ต้อกระจกในผู้สูงอายุ รักษาด้วย ยาสมุนไพรต้อกระจก MUSLIMTHAIPOST

 

ต้อกระจกในผู้สูงอายุ รักษาด้วย ยาสมุนไพรต้อกระจก


2,158 ผู้ชม


    โรคต้อกระจกเป็นโรคตาที่พบบ่อย ๆ ในผู้สูงอายุ ทำให้ตาฝ้าฟางมองอะไรไม่ค่อยเห็นคล้ายกับมีเยื่อขาวบาง ๆ มาขวางกั้นสายตาไว้ โรคตาเป็นต้อกระจก (cataract) เป็นอาการทางสายตาที่เกิดจากเลนส์ตาขุ่นขาว ในสมัยก่อนไม่ทราบว่าโรคนี้เกิดจากอะไรทราบเพีย งว่าเป็นโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุ แต่บางครั้งอาจพบในคนหนุ่มสาวได้บ้างและในระยะ หลัง ๆ พบว่าคนหนุ่มสาวเป็นต้อกระจกกั นมากขึ้น
    ต่อมามีการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรค พบว่า สาเหตุของต้อกระจกส่วนหนึ่งเกี่ยวพันกับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด จึงทราบว่าเห ตุใดคนหนุ่มสาวยุคใหม่จึงเป็นต้อกระจกกันเพิ่มมากขึ้น เพราะแสงแดดในสมัยนี้มีรังสีอัลตราไวโอเลตมากขึ้นนั่นเอง เนื่องจากม่านที่ใช้ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตบนฟากฟ้าหรือชั้นของโอโซนในบรรยากาศ ถูกมลพิษจากพื้นผิวโลกลอยฟุ้งขึ้นไปทำลายจนเกิดเป็นช่องโหว่ให้รังสีอัลตราไวโอเลตลอดผ่านลงมาได้
    ปกติในเลนส์ตาของมนุษย์มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงอยู่เป็นจำนวนมาก กรดไขมันเหล่านี้อ่อนไหวต่อออกซิเจน เมื่อสัมผัสกับออกซิเจน โดยมีรังสีอัลตราไวโอเลตช่วยกระตุ้นบ่อย ๆ ก็เกิดปฏิกิริยาสร้างอนุมูลอิสระ (free-radical) ขึ้น อนุมูลอิสระที่ถูกสร้างขึ้นมาจากปฏิกิริยาออ กซิเดชันจะก่อปัญหาให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อเนื่องกันไปไม่สิ้นสุด สร้างปัญหาให้เซลล์เปลี่ยนสภาพถ้าเกิดขึ้นกับเลนส์ตา ทำให้เลนส ์ตารับแสงได้น้อยลงจากการที่เคยเห็นภาพต่าง ๆ ได้ชัดเจนกลายเป็นเห็นภาพขุ่นมัว นี่คืออาการเกิดเป็นต้อกระจกของดวงตา ต้อกระจกกับอนุมูลจึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ยิ่งมีอายุเพิ่มมากขึ้นปัญหาจากอนุมูลอิสระจะยิ่งสะสม เลนส์ตายิ่งมีลักษณะขุ่นมัวเพิ่มขึ้นตามอายุ นักวิชาการทางการแพทย์ได้ให้ข้อสรุปที่ค่อนข้างชัดเจนเกี่ยวกับการเกิดอนุมูลอิสระประเภท Oxy บริเวณเลนส์ตาเป็น ต้นตอสำคัญทำให้เกิดต้อกระจก แพทย์และนักโภชนาการจึงเชื่อว่าถ้ารับประทานอาหารประเภทที่ให้สารแอนตีออกซิแดนซ์ ( antioxidant) จะช่วยแก้ปัญหาการเกิดต้อกระจกได้ สารแอนตีออกซิแดนซ์จะเข้าไปทำงานโดยไปรับอนุมูลอิสระ ทำให้อนุมูลอิสระไม่สามารถทำปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อไปได้ จึงไม่สามารถสร้างสารอื่น ๆ ต่อไปได้อีก
