https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แหล่งรวม !! โครงงานวิทย์ที่สุดยอดน่าเรียนรู้โดยนักวิทยาศาสตร์ไทยพร้อมตัวอย่างโครงงานวิทย์มากมายให้ชม! MUSLIMTHAIPOST

 

แหล่งรวม !! โครงงานวิทย์ที่สุดยอดน่าเรียนรู้โดยนักวิทยาศาสตร์ไทยพร้อมตัวอย่างโครงงานวิทย์มากมายให้ชม!


7,242 ผู้ชม


 
โครงงานวืทยศาสตร์
 ขั้นตอน โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ หมาย ถึง การทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ชนิดหนึ่ง ที่ผู้ทำโครงงานจะต้องนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (secientific method) และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process) มาใช้เพื่อศึกษาหาทางแก้ปัญหาเรื่องใหม่ ๆ หรือประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ โดยผู้ทำโครงงาน เป็นผู้คิดเรื่องหรือเลือกเรื่องที่ต้องการศึกษา มีการวางแผนดำเนินการ (ลงมือปฏิบัติ) บันทึกผล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และเสนอผลงานด้วยตนเอง ตั้งแต่ต้นจนสำเร็จทุกขั้นตอน
ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา
           ขั้น ตอนนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด ตามหลักการแล้วนักเรียนควรจะเป็นผู้คิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษาด้วย ตนเอง แต่ครูอาจมีบทบาทหรือมีส่วนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ ด้วยตนเอง ดังจะได้กล่าวต่อไป
           ขั้นที่ 2 การวางแผนในการทำโครงงาน
           ได้แก่ การวางแผนวิธีดำเนินงานในการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด เช่น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร วิธีดำเนินการรวบรวมข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้างเป็นขั้นตอน แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม และขอความเห็นชอบ
          
               ขั้นที่ 3 การลงมือทำโครงงาน
               ได้แก่ การลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางไว้ล่วงหน้าแล้วในขั้นที่สองนั่นเอง ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างหรือการประดิษฐ์ การปฏิบัติการทดลอง ซึ่งสุดแล้วแต่จะเป็นโครงงานประเภทใดและการค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ แล้วดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งความหมายของข้อมูล และสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า
               ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน
               เป็น การเสนอผลของการศึกษาค้นคว้าเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นเอกสาร เพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบรายละเอียดทั้งหมดของการทำโครงงาน ซึ่งจะประกอบด้วยปัญหาที่ทำการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ ข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนประโยชน์และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้จากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น ๆ วิธีเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ก็มีลักษณะและแนวทางในการเขียน เช่นเดียวกับการเขียนรายงานผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์นั่นเอง
               ขั้นที่ 5 การแสดงผลงาน
               เป็น การเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสำเร็จลงแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ ซึ่งอาจกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ การสาธิตแสดงประกอบการรายงานปากเปล่า ฯลฯ
               ในการจัดแสดงผลงานของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ครูอาจกระทำได้ในหลายระดับ เช่น
               - การจัดเสนอผลงานภายในชั้นเรียน
               - การจัดแสดงนิทรรศการภายในโรงเรียนเป็นการภายใน
               - การจัดแสดงนิทรรศการในงานประจำปีของโรงเรียน
               - การส่งโครงงานเข้าร่วมในงานแสดงหรือประกวดภายนอกโรงเรียนในระดับต่าง ๆ เช่น ระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับจังหวัด
                     ระดับเขตการศึกษา และระดับชาติ เป็นต้น
    ตัวอย่างขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
    โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง "การใช้พืชทะเลลดความเค็มของดิน"
        รายชื่อผู้จัดทำ
        1. นายตาตั้ม มนตลักษณ์
        2. นางสาวศิริรัตน์ พันธุ์อธิคม
        3. นางสาวรัชดาภรณ์ เพชรวงศ์
        อาจารย์ที่ปรึกษา
        1. อาจารย์มาฆะ ทิพย์คีรี
        2. อาจารย์วิมลศรี สุวรรณรัตน์
        3. อาจารย์ณัฐจรีย์ ธรรมทัศนานนท์   
        ที่มาและความสำคัญและปัญหา
                      จากการที่มีการเลี้ยงกุ้งกัน ทำให้มีการแพร่กระจายของเกลือจากนากุ้ง ออกสู่พื้นที่ใกล้เคียงทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ผู้ทำโครงงานเห็นว่ามีพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้บริเวณดินเค็มริมฝั่ง ทะเล จึงคิดว่าน่าจะนำพืชเหล่านั้นมาดูดซับเกลือที่แพร่กระจายออกมาจากนากุ้งได้ ซึ่งจะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
         
