https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคหัด ในผู้ใหญ่ บ่งบอก อาการโรคหัด ผู้ใหญ่ (รูปโรคหัด) MUSLIMTHAIPOST

 

โรคหัด ในผู้ใหญ่ บ่งบอก อาการโรคหัด ผู้ใหญ่ (รูปโรคหัด)


5,872 ผู้ชม


 โรคหัด ในผู้ใหญ่ บ่งบอก  อาการโรคหัด ผู้ใหญ่ (รูปโรคหัด)

 โรคหัด ในผู้ใหญ่ บ่งบอก  อาการโรคหัด ผู้ใหญ่ (รูปโรคหัด)

โรคติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อง่ายในโรงพยาบาล
โรคหัด หรือ Measles
 
เกือบทุกครั้งที่ได้รับปรึกษาให้ไปดูผู้ป่วยที่มีผื่นที่มีลักษณะเป็นผื่นคล้ายหัดในผู้ใหญ่  ที่ภาษาหมอเราเรียก maculopapular rash  ถามทุกคนก็มักจะคิดถึงผื่นแพ้ยาเป็นส่วนมาก  เพราะเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด  ซึ่งถ้าเป็นมากเราก็มักจะให้ยาฉีดสเตียรอยด์ เช่น hydrocortisone หรือ dexamethasone  แต่ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา บางปีมีมากกว่า 30 รายที่ผื่นที่เห็นไม่ได้เกิดจากการแพ้ยา เป็นผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือโรคผิวหนังอื่นเช่น โรคแพ้แสง  โรคเอสแอลอี  ถ้าคนไข้เป็นเด็ก หลายครั้งผื่นที่เห็นเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น โรคหัด หัดเยอรมัน หรือส่าไข้จากเชื้อไวรัสอื่น  ที่น่าแปลกก็คือ ในคนไข้ผู้ใหญ่ที่ไม่น่าจะเป็นโรคหัด  กลับพบผู้ป่วยโรคหัดที่ได้รับการปรึกษาเพราะคิดว่าเกิดจากการแพ้ยาปีละเกือบ สิบราย  ซึ่งที่แน่ๆ ถ้าคิดว่าแพ้ยาแล้วได้รับยาสเตียรอยด์เข้าไป  อาการโรคหัดของผู้ป่วยอาจจะกำเริบ  จนอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยได้
เรา จะมีวิธีคิดอย่างไรเพื่อที่จะแยกให้ได้ว่าผู้ป่วยรายโน้น รายนี้เกิดจากโรคหัด หรือเกิดจากการแพ้ยา  หรือเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น
ลองมาทำความรู้จักกับโรคหัดกันเป็นอันดับแรกก่อนดีกว่า
 
            สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์อาจารย์เคยถามผมว่า   เราควรจะฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดให้กับเด็กอายุเท่าไร  ผมคิดในใจว่า ทำไมต้องไปฉีดมันด้วย ไอ้วัคซีนป้องกันโรคหัดนี่  เพราะตัวผมเองก็เคยเป็นมาแล้ว พี่น้องทุกคนก็เป็นมาหมด เพื่อนๆก็ล้วนแต่เป็นกันมาแล้วทั้งนั้น  แล้วเขาก็บอกว่า เป็นหนเดียวมีภูมิคุ้มกันไปทั้งชีวิต ไม่เป็นอีก  เป็นเองก็หายเอง อ่านหนังสือดู กลับกล่าวถึงประวัติการทำลายล้างชีวิตมนุษย์จากโรคหัดไว้อย่างน่ากลัว  
