https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ภาษาไทยน่ารู้ : การพูดให้สัมฤทธิผล หมายถึงอะไร และทำอย่างไรจะทำให้ การพูดให้สัมฤทธิผล MUSLIMTHAIPOST

 

ภาษาไทยน่ารู้ : การพูดให้สัมฤทธิผล หมายถึงอะไร และทำอย่างไรจะทำให้ การพูดให้สัมฤทธิผล


1,730 ผู้ชม

พูดให้สัมฤทธิผล  หมายถึง  พูดให้เกิดความสำเร็จตามความมุ่งหมายที่วางไว้


การพูดให้สัมฤทธิผล

การพูดให้สัมฤทธิผล
          พูดให้สัมฤทธิผล  หมายถึง  พูดให้เกิดความสำเร็จตามความมุ่งหมายที่วางไว้  เช่น  พูดเพื่อบอกให้ทราบ  พูดให้กำลังใจ  พูดแนะนำ  ชักชวนให้ทำตาม  เป็นต้น
          การพูดให้สัมฤทธิผล  ควรปฏิบัติดังนี้

          1.  วิเคราะห์ผู้ฟังในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
                    จำนวนผู้ฟัง  จะทำให้ผู้พูดเตรียมเนื้อหาและวิธีพูดได้เหมาะสม
                    เพศ  ทำให้ผู้พูดทราบความคิด  รสนิยม  ความสนใจ
                    วัย  วัยที่แตกต่างกัน  ทำให้ผู้ฟังมีพื้นความรู้  ประสบการณ์  ความสนใจ  ความเข้าใจ  และสมาธิในการฟังต่างกัน
                    พื้นความรู้และประสบการณ์  จะทำให้ผู้พูดทราบความสนใจ  และความสามารถในการรับสารของผู้ฟัง  จะทำให้เลือกเรื่อง  วิธีการพูดและใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสม

          2.  ให้เกียรติผู้ฟังโดยวิธีการต่าง ๆ  เช่น  ใช้คำพูดสุภาพ  น้ำเสียงนุ่มนวล  มีความกระตือรือร้น  พูดอย่างเต็มใจและจริงใจ  สบตาผู้ฟังอย่างทั่วถึง  แววตาแสดงความเป็นมิตร  สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส  ไม่แสดงความเบื่อหน่าย  มีอารมณ์ขันแต่ไม่หยาบโลน

          3.  ใช้ภาษาง่าย ๆ แจ่มแจ้ง  ชัดเจน  ลำดับความให้เข้าใจได้ง่าย

          4.  พูดด้วยความมั่นใจ  อ้างอิงข้อมูลที่ถูกต้อง  อธิบายให้เห็นจริง

          ความสัมฤทธิผลในการพูดมีหลายระดับ  หากสามารถพูดให้ผู้ฟังตั้งใจฟังได้ก็นับว่าสัมฤทธิผลในระดับหนึ่ง  ซึ่งสามารถพัฒนาให้สัมฤทธิ์ผลในระดับสูงขึ้นต่อไป

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
บุญลักษณ์  เอี่ยมสำอางค์  เกื้อกมล  พฤกษประมูล และโสภิต  พิทักษ์. ภาษาไทย  หลักการใช้ภาษาและการใช้ภาษา ม.4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

อัพเดทล่าสุด