https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สงครามครูเสด สรุปสงครามครูเสด ผลกระทบของสงครามครูเสด MUSLIMTHAIPOST

 

สงครามครูเสด สรุปสงครามครูเสด ผลกระทบของสงครามครูเสด


2,463 ผู้ชม


สงครามครูเสด

โดย... อ.กามาล อับดุลวาฮาบ

จุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด

          เมื่อพวกซัลจู๊คเข้ามามีอำนาจในโลกอิสลาม ได้ครอบครองซีเรียและเอเชียไมเนอร์ของไบแซนไทน์  ชัยชนะของซัลจู๊คในการยุทธที่มานซิเคอร์ทในปี ค.ศ.1071 นั้น เป็นการขับไล่อำนาจของไบแซนไทน์ออกจากเอเชียไมเนอร์ และอีกไม่กี่ปีต่อมาคือ ในปี ค.ศ. 1092 ซัลจู๊คก็ตีเมืองนิคาเอจากไบแซนไทน์ได้อีก ซึ่งทำให้จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ตื่นตระหนก เพราะอิสลามกำลังเข้าใกล้กรุงคอนสแตนติโนเปิ้ลเข้าไปทุกที จักรพรรดิอเล็กซิอุส คอนเนนุส แห่งไบแซนไทน์ ได้ขอความช่วยเหลือไปยังโป๊ปเกรกอรีที่ 7 แห่งกรุงโรม ให้ชาวคริสเตียนปราบเติร์ก ซึ่งสันตะปาปาก็ตอบรับการขอความช่วยเหลือ เพราะนั่นเท่ากับว่าจักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์เป็นผู้นำของศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ยอมรับอำนาจของสันตะปาปา ซึ่งเป็นผู้นำของนิกายโรมันคาทอลิกโดยสิ้นเชิง โป๊ปได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด

         หากเราพิจารณาในวงแคบลงมาแล้ว ในความรู้สึกของชาวยุโรปนั้น ตนถูกรุกรานจากพวกตะวันออกคือโลกมุสลิมมาโดยตลอด นับตั้งแต่ ค.ศ. 632 เป็นต้นมา อิสลามได้ขยายอำนาจของตนเข้าไปในเขตแดนที่ตะวันตกเคยมีอำนาจ เช่น ซีเรีย อียิปต์ แอฟริกาเหนือ ตลอดจนคาบสมุทรไอบีเรีย ( สเปน และโปรตุเกส ) ซ้ำยังคุกคามจักรวรรดินิยมที่ยิ่งใหญ่ในโลกตะวันตกคือไบแซนไทน์ และสร้างความสั่นสะเทือนให้แก่สถาบันที่เป็นหัวใจของวัฒนธรรมตะวันตกและคริสต์ศาสนา นั่นก็คือกรุงโรม โดยมุสลิมสามารถยึดครอบครองบางส่วนของอิตาลี ตลอดสมัยนี้การค้ากับตะวันออก ตกอยู่ในมือของอิสลาม สงครามครูเสดจึงเป็นความพยายามของชาวตะวันตกที่จะล้มอำนาจของตะวันออกที่เป็นมุสลิมหลังจากที่แพ้มาโดยตลอด

         แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางฝ่าอันตรายไปยังโลกอิสลามคือ ความต้องการของชาวยุโรปในแต่ละระดับ กษัตริย์ฝรั่งเศสและเยอรมันต้องการดินแดนเพิ่ม บรรดาอัศวินและขุนนางต้องการผจญภัยแสดงความกล้าหาญตามอุดมคติของอัศวินที่ดี พวกทาสต้องการเป็นอิสระ เสรีชนต้องการความร่ำรวยและแสดงความศรัทธาต่อศาสนารวมทั้งความพยายามของโป๊ปในอันที่จะรวมคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์ให้เข้ากับนิกายโรมันคาทอลิก ภายใต้การบังคับบัญชาของตนแต่เพียงผู้เดียว ประกอบกับสมัยนั้นอำนาจของอิสลามเองก็ได้อ่อนแอลงเนื่องจากความแตกแยกภายใน คือภายหลังที่ซัลจู๊คเสื่อมอำนาจลง โลกอิสลามได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย ปราศจากศูนย์กลางอีกครั้ง คอลีฟะฮฺแห่งฟาฏีมียะฮฺเองก็ตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแอและพยายามจำกัดอำนาจของตนอยู่เฉพาะในอียิปต์เท่านั้น