           ต่อเมื่อจบมาเป็นแพทย์ผมจึงได้เห็นผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคหัดเสียชีวิต  เห็นหญิงที่ตั้งครรภ์ป่วยเป็นโรคหัดแล้วมีอาการแทรกซ้อนเป็นปอดบวม  เห็นเด็กที่เป็นหัดแล้ว ท้องเดินจนมีอาการช็อค  ซึ่งถ้าขาดการดูแลที่ดีก็คงจะเสียชีวิต  หรือแม้แต่ว่าดูแลดีๆ  ผู้ป่วยก็อาจจะเสียชีวิตได้  หมอเด็กรุ่นพี่ที่โรงพยาบาลถึงกับเคยสอนผมว่า  เอ็งเห็นเด็กเป็นโรคหัดให้จับ admit นอนโรงพยาบาลซะ  ปลอดภัยไว้ก่อนเวลาเกิดอะไรขึ้นก็ยังถือว่าได้ทำดีที่สุดแล้ว  โดยเฉพาะในเด็กฐานะยากจนที่อาจจะมีภาวะทุพโภชนาการอยู่ด้วย
          เมื่อเรียนจบจากโรงเรียนแพทย์ผมชอบซื้อหนังสือที่ไม่ใช่ตำราแพทย์แต่เป็น หนังสือที่เขียนเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของโรคต่างๆ  โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับประวัติบุคคลสำคัญของโลก  หรือประวัติการเดินทางไปสำรวจโลกของนักเดินทางในอดีต  มีเรื่องเล่ามากมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับดินแดนที่เกิดการระบาดของโรคหัดใน หมู่ชาวเกาะ  เช่นที่เกาะฟิจิ ในปี คศ.1883 หัวหน้าเผ่าเดินทางไปออสเตรเลียแล้วไปติดโรคหัดมา  ปรากฏว่ากลับมาถึงเกาะของตัวเองได้ไม่นานก็เกิดการระบาดของโรคหัดไปทั่วทั้ง เกาะ ปรากฏว่าผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะตายไปถึงหนึ่งในสี่  ในปี คศ. 1749 ชาว Amazon Indians เป็นหัดตายไป 30,000 คน ชนพื้นเมืองบางเผ่าถึงกับสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปเลย  ช่วงสงครามกลางเมืองในอเมริกา มีทหารตายจากโรคหัดไป 5000 คน  ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทหารตายจากหัดไป 2000 คน  ในปีคศ. 1772 มีหัดระบาดที่เมือง Charleston มลรัฐเซ้าท์แคโรลิน่า ปรากฏว่าเด็กตายไป 900 คน
          ทุกวันนี้ขนาดที่เราคิดกันเอาเองว่าการแพทย์เจริญก้าวหน้ามากเหลือเกิน  แต่รายงานจากองค์การอนามัยโรคปี 1999  ยังมีคนเป็นโรคหัด 30-40 ล้านรายทั่วโลก  ในจำนวนนี้ มี 875,000 รายที่เสียชีวิต  ในปี คศ. 2004 มีผู้คนตายจากหัด 454,000 ราย ซึ่งถือว่าน้อยแล้วเพราะย้อนกลับไปไม่กี่ปี  ในยุคที่ยังไม่มีวัคซีนโรคหัดพบว่า เพียงเวลาแค่ปีเดียวมีคนไข้เป็นโรคหัดมากกว่า 130 ล้านราย และมีเด็กในประเทศด้อยพัฒนาเป็นหัดตายปีละกว่าล้านคน
พอมาถึงยุคที่มีวัคซีน ซึ่งปัจจุบันต้องถือว่าเป็นรุ่นที่สองที่ออกมาตั้งแต่ปี 1968 เป็นไวรัสหัดที่เขาทำให้อ่อนแอลง แต่ยังมีชีวิต live vaccine เพื่อให้ร่างกายเราสร้างภูมิต้านทานโดยไม่เกิดโรค ถือได้ว่ามีผลข้างเคียงน้อยกว่ารุ่นแรกที่ออกมาในปี 1963 ซึ่งเป็น killed viral vaccine  จากผลของการฉีดวัคซีนทำให้ผู้ป่วยโรคหัดในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐ อเมริกา มีจำนวนลดลงไปเรื่อยๆ  ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีรายงานผู้ป่วยโรคหัดในประเทศของเขาในแต่ละปีไม่ถึง 100 ราย จนมีการตั้งความหวังกันว่าภายในปี 2010 เราอาจจะสามารถตั้งเป้าที่จะทำให้โรคหัดหมดไปจากโลกนี้เหมือนดังเช่นโรคไข้ ทรพิษ  หรือโรคที่ใกล้จะสามารถกำจัดให้หมดไปจากโลกได้อย่าง โปลิโอ
