใดนัก ขาดความมั่นใจ กระทั่งต้องแสวงหาการยอมรับ

          และทางเลือกหนึ่ง คือ การปรากฏตัวในโลกอินเตอร์เน็ต จาก "โนบอดี้" การเป็นคนที่ไม่มีใครรู้จัก ให้กลายเป็น "ซัมบอดี" สร้างตนเองให้เป็นที่รู้จักและจดจำ

          หากยกตัวอย่างใน Hi5 ก็อาจเป็นการที่มีเพื่อนฝูงอยู่ในรายชื่อมากมาย หรือ "คอมเมนต์" ข้อความแสดงความคิดเห็นที่ยิ่งมากเท่าไหร่ อาจยิ่งหมายความว่าเป็นที่รู้จักและนึกถึงมากขึ้นเท่านั้น

          "ผมเชื่อว่าสาเหตุส่วนใหญ่ที่คนทั่วไปใช้เครือข่ายทางสังคมก็เพื่อการพักผ่อน ความบันเทิง และความสนุก ..บางกรณีคนที่เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายทางสังคมก็เพื่อต้องการเป็นซัมบอดี..

          "..แต่นอกจากจะมีเพื่อนในโลกอินเตอร์เน็ตเยอะแล้ว จะเป็นซัมบอดีอย่างไร ควรจะเป็นด้วยการทำอะไรบางอย่างที่ดีต่อคนอื่น ดีต่อสังคมด้วยไหม?" อาจารย์หมอวิจารณ์ตั้งคำถามกระตุ้นให้คิด

          แม้นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล วัย 66 ท่านนี้ จะไม่ได้เป็นสมาชิก Hi5 แต่ก็ถือว่าอยู่ในแวดวงเครือข่ายทางสังคมในโลกอินเตอร์เน็ต เพราะแต่ละวันอาจารย์หมอวิจารณ์จะใช้เวลาคลุกคลีอยู่กับ "เว็บบล็อก" นานนับชั่วโมง

          เว็บไซต์ที่ ศ.นพ.วิจารณ์เป็นสมาชิกมีอย่าง www.gotoknow.org, www.learners.in.th และ www.researchers.in.th ซึ่งอยู่ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ให้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นเว็บบล็อกเพื่อการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ที่สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคม นำสาระแบบไม่หนักสมองมาบอกเล่า

          สำหรับอาจารย์หมอวิจารณ์จะยึดหลัก "เอสเอสเอส" (Success Story Sharing) นำเรื่องดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง สังคมจะได้งอกงามและดีขึ้น

          "เรื่องที่ค่อนข้างมีสาระไม่ค่อยมีคนเข้า แต่เรื่องที่เป็นความบันเทิงจะได้รับความสนใจและมีคนเข้าไปอ่านเยอะ

          "อย่าง Hi5 ที่ผมว่าไร้สาระหรือสาระน้อย อีกคนอาจจะบอกว่านั่นเป็นเรื่องมีสาระของเขาก็ได้ เพราะเขาได้รับความสนุกและความบันเทิง ..เป็นเรื่องของมุมมองที่ต่างกัน" อาจารย์หมอวิจารณ์พูด
          แต่อาจารย์หมอวิจารณ์ก็ไม่ได้หมายความว่า ใครที่เล่น Hi5 อยู่ควรจะเลิกเล่น แต่ต้องรู้จักและใช้เครือข่ายทางสังคมนี้อย่างรู้เท่าทัน เพราะถือเป็นทางหนึ่งที่ทำให้รู้จักตัวตนบางแง่ของอีกฝ่ายมากขึ้น
          "หลายคนที่เล่น Hi5 มีปัญหาเรื่องแบ่งเวลาไม่เป็น เอาเวลาอ่านหนังสือเรียนไปใช้กับโลกออนไลน์ หรือบางคนทำงานก็ใช้เวลางานเข้าเว็บไซต์ Hi5

          "ต้องอย่าหมกมุ่นกับ Hi5 มาก ควรแบ่งเวลาให้ถูก และหากยังติดการเข้าเครือข่ายทางสังคมอยู่ ก็ต้องแบ่งเวลาให้กับเรื่องสาระความรู้ด้วย เพื่อการเติบโตของตนเอง" ศ.นพ.วิจารณ์ทิ้งท้าย

Hi5 เมืองไทย

จากมุมมองของ"คนขายโฆษณา"

          ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแส Hi5 หรือที่บางคนเรียกแบบขำขำว่า "ฮิห้า" มาแรงจนหลายคนคาดไม่ถึง