    สารที่ทำหน้าที่เป็นตัวแอนตีออกซิแดนซ์มีหลายชนิด แต่ชนิดที่รู้จักกันแพร่หลายคือ วิตามินอี วิตามินซี และแคโรทีนอยด์ นักวิจัยทางการแพทย์พบว่าผู้เป็นต้อกระจกจะมีปริมาณอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมากแต่มีสารแอนติออกซิแดนซ์ต่ำรวมทั้งปริมาณวิตาม ินอี และวิตามินซีก็มีน้อยด้วย และการรักษาต้อกระจกต้องใช้วิธีการผ่าตัดทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงและมีความเสี่ยงสูงด้วย แพทย์จึงเห็นว่าวิธีที่ดีที่สุดควรใช้วิธีป้องกัน โดยรับประทานอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนซ์ในปริมาณสูง ๆ อาหารที่มีสารดังกล่าวมากคือผักและผลไม้ไทย มีหลายชนิดที่มีสารวิตามินซีสูง ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยวพวกมะนาว ส้มเขียวหวาน มะม่วง ม ะปราง มะกอก มะม่วง ฝรั่ง และกล้วย เป็นต้น โดยเฉพาะฝรั่งปรากฏว่ามีวิตามินซีสูงกว่าผลไม้ชนิดอื่น ส่วนผักได้แก่ผักใบเขียวเข้มซึ่งจะมีทั้ง วิตามินซีและสารแคโรทีนอยด์สูง เช่น ใบและดอกขี้เหล็ก ยอดผักใบเขียวพวกคะน้า บล็อคโคลี ใบย่านาง มะระ มะรุม พริก เป็นต้น
    จากงานวิจัยของ ดร.พอล จาคส์ (Paul Jacques) กรรมการเกษตรสหรัฐอเมริกา พบว่า คนอเมริกันที่รับประทานผักและผลไม้บ่อย ๆ มีโอกาสเกิดต้อกระจกน้อย กว่าผู้ไม่บริโภคผักและผลไม้ถึง 4 เท่าครึ่ง และผู้ที่ไม่รับประทานผักและผลไม้เลยจะเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจกมากขึ้นถึง 6 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีระดับวิตามินซีในเลือดต่ำ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกมากขึ้นถึง 11 เท่า ส่วนผู้ ที่มีระดับสารแคโรทีนอยด์ในเลือดต่ำจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปถึง 7 เท่า เรื่องมีวิตามินซีในเลือดและในเลนส์ตาต่ำนี่ เองที่ ดร.โลมานน์ (W. Lohmann) พบเช่นกันว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับการเกิดต้อกระจก
    นอกจากผักและผลไม้แล้วน้ำมันพืชก็มีความสำคัญ น้ำมันพืชหลายชนิดที่มีวิตามินอีสูงก็น่าจะเป็นตัวเลือก อย่าเลื อกน้ำมันพืชชนิดที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงแต่เพียงอย่างเดียว เพราะกรดไขมันกลุ่มนี้เกิดอนุมูลอิสระได้ง่ายจึงต้อง การวิตามินอีเพื่อป้องกันตัวมันเอง วิตามินอีในน้ำมันพืชกลุ่มที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงจึงให้ประโยชน์กับร่างกายน้อยเพราะ น้ำมันพืชเองต้องเอาวิตามินอีไปใช้เป็นสารกันหืนธรรมชาติเสียเกือบหมด น้ำมันพืชที่น่าจะเหมาะสมเพราะมีวิตามินอีสูงและมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงเกินไปนัก ได้แก่ น้ำมันปาล์มโอเลอินและน้ำมันรำข้าว ซึ่งต่างเป็นน้ำมันจากพืชเมือง ร้อน และในกรณีน้ำมันรำข้าวยังมีสารแอนติออกซิเดนซ์ตัวอื่น ๆ ที่ไม่ใช้วิตามินอีอยู่ด้วย เช่น ออริซานอล (oryzanol) ปนอยู่ย่อมให้ประโยชน์มากขึ้น ขณะเดียวกันในน้ำมันปาล์มโอเลอินเองยังมีสารแคโรทีนอยด์อยู่ด้วยไม่น้อยซึ่งเป็นสารแอนติออกซิเดนซ์ เช่นกัน การรับประทานน้ำมันพืชกลุ่มดังกล่าวนอกจากจะให้ไขมันซึ่งให้พลังงานและได้กรดไขมันจำเป็นในปริมาณที่พอเหมาะแล้ว ร่างกายยังได้รับสารแอนติออกซิเดนซ์ที่เป็นประโยชน์อีกด้วย ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดเป็นโรคต้อกระจกได้
ที่มา  www.oknation.net

อัพเดทล่าสุด