            เชื้อไวรัสหัด  เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายมาก บางคนบอกว่าเป็นโรคติดเชื้อที่ติดกันง่ายที่สุดในโลกในแง่ที่ virions ไม่กี่ตัวก็ทำให้เกิดโรคได้ และเพราะมันติดต่อกันผ่านละอองจากลมหายใจ  หรือการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย  เคยมีบันทึกว่าชายคนหนึ่งเดินทางจากยุโรปไปเยี่ยมบ้านที่ Venezuela ปรากฏว่ามีคนติดหัดจากเขาคนเดียวไป 2,000 ราย  ในปี 1982 มีรายงานว่ามีเด็กติดหัดจากคลินิกแพทย์  ทั้งๆที่คนเป็นหัดที่ไปพบแพทย์ก่อนหน้านี้ได้ออกจากคลินิกไปตั้งชั่วโมง ครึ่งแล้ว    หัดสามารถติดต่อกันได้ตั้งแต่ 1-2 วันก่อนที่จะเริ่มมีผื่นขึ้น   จนกระทั่งผื่นขึ้นไปได้ 4 วัน  หลังจากนั้นไม่ใช่ระยะที่ติดต่อได้ง่ายอีกต่อไป   พอคนไข้คนที่หนึ่งเป็นหัด  อีกประมาณ 8-12 วันก็จะได้เจอคนไข้ที่ติดไวรัสหัดมาจากคนแรก  เราเรียกว่ามีระยะฟักตัว 8-12 วัน พอติดเชื้อไวรัสหัดแล้ว  สิ่งที่สำคัญมากที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน  ที่ทำให้ผู้ป่วยถึงตายได้บ่อยก็เพราะไวรัสไปทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายของ ผู้ป่วยต่ำลง  จึงเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงตามมา
            เวลาที่ผมไปดูคนไข้ว่าแพ้ยาหรือเป็นหัด  ผมอาศัยหลักฐานหลายๆอย่างประกอบกัน  ข้อที่หนึ่งพวกที่แพ้ยามักจะไม่มีไข้   และถ้ามีไข้ก็มักจะไม่ใช่ไข้สูงปรี๊ดขนาด 40-40.5 องศาเซลเซียส  ผมมักจะถามคนไข้ที่มีไข้ว่าไอหรือเปล่า  เพราะคนไข้โรคหัดนั้นไอเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์  จนครูท่านหนึ่งของผมสอนเอาไว้ว่า  ถ้าไม่ไอไม่ใช่หัด  แต่ที่ต้องระวังก็คือไอ้ที่ไอแล้วไม่ใช่หัดก็มีเยอะ  ถ้าคนไข้มีตาแดง  ผมมักจะคิดถึงหัดก่อนเสมอ  อย่างไรก็ดีผมจะฟันธงว่าเป็นหัดก็ต่อเมื่อให้คนไข้อ้าปากแล้วเอาไม้กดลิ้นดู ที่กระพุ้งแก้มด้านใน buccal mucosa ประมาณฟันกรามด้านบนสองซี่สุดท้าย มีบ้างนานๆครั้งพบที่ labial mucosa  ถ้ามีจุดแดงและจุดขาวเล็กๆ เต็มไปหมด หลายคนบรรยายว่าเหมือนเม็ดทรายบนพื้นสีแดง ที่เราเรียกว่า Koplik spots    ถ้าเห็นละก็ฟันธงได้เลย น่าเสียดายที่ Koplik spots  ถ้าผื่นขึ้นมาสักสองสามวัน  ก็มักจะหายไปเสียแล้ว
อีก อย่างหนึ่งก็คือถ้าไม่มีผื่นที่หน้าก่อน  คือมีแต่ผื่นตามตัวหรือที่อื่น  อย่างนี้ผมจะคิดว่าคงไม่ใช่หัด  เพราะผื่นหัดร้อยทั้งร้อย ขึ้นที่หน้าก่อน  โดยเฉพาะที่หน้าผากและหลังหู  แล้วค่อยลามไปที่ลำตัว  สุดท้ายผื่นที่แขนขาถึงจะปรากฏให้เห็น บางรายพอผื่นใกล้จะหายก็จะเห็นผิวหนังลอกเป็นขุยเล็กๆเต็มไปหมด 
