https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประกันสังคมกรณี ว่างงาน เงื่อนไขการเกิดสิทธิ์และสิทธิ์ที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน MUSLIMTHAIPOST

 

ประกันสังคมกรณี ว่างงาน เงื่อนไขการเกิดสิทธิ์และสิทธิ์ที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน


960 ผู้ชม

ประกันสังคมกรณี ว่างงาน เงื่อนไขการเกิดสิทธิ์และสิทธิ์ที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน


ประกันสังคมกรณี ว่างงาน

ประกันสังคมกรณี ว่างงาน เงื่อนไขการเกิดสิทธิ์และสิทธิ์ที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน

ประกันสังคมกรณี ว่างงาน เงื่อนไขการเกิดสิทธิ์และสิทธิ์ที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน

หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์

หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ

  • จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

เงื่อนไขการเกิดสิทธิ์

  1. ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น  
  2. มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้  
  3. ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน  
  4. ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง  
  5. ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี
    • ทุจริตต่อหน้าที่  
    • กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง  
    • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย  
    • ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฏหมายในกรณีร้ายแรง  
    • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร  
    • ประมาทเลินล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง  
    • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา  
  6. ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ  
  7. มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย  
  8. ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39

สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน

  1. กรณีถูกเลิกจ้าง 
    • ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท 
  2. กรณีสมัครใจลาออก
    • ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง  โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท 

           หากใน 1 ปีปฏิทินมีการยื่นขอรับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานเกินกว่า 1 ครั้ง ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานรวมกันไม่เกิน 180 วัน  เงินทดแทนการขาดรายได้จะจ่ายเป็นงวดเดือน โดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารตามที่ผู้ประกันตนแจ้ง 

หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)  
  • บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
  • หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09)   กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้  
  • หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)  
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน

ขั้นตอนและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทน

  1. ต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักจัดหางาน กรมการจัดหางาน 
  2. กรอกแบบฟอร์มใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้
    • บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 
    • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
  3. กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้
    • หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการออกจากงาน (สปส 6-09) หรือ
    • หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน 
    • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี 
  4. เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการสัมภาษณ์/ตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติการทำงาน 
  5. เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการเลือกตำแหน่งงานว่างให้เลือก 3 แห่ง ให้ผู้ประกันตนกรณีว่างงานได้พิจารณา  
  6. หากยังไม่มีงานที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานจะประสานงานส่งฝึกอบรมแรงงานตามความจำเป็น แต่หากผู้ประกันตนกลับเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือปฏิเสธงานหรือปฏิเสธการฝึกงานที่จัดหาให้และไม่ไปรายงานตัวตามที่กำหนด สำนักงานประกันสังคมจะงดจ่ายประโยชน์ทดแทนทันที 
  7. เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกสถานะผู้ประกันตนกรณีว่างงานเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง 
  8. เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมดึงข้อมูลผู้ประกันตนกรณีว่างงานขึ้นมาวินิจฉัยตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ 
  9. เมื่อคุณสมบัติครบถ้วน สำนักงานประกันสังคมทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้งผ่าน 9  ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารนครหลวงไทย  จำกัด  (มหาชน)  (เริ่มใช้ 1 ตุลาคม 2549)  ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550) 
  10. หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

ประกันสังคม ว่างงาน , ประกันสังคม ว่างงาน เงินชดเชย , เงินประกันสังคม ว่างงาน , เงินประกันสังคมว่างงาน , ประกันสังคมว่างงาน , กรณีว่างงานประกันสังคม , ประกันว่างงาน ประกันสังคม

ที่มา สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

อัพเดทล่าสุด