https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กล่าวถึงอาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะและบอกการรักษาด้วย MUSLIMTHAIPOST

 

กล่าวถึงอาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะและบอกการรักษาด้วย


990 ผู้ชม


โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
       ปกติ หัวใจของคนเรา (ชีพจร) จะเต้นประมาณ 72-80 ครั้งต่อนาที จังหวะสม่ำเสมอ และแรงเท่ากันทุกครั้ง ภายหลังการออกกำลัง ตื่นเต้นตกใจ ดื่มชากาแฟหรือเหล้า สูบบุหรี่ กินยาเข้ากาเฟอีน หรือเป็นไข้ ชีพจรอาจเต้นเร็วกว่านี้ได้ ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติธรรมดา คนที่ออกกำลังสม่ำเสมอ ชีพจรอาจเต้นช้ากว่านี้ได้ แสดงว่าร่างกายอยู่ในภาวะแข็งแรง (ฟิต)เต็มที่ แต่ในคนที่มีความผิดปกติของหัวใจก็อาจมีชีพจรผิดปกติ เช่น เต้นช้าไป หรือเร็วไป หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือไม่เป็นจังหวะ เราจึงเรียกรวม ๆ ว่า โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจแสดงอาการได้หลายอย่างด้วยกัน
       หัวใจเต้นผิดจังหวะถือเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง เกิดจากมีจุด หรือตำแหน่งบางตำแหน่งในหัวใจที่กำเนิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีจุดวงจรลัดไฟฟ้าเล็กๆ ภายในหัวใจ เนื่องจากความผิดปกติดังกล่าวมีขนาดเล็ก จึงไม่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งแตกต่างจากโรคหัวใจชนิดอื่นที่มักจะมีพยาธิสภาพขนาดใหญ่ เช่น ที่ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ หรือหลอดเลือดหัวใจ และพบร่วมกับการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ

สาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

          มักไม่ทราบสาเหตุเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งเกิดจากมีจุดกำเนิดไฟฟ้าผิดปกติที่หัวใจ หรือมีวงจรลัดไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งมักเป็นมาตั้งแต่เกิด แต่โดยทั่วไปมักแสดงอาการเมื่ออายุ 20-40 ปีขึ้นไป มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะกำเริบ เช่น การออกกำลังกาย แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ยาบางชนิด ความเครียด ความวิตกกังวล กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

อาการ

        ในรายที่ไม่มีสาเหตุร้ายแรง อาจไม่มีอาการอะไรเลย บางคนอาจเพียงแต่บ่นว่ารู้สึกใจสั่น หรือใจวูบหายเป็นครั้งเป็นคราว แต่ก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคหัวใจ คอพอกเป็นพิษ หรือสาเหตุที่ร้ายแรงอื่น ๆ อาจรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น เจ็บหน้าอก หน้ามืด วิงเวียน เป็นต้น


การวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  ใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า ECG หรือ electrocardiogram อย่างไรก็ตามการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะพบความผิดปกติเมื่อผู้ป่วยมีอาการขณะ ตรวจ ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการขณะตรวจ อาจไม่พบความผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ในกรณีเช่นนี้อาจใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เรียกว่า Holter monitoring ซึ่งเป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดหนึ่ง

วิธีการรักษา

         ถ้าไม่มีอาการ หรืออาการไม่รุนแรง อาจไม่ต้องรักษา แต่พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ความ เครียด ยาบางชนิด ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ เป็นต้น ถ้ามีอาการพอสมควร อาจพิจารณารักษาด้วยการรับประทานยา ในกรณี หัวใจ เต้นเร็วผิดจังหวะ เกิดจากทางลัดวงจรไฟฟ้าในปัจจุบันมีวิธีจะรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 95 โดยจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้า ผ่านสาย สวนหัวใจ การรักษาดังกล่าวสามารถทำได้ตามโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ในประเทศไทย

นอกจากนี้ใน วารสารสมาคมอายุรแพทย์หัวใจในอเมริกา (American Heart Association s Journal) ยังแนะนำให้กินปลาทูน่า หรือปลาอื่นๆ ที่ผ่านกระบวนการย่าง นึ่ง อย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ช่วยลดความเสี่ยงของโรคนี้ได้โดยเฉพาะในกลุ่มทั้งหญิงและชายที่สูงอายุ

ที่มา  www.thaigoodview.com

อัพเดทล่าสุด