https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคงูสวัดที่ตัว อธิบาย ความแต่งต่างของอาการโรคงูสวัดกับอาการแพ้สบู่ เป็นอย่างไร MUSLIMTHAIPOST

 

โรคงูสวัดที่ตัว อธิบาย ความแต่งต่างของอาการโรคงูสวัดกับอาการแพ้สบู่ เป็นอย่างไร


881 ผู้ชม


 ผื่นแพ้จากการสัมผัส Contact dermatitis
ลักษณะทั่วไป
ผื่นแพ้จากการสัมผัส หมายถึง อาการผื่นคัน ที่เกิดจากการสัมผัสถูกสิ่งกระตุ้นจากภายนอก
ร่างกายซึ่งเป็นสารระคายเคือง หรือสารที่ทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้อง
มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ การเกิดผื่นอาจเป็นผลมาจากข้อใดข้อหนึ่ง
ดังนี้
1. การระคายเคืองต่อผิวหนัง เนื่องจากการถูกสารระคายเคือง ทำให้ผิวหนังเกิด การอักเสบ
เช่น กรด ด่าง สบู่ ผงซักฟอก ยางไม้ (ยางมะม่วง ต้นรัก) เป็นต้น
2. การแพ้ โดยที่ผู้ป่วยจะต้องเคยสัมผัสถูกสารแพ้มาอย่างน้อยครั้งหนึ่งก่อน แล้วร่างกายถูก
กระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา เมื่อสัมผัสซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ก็ทำให้เกิดอาการแพ้ การสัมผัส
ครั้งแรกกับครั้งหลัง อาจห่างกันเป็นวัน ๆ เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ สารที่ทำให้เกิดการแพ้ได
้ง่าย เช่น โลหะ (นิกเกิล โครเมียม โคบอลด์ เงิน ปรอท) ยาทาเฉพาะที่ (เช่น เพนิซิลลิน ซัลฟา
นีโอไมซิน แอนติฮิสตามีน ยาชา) พลาสเตอร์, เครื่องสำอาง (เช่น ยาย้อมผม น้ำหอม ยาทาเล็บ
ลิปสติก), เครื่องแต่งกาย (รองเท้า ถุงมือ เสื้อผ้า), ปูนซีเมนต์, สี , สารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น
โรคนี้จึงพบบ่อยในคนที่ทำงานบ้าน โรงงานอุตสาหกรรม หรือมีอาชีพที่ต้องสัมผัสถูกสารดัง
กล่าวเป็นประจำ
อาการ
มีลักษณะเป็นผื่นแดงหรือขึ้นเป็นตุ่มน้ำใสเล็ก ๆ มีอาการคันมาก ซึ่งจะขึ้นเฉพาะบริเวณที่
สัมผัสถูกสิ่งที่แพ้ อาจทำให้เห็นเป็นรอยของสิ่งที่แพ้ เช่น รอยสายนาฬิกา สร้อยคอ ขอบ
กางเกง สายรองเท้าเป็นต้น
บางคนอาจเป็นตุ่มน้ำใส อาจติดต่อกันจนเป็นตุ่มพองใหญ่ เมื่อแตกออก จะมีน้ำเหลืองไหล
และมีสะเก็ดเกรอะกรัง เมื่ออาการทุเลา ผิวหนังอาจแห้งเป็นขุย หรือหนาตัวขึ้นชั่วคราว บาง
คนผิวหนังอาจคล้ำลง หรือเป็นรอยด่างขาวชั่วคราว
อาการแทรกซ้อน
อาจเกาจนมีอาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
การรักษา
1. ควรหาสาเหตุที่แพ้แล้วหลีกเลี่ยง โดยสังเกตจาก
1.1 ตำแหน่งที่เป็น เช่น ที่ศีรษะอาจแพ้ยาย้อมผม แชมพูสระผม น้ำมันใส่ผม, ที่ใบหูอาจแพ้