        จุดมุ่งหมายของการศึกษา
        1. เพื่อศึกษาหาชนิดและปริมาณของพืชทะเล นำมาลดมลพิษจากแพร่กระจายของเกลือ
        2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินที่ได้จากนากุ้ง
        3. เพื่อศึกษาการปลูกผักบุ้งทะเล และถั่วทะเลบริเวณว่างเปล่าริมนากุ้งเพื่อลดความเค็ม
        4. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง
        5. เพื่อศึกษาหาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่บริเวณชายฝั่งทะเล เปรียบเทียบกับผักบุ้งทะเลที่อยู่***งไกลชายฝั่งทะเล
        สมมติฐาน
                     พืชที่เจริญได้ดีบริเวณชายฝั่งทะเล สามารถลดมลพิษจากการแพร่กระจายของเกลือที่เกิดจากการทำนากุ้ง
        ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
        - ตัวแปรต้น พืชทะเลบางชนิด
        - ตัวแปรตาม การลดความเค็มของดิน
        - ตัวแปรควบคุม ภาชนะที่ใช้ในการทดลอง, ปริมาณดินที่ใช้ในการทดลอง
        วิธีการวิเคราะห์ความเค็ม
        1. วิเคราะห์โดยการสังเกตุการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าวในดินเค็ม ถ้าข้าวไม่เจริญแสดงว่าดินเค็ม ถ้าข้าวเจริญแสดงว่าดินไม่เค็ม
        2. วิเคราะห์จากการหาปริมาณ AgNO3 ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา ถ้ามีปริมาณ AgNO3 มาก แสดงว่ามีเกลือมาก
        วิธีการทดลอง
        1. สำรวจชนิด และปริมาณพืชที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเล เพื่อจะคัดเลือกพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณชายฝั่งทะเลมาลดมลพิษการแพร่ กระจายของเกลือ
        2. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินจากนากุ้ง
        3. ทดลองปลูกผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลบริเวณที่ว่างเปล่าริมนากุ้ง
        4. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง
        5. ทดลองศึกษาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลเปรียบเทียบ กับผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริเวณดินปกติ (ปกติ คือ ดินที่อยู่***งไกลจากทะเล)
        ผลการวิเคราะห์และวิจารณ์ผล
        1. พืชทะเลมี 10 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเล, ถั่วทะเล, งับพริก, คดดินสอ, แพงพวย, ปอทะเล, บุกรอ, หูกวาง, แห้วหมู, หญ้าหนวดกุ้ง และพบว่า ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลเจริญเติบโตได้ดีจึงนำพืชทั้ง 2 ชนิดมาดูดซับเกลือ
        2. การนำผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลดูดซับเกลือในปล้องบ่อได้จริง ในระยะเวลา 120 วัน
        3. การทดลองดูดซับเกลือในแปลง พบว่าดูดซับเกลือได้เช่นกันในเวลา 120 วัน
        4. แม้ใช้ดินเลนที่มีขี้กุ้งมาปลูกผักบุ้งทะเลก็ยังสามารถเจริญได้ดีและดูดซับเกลือได้
        5. ผลการวิเคราะห์ในลำต้นผักบุ้งที่ขึ้นริมฝั่งทะเลมีเกลือมากกว่าผักบุ้งที่ขึ้นบริเวณดินไม่เค็ม
        ประโยชน์ของโครงงาน
                     จากการศึกษาพบว่าพืชทั้ง 2 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล สามารถลดความเค็มของดินได้จริงดังนั้นผู้ทำโครงงานจึงคิดว่า ควรจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง คือ
        1. นำไปลดความเค็มของดินบริเวณนาที่มีการเลี้ยงกุ้ง
        2. อาจนำไปลดความเค็มของดินที่แพร่กระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้ (แต่ยังไม่มีการทดลอง)
        ที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
        ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาตรส์อิ่น ๆ
        -  โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ยางกล้วยช่วยเพ้นท์ผ้า
        -  โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง "พริกขี้หนูสู้กับมด"
        -  โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เปลวไฟลอยน้ำ
        -  โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เทียนไขกระหายน้ำ
        -  โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ครีมขัดเครื่องเงินและเครื่องทอง
        -  โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทำขี้ผึ้งบาล์ม (ยาหม่อง)
        -  โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การทำดินน้ำมันอย่างง่าย
        -  โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารสกัดจากข่าและพริกไทยปราบแมลง
        การออกแบบการทดลอง
        เป็นการบอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดให้เป็นรูปธรรม
        ปฏิบัติได้จริงน่าเชื่อถือ จะใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ใดบ้าง
        จะเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองเป็นอย่างไร
        ในบางครั้งต้องไปค้นคว้าว่ามีผู้เคยทำการทดลองมาแล้วหรือยัง
        ผลการทดลองเป็นอย่างไร มีความสัมพันธ์กันหรือไม่
        ข้อมูลที่มา  https://entertain.tidtam.com

ดูหัวข้ออื่นๆที่เกี่ยวข้อง


อัพเดทล่าสุด