https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลคืออะไร และ ประโยชน์ของข้อมูล MUSLIMTHAIPOST

 

ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลคืออะไร และ ประโยชน์ของข้อมูล


64,724 ผู้ชม


1.ข้อมูลหมายถึงอะไร
        ข้อมูล (Data)   หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ 
 ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะ
 ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ
 ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น          

       สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ 
 เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน  เป็นต้น  เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป
 ห้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบ
 ปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ใน
 รูปที่มีความหมาย  สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้ มีหลายรูปแบบ   เช่นเป็นตัวเลข    ข้อความ   รูปภาพ  เสียงต่าง ๆ  เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้จากส่วนต่าง ๆ  ดังนี้

1.การรับรู้ข้อมูลทางตา    ได้แก่ การมองเห็น   เช่นข้อมูลภาพ     จากหนังสือ   โทรทัศน์   เป็นต้น

2.การรับรู้ทางหู    ได้แก่  การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู   เช่น  ข้อมูลเสียงเพลง   เสียงพูด เสียงรถ เป็นต้น

3.การรับรู้ทางมือ  ได้แก่   การสัมผัสกับข้อมูล  เช่น  การจับเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่านุ่ม เป็นเนื้อผ้าเป็นต้น

4.การรับรู้ทางจมูก   ได้แก่  การได้กลิ่น   เช่น  หอมกลิ่นอาหาร  กลิ่นดอกไม้  กลิ่นขยะ เป็นต้น

5.การรับรู้ทางปาก   ได้แก่  การรู้สึกถึงรส  โดยการสัมผัสทางลิ้น  เช่น  เผ็ด  หวาน  ขม  เป็นต้น

 

ชนิดของข้อมูลแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้ 

ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลคืออะไร และ ประโยชน์ของข้อมูล

https://www.dlf.ac.th/dltv/dltv-uploads/libs/html/1762/dec_code.gif

1. ข้อมูลตัวเลข จะประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น  เช่น   145 ,  2468  เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ

2.  ข้อมูลอักขระ  ประกอบด้วย ตัวอักษร  ตัวเลข  และอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ เช่น บ้านเลขที่  13/2  เป็นต้น  ถ้ามีตัวเลขประกอบ จะมิได้นำมาคำนวณ

3. ข้อมูลภาพ  รับรู้จากการมองเห็น  เช่น ภาพดารา  ภาพสัตว์ต่าง ๆ

4. ข้อมูลเสียง  รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน  เช่นเสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น

 

ประโยชน์ของข้อมูล มีมากมายดังนี้

1.  ด้านการเรียน เช่น ข้อมูลที่ได้จาก โทรทัศน์   วิทยุ หนังสือพิมพ์  มาใช้ประโยชน์ในการเรียนได้  เป็นข้อมูลหรือความรู้เพิ่มเติม

2. ด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น  ถ้าเรามีข้อมูล  เราสามารถที่จะสนทนาพูดคุย  หรือบอกเรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้อื่นได้

3. ด้านการตัดสินใจ   เป็นการใช้ช่วยให้เราตัดสินใจต่าง ๆ ได้ดีขึ้น  เช่น  การเลือกซื้อของเล่น  ถ้าเราทราบราคาของเล่น  ในแต่ละร้าน  จะทำให้เราเลือกซื้อของเล่นที่เหมือนกันได้ในราคาที่ถูกที่สุด

Source: ข้อมูล หมายถึง , ข้อมูลคืออะไร, ประโยชน์ของข้อมูล  thaigoodview

ข้อมูลคืออะไร หรือ ข้อมูล หมายถึง อะไร และประโยชน์ของข้อมูล

เนื่องจากการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ จะถูกต้องแม่นยำเพียงใดขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในแต่ละครั้ง เช่น ข้อมูลด้านการวางแผน การบริหาร ฯลฯ ถ้าผู้บริหารมีข้อมูลจำนวนมาก ๆ มาประกอบการตัดสินใจ ย่อมทำให้การตัดสินใจนั้น ๆ บรรลุเป้าหมายไปในทางที่ดี

ข้อมูลคืออะไร (ข้อมูลและโครงสร้างข้อมูล )

         ในวงการธุรกิจทั้งทางด้านเอกชน,รัฐบาล หรือการดำรงชีวิตในปัจจุบันจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลต่าง ๆ มาช่วยงานนั้น ๆ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้นจะเห็นว่าข้อมูล (DATA) มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจและดำรงชีพมากเพราะการดำเนินชีพได้ดีดว่าการไม่ทราบอะไรเลย

         ข้อมูลดิบ (DATA) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เหตุการณ์หรือสภาพการณ์ที่เราสนใจ ซึ่งอาจได้จากการนับ การจัด การตอบแบบสอบถาม จะอยู่ในรูปตัวเลข ตัวอักษร หรือ รูปภาพ อาจจะนำมาใช้งานได้เลยหรือข่าวสารที่ยังไม่ได้มีการประมวลผล