          โป๊ปได้ทำการเรียกร้องให้ทำสงครามครูเสด กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องทำเพราะเป็นคำสั่งของพระเจ้า แต่ทว่าเกรกกอรีที่ 7 ได้เสียชีวิตลงเสียก่อนที่จะปฏิบัติตามสัญญาในปี ค.ศ.1095 จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ได้ขอร้องทำนองเดียวไปยังโป๊ปคนใหม่ คือเออร์บานที่ 2 ซึ่งโป๊ปคนนี้ก็ได้ตอบรับการเรียกร้องทันที โป๊ปได้จัดประชุมกันที่เคลมองต์ ( Clerment ) ในประเทศฝรั่งเศส เรียกร้องให้ประชาชนทำสงครามครูเสดเพื่อกอบกู้สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเล็มคืนจากอิสลาม คำปราศรัยของโป๊ปมีใจความว่า :

“Let the truce of god be observed at home and let the arms of the Christians be directed to congue tring the infidels.”


“ด้วยบัญชาของพระเจ้า ให้เจ้าหยุดยั้งการทำสงครามกันเอง และให้เขาเหล่านั้นหันมาถืออาวุธมุ่งหน้าไปทำลายผู้ปฏิเสธ ( มุสลิม )”

         ปรากฏว่าโป๊ปรวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศสไปร่วมทำสงครามครูเสด จะเห็นว่าในบรรดาชายชาวยุโรปที่กระเหี้ยนกระหือรือในการทำสงครามครูเสดมากที่สุดก็เห็นจะได้แก่ ชาวฝรั่งเศส ดังนั้น การจัดตั้งรัฐต่างๆในตะวันออกกลางภายหลังที่พวกครูเสดสามารถปกครองดินแดนนี้จึงเป็นรัฐของฝรั่งเศส บาทหลวง บรรดาเจ้าชาย อัศวิน และนักรบล้วนแต่เป็นชาวฝรั่งเศสเสียส่วนใหญ่

         ในขณะที่ทัพครูเสดกำลังจะยกมารบกับอิสลาม ก็ได้มีกองทัพของประชาชนผู้มีศรัทธาแรงกล้าเดินทัพมาก่อนแล้วในปี ค.ศ.1094 ตามคำชักชวนของ ปีเตอร์ นักพรต ( Peter of Amines ) เขาผู้นี้ได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป เพื่อป่าวประกาศเรื่องราวการกดขี่ของชาวเติร์กต่อชาวคริสเตียนในปาเลสไตน์ ซึ่งหาได้เป็นความจริงไม่  ! กล่าวได้ว่ากองทัพนี้เป็นกองทัพของประชาชนมากกว่ากองทัพของทหารที่จะไปทำสงคราม เพราะมีผู้นำที่เป็นบาทหลวงและสามัญชนธรรมดาปราศจากความรู้ในการรบ และมิได้มีอาวุธที่ครบครัน ปรากฏว่ากองทัพนี้ส่วนใหญ่มาถึงเพียงฮังการี เพราะเมื่อขาดอาหารลงก็จะทำการปล้นสะดม จึงถูกประชาชนแถบนั้นต่อต้าน และส่วนใหญ่จะตายเสียตามทาง ที่เหลือรอดมาซึ่งมีจำนวนเล็กน้อย เมื่อเผชิญกับพวกซัลจู๊คจึงถูกตีแตกพ่ายกลับไป สงครามครั้งนี้มิได้ก่อให้เกิดผลสะท้อนใดๆ นอกจากจะกระตุ้นให้ชาวยุโรปมีความเกลียดชังมุสลิมมากขึ้นไปอีก


สงครามครูเสดครั้งที่ 1


          สงครามครั้งนี้นำโดย กอดเฟรย์ แห่งบุยยอง ( Godfrey of Buillon ) เรย์มอนด์ แห่งตูลุส ( Reymond of Toulous ) และโบเฮมุน ( Bohemund ) กองทัพทั้งสามกองนี้ เดินทางมารวมพลกันที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ.1097 มีประมาณ 300,000 คน ประกอบด้วยกองทัพของประชาชนที่มีศรัทธาแรงกล้า บรรดาเจ้าชายที่ต้องการดินแดนเพิ่ม อัศวินที่ต้องการแสดงความกล้าหาญ นักเดินทางที่ต้องการการผจญภัย ทาสที่ต้องการความเป็นไท และสามัญชนธรรมดาที่ต้องการความร่ำรวย จักรพรรดิอเล็กซิอุสแห่งไบแซนไทน์ไม่คาดคิดว่าต้องเลี้ยงดูกองทัพมหึมาขนาดนี้ จึงรีบส่งกองทัพเหล่านั้นข้ามช่องแคบฟอสฟอรัสไปยังเอเชียไมเนอร์ ขณะนั้นดินแดนดังกล่าวเป็นของอาณาจักรซัลจู๊คโรม

