https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กัญชง กับ กัญชา แม้แต่ตาตำรวจยังแยกไม่ออก!!! MUSLIMTHAIPOST

 

กัญชง กับ กัญชา แม้แต่ตาตำรวจยังแยกไม่ออก!!!


1,801 ผู้ชม


กัญชง กับ กัญชา แม้แต่ตาตำรวจยังแยกไม่ออก!!!


 

กัญชง

กัญชา

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa L. subsp. sativa  Cannabis sativa L. subsp. indica (Lam.) E. Small
ภาพประกอบ กัญชง กับ กัญชา แม้แต่ตาตำรวจยังแยกไม่ออก!!!ที่มา: https://www.green.in.th/node/1690
กัญชง กับ กัญชา แม้แต่ตาตำรวจยังแยกไม่ออก!!!ที่มา: https://www.igetweb.com/www/0874260467/index.php?mo=3&art=471960
ถิ่นกำเนิด อยู่ในเขตอบอุ่นของเอเชีย ได้แก่ตอนใต้ของแคว้นไซบีเรีย ประเทศเปอร์เชีย แคว้นแคชเมียร์ของประเทศอินเดียและทางตอนเหนือของประเทศจีน อยู่ในเขตอบอุ่นของเอเชีย ได้แก่ตอนใต้ของแคว้นไซบีเรีย ประเทศเปอร์เชีย แคว้นแคชเมียร์ของประเทศอินเดียและทางตอนเหนือของประเทศจีน
การใช้ประโยชน์

-ใช้ประโยชน์จากเปลือกลำต้นทำเส้นใย เพื่อนำไปใช้ในการทอผ้าที่ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม 

- เนื้อของลำต้นที่ลอกเปลือกออกแล้วยังสามารถนำมาผลิตกระดาษได้ ด้วย

- เมล็ดที่เก็บได้ยังนำมาสกัดเอาน้ำมันมาใช้ในการปรุงอาหารด้วย จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าน้ำมันจากเมล็ดกัญชงมี โอเมก้า3 สูงมาก เมื่อบริโภคแล้วสามารถลดการเกิดมะเร็งของร่างกายได้ด้วย

- เมล็ดสดเป็นยาสลายนิ่ว โดยใช้เคี้ยวสด ๆ 

- เมล็ดใยกัญชงมีโปรตีนสูงมาก สามารถนำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ทดแทนถั่วเหลืองได้เป็นอย่างดี อนาคตอาจใช้เป็นทางเลือก ในการบริโภคทดแทนถั่วเหลืองซึ่งเป็นพืช GMO ได้

ใช้ประโยชน์จากใบ เพื่อทำสิ่งเสพย์ติด
ความสูงของลำต้น ลำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร ลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร
ลักษณะของใบ มีขนาดใหญ่กว่า มีการเรียงสลับของใบค่อนข้างห่างกันชัดเจน และไม่มียางเหนียวติดมือ ใบเล็กกว่ากัญชงเล็กน้อย ใบเรียงตัวชิดกันหรือเรียงเวียน โดยเฉพาะใบประดับบริเวณช่อดอกจะเห็นได้ชัดเจนและมักมียางเหนียวติดมือ
จำนวนแฉกของใบ 7-9 แฉก 5 แฉก
ปริมาณสารเสพย์ติด เตรทต้าไฮโดรแคนนาบินอล ( ? 9, 10 – Tetrahydrocannabinol; THC) น้อยกว่าร้อยละ 0.3 ของน้ำหนักแห้ง ไม่สามารถนำมาทำเป็นยาสูบได้ เพราะจะทำให้ลำไส้ใหญ่ตรงส่วนทวารหนักหลุดออกมาภายนอกได้ เตรทต้าไฮโดรแคนนาบินอล ( ? 9, 10 – Tetrahydrocannabinol; THC) เกินกว่าร้อยละ 0.3 ของน้ำหนักแห้ง

กัญชงกับวิถีชีวิตของคนม้ง

เส้นใย จากกัญชงมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนม้งอย่างแนบแน่น ดังนี้

  1. ในอดีตคนม้งต้องทอผ้าใช้เอง ซึ่งผ้าที่ชาวม้งใส่ทั้งหมดคือผ้าที่ทอมาจากใยกัญชง แต่ละคนจะมีผ้าใยกัญชงใส่คนละ 1 -2 ชุดเท่านั้น จึงจำเป็นต้องปลูกเพื่อเอาเส้นใยมาทอผ้าใส่ทุกปี
  2. ถ้ามีลูกสาวแม่จะต้องเตรียมทอเป็นผ้าไว้ให้ลูกสาวติดตัวไปตอนออก เรือน ผ้าทอของม้งจึงเปรียบเสมือนทองคำที่ พ่อแม่มอบให้ลูกสาว
  3. เมื่อคนม้งมีอายุ 40 ปีขึ้นไปจะมีการเตรียมชุดที่ทอจากใยกัญชงไว้ใส่ตอนตาย ธรรมเนียมนี้ยังใช้ปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้
  4. การเดินทางในป่าเพื่ออพยพย้ายถิ่นที่ทำกินนิยมใส่รองเท้าที่ทำจากใยกัญชง เพราะสามารถป้องกันสัตว์พิษกัดต่อยได้เป็นอย่างดี

การ ปลูกกัญชง

ส่วนใหญ่แล้วทุกครอบครัวจะมีการปลูกใยกัญชงไว้ใช้ประมาณครอบครัวละ 1 งาน ( 400 ตารางเมตร ) การเก็บต้นใยกัญชงมาใช้ในการผลิตเส้นใยจะเก็บเฉพาะต้นที่กลางพื้นที่ในระยะ ที่ยังไม่มีดอก ต้นที่ตามขอบของแปลงที่ปลูกจะปล่อยไว้ให้ออกดอกและเมล็ดเพื่อใช้ในการทำ พันธุ์ของปีถัดไป

การ ปลูกกัญชงให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกฝ้าย นอกจากนี้การปลูกใยกัญชงใช้แรงงานน้อย ไม่ต้องพรวนดินหรือให้ปุ๋ยเพราะจะทำให้ต้นคดงอ ได้เส้นใยไม่ดี เส้นใยจากธรรมชาติกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้น ได้มีการทำนายไว้ว่า เส้นใยจากธรรมชาติจะมาทดแทนเส้นใยเคมีทั้งหมดในอนาคต เนื่องมาจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

ปัญหา ของการปลูกกัญชงในประเทศไทย

ปัญหา ของการปลูกกัญชงในประเทศไทยมีค่อนข้างมาก เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานของภาครัฐขาดความรู้ในการจัดจำแนก กัญชาและกัญชง ดังนั้นเมื่อเห็นชาวเขาปลูกกัญชงก็มักจะเหมารวมกันไปหมดว่าปลูกกัญชา ทำให้ชาวบ้านถูกจับ เช่น กรณีของ นาย เย๊ะ แซ่ย่าง และ นาย เพ็ญ แก้วมาลา ชาว บ้านพญาพิภักดิ์ ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล จ.เชียงราย ที่ถูกจับตกเป็นจำเลยคดี ผลิตยาเสพติด ประเภทที่ 5 ( กัญชา) เมื่อปี พ.ศ. 2547 ทางศาลจังหวัดเทิง ได้ยกฟ้อง ให้ทั้งสองคนกลับมาเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะสามารถพิสูจน์ได้ว่า
“ กัญชงไม่ใช่กัญชา ”

ที่มา: https://www.thaihof.org
        https://www.pantip.com

อัพเดทล่าสุด