 ผื่น หัดมักจะไม่ค่อยคัน  ถ้าคันก็คันไม่มาก  แต่ถ้าคันสุดๆละก็คิดถึงแพ้ยา  หรือผื่นแพ้อย่างอื่นเอาไว้ก่อน  เวลาตรวจร่างกายคนไข้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคหัดหรือไม่ผมจะคลำต่อมน้ำ เหลืองอยู่สองตำแหน่งคือ  ที่คอสองข้าง  และที่หลังหู  ถ้าไม่โตแล้วไป  ถ้าต่อมน้ำเหลืองที่คอโต  มีโอกาสเป็นหัดมากกว่าแพ้ยา  แต่ถ้าเจอต่อมน้ำเหลืองที่หลังใบหู  ผมจะคิดถึงอีกโรคหนึ่งคือ หัดเยอรมัน
            ปัญหาที่รบกวนจิตใจผู้ป่วยและผู้ที่ดูแลไม่ว่าจะเป็นแพทย์  พยาบาล และญาติผู้ป่วยก็คืออาการของหัด  บางทีมันไม่ได้มีแค่นี้   บางคนมีทั้งปวดท้อง  ทั้งอาเจียน  แถมบางรายยังคลำได้ม้ามโต  ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วตัว และถ้าไม่ได้คิดถึงในใจเอาไว้ก่อนว่า  โรคหัดนี้มีอาการแทรกซ้อนมากมายที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  เช่น ปอดบวม  อาการวัณโรคกำเริบ  สมองอักเสบ  นี่ยังไม่นับอาการหูอักเสบ เกร็ดเลือดต่ำทำให้มีจ้ำเลือดขึ้นตามตัว  บางคนก็มีตับอักเสบ หากไม่ได้หมั่นสังเกตุอาการ  หรือ ส่งตรวจเพิ่มเติม  อาจจะต้องมารบกับญาติผู้ป่วยที่คงจะตั้งข้อสงสัยว่า  ไหนคุณหมอบอกว่าเป็นหัด  ทำไมตอนนี้อาการหนักทำท่าจะตายเอา โดยโรคที่ทำให้คนไข้เสียชีวิตมากที่สุดก็คือ ปอดบวม  มีวิธีคิดที่พอจะให้เราตั้งข้อสังเกตุว่า  โรคหัดคนไหนอาจเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรง ก็คือกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบ ยิ่งถ้าอายุต่ำกว่า 2 ขวบยิ่งเสี่ยง  และพวกที่อายุเกิน 20 ปี โดยเฉพาะที่อายุมากๆ ประเภท 60 ขึ้นไปยิ่งมีความเสี่ยงสูง อีกอย่างหนึ่งก็คือ คนไข้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และพวกที่มีภาวะทุพโภชนาการ
            หมอสมัยก่อนเห็นโรคหัดมามากกันทุกคน  ก็ไม่เห็นความสำคัญว่าจะต้องส่งตรวจอะไรกันมากมาย  และอีกอย่างหนึ่งก็คือไม่มีให้ส่งตรวจอีกด้วย  ถ้ามีก็มีอยู่ไม่กี่แห่งในกรุงเทพ ได้แก่การส่งตรวจ measles antibody IgM และIgG   พอเห็นคนไข้สงสัยหัด ก็ส่งตรวจ IgM ก่อน แต่แนะนำว่าอย่าเพิ่งใจร้อนส่งทันที รอให้ผื่นขึ้นไปสัก 3-4 วันแล้วค่อยส่ง หรือส่งก่อนคนไข้กลับบ้าน  หลังจากนั้นนับไป 2 อาทิตย์หลังผื่นขึ้นค่อยส่ง IgG แล้วส่ง measles antibody IgG ซ้ำอีกครั้งอีก 4-6 สัปดาห์ต่อมา ถ้า titer ขึ้นมากกว่า 4 เท่าถึงจะยืนยันได้ว่าเป็นหัดอย่างแน่นอน เรียกว่ากว่าจะได้ผลคนไข้ก็หายกลับบ้านไปเป็นเดือนแล้ว  แต่มีความสำคัญสำหรับการเรียนรู้ของแพทย์   ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งก็คือ  หากเป็นหัดชนิดมีโรคแทรกซ้อนก็จะได้มีหลักฐานยืนยันให้เราให้การรักษาอย่าง มั่นใจ  สมัยนี้การวินิจฉัยทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นคือ ส่ง measles PCR ไปเลย ได้ผลเร็วกว่า แต่ก็แพงกว่า แต่โทษทีผมเคยส่งทั้ง antibody และ PCR ปรากฏว่า PCR ผลเป็นลบ แต่ measles IgM ขึ้น
