https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคความดันกับภาวะเหงือกบวม อยากรู้ เหงือกบวมเพราะอะไร กันแน่ MUSLIMTHAIPOST

 

โรคความดันกับภาวะเหงือกบวม อยากรู้ เหงือกบวมเพราะอะไร กันแน่


1,961 ผู้ชม


โรคเหงือกอักเสบ

โรคความดันกับภาวะเหงือกบวม อยากรู้ 	เหงือกบวมเพราะอะไร กันแน่ เบาหวาน ความอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง และ ความดันโลหิตสูง และการไม่ออกกำลังกาย เป็นความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบ ไม่นานมานี้การศึกษาทางการ แพทย์พบว่า การมีโรคเหงือกอักเสบก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจเช่นเดียว กัน

โรคเหงือกอักเสบ คือ อะไร
เกือบครึ่งหนึ่งของประชากร ทั่วไปเป็นโรคเหงือกอักเสบโดยที่ตัวเองก็ไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้อยู่ โรคเหงือกอักเสบ คือการที่มีการอักเสบของเหงือก , เนื้อเยื่อที่รองรับฟันให้ติดกับ กระดูกขากรรไกรและกระดูกหุ้มรากฟัน โดยการอักเสบนี้เกิดจากสารพิษที่ขับออกมาจาก แบคทีเรีย ที่ติดอยู่กับแผ่นคราบฟัน ( Dental Plaque ) ที่อยู่รอบ ๆ ตัวฟันทำให้เหงือกเกิดการอักเสบ บวม แดง และยังทำให้เนื้อเยื่อที่รองรับฟันให้ติดกับกระดูกขากรรไกรฉีกขาดได้

สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ
โดยปกติในช่องปากของคนเราจะ มีแบคทีเรียเป็นจำนวนมาก ในน้ำลายของเราก็มีธาตุแคลเซียม (Calcium) และฟอสฟอรัส (Phosphorus) อยู่เช่นเดียวกัน เมื่อมีการสะสมเป็นเวลานานเข้าก็จะกลายเป็นหินปูนในปากของเรา ถ้าเราทำความสะอาดฟันและช่องปากไม่ดีพอ แบคทีเรียในแผ่นคราบฟัน (Dental Plaque) จะไปยึดติดกับหินปูนเหล่านี้ และไปเกาะตามบริเวณขอบเหงือก ปล่อยสารพิษออกมาทำให้เกิดเหงือกอักเสบ

หินปูนระยะแรกเริ่มจะมีสภาพนิ่มและต่อมาจะค่อย ๆ แข็งตัวขึ้น และความแข็งของมันจะทิ่มตำเหงือก ทำให้เหงือกอักเสบ บวมและแดง ถ้าเราไม่ได้รับทำความสะอาดฟันโดยการขูดหินปูน หินปูนเหล่านี้จะยึดติดกับตัวฟันและรากฟันแน่นขึ้น ๆ และคอยทิ่มตำเหงือกตลอดเวลาทำให้เหงือกเกิดการอักเสบ บวมและแดงมากขึ้นในที่สุด

การแปรงฟัน ไม่สะอาดหรือการที่ไม่ได้รับการขูดหินปูนนาน ๆ ครั้ง ตัวฟันจะถูกแผ่นคราบฟันเหนียว ๆ หรือหินปูนเกาะติดอยู่ ในแผ่นคราบฟันนี้จะมีอาหาร แบคทีเรียและสารพิษที่หลั่งจากแบคทีเรียผสมกันอยู่ ถ้าสิ่งเหล่านี้ยึดติดกับฟันเป็น เวลานานพอสมควร เหงือกก็มีอาการระคายเคือง โรคเหงือกอักเสบในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการใด ๆ เมื่อเป็นมากขึ้นอาการที่เริ่มแสดงออก คือเวลาแปรงฟันจะมีเลือดออกตามไรฟัน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการที่จะพบต่อมา คือ

  • การมีกลิ่นปาก
  • เหงือกจะมีสีแดงคล้ำ, ปวดและเจ็บบริเวณเหงือก
  • เหงือกจะเริ่มแยกตัวออกจากฟัน คนไข้จะรู้สึกว่าฟันของตนเองยาวขึ้น
  • ฟันเริ่มโยกเพราะมีการละลายของกระดูกที่รองรับฟัน
  • เหงือกเป็นหนอง

