https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เริ่มต้นศึกษา การประเมินผลการปฏิบัติงาน และ แนวคิดการประเมินผลการปฏิบัติงาน MUSLIMTHAIPOST

 

เริ่มต้นศึกษา การประเมินผลการปฏิบัติงาน และ แนวคิดการประเมินผลการปฏิบัติงาน


565 ผู้ชม


ปัจจัยที่ควรจะทำการประเมิน
 
 
ปัจจัยที่ควรจะทำการประเมินนั้นมีมากมายหลายปัจจัย ปัจจุบันนี้องค์การต่างๆนิยมที่จะประเมินโดยเน้นที่ผลงานมากกว่าบุคลิกลักษณะของพนักงาน เพราะว่าบุคคลสองคนบุคลิกลักษณะต่างกัน หากปฏิบัติงานได้เท่ากัน ผลการประเมินก็ควรจะเห็นเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน
 
ในการสำรวจแบบฟอร์มการประเมินผลการปฏิบัติงานของบริษัท 50 แห่งในประเทศ สหรัฐอเมริกาปรากฏว่าปัจจัยต่างๆ ถูกนำมาใช้มากน้อยต่างกันดังนี้
 
 
    Quantity of work                     ปริมาณงาน                                                  44   ครั้ง
    Cooperativeness                  ความร่วมมือ                                                36   ครั้ง
    Dependability                        ความไว้ใจได้                                                35   ครั้ง
    Quality of work                       คุณภาพของงาน                                            31   ครั้ง
    Intelligence                             สติปัญญาและไหวพริบ                                   27   ครั้ง
    Attendance                             การทำงานสม่ำเสมอ                                       17   ครั้ง
    Accuracy                                 การทำงานโดยไม่ผิดพลาด                             14    ครั้ง
    Industry                                     ความขยันหมั่นเพียร                                      14   ครั้ง
    Adaptability                            ความสามารถในการปรับตัว                            14   ครั้ง
    Attitude                                     ความรู้สึกและท่าทีต่องาน                               13   ครั้ง
    Personality                              บุคลิกภาพ                                                     13   ครั้ง
    Judgment                                ดุลยพินิจ                                                        12   ครั้ง
    Punctuality                               การตรงต่อเวลา                                              12   ครั้ง 
                                                         ความสามารถในการนำไปปฏิบัติ                     10   ครั้ง
 
ปัจจัยที่ถูกนำมาใช้น้อยกว่า 10 ครั้ง ได้แก่ปัจจัยต่อไปนี้
 
    Safety Habits                       ลักษณะนิสัยในการรักษาความปลอดภัย           
    Leadership                           ความเป็นผู้นำ
    Conduct                                  ความประพฤติ
    Resourcefulness                ความรู้ทั่วไป
    Health                                     สุขภาพอนามัย
    Neatness                              ความละเอียด
    Appearance                         ภาพลักษณ์
    Enthusiasm                           ความกระตือรือร้น
    Potential                                 ศักยภาพในการเลื่อนตำแหน่ง
    Integrity                                   ความซื่อสัตย์สุจริต
    Loyalty                                    ความจงรักภักดี
    Through ness                       ความรอบคอบ                                      
   
 
 
ที่มา :  Dale Yoder. Personnel Management and Industrial Relations. (New Jersy : Prentice – Hall Inc.) P.362
 
ที่มาโดย :  รองศาสตราจารย์ ผุสดี  รุมาคม

-----------

สิ่งที่คุณไม่อาจหลีกเลี่ยงได้นั่นคือ ใครบางคนติดตามดูผลงานบางอย่างของคุณอยู่ ตัวอย่างบุคคลเหล่านั้นได้แก่ เพื่อน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สมาชิกในกลุ่ม คนรัก คู่ชีวิต หรือแม้กระทั่งเจ้านาย บางคนอาจจะกำลังประเมินพฤติกรรมและความสามารถของคุณซึ่งอาจจะเป็นแบบไม่ทางการ หรือเป็นแบบเป็นทางการก็ได้


ตลอดชีวิตการทำงาน งานของคุณจะถูกตรวจสอบและถูกประเมินอยู่เสมอ ระดับเงินเดือน ระดับชั้น ตลอดจนภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบจะขึ้นอยู่กับว่าผลงานของคุณได้ตามเกณฑ์การประเมินแค่ไหน และแน่นอนที่สุดการประเมินผลการปฏิบัติงานไม่ได้เป็นเรื่องใหม่สำหรับคุณ สิ่งเหล่านี้คุณเคยพบเห็นเคยผ่านมาแล้วจากการเรียนหนังสือในโรงเรียน จากการสอบเพื่อให้ผ่านวิชาต่างๆ จากการทำรายงานส่ง จากข้อสอบ และจากการนำเสนอเรื่องราวหรือรายงานต่างๆ สิ่งที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดคือตัวอย่างเทคนิคที่จัดทำขึ้นเพื่อวัดคุณภาพของงานคุณ

โดยหลักแล้วเทคนิคเหล่านั้นเหมือนกับสิ่งที่นำมาใช้วัดผลการปฏิบัติงานของคุณ ผลที่ได้จากการวัดเหล่านี้แน่นอนที่สุดมีความสำคัญต่ออนาคตของคุณ


แม้ว่าคุณอาจจะไม่ต้องทำข้อสอบช่วงที่ทำงานอยู่ในองค์กรหนึ่งองค์กรใด การประเมินผลการปฏิบัติงานมีความสำคัญเท่ากับในมหาวิทยาลัย การขึ้นเงินเดือน การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ไม่เพียงแต่ส่งผลให้มีรายได้มากขึ้น ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ยังมีผลถึง    (Self-esteem) ความรู้สึกที่มั่นคง (Emotional security) และความสุขใจในชีวิตด้านอื่นๆ (General satisfaction with life) อีก โดยความหมายนี้คุณไม่เคยทำข้อสอบเสร็จเลย ตราบใดที่ยังทำงานอยู่ ผลการทำงานก็ยังคงจะถูกประเมินต่อไป


โปรดระลึกไว้เสมอว่า ผลการปฏิบัติงาน มีประโยชน์ต่อคุณเองเท่าๆกับต่อองค์กร ตัวอย่างของแบบทดสอบในห้องเรียนแสดงให้เห็นว่าตัวคุณเองอยู่ตรงไหนและควรพัฒนาอย่างไร ดังนั้นแบบการประเมินที่ใช้ได้ผลสามารถช่วยคุณประเมินทักษะความชำนาญ (Competence) และพัฒนาการส่วนบุคคลของคุณได้ ผลการประเมินจะสะท้อนให้เห็นจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) ซึ่งช่วยให้คุณมีความเชื่อมั่น (Self-confidence) มากขึ้นในบางเรื่อง และสามารถเป็นแรงจูงใจให้คุณปรับปรุงคุณภาพงานในด้านอื่นต่อไป

อัพเดทล่าสุด