         ข้อสนเทศ (INFORMATION) หมายถึง การนำเอาข้อมูลดิบมาผ่านกระบวนการประมวลผลเพื่อให้อยู่ในรูปที่กระทัดรัด มีความหมายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

จากการศึกษาพบว่ามีผู้ให้คำนิยามของคำว่า ข้อมูล ไว้ หลากหลาย เช่น

         ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง ภาพ (Images) หรือเสียง (Sounds) ที่อาจจะ(หรือไม่) แก้ไขปัญหา (Pertinent) หรือเป็น ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน (Alter 1996 : 28)

         ข้อมูล คือ ตัวแทนของข้อเท็จจริง ตัวเลข ข้อความ ภาพ รูปภาพ หรือเสียง (Nickerson 1998 : 10-11)

         ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่แทนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในองค์การ หรือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพก่อนที่จะมีการจัด ระบบให้เป็นรูปแบบที่คนสามารถเข้าใจ และนำไปใช้ได้ (Laudon and Laudon 1999 :8)

         ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง หรือการอภิปรายปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (Haag, Cummings and Dawkins 2000 : 31)

         ข้อมูล คือ สิ่งประกอบไปด้วยข้อเท็จจริง และสัญลักษณ์ (Figures) ที่มีความสัมพันธ์ (ไม่มีความหมาย หรือมี ความหมายน้อย) กับผู้ใช้ (McLeod, Jr. and Schell 2001 : 12)

         ข้อมูล คือ คำอธิบายพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ กิจกรรม หรือธุรกรรม ซึ่งได้รับการบันทึก จำแนก และ เก็บรักษาไว้ โดยที่ยังไม่ได้เก็บให้เป็นระบบ เพื่อที่จะให้ความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่แน่ชัด (Turban, McLean and Wetherbe 2001 : 17)

         ข้อมูล ประกอบไปด้วยข้อเท็จจริง (Raw Facts) เช่น ชื่อลูกค้า ตัวเลขเกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงที่ทำงานในแต่ละ สัปดาห์ ตัวเลขเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง หรือรายการสั่งของ (Stair and Reynolds 2001 : 4)

         ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง ที่ใช้แทนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้รับการรวบรวม หรือป้อนเข้าระบบ (เลาว์ดอน และ เลาว์ดอน 2545 : 6)

         ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ก่อ หรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง (ข้อเท็จจริง หมายถึง ข้อความ หรือเหตุการณ์ที่ เป็นมา หรือที่เป็นอยู่จริง (ราชบัณฑิตยสถาน 2539 : 134) สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริง หรือการคำนวณ (หน้าเดียวกัน)

         ข้อมูล คือ ข้อความจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาจเป็นตัวเลข หรือข้อความที่ทำให้ผู้อ่านทราบความเป็น ไป หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (สุชาดา กีระนันท์ 2542 : 4)

         ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ ภาพ หรือเสียงก็ได้ (จิตติมา เทียมบุญประเสริฐ 2544 : 3)

         ข้อมูล คือ ข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน และถูกรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งภาย ใน และภายนอกองค์การ (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล 2545 : 40)

         ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการ นำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว (ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ 2545 : 9)

         ข้อมูล คือ ตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใดๆ (นิภาภรณ์ คำเจริญ 2545 : 14)

สรุป ข้อมูลคืออะไร ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ ภาพ เสียง กลิ่น หรือมี ลักษณะประสมกัน

        ข้อมูล (Data base) คือ ข้อเท็จจริง ข้อจริง ข้อเท็จ ซึ่งในชีวิตประจำวันของเรามีทั้ง ข้อเท็จจริง ข้อจริง ข้อเท็จ เช่น หนังสือพิมพ์ ถือว่า เป็นข้อเท็จจริง ยังไม่ใช่ข้อจริง หรือ ข้อเท็จ ดังนั้นเราไม่ควรเชื่อในข้อมูลอะไรง่ายๆจนกว่าจะผ่านการวิเคราะห์(แยกแยะให้ถี่ถ้วน) สังเคราะห์( ต่อเติม)เสียก่อน รวบรวมเรียบเรียงข้อมูลจนกลายเป็นสารสนเทศ

        ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ หรือสิ่งของที่เราสนใจ เช่น คน, สิ่งของ, หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งได้มาจากการนับ การชั่ง การตวง การวัด เป็นข้อเท็จจริงขั้นต้นเป็นการบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือกำลังจะเกิดขึ้น ข้อเท็จจริงนี้เป็นอิสระไม่สัมพันธ์กันและมีจำนวนไม่จำกัด ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ภาษาหรือสัญลักษณ์ที่ยังไม่มีการปรุงแต่งหรือประมวลผลใด ๆ ซึ่งจะไม่นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ

        ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคคล สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วนขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล

        ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

        1. ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามโดยตรง การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก ข้อมูลที่ได้จากเครื่องจักรอัตโนมัติ ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านเครื่องหมายบนกระดาษ

        2. ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว

Source: คลังปัญญาไทย

อัพเดทล่าสุด