โรคเหงือกอักเสบกับ โรคหัวใจ

จากรายงานการศึกษาที่ตีพิมพ์โดยสมาคมโรคหัวใจของประเทศสหรัฐอเมริกา ( Journal of the American Heart Association ) รายงานว่าคนที่มีเชื้อแบคทีเรียซึ่งพบในช่องปากชนิดที่ทำให้เกิดโรคเหงือก อักเสบในกระแสเลือดมาก กว่าปกติจะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว ( Atherosclerosis ) ที่หลอดเลือดใหญ่บริเวณลำคอ ( Carotid Artery in the Neck ) มากกว่าปกติ

ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ( Atherosclerosis ) คือการที่ผนังของหลอดเลือดเกิดการแข็งตัวขึ้นและเสียความยืดหยุ่น ไปซึ่งเกิดจากการที่หลอดเลือดเกิดการสะสมของคราบไขมันและหินปูนที่ผนังหลอด เลือด ( Atherosckrotic Plaque ) ซึ่งถ้าทิ้งไว้ต่อไป จะทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กลง และถ้ามีขนาดเล็กลงจนเกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ก็จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อของหัวใจตายได้

จากการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง 657 คน ซึ่งไม่มีประวัติของการเป็นโรคหัวใจมาก่อน พบว่า คนที่มีระดับของแบคทีเรียชนิดที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบมากกว่าปกติจะมี การหนาตัวของงผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ ( Carotid Artery ) และพบจำนววนเม็ดเลือดขาวมากขึ้น

เนื่องจากโรคเหงือกอักเสบเป็นการอักเสบของเหงือกซึ่งเกิดจากการที่แบคทีเรีย บริเวณเหงือก ( Periodontal Bacteria ) ปล่อยสารพิษออกมา เชื้อแบคทีเรียนี้สามารถที่จะผ่านเข้าสู่หลอดเลือดของทางร่างกาย ( Blood Stream ) และไปเกาะยึดติดกับอวัยวะอื่นๆของร่างกาย หัวใจเป็นอวัยวะที่มีการอักเสบจาก Periodontal Bacteria ได้ง่ายมาก ดังจะเห็นได้ว่าแพทย์ทางด้านโรคหัวใจกับทันตแพทย์ที่ทำงานร่วมกัน จะให้ยาปฏิชีวนะกับคนไข้ที่ มีโรคหัวใจบางชนิดก่อนการขูดหินปูนและการถอนฟัน

โรคหัวใจ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรในอันดับต้นๆของทุกประเทศ การงดสูบบุหรี่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และ การรักษาสุขภาพในช่องปากโดยการพบทันตแพทย์ทุก 6-12 เดือนจึงเป็นการป้องกันการ เกิดโรคหัวใจที่ดีประการหนึ่ง นอกจากนี้ในคนไข้ที่มีประวัติของ

  • การอักเสบของผนังหัวใจและลิ้นหัวใจ ( Infective Endocarditis )
  • การรักษาโรคหัวใจรูมาติก ( Rheumatic Fever )
  • Mitral Valve Prolapsed หรือ การผิดปกติของลิ้นหัวใจ ( Prosthetic Heart Valve )

คนไข้เหล่านี้ก่อนที่จะได้รับการรักษาทางทันตกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับการมี เลือดออกบ้าง เช่น การขูดหินปูน หรือการถอนฟัน ต้องทานยาปฏิชีวนะบางอย่างก่อนการทำฟัน

ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด จะทำให้การแข็งตัวของเลือดช้าลง คนไข้ที่รับประทานยานี้อยู่ควรบอกให้ทันตแพทย์ทราบว่าท่านทานยาอะไรอยู่ เพราะถ้าต้องทำการถอนฟันโดย ไม่ได้หยุดยาตัวนี้ก่อน จะทำให้มีปัญหาเลือดไหลไม่หยุดหรือหยุดยาก หลังการถอนฟัน รวมทั้งกรณีการขูดหินปูนในคนไข้ที่เป็นโรคเหงือกอักเสบก็เช่นเดียวกัน

อายุรแพทย์หัวใจ ( Cardiologist ) และทันตแพทย์ของท่านจะทำงานร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