            คำถามที่ได้รับจากพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอยู่เสมอ  มันจะติดพวกเราไหม และถ้ามีใครที่กำลังตั้งครรภ์อยู่แล้วต้องขึ้นเวรจะทำอย่างไร  จากประสบการณ์จริง ผมพบว่าพวกเราติดหัดจากคนไข้น้อยมาก  เพราะส่วนใหญ่ล้วนแต่ฉีดวัคซีนหัดกันมาตั้งแต่ยังเด็กแล้ว  และวัคซีนหัดนี่ถ้าลองใครได้ฉีดก็มักจะมีภูมิคุ้มกันกันเขาว่า antibody ขึ้นประมาณ 95%  สมัยก่อนฉีดกันแค่เข็มเดียวตอน 9 เดือน แล้วก็ปรับเป็น 12 เดือน 15 เดือน  ตอนผมทำงานอยู่ต่างจังหวัดผมให้ฉีดตอน 9 เดือน เพราะรอจน 15 เดือนหลายคนติดหัดไปแล้ว สมัยนี้เห็นหมอเด็กเขาให้ฉีด 3 ครั้งคือ 9 เดือนฉีดวัคซีนหัดอย่างเดียว 1 เข็มแล้วอายุ 15 เดือนฉีดวัคซีน MMR คือมีทั้งหัด หัดเยอรมัน และคางทูมรวมกัน   และฉีดซ้ำอีกครั้งเมื่อเด็กอายุ 4-6ปี  เพราะฉะนั้นต้องถามคุณพ่อคุณแม่ และถามตัวเองดูครับว่า เราได้รับการฉีดวัคซีนกันครบแค่ไหน  ถ้าสงสัยว่าจะไม่เคยฉีด และไม่เคยออกหัด  ก็ควรจะฉีดเสียให้รู้แล้วรู้รอดไป อย่างมากก็มีไข้ขึ้นสักวันสองวัน  บางคนอาจมีผื่นหัดขึ้นน้อยๆ   แต่ถ้ารู้ตัวว่าท้อง ไม่ควรฉีดนะครับ วัคซีนหัดอาจก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กในครรภ์ได้  รู้แต่ว่าถ้าฉีดวัคซีนหัดเยอรมัน เข้าห้ามไม่ให้ท้องอย่างน้อย 3 เดือน ถ้าท้องอยู่ และไม่เคยออกหัด รวมทั้งไม่เคยฉีดวัคซีน  ถ้าเจอคนไข้โรคหัดละก็มีสิทธิ์ติดได้อย่างง่ายดาย เพราะติดต่อทางลมหายใจ  ถ้าคนท้องเป็นหัด  ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนสำคัญคือปอดบวมถือว่ามีมากกว่าปกติ  ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด  โดยส่วนตัวผมไม่เคยเห็น  case ที่แม่เป็นหัดแล้วลูกในท้องเสียชีวิต  แต่เคยมีรายงานว่าถ้าแม่ที่ตั้งครรภ์เป็นหัดอาจทำให้เกิดการแท้ง เด็กคลอดน้ำหนักน้อยกว่าปกติ  บางรายอาจถึงกับทำให้เด็กในครรภ์เสียชีวิต
            การรักษาโรคหัด  ส่วนมากก็เป็นการดูแลแบบ supportive คือรักษาตามอาการ ให้นอนพักให้มาก  ดื่มน้ำมากๆให้เพียงพอ ดูแลอย่าให้ขาดสารอาหาร มีไข้ให้ยาลดไข้   อาเจียนให้ยาแก้อาเจียน ปวดท้องก็ให้ยาลดอาการปวดเกร็ง  ยาลดกรด  ท้องเดินก็ให้กินน้ำเกลือ  ให้น้ำเกลือไปตามสภาวะว่ามีอาการขาดน้ำหรือไม่  สำหรับอาการไอต้องทำใจส่วนใหญ่จะไอนานหลายสัปดาห์อย่างน้อยก็หนึ่งสัปดาห์ หลังจากที่น้ำมูกหรืออาการติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆหายแล้ว  