ตุ้มหู,ที่ใบหน้าอาจแพ้เครื่องสำอาง, ที่คออาจแพ้น้ำหอม สร้อยคอ, ที่ลำตัวอาจแพ้เสื้อผ้า สบู่,
ที่ขาและเท้า อาจแพ้ถุงเท้า รองเท้า (หนังหรือยาง), ที่มือและเท้าอาจแพ้ผงซักฟอก ปูนซีเมนต์,
ที่แขนหรือขา อาจแพ้ยุงแมลง เป็นต้น
1.2 อาชีพ และงานอดิเรก เช่น คนขับรถอาจแพ้เบนซิน น้ำมันเครื่อง, แม่บ้านหรือคนซักผ้า
อาจแพ้ผงซักฟอก, ช่างปูนอาจแพ้ปูนซีเมนต์ เป็นต้น
2. รักษาผื่นแพ้โดย
2.1 ชะแผลด้วยน้ำเกลือ แล้วเช็ดให้แห้ง
2.2 ทาด้วยครีมสเตอรอยด์ เช่น ครีมเพร็ดนิโซโลน หรือครีมบีตาเมทาโซน ถ้าเป็นบริเวณกว้าง
ควรให้กินยาแก้แพ้  เช่น คลอร์เฟนิรามีน, ไดเฟนไฮดรามีน หรือไดรอกไซซีน ครั้งละ 1/2 - 1
เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
2.3 ถ้ามีหนองหรือน้ำเหลืองไหล ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี , คล็อกซาซิลลิน  หรือ อีริโทรไมซิน
3. ในรายที่เป็นรุนแรง ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องให้เพร็ดนิโซโลน กินนาน 10 วัน
4. ในรายที่เป็นเรื้อรัง ควรแนะนำไปโรงพยาบาลเพื่อทำการทดสอบทางผิวหนัง โดยวิธี
Patch test (ใช้น้ำยาที่มีสารต่าง ๆ ปิดที่หลัง แล้วดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น) เพื่อหาสาเหตุ ซึ่งจะ
ได้หาทางหลีกเลี่ยง)
ข้อแนะนำ
การรักษาโรคนี้ขึ้นอยู่กับการค้นหาสาเหตุของการแพ้ ซึ่งส่วนมากจะวินิจฉัยได้จากการซัก
ถามประวัติและตำแหน่งที่เป็น หรือไม่ก็สามารถบอกจากการทดสอบทางผิวหนัง ถ้าหลีกเลี่ยง
สิ่งที่แพ้ได้มักจะหายใน 2-3 สัปดาห์หรือ 2-3 เดือน
ทางกรรมพันธุ์เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ การเกิดผื่นอาจเป็นผลมาจากข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
1. การระคายเคืองต่อผิวหนัง เนื่องจากการถูกสารระคายเคือง ทำให้ผิวหนังเกิด การอักเสบ
เช่น กรดด่าง สบู่ ผงซักฟอก ยางไม้ (ยางมะม่วง ต้นรัก) เป็นต้น
2. การแพ้ โดยที่ผู้ป่วยจะต้องเคยสัมผัสถูกสารแพ้มาอย่างน้อยครั้งหนึ่งก่อน แล้วร่างกายถูก
กระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา เมื่อสัมผัสซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ก็ทำให้เกิดอาการแพ้ การสัมผัส
ครั้งแรกกับครั้งหลัง อาจห่างกันเป็นวัน ๆ เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ สารที่ทำให้เกิดการแพ้ได้
ง่าย เช่น โลหะ (นิกเกิล โครเมียม โคบอลด์ เงิน ปรอท) ยาทาเฉพาะที่ (เช่น เพนิซิลลิน ซัลฟา
นีโอไมซิน แอนติฮิสตามีน ยาชา) พลาสเตอร์, เครื่องสำอาง (เช่น ยาย้อมผม น้ำหอม ยาทาเล็บ
