https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป) MUSLIMTHAIPOST

 

พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)


1,710 ผู้ชม


พญายอ

 
   พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)  ข้อมูลทั่วไป
 พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)

ชื่อสามัญไทย : พญายอ
ชื่ออังกฤษ : -
ชื่อท้องถิ่น : ผัก มันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องคำ (ลำปาง)   เสลดพังพอนตัวเมีย   พญาปล้องทอง, พญาปล้องคำ (กลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) (ศิริพร, 2542)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau
ชื่อพ้อง : C. siamensis Bremek (Ponglux, 1987)
วงศ์ : Acanthaceae

   พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)  ชีววิทยา - นิเวศวิทยา

 พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)

  ลักษณะพืช :  พญา ยอเป็นไม้พุ่มเลื้อยสูง 1-3 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน รูปรีแคบ ขอบขนาน ใบกว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 2.5-13 ซม. ปลายและโคนใบแหลม ริมใบเรียบ ดอกเป็นช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง มี 5 ดอกย่อยขึ้นไป กลีบดอกสีแดงส้ม โคนกลีบสีเขียวติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ (พร้อมจิต; 2535; เต็ม, 2523; สสม, 2537)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ : พญายอขึ้นได้งามในดินที่สมบูรณ์ แสงแดดปานกลาง (สสม, 2537)
แหล่งที่พบ : พบได้ทั่วไปตามป่าประเทศไทย หรือปลูกกันตามบ้าน (สสม, 2537)
   พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)  ประโยชน์ทางยา
 พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป) ส่วนที่ใช้ : ใบ (สสม, 2537)
สรรพคุณ :
   ใบ :  รักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคเริม งูสวัด (สสม, 2537)
  ต้น : แก้บิด (ลัดดาวัลย์)
สารประกอบทางเคมี :
     ใบ : ประกอบด้วย lupeol, Beta-sitosterol, stigmasterol (Dampawan, 1976)
     ราก : ประกอบด้วย betulin, lupeol, Beta-sitosterol, stigmasterol (Lin, 1983)
    ลำต้น : ประกอบด้วย lupeol (Dampawan, 1977)
รส (รสทางยา) : รสจืด
ภูมิปัญาพื้นบ้าน :
      14.1 พญายอสำหรับรักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ (ปวด บวม แดง ร้อน แต่ไม่มีไข้) จากแมลงสัตว์กัดต่อย และรักษาโรคเริม งูสวัด
      14.2 วิธีการปรุงยา : การหมัก
      14.3 ขนาดและวิธีการใช้
นำ ใบพญายอสด 10-15ใบ มาล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด ตักลงใส่ภาชนะสะอาด และเติมเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์พอท่วม ตั้งทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ หมั่นคนยาทุกวัน กรองน้ำยา นำมาทาบริเวณที่ปวดบวม หรือหากเป็นมาก ใช้กากพอกบริเวณที่เป็นได้
ยาเตรียมสำเร็จรูปในท้องตลาด : ครีมพญายอ
พญายอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ที่สมดังชื่อ พญา !! (พร้อมรูป)  รายงานการวิจัย  
  พฤกษเคมี
     ใบ ประกอบด้วย lupeol, Beta-sitosterol
     ราก ประกอบด้วย betulin, lupeol, Beta-sitosterol, stigmasterol
     ลำต้น ประกอบด้วย lupeol
เภสัชวิทยา
      1. ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti - inflammatory)
     
- สารสกัดบิวทานอลจากใบพญายอ สามารถลดการบิดตัวของตัวหนู (anti-writhing) และเพิ่มการซึมผ่านของหนังหลอดเลือดเป็นสัดส่วนกับขนาดของสารสกัดที่ให้ โดยเมื่อให้สารสกัดดังกล่าวขนาด 270 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว สามารถลดอาการบวมของข้อเท้าหนูขาวได้ เทียบเท่ากับแอสไพรินขนาด 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว (Tanasomwang, 1986; Kittisiripornkul, 1987; Satayavivad, 1996) แต่ฤทธิ์ของสารสกัดนี้จะค่อย ๆ ลดลงและหมดฤทธิ์โดยสิ้นเชิงภายใน 1 ปี (Kittisiripornkul, 1987) สารที่ออกฤทธิ์ต้านอักเสบคือ flavonoid (Chuakul, 1986)เมื่อป้อนสารสกัดดังกล่าวแก่หนูทดลอง พบว่า มีฤทธิ์คล้ายสเตียรอยด์ สามารถลดอาการอักเสบของถุงลมของหนูได้ แต่เมื่อทำการทดสอบการอักเสบแบบเรื้อรังโดยทาสารสกัดดังกล่าวที่ผิวหนังของ หนูขาว พบว่าไม่สามารถลดอาการอักเสบของถุงลมของหนูขาว (Satayavivad, 1996)
        - สารสกัดด้วยน้ำจากใบพญายอ ขนาด 15 กรัมใบแห้งต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว มีฤทธิ์ต้านการอักเสบอย่างมีนัยสำคัญ (กองวิจัยและพัฒนาสมุไพร, 2533)
       2. ฤทธิ์ต้านเชื้อ Herpes simplex virus และ Varicella zoster virus (anti-viral activity)
        - เมื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดใบพญายอต่อเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเริม (Herpes simplex virus Type-2 ;HSV-2) เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน (Acyolovir) โดยวิธี Plague reduction assay พบว่า สารสกัดจากใบพญายอสามารถฆ่าเชื้อ HSV-2 ใน viro cell ซึ่งเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง โดยทำลายไวรัส HSV-2 ภายนอกเซลล์โดยตรง ทำให้ไวรัสตาย ไม่สามารถเข้าไปเจริญเติบโตในเซลล์ได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ HSV-2 ไม่ให้เข้าเซลล์และไม่สามารถยับยั้ง
การแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในเซลล์ได้ (ชื่นฤดี, 2535; Suwanna, 1992)
- สารสกัดใบพญายอ สามารถฆ่าเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส งูสวัด (Varicella zoster virus) ทั้งภายในและภายนอกเซลล์ คือยับยั้งไวรัสโดยตรง และยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไว้รัส (กองวิจัยและพัฒนาสมุไพร, 2533; Thawarananth, 1986)

