https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
FREIGHT FORWARDER || MUSLIMTHAIPOST

 

FREIGHT FORWARDER ||


1,114 ผู้ชม


FREIGHT FORWARDER ||

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันการบินพลเรือน
www.catc.or.th



FREIGHT FORWARDER || เรื่องโดย : สงกรานต์  ไชยหาวงศ์
www.aviation-hr.com




 ผมต้องขอบพระคุณทุกๆ  คำถามและคำติชมที่ส่งมาทางอีเมลล์  เมื่อฉบับที่ผ่านมา  Aviation  Story  ของเรา  ได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง  Forearder  ว่ามีขอบข่ายการให้บริการอย่างไร  สำหรับฉบับนี้ผมขอยกบทความของท่านอาจารย์  สมศักดิ์  วิเศษเรืองโรจน์  มาบางตอน  เพื่ออธิบายรายละเอียดถึงประเภทของกิจการดังกล่าว  กับในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางอากาศในประเทศไทย
 
 หากกล่าวถึงกระบวนการทำงานของกลุ่มธุรกิจ  Forwarder  หรือ  Freight  Forwarder  นั้นคงต้องเริ่มตั้งแต่การเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำใบสั่งซื้อ  หรือการทำใบสัญญาขายที่ผู้ขายเป็นผู้ออกให้กับผู้ซื้อ  หลายท่านคงจะสงสัยว่า  Forwarder  ไปเกี่ยวข้องอะไรด้วยกับการซื้อขายของลูกค้า  คือในการออกใบแจ้งราคาสินค้าให้กับผู้ซื้ออาจจะมีการรวมราคาค่าใช้จ่ายในการขนส่งอยู่ด้วยตามเงื่อนไขทางการค้าที่เรียกว่า  Incoterms  ทั้งนี้เนื่องจากการค้าระหว่างประเทศจำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องของการชำระเงิน  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำระบบการเงินหลายประเภท  มาใช้เริ่มตั้งแต่ระบบเงินสด  เงินเชื่อ  Open  Account  หรือ  Documentary  Collection  จนไป  ถึง  Documentary  Credit  โดยปกติแล้ว  ผู้ขายมักจะขอให้ผู้ซื้อทำการเปิด  L/C  =  Letter  of Credit  ซึ่งอยู่ในหมวด  Documentary  Credit  เมื่อผู้ซื้อได้เปิด  L/C  ผ่านธนาคารที่ผู้ซื้อใช้บริการอยู่แล้ว  จากนั้นธนาคารจะแจ้งการเปิด  L/C  ไปยังธนาคารใดธนาคารหนึ่งที่เป็นเครือข่าย  โดยอาศัยระบบ  Network  Optimism  -  Advising  Bank  เพื่อให้ธนาคารนั้นแจ้งไปยังธนาคารเครือข่ายของตนหรือธนาคารของผู้ขายสินค้าเอง  (Seller's  Bank)  เมื่อผู้ขายได้รับแจ้งเรื่อง  L/C  จากธนาคารแล้ว  จะดำเนินการเตรียมสินค้า  ให้ตรงกับที่  L/C  ระบุมาและให้ทันเวลาตามคำสั่งของ  L/C  กรณีที่ผู้ส่ง  สินค้าต้นน้ำ  (Origin)  ต้องการให้มี  ตัวแทนทำหน้าที่คนกลางระหว่างผู้ส่งสินค้าและผู้ขนส่ง  เพื่อให้ดำเนินพิธีการศุลกากร  โดยเรียกว่า  Customs  Broker  ซึ่งกลุ่มธุรกิจเหล่านี้  จะทำหน้าที่  จองระวางเรือ  หรือ  เครื่องบิน  รวมไปถึงการเช่ารถบรรทุกเพื่อที่จะจัดส่งไปยังท่าเรือหรือท่าอากาศยาน  เมื่อสินค้าเสร็จพร้อมส่ง  ผู้ส่งสินค้าจะทำใบกำกับราคาสินค้า  (Invoice)  และใบกำกับหีบห่อสินค้า  (Packing  List)  ให้ตัวแทนออกของ  (Customs  Broker)  ไปทำพิธีการศุลกากรโดยผ่านระบบ  EDI  หรือที่เรารู้จักในนามระบบโค๊ต  เพื่อนำเอาใบขนสินค้าออกมาให้  ผู้ส่งสินค้าเซ็น  แล้วนำเอาใบกำกับราคาสินค้า  ใบกำกับหีบห่อสินค้า  รวมทั้งใบขนสินค้าออกไปดำเนินพิธีการต่อไป  ในอนาคตระบบ  Paperless  จะถูกนำมาใช้  โดยการทำพิธีการศุลกากรระบบดังกล่าว  (XML  base )  ผ่านทางอินเตอร์เท็ท  ไม่ต้องมีการเซ็นเอกสารใดๆ
FREIGHT FORWARDER ||
 ทั้งนี้เมื่อสินค้าผ่านเข้าท่าเพื่อบรรจุแล้ว สายเดินเรือ  หรือตัวแทน  (กรณีสายการบินก็เช่นกัน)  จะทำการออกเอกสารที่เรียกว่า  ใบตราส่ง  (B/L  -  Bill  of  Lading  หรือ  AWB - Airwaybill)  ให้กับผู้ส่งออก  ทั้งนี้โดยปกติตัวแทนออกของจะเป็นผู้ไปรับจากสายเดินเรือหรือตัวแทนของสายการบินในฐานะเป็นตัวแทนของผู้ส่งออก  แล้วนำมาให้ผู้ส่งออกเพื่อจะได้ดำเนินพิธีการเรียกเก็บเงินจากธนาคารต่อไป  (Bank  Negotiation)  ตัวแทนออกของ  (Customs  Broker)  ยังมีหน้าที่ต้องจัดเตรียมเอกสารอื่นๆ  ตามที่  L/C  ระบุไว้  โดยไปติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  อาทิเช่น  หอการค้า  เพื่อขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า  ติดต่อสถานฑูตเพื่อขอการรับรองตามกฏหมาย  (Legalization)  และหน่วยงานอื่นๆ  ตามแต่เอกสารที่ถูกระบุใน  L/C  นั้นๆ
 