การป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งและใช้ไหมขัดฟัน ( Dental Floss ) ทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน
  • ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ทำให้ฟันแข็งแรงขึ้น เพื่อป้องกันฟันผุ
  • แปรงฟันให้ถูกวิธี โดยทันตแพทย์ที่ดูแลท่านอยู่จะช่วยแนะนำท่านได้
  • ใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่มและหมั่นตรวจสภาพของแปรงสีฟันของท่าน ถ้าขนแปรงเริ่มบานออกหรือเปลี่ยนรูป ควรเปลี่ยนใหม่ เมื่อแปรงฟันเสร็จควรวางแปรงสีฟันในที่ๆมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การที่ขนแปรงเปียกชื้นตลอดเวลาจะทำให้เกิดเชื้อราขึ้นได้
  • ควรแปรงลิ้นของท่านด้วยขณะแปรงฟัน
  • พบทันตแพทย์ปีละ 2 ครั้งเพื่อรับการขูดหินปูนและตรวจดูสภาพช่องปาก

โรคเหงือกอักเสบ และภาวะ การตั้งครรภ์

1. ภาวะการตั้งครรภ์มีผลอย่างไรต่อโรคเหงือกอักเสบ

สาเหตุการเกิดโรคเหงือกอักเสบ เกิดจากคราบแบคทีเรีย (Bacteria) ที่ เกาะบริเวณหินน้ำลาย และผิวด้านข้างฟัน แบคทีเรียที่เป็นตัวก่อโรคนี้จะปล่อยสารพิษและกระตุ้นให้ร่างกายมีการปล่อย สารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเหงือก เหงือกบวมแดง หรือถ้าอาการอักเสบลุกลามไปถึงกระดูกมีการละลายของกระดูกเรียกว่า โรคปริทันต์อักเสบ อาการที่พบ ได้แก่ เหงือกบวม แดงช้ำ อาจพบเหงือกร่น ถ้ากระดูกละลายมากอาจพบ ฟันโยก ได้เช่นกัน

ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogens) , โปรเจสติน (Progestins) และฮอร์โมน

โกนาโดโทรพิน (Gonadotropins) สัมพันธ์กับช่วงการมีรอบเดือน

ภาวะการเกิดเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์ (Pregnancy Gingivitis) เริ่มต้นตั้งแต่ฮอร์โมนโกนาโดโทรพิน (Gonadotropins) มีระดับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะคงอยู่ตังแต้เดือนที่ 4 ถึงเดือนที่ 8 (พร้อมกับการเพิ่มระดับฮอร์โมน เอสโตรเจน และโปรเจสติน) โดยจะมีระดับลดลงที่เดือนสุดท้าย

มีการศึกษาที่พบความสัมพันธ์ของเชื้อแบคทีเรีย ชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ และปริทันต์อักเสบ สัมพันธ์กับภาวะการตั้งครรภ์ นั่นคือมีการศึกษาที่พบเชื้อ Prevotella Intermedia ในปริมาณมาก ในหญิงตั้งครรภ์ / โดยมีการให้ความเห็นว่า ฮอร์โมนที่หลั่งออกทางร่องเหงือก อาจเป็นตัวเร่งให้เชื้อมีการเจริญเติบโต

ภาวะเหงือกอักเสบจากการตั้งครรภ์ จะมีอาการแสดงให้เห็น คือ มีเหงือกบวมแดง เลือดออกง่าย โดยการบวมนี้ มักพบบวมเป็น กระเปราะได้

2. ภาวะโรคปริทันต์อักเสบ (Periodontitis) มีผลอย่างไรต่อการตั้งครรภ์

มีการศึกษาที่พบความสัมพันธ์ระหว่างโรคปริทันต์อักเสบกับ ภาวะการคลอดก่อนกำหนด พบว่าคนที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ และไม่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสที่จะเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดเป็น 4 เท่า ของคนที่ไม่ได้เป็นปริทันต์อักเสบ โดยคาดว่าในผู้ป่วยปริทันต์อักเสบ มีการติดเชื้อจาก Bacteria ก่อโรค จะมีการหลั่งของสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เข้าสู่กระแสเลือด และสารเหล่านี้เองที่อาจจะมีผลเกี่ยวข้องกับภาวะการคลอดก่อนกำหนด

ที่มา  www.piyavate.com

อัพเดทล่าสุด