https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาการหูอื้อ ลมออกหู สาเหตุของการหูอื้อ หูอื้อบ่อยๆ เกิดจาก MUSLIMTHAIPOST

 

อาการหูอื้อ ลมออกหู สาเหตุของการหูอื้อ หูอื้อบ่อยๆ เกิดจาก


1,073 ผู้ชม


 หูตึง (หูหนวก) - Deafness      

หูตึง (หูหนวก) หมายถึง ภาวะการได้ยินเสียงลดลง อาจเป็นเพียงเล็กน้อย หรือ
ไม่ได้ยินเลย (หูหนวกสนิท) มีสาเหตุได้มากมาย เช่น แก้วหูทะล, หูอักเสบ ,
โรคเมเนียส์, หูหนวกมาแต่กำเนิด (เช่น ทารกที่เป็นหัดเยอรมันโดยกำเนิด) 
ซึ่งมักจะมีอาการเป็นใบ้ร่วมด้วย, พิษจากยา ( สเตรปโตไมซิน, คาน่าไมซิน เจนตาไมซิน),
 หูตึงในคนสูงอายุ, หูตึงจากอาชีพ เป็นต้น 
สาเหตุของอาการหูตึงหูหนวกได้ สรุปไว้ในแผนภูมิที่ 28 ในที่นี้จะขอกล่าวถึง 
หูตึงในคนสูงอายุ และหูตึงจากอาชีพ
หูตึงในคนสูงอายุ
พบได้ในคนสูงอายุ ผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่า และมีความรุนแรงกว่าผู้หญิง 
โดยมากจะเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป เกิดจากประสาทหู
เสื่อมตามวัย
หูตึงจากอาชีพ
ผู้ที่ทำงานอยู่ในที่ที่มีเสียงดังขนาดมากกว่า 90 เดซิเบล ขึ้นไปเป็นเวลานาน ๆ 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความถี่สูง ๆ (เสียงสูง) มักเกิดอาการหูตึงได้  เนื่องจาก
เซลล์ประสาทหูถูกคลื่นเสียงทำลายอย่างถาวร และไม่มีทางแก้ไขให้กลับคืน
ดีได้ ผู้ป่วยมักจะเริ่มจากการได้ยินเสียงสูง (เช่น เสียงกระดิ่ง) สู้เสียงต่ำ (เช่น 
เสียงเคาะประตู) ไม่ได้ ถ้ายังคงทำงานอยู่ในที่ที่เสียงดังเช่นเดิม อาการหูตึง
จะค่อยๆ เป็นมากขึ้นจนถึงขั้นหูหนวกได้
ในรายที่มีอาการหูตึงอย่างถาวร อาจต้องใช้เครื่องช่วยฟัง
การรักษา
ไม่มียาที่ใช้รักษาให้การได้ยินดีขึ้น ถ้าจำเป็นอาจใช้เครื่องช่วยฟัง
การป้องกัน
ผู้ที่มีอาชีพที่เสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว ควรหาทางป้องกัน โดยการสวมเครื่อง
ป้องกันหูขณะที่อยู่ในที่ทำงาน และควรไปโรงพยาบาล เพื่อทำการทดสอบการ
ได้ยินเป็นประจำ ถ้าหากเริ่มมีอาการหูตึงเกิดขึ้น ควรหยุดงานในสถานที่เดิม 
และควรเปลี่ยนไปทำงานในสถานที่ที่ไม่มีเสียงดังรบกวน
ข้อแนะนำ
การทำงานในที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน ๆ อาจหูตึงอย่างถาวรได้

 เยื่อแก้วหูทะลุ - Ruptured Eardrum      

เยื่อแก้วหูทะลุ อาจเกิดจากการอักเสบ เช่น หูชั้นกลางอักเสบ หรือเกิดจาก
การบาดเจ็บก็ได้ ในที่นี้ขอกล่าวถึงสาเหตุข้อหลัง
สาเหตุ
แก้วหูทะลุที่เกิดจากการบาดเจ็บ อาจมีสาเหตุ เช่น ถูกไม้แคะหูแทงทะลุ 
หรือกระทบกระเทือนจากการถูกตี ถูกแรงกระแทก หรือถูกเสียงดัง ๆ (เช่น 
เล่นพุ ประทัด เสียงระเบิด) เป็นต้น
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการหูอื้อ หูตึง ซึ่งเกิดขึ้นทันทีภายหลังได้รับบาดเจ็บ บางคนอาจ
มีอาการปวดในรูหู หรือมีเลือดไหลออกจากหู
สิ่งตรวจพบ
เมื่อใช้เครื่องส่องหูตรวจดู จะพบเยื่อแก้วหูมีรูทะลุ
อาการแทรกซ้อน
ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้เกิดการอักเสบ กลายเป็นโรคหูน้ำหนวก ได้
การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจให้การรักษาเบื้องต้นด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น 
เพนวี , อะม็อกซีซิลลิน หรืออีริโทรไมซิน กินป้องกันการติดเชื้อ
การรักษา ถ้าเยื่อแก้วหูทะลุเป็นรูกว้าง อาจต้องผ่าตัดทำเยื่อแก้วหูเทียม 
(tympanoplasty) ถ้าทะลุเป็นรูเล็กอาจปิดได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ 
แต่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ กินป้องกันการติดเชื้อ และควรแนะนำผู้ป่วยห้ามดำน้ำ 
หรือลงเล่นน้ำในสระหรือแม่น้ำลำคลอง และระวังอย่าให้น้ำเข้าหูเวลาอาบน้ำ
โดยทั่วไป ถ้าเยื่อแก้วหูปิดได้ ก็มักจะหายขาด และไม่มีภาวะแทรกซ้อนตาม
มาแต่อย่างใด
รายละเอียด
คนที่เยื่อแก้วหูทะลุ ห้ามดำน้ำหรือว่ายน้ำในแม่น้ำลำคลอง