 ทั้งนี้ธนาคารเมื่อได้รับเอกสารต่างๆ  ครบถ้วนตามที่  L/C  ระบุไว้  ก็จะดำเนินการเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้เปิด  L/C  หรือ  ธนาคารใดธนาคารหนึ่งที่  L/C  ระบุให้ไปเรียกเก็บเงิน  โดยธนาคารต้นทางจะจัดส่งเอกสารไปยังธนาคารดังกล่าว  เมื่อธนาคารปลายทางได้รับเอกสารจากธนาคารต้นทางแล้ว  ก็จะแจ้งให้ผู้เปิด  L/C  ซึ่งก็คือผู้ซื้อนั่นเอง  มาทำการชำระเงินทั้งหมดตามมูลค่าของ  L/C  จากนั้น  ธนาคารก็จะปล่อยเอกสารทั้งหมดให้  ผู้ซื้อเพื่อนำไปดำเนินพิธีการศุลกากร  (Customs  clearance)  เพื่อออกของต่อไป
FREIGHT FORWARDER ||
 โดยกรณีปกติ  ตังแทนออกของ  (Customs  Broker)  ทำหน้าที่เพียงเป็นตัวแทนของผู้ส่งสินค้าเท่านั้น  ไม่ได้แสดงตัวเป็นผู้ขนส่งสอนค้าดังกล่าวเลย  ส่วนสายเดินเรือหรือสายการบินก็จะส่งข้อมูลของใบกำกับสินค้าของการขนส่งสินค้า  (Cargo  Manifest)  ครั้งนั้นๆ  ไปยังประเทศปลายทางเพื่อให้ตัวแทนของตนทราบว่ามีสินค้าชนิดใดมาและผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิ์ในตัวสินค้านั้นๆ  เมื่อรับข้อมูลใบกำกับสินค้าตัวแทนสายเดินเรือ  หรือ  สายการบิน  จะจัดเตรียม  ใบสั่งปล่อยสินค้า  (D/O  -  Delivery  Order)  เพื่อให้ผู้รับสินค้าหรือผู้ซื้อนำเอาใบตราส่ง  (B/L - Bill  of  Landing)  มาเวนคืนแลกกับ  D/O  เพื่อให้ตัวแทนออกของจะได้นำไปออกของ  ทั้งนี้จากบทความข้างต้นท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่าเมื่อ  Forwarder  ทำงานมากกว่าขอบข่ายหน้าที่เดิม  จึงทำให้วิวัฒนาการของกลุ่มธุรกิจ  ดังกล่าวเปลี่ยนต้นเองเป็นรูปแบบ  Logistice  Provider  ซึ่งกระผมจะนำมาเขียนในโอกาศต่อไป
 

อัพเดทล่าสุด