ข้อมูลทางคลินิก
     - ผู้ป่วยโรคเริมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ที่ติดเชื้อครั้งแรกและติดเชื้อซ้ำ เมื่อรักษาโดยทาแผลของผู้ป่วยด้วยครีมพญายอ (5%) เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน Acyclovir และยาหลอก พบว่า แผลของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาจากสารสกัดใบพญายอและ Acyclovir จะตกสะเก็ดภายในวันที่ 3 และหายภายในวันที่ 7 แสดงว่าครีมพญายอและครีม Acyclovir มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคเริมบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ให้หายได้เร็วพอ กัน แต่ครีมพญายอไม่ทำให้เกิดอาการแสบ ระคายเคืองในขณะที่ครีม Acyclovir ทำให้แสบและราคาแพง (ชื่นฤดี, 2535; สมชาย, 2536; กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร, 2533)
     - ผู้ป่วยโรคงูสวัด เมื่อรักษาโดยทาแผลด้วยครีมพญายอ (5%) วันละ 5 ครั้งทุกวัน ปรากฏว่าแผลจะตกสะเก็ดภายใน 1-3 วัน และหายภายใน 7-10 วัน ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกแผลจะตกสะเก็ดภายใน 4-7 วัน และหายภายใน 10-14 วัน ผู้ป่วยกลุ่มที่รักษาด้วยครีมพญายอ จะมีระดับความเจ็บปวดลดลงรวดเร็วกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยาหลอก และไม่พบอาการข้างเคียงใด ๆ จากการใช้สารสกัดใบพญายอ (Sangkitporn, 1995)
     - การใช้ยาเตรียมจากใบพญายอในรูปของกลีเซอรีนและทิงเจอร์ ในการรักษาผู้ป่วยโรคเริมงูสวัด และแผลอักเสบในปาก ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศธร์ พบว่า สามารถรักษาแผลและลดการอักเสบได้ (Chotikieat, 1989)
พิษวิทยา
การทดสอบพิษเฉียบพลัน
       ไม่ พบอาการพิษใด ๆ เมื่อให้สารสกัดแอลกอฮอล์จากใบพญายอแก่หนูถีบจักร ขนาดสูงสุด 1.3 กรัม ต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว หรือเทียบเท่าใบแห้ง 5.44 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว ไม่ว่าจะให้ทางปาก ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือฉีดเข้าช่อง (ปราณี, 2538)
       เมื่อให้สารสกัดบิวทานอลจากใบพญา ยอแก่หนูขาว พบว่าปริมาณสารสกัดที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง (LD50) ที่ 48 ชั่วโมง เมื่อให้ทางปากเท่ากับ 13.4?1.6 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว เมื่อให้โดยฉีดเข้าช่องท้อง เท่ากับ 3.4?0.1 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว และสารสกัดดังกล่าวยังทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เมื่อให้ทางปาก แต่เกิดน้อยกว่าแอสไพรินเมื่อเปรียบเทียบในขนาดที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบเท่า กัน และเมื่อให้สารสกัดทุกวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหนูขาว น้ำหนักต่อมไธมัสลดลง น้ำหนักตับเพิ่มขึ้น (Satayavivad, 1996)
การทดสอบพิษกึ่งเรื้อรัง
เมื่อ ป้อนสารสกัดแอลกอฮอล์จากใบพญายอ ขนาด 0.01, 0.1 และ 1.0 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว หรือเทียบเท่าใบแห้ง 0.042, 0.42 และ 4.18 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว เป็นเวลา 90 วันแก่หนูขาว พบว่า การกินอาหารของกลุ่มที่ได้รับสารสกัดและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน เกล็ดเลือดของหนูขาวที่ได้รับสารสกัด 1 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัว จะสูงกว่ากลุ่มควบคุม และหนูขาวทุกกลุ่มที่ได้รับสารสกัด มีค่าครีอาตินินต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ลักษณะของอวัยวะภายในและภายนอกไม่พบความผิดปกติ (ปราณี, 2538)
ที่มา  https://herbal.pharmacy.psu.ac.th

อัพเดทล่าสุด