 โรคเมเนียส์ - Meniere's Disease      

เกิดจากมีการเพิ่มความดันของของเหลวในหูชั้นในส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการ
ทรงตัว (ลาบิรินท์) ทำให้เซลล์ประสาทในส่วนนั้นถูกทำลาย เป็นเหตุให้เสีย
ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว นอกจากนี้ เซลล์ประสาทส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยว
กับการได้ยินในบริเวณใกล้เคียงก็ถูกทำลายด้วย เป็นเหตุให้มีอาการหูตึงร่วม
ด้วย   ส่วนมากเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ บางคนอาจเกิดหลังได้รับบาดเจ็บ หรือเป็นซิฟิลิส 
ส่วนมากจะเป็นเพียงข้างเดียว ประมาณ 10-15% อาจเป็นทั้งสองข้าง
โรคนี้พบได้น้อย มักพบในผู้ชายอายุ 40-60 ปี แต่ก็อาจพบในคนหนุ่มคนสาวได้
สาเหตุ
มักจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ด้วยอาการวิงเวียนอย่างรุนแรง จนบางครั้งทำให้
ผู้ป่วยล้มลง ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าพื้นบ้าน หรือเพดานหมุน มักมีอาการคลื่นไส้
อาเจียนรุนแรง และอาจมีอาการตากระตุก อาการวิงเวียนอาจเป็นนาน ครั้งละ
ไม่กี่นาทีถึงหลายชั่งโมง แล้วหายไปได้เอง แต่จะกำเริบได้เป็นครั้งคราว อาจ
ทิ้งช่วงห่างกันเป็นสัปดาห์ ๆ หรือเป็นปี ๆ ซึ่งไม่ค่อยแน่นอน
ผู้ป่วยมักมีอาการหูตึงและแว่วเสียงดังในหู ซึ่งเป็นพร้อมกับอาการวิงเวียน และ
จะยังคงเป็นอยู่ตลอดเวลา ระหว่างที่ไม่มีอาการวิงเวียน เสียงที่ไม่ได้ยินมักเป็น
เสียงต่ำ เช่น เสียงนาฬิกา เสียงกริ่งโทรศัพท์ เป็นต้น
อาการวิงเวียนมักจะเป็นมากเวลาเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือความวิตกกังวล 
แต่จะเป็นห่างขึ้นเมื่อสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี และจิตใจไม่เครียด
อาการแทรก
ส่วนมากจะเป็นไม่รุนแรง และอาจหายได้เอง ส่วนน้อยอาจหูตึงมากขึ้นเรื่อย ๆ 
จนหูหนวกสนิท อาจเป็นเพียงข้างเดียว หรือสองข้าง ซึ่งไม่มีทางรักษาให้หายได้ 
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจเป็นคนชอบวิตกกังวล และเป็นไมเกรนร่วมด้วย 
(อาการวิงเวียนมักหายไปภายหลังที่หูหนวกสนิท)
ผู้ป่วยอาจประสบอุบัติเหตุ ขณะที่เกิดอาการวิงเวียนรุนแรง

การรักษา
หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องใช้เครื่องมือตรวจการได้ยินอาจเอกซเรย์
ตรวจเลือดหาวีดีอาร์แอล หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ 
การรักษา ถ้ามีอาการวิงเวียนมาก ควรฉีดไดเฟนไฮดรามีน หรือ ไดเมนไฮ-
ดริเนต  หรือ อะโทรพีน ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการได้นอกจากนี้ อาจให้กินยา
แก้อาเจียน เช่น ไดเมนไฮดริเนต 1-2 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง , ยาขับปัสสาวะ  1 
เม็ด วันละครั้ง ถ้ามีความวิตกกังวล ให้ไดอะซีแพม 
ถ้าตรวจพบว่าเกิดจากซิฟิลิส ให้การรักษาแบบซิฟิลิส ถ้าหากใช้ยาไม่ได้ผลใน
รายที่หูตึงไม่มาก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลาม หรือ
ช่วยให้หายขาดได้
ข้อแนะนำ
ผู้ป่วยควรงดอาหารเค็มจัด และดื่มน้ำให้น้อยลง เพื่อลดปริมาณของของเหลว
ในหูชั้นใน อาจช่วยให้เกิดอาการห่างขึ้นควรงดกาแฟ และบุหรี่ และปฏิบัติตัว
เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่เป็นหูชั้นในอักเสบ 
รายละเอียด
ถ้ามีอาการวิงเวียนร่วมกับหูตึง หรือแว่วเสียงดังในหู ควรปรึกษาแพทย์


ที่มา  www.thailabonline.com

อัพเดทล่าสุด