https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การปลูกถ่ายอวัยวะคืออะไร MUSLIMTHAIPOST

 

การปลูกถ่ายอวัยวะคืออะไร


812 ผู้ชม


การปลูกถ่ายอวัยวะคืออะไร

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของศูนย์ เทคโนโลยีสารสนเศและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกับวิชาการ.ดอม
https://www.school.net.th/ 


การปลูกถ่ายอวัยวะคืออะไร            การปลูกถ่ายอวัยวะเป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่สำคัญมากในปัจจุบันและทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากสามารถมีชีวิตอยู่ได้ต่อไปอย่างปกติสุข การปลูกถ่ายอวัยวะที่ทำในอดีตนั้นมักได้ผลไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากมีปัญหาหลายประการ แต่ในปัจจุบันได้มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในแทบทุกแขนงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ทำให้สามารถปลูกถ่ายอวัยวะได้สำเร็จมากขึ้นจนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
           โรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดพยาธิสภาพในอวัยวะต่างๆ จนอาจถึงกับทำให้อวัยวะนั้นๆ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติหรืออาจจะไม่ทำงานเลย ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น มีของเสียคั่งหรือร่างกายขาดสารสำคัญต่อการดำรงชีพ หรือเสียการทำงาของอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจและปอด เป็นต้น ถ้าภาวะดังกล่าวเป็นไม่มากนักแพทย์อาจให้การรักษาโดยการช่วยเสริมการทำงานของอวัยวะนั้น เช่น ใช้เครื่องไตเทียมในการช่วยขับของเสียในร่างกายของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังหรือให้ยากระตุ้นให้หัวใจของผู้ป่วยบีบตัวได้ดีขึ้น หรืออาจรักษาโดยการให้สารทดแทนส่วนที่ขาดไปเมื่ออวัยวะนั้นไม่ทำงาน เช่น การให้เม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยโรคไขกระดูกที่ไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดแดงได้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวนั้นมักได้ผลไม่ดีนัก และจำเป็นต้องรักษาตลอดไปเป็นเวลานาน ดังนั้นการรักษาที่น่าจะได้ผลดีที่สุดคือ การเปลี่ยนเอาอวัยวะที่ทำงานได้ไม่ดีออกไป แล้วนำอวัยวะใหม่ที่ทำงานเป็นปกติที่ใส่เข้าไปแทนที่ ซึ่งเรียกว่า
การปลูกถ่ายอวัยวะ

           ในทางทฤษฎีนั้น แพทย์สามารถปลูกถ่ายอวัยวะแทบทุกส่วนของร่างกาย แต่การปลูกถ่ายอวัยวะบางอย่างยังทำได้ยากและได้ผลไม่ดีนัก การปลูกถ่ายอวัยวะที่สามารถทำได้ผลดีในปัจจุบันและนิยมกระทำกันอย่างแพร่หลาย คือ การปลูกถ่ายไต ตับ ไขกระดูก หัวใจ ปอด หัวใจและปอด ลำไส้ และตับอ่อน เป็นต้น


การปลูกถ่ายอวัยวะคืออะไร


การปลูกถ่ายอวัยวะในอดีตมีปัญหาสำคัญมาก ๒ ประการ คือ

           ๑. ปัญหาการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ส่วนใหญ่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดเอาอวัยวะที่เสียออกไป แล้วนำเอาอวัยวะที่ดีใส่เข้ามาแทนที่ การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะนี้เป็นการผ่าตัดใหญ่ กระทำได้ยากและจำเป็นต้องกระทำโดยศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญสูง อวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายนี้ อาจได้จากผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ถ้าอวัยวะนั้นมีมากกว่า ๑ ข้าง เช่น ไต แต่อวัยวะใหม่ส่วนใหญ่นี้ มักได้จากผู้ที่เพิ่งเสียชีวิต หรือผู้ป่วยที่สมองตาย การผ่าตัดนี้ต้องทำอย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่สามารถจะเก็บรักษาอวัยวะที่ได้มานี้ไว้นอกร่างกายได้นาน นอกจากนี้มีผู้ป่วยที่รอการปลูกถ่ายอวัยวะมากกว่าจำนวนอวัยวะที่จะนำมาปลูกถ่าย ทำให้ผู้ป่วยแต่ละรายต้องรอรับการรักษาเป็นเวลานาน ผู้ป่วยจำนวนมากต้องเสียชีวิตก่อนได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการผ่าตัดและในการเก็บรักษาอวัยวะได้นานขึ้น ทำให้การผ่าตัดทำได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำเอาอวัยวะแต่ละส่วน จากผู้บริจาคอวัยวะที่เสียชีวิตหนึ่งรายไปให้ผู้ป่วยที่รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะหลายรายได้
การปลูกถ่ายอวัยวะคืออะไร
           ๒. ปัญหาการที่ผู้ได้รับอวัยวะต่อ ต้านอวัยวะที่ให้เข้าไปใหม่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ทำหน้าที่ ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ โดยเฉพาะต่อเชื้อจุลชีพต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส รวมทั้งเซลล์แปลกปลอมอื่นๆ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนั้นจะไม่ถือว่าอวัยวะของตนเองเป็นสิ่งแปลกปลอม แต่ถือว่าอวัยวะใหม่ที่ได้มาจากผู้อื่นนี้เป็นสิ่งแปลกปลอม จึงทำการต่อต้านและไม่ยอมรับอวัยวะนี้ ทำให้เกิดการทำลายและการอักเสบของอวัยวะใหม่ จนไม่สามารถทำงานได้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ได้รับอวัยวะเองด้วย(graft rejection)นอกจากนี้ อาจมีเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ให้อวัยวะใหม่ที่ใส่เข้าไป อาจจะถือว่าอวัยวะของร่างกายผู้รับเป็นสิ่งแปลกปลอมเช่นกัน และทำให้เกิดการพยาธิสภาพต่ออวัยวะต่างๆ ของผู้รับ(graft versus host disease)
           การเข้ากันไม่ได้ระหว่างผู้รับอวัยวะกับอวัยวะใหม่ เกิดเนื่องจากการที่ผู้ได้รับอวัยวะมีสารโปรตีนบนผิวเซลล์ที่เรียกว่า แอนติเจน เอช แอล เอ(HLA antigen) แตกต่างจากผู้ให้อวัยวะแอนติเจนนี้ เป็นลักษณะจำเพาะของคนแต่ละคนและแตกต่างจากคนอื่น ถ้ามีความแตกต่างของแอนติเจนนี้มากก็จะเกิดการต่อต้านมาก ถ้าผู้ให้และผู้รับอวัยวะมีแอนติเจนนี้คล้ายคลึงกันก็จะมีการต่อต้านน้อย การต่อต้านอวัยวะใหม่นี้เป็นปัญหาสำคัญที่สุดที่ทำให้การปลูกถ่ายอวัยวะไม่ได้ผล
           ดังนั้นเพื่อให้สามารถปลูกถ่ายอวัยวะได้ผลดีที่สุด จึงจำเป็นต้องตรวจก่อนทำการปลูกถ่ายอวัยวะว่าผู้ให้และผู้รับมีความเข้ากันได้ คือ มีแอนติเจน เอช แอล เอ เหมือนกัน อย่างไรก็ตามมีโอกาสน้อยมากที่ผู้ให้และผู้รับจะมีแอนติเจน เอช แอล เอ เหมือนกันทุกประการ จึงจำเป็นต้องเลือกผู้ที่มีแอนติเจนคล้ายคลึงกันมากที่สุด



อัพเดทล่าสุด