บางรายอาจจะต้องให้ vaporizer  ให้ส่งตรวจดูว่ามีตับอักเสบไหม ซึ่งผลการตรวจเอ็นไซม์ตับมักจะพบว่าผิดปรกติ แต่เมื่อหัดหายแล้วส่วนใหญ่ก็จะกลับมาเป็นปกติในเวลาไม่นานนัก   บางรายก็จำเป็นต้องส่งตรวจเพิ่มเติมเมื่อสงสัยว่าอาจมีอาการแทรกซ้อน  เช่นปอดบวม หูอักเสบ   ยาปฏิชีวนะต้องให้ถ้ามีไข้ peak ที่สองขึ้น  ซึ่งมักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
            สำหรับยาต้านไวรัสก็มีการกล่าวถึงยา Ribavirin ว่าสามารถฆ่าเชื้อไวรัสหัดได้ในหลอดทดลอง  ส่วนมากก็จะให้กันในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานบกพร่อง  แต่ไม่ได้ช่วยป้องกันหรือรักษาอาการสมองอักเสบหลังเป็นหัด ที่เรียกว่า subacute sclerosing panencephalitis  มีการศึกษาบางรายงานว่าการให้วิตามินเอ  ในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการอาจช่วยผู้ป่วยโรคหัดได้ โดยเฉพาะในเด็ก 6 เดือนถึง 2 ปี ทั้ง WHO และ UNICEF ต่างแนะนำให้ให้วิตามินเอในเด็กเป็นหัดทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อ ภาวะขาดวิตามินเอ  โดยมีรายงานการศึกษาว่าช่วยลดทั้งความรุนแรงของโรคและอัตราตาย  ซึ่งแนะนำให้ให้ในผู้ป่วยหัดที่มีอาการรุนแรงทุกราย
 
Rubella หรือหัดเยอรมัน
            เป็นโรคที่มีอาการคล้ายหัดมาก  แต่ไข้มักจะสูงกว่า  ผื่นขึ้นเร็วหายไปเร็ว บางคนเรียกว่า 3 days measles คือเป็นหัดที่เป็นแค่ 3 วันหาย ข้อสังเกตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราแยกโรคออกจากหัดได้อย่างชัดเจนก็คือการ มีต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะที่หลังหู  คอ และ occipital area ซึ่งมักจะโตเป็นเดือน  โดยที่ผื่นหัดเยอรมันนั้นขึ้นเพียง 3 วันก็หายไป และไม่ค่อยทิ้งรอยดำเอาไว้เหมือนหัด  ที่พอหายแล้วตัวยังดำลายไปอีกหลายสัปดาห์
            การยืนยันการวินิจฉัยทำได้โดยการส่งตรวจ Rubella antibody IgM และIgG ระยะเวลาส่งก็เช่นเดียวกับหัด  โดยเฉพาะถ้า IgG ขึ้นมากกว่า 4 เท่า เดี๋ยวนี้มีการส่งตรวจ Rubella PCR ก็เลยทำให้ยิ่งได้ผลตรวจเร็วขึ้น
            ถ้ามีคนไข้ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหัดเยอรมัน  คนท้องทุกคนควรจะหนีไปให้ห่างถ้าไม่แน่ใจว่าเคยได้รับวัคซีน MMR มาก่อนหรือไม่  โดยเฉพาะในคนท้องช่วง 3 เดือนแรก  เพราะถ้าเกิดป่วยเป็นโรคหัดเยอรมัน อาจมีผลให้เด็กในครรภ์พิการรุนแรง
            ยังมีอยู่อีกโรคหนึ่งที่ต้องคิดถึงเอาไว้เวลามีใครมาบอกให้ว่าคนไข้เป็นหัด นั่นก็คือ Kawasaki disease ซึ่งมักจะมีอาการมือเท้าลอก  โรคนี้ถ้าเป็นแล้วเด็กอาจมีปัญหาเรื่องของการติดเชื้อที่หัวใจ  การรักษาอาจต้องให้ยาแอสไพรินร่วมด้วย
ที่มา  gotoknow.org

อัพเดทล่าสุด