ลิปสติก), เครื่องแต่งกาย (รองเท้า ถุงมือ เสื้อผ้า), ปูนซีเมนต์, สี , สารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น
โรคนี้จึงพบบ่อยในคนที่ทำงานบ้าน โรงงานอุตสาหกรรม หรือมีอาชีพที่ต้องสัมผัสถูกสารดัง
กล่าวเป็นประจำ
อาการ
มีลักษณะเป็นผื่นแดงหรือขึ้นเป็นตุ่มน้ำใสเล็ก ๆ มีอาการคันมาก ซึ่งจะขึ้นเฉพาะบริเวณที่
สัมผัสถูกสิ่งที่แพ้ อาจทำให้เห็นเป็นรอยของสิ่งที่แพ้ เช่น รอยสายนาฬิกา สร้อยคอ ขอบกางเกง
สายรองเท้า เป็นต้น
บางคนอาจเป็นตุ่มน้ำใส อาจติดต่อกันจนเป็นตุ่มพองใหญ่ เมื่อแตกออก จะมีน้ำเหลืองไหล
และมีสะเก็ดเกรอะกรัง เมื่ออาการทุเลา ผิวหนังอาจแห้งเป็นขุย หรือหนาตัวขึ้นชั่วคราว บาง
คนผิวหนังอาจคล้ำลง หรือเป็นรอยด่างขาวชั่วคราว
อาการแทรกซ้อน
อาจเกาจนมีอาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
การรักษา
1. ควรหาสาเหตุที่แพ้แล้วหลีกเลี่ยง โดยสังเกตจาก
1.1 ตำแหน่งที่เป็น เช่น ที่ศีรษะอาจแพ้ยาย้อมผม แชมพูสระผม น้ำมันใส่ผม, ที่ใบหูอาจแพ้
ตุ้มหู, ที่ใบหน้าอาจแพ้เครื่องสำอาง, ที่คออาจแพ้น้ำหอม สร้อยคอ, ที่ลำตัวอาจแพ้เสื้อผ้า สบู่,
ที่ขาและเท้า อาจแพ้ถุงเท้า รองเท้า (หนังหรือยาง), ที่มือและเท้าอาจแพ้ผงซักฟอก ปูนซีเมนต์,
ที่แขนหรือขา อาจแพ้ยุงแมลง เป็นต้น
1.2 อาชีพ และงานอดิเรก เช่น คนขับรถอาจแพ้เบนซิน น้ำมันเครื่อง, แม่บ้านหรือคนซักผ้า
อาจแพ้ผงซักฟอก, ช่างปูนอาจแพ้ปูนซีเมนต์ เป็นต้น
2. รักษาผื่นแพ้โดย
2.1 ชะแผลด้วยน้ำเกลือ แล้วเช็ดให้แห้ง
2.2 ทาด้วยครีมสเตอรอยด์ เช่น ครีมเพร็ดนิโซโลน หรือครีมบีตาเมทาโซน ถ้าเป็นบริเวณกว้าง
ควรให้กินยาแก้แพ้  เช่น คลอร์เฟนิรามีน, ไดเฟนไฮดรามีน หรือไดรอกไซซีน ครั้งละ 1/2 - 1
เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
2.3 ถ้ามีหนองหรือน้ำเหลืองไหล ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี , คล็อกซาซิลลิน  หรือ อีริโทรไมซิน
3. ในรายที่เป็นรุนแรง ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องให้เพร็ดนิโซโลน   กินนาน 10 วัน
4. ในรายที่เป็นเรื้อรัง ควรแนะนำไปโรงพยาบาลเพื่อทำการทดสอบทางผิวหนัง โดยวิธี Patch
test (ใช้น้ำยาที่มีสารต่าง ๆ ปิดที่หลัง แล้วดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น) เพื่อหาสาเหตุ ซึ่งจะได้หาทาง
หลีกเลี่ยง)
ข้อแนะนำ
การรักษาโรคนี้ขึ้นอยู่กับการค้นหาสาเหตุของการแพ้ ซึ่งส่วนมากจะวินิจฉัยได้จากการซักถาม
ประวัติและตำแหน่งที่เป็น หรือไม่ก็สามารถบอกจากการทดสอบทางผิวหนัง     ถ้าหลีกเลี่ยงสิ่ง
ที่แพ้ได้มักจะหายใน 2-3 สัปดาห์หรือ 2-3 เดือน
ที่มา  www.thailabonline.com

อัพเดทล่าสุด