          "ต้องสมัครสมาชิกเสียก่อนถึงจะเข้าเว็บไซต์ Hi5 ได้ โดยเอาอี-เมลแอดเดรสและรหัสผ่านเข้าอี-เมลแอดเดรสที่ตัวเองมีอยู่มาสมัคร ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นอี-เมลของฮอทเมล์หรือยาฮูเท่านั้น ใครมีอี-เมลแอดเดรสก็มาสมัคร Hi5 ได้
          "อย่างถ้ามีอี-เมลแอดเดรสของฮอทเมล์แล้วสมัคร Hi5 ระบบของ Hi5 ก็จะก๊อบปี้ข้อมูลว่าเจ้าของอี-เมลได้ติดต่อกับใครบ้างด้วยอี-เมลแอดเดรสนั้น แล้วทาง Hi5 ก็จะส่งอี-เมลไปหาคนเหล่านั้นเชิญชวนให้มาสมัครสมาชิก" กษมาช นีรปัทมะ ผู้บริหารบริษัท ท็อป สเปซ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ดูแลพื้นที่ขายโฆษณาใน Hi5 ประเทศไทย เล่าถึงเหตุผลที่ทำให้ Hi5 เป็นที่รู้จักของผู้คนอย่างรวดเร็วประหนึ่งไฟลามทุ่ง
 

โฟกัส"สังคมไฮ-5" พื้นที่ของคนอยากเป็น"somebody"
กษมาช นีรปัทมะ

          "เป็นหนึ่งบวกหนึ่งที่ไม่ได้เท่ากับสอง แต่เป็นหนึ่งบวกหนึ่งบวกหนึ่งไปเรื่อยๆ จนขยายเป็นเครือข่ายทางสังคมออนไลน์" กษมาชเพิ่มเติม
          ด้วยจำนวนสมาชิกที่มาก ทำให้บริษัทหลายแห่งมอง Hi5 ตาไม่กะพริบ อยากได้พื้นที่ใน Hi5 โฆษณาสินค้าของตน

          กลายเป็นที่มาของโฆษณาประดามีทั้งมหาวิทยาลัยเอกชน สถาบันสอนภาษาอังกฤษ เครื่องดื่ม โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ฯลฯ บน Hi5 ซึ่งดูท่าจะได้ผลตอบรับดีเสียด้วย!!

          กษมาชบอกว่า ถึงตอนนี้มีคนลงโฆษณาใน Hi5 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บางคนหรือบางบริษัทเห็นว่าเว็บไซต์นี้มีคนใช้มาก เลยสมัครสมาชิกแล้วถือโอกาสโฆษณาสินค้าของตน ซึ่งถือว่าผิดวัตถุประสงค์ของ Hi5
          เสน่ห์ของ Hi5 ที่ทำให้วัยรุ่นหรือคนทำงานมาเป็นสมาชิกนั้น กษมาชให้ความเห็นว่า เป็นเพราะทำให้ได้เจอเพื่อนมากขึ้น อาจเป็นเพื่อนเก่าที่ห่างหายกันไปนานนับสิบปี เพื่อนที่เรียนด้วยกันมา หรือเพื่อนใหม่ที่รู้จักใน Hi5
          บางคนเรียนจบแล้วผูกพันกับสถานที่เรียนก็ไปเข้ากลุ่มโรงเรียนเก่า คณะ หรือมหาวิทยาลัยตัวเองใน Hi5 บางชมรมในมหาวิทยาลัยก็ใช้ Hi5 เป็นพื้นที่ติดต่อกับสมาชิกชมรมเพื่อไปออกค่ายอาสาพัฒนาชนบท หรือบางคนไปเที่ยวก็เอารูปมาโพสต์ เพื่อนก็เข้ามาดู เป็นการรู้ข่าวคราวของเพื่อนไปในตัว และยังสามารถทิ้งข้อความไว้ให้เพื่อนได้

          ขณะเดียวกันก็มีพวก "ไม่ประสงค์ดี" เข้ามาใช้ Hi5 อย่างไม่เหมาะสม อย่างที่มีข่าวสาวๆ โชว์สยิว หรือชักชวนให้ร่วมสวิงกิ้ง โดยหาเพื่อนร่วมกลุ่มผ่านเว็บไซต์ Hi5
          "สมมุติว่ามีการใช้พื้นที่ของ Hi5 ขายบริการทางเพศ หรือเขียนข้อความไม่เหมาะสม ข้อความที่กระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพของคนอื่น ถ้าเราเจอก็ลบข้อความทันที หรืออาจลบสมาชิกท่านนั้นออกจากระบบทันที" กษมาชยืนยัน

   

 แหล่งที่มา :  มติชน ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

อัพเดทล่าสุด