พวกครูเสดได้เข้ายึดเมืองนิคาเอ ขณะนั้นผู้ปกครองเมืองนี้คือ สุไลมาน อิบนุ กอฏเลมุช บิดาของกอเลจญ์ อัรซะลาน สุลต่านแห่งซัลจู๊คโรม เมืองนี้ได้ตกอยู่ในมือของพวกครูเสดในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1097 ภายหลังที่ปิดล้อมอยู่เป็นเวลาหนึ่งเดือน ต่อจากนั้นกองทัพของครูเสดก็ได้รุกคืบหน้าไปทางตะวันออกเรื่อยๆ ตลอดทางพวกครูเสดไม่ได้รับการต่อต้านที่เข้มแข็งจริงจังจากมุสลิมเลย นอกจากที่ อัสกา ชะฮฺร แต่พวกซัลจู๊คก็ไม่อาจต้านทานการรุกรานของกองทัพอันมหึมานี้ได้ กองทัพครูเสดภายใต้การนำของบอลด์วิน ( Boldwin ) เดินทางต่อไปยังเมือง อัรรูฮะฮฺ ( Edessa ) และยึดเมืองนี้ได้ในปีค.ศ. 1098 ที่เมืองนี้พวกครูเสดได้จัดตั้งอาณาจักรของตนขึ้นเป็นแห่งแรกในตะวันออกกลาง โดยมีบอลด์วินเป็นผู้นำ สำหรับส่วนที่เป็นแคว้น ซิลีเซีย ปกครองโดยพวกนอร์แมนด์ (พวกนี้มาจากตอนเหนือของทวีปยุโรป) ดินแดนดังกล่าวประกอบด้วยชาวอาร์เมเนียน และกรีก ซึ่งเป็นคริสเตียนเสียส่วนใหญ่

          ส่วนกองทัพครูเสดภายใต้การนำของโบเฮมุนด์มุ่งสู่เมืองอันตากียะฮฺ ( Antioch ) ซึ่งขณะนั้นปกครองโดย อะมีรยาฆี ซีนาน แม่ทัพของพวกซัลจู๊ค พวกครูเสดได้เริ่มปิดล้อมเมืองนี้ในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ.1097 อะมีรยาฆีได้ขอความช่วยเหลือไปยังคอลีฟะฮฺแห่งอับบาซียะฮฺ แต่คอลีฟะฮฺก็ไม่สามารถทำอะไรได้ ส่วนคอลีฟะฮฺแห่งฟาฏีมียะฮฺก็ได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพกับพวกครูเสดเสียแล้ว ขณะเดียวกันนั้น เมืองใกล้เคียงคือฮะลับ ซึ่งปกครองโดย ริฎวาน อิบนุ ตุตุซ ก็เป็นศัตรูกับยาฆี เมืองอันตากียะฮฺจึงถูกปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยว

แต่อย่างไรก็ตาม ทหารของอะมีรยาฆีก็ได้ต้านทานการรุกรานของพวกครูเสดอย่างเข้มแข็ง ในที่สุดอะมีรยาฆีก็ต้องยอมแพ้ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1098 เพราะนายทหารของอะมีรซึ่งเป็นชาวอาร์เมเนียนได้แอบเปิดประตูเมืองให้พวกครูเสด พวกครูเสดจึงเข้าเมืองได้ และยึดเมืองนี้ไว้เป็นที่มั่น ปรากฏว่าภายหลังพวกครูเสดยึดเมืองนี้ได้นั้น พวกครูเสดได้กระทำการทารุณกรรมและสังหารประชาชนในเมืองนี้เป็นจำนวนมาก พร้อมกับตะโกนว่า Dien le veut ( พระเจ้าประสงค์เช่นนั้น ) พวกเขาได้กระทำในสิ่งที่พวกเขาถือว่าเป็นบุญกิริยาและความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า

ต่อมาพวกครูเสดได้ยกมาตีเมืองรอมละฮฺ นับเป็นดินแดนแห่งแรกในปาเลสไตน์ที่ตกเป็นของพวกครูเสด วันที่  7 มิถุนายน ค.ศ. 1099 กองทัพของครูเสดก็ยกมาถึงเมืองเยรูซาเล็ม พวกครูเสดมีประมาณ 40,000 คน เป็นนักรบเสียเพียง 20,000 คน ได้ล้อมเมืองนี้อยู่นาน 5 สัปดาห์ วันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ.1099 พวกครูเสดจึงบุกเข้าเมืองได้ ทหารของฟาฏีมียะฮฺประมาณ 1,000 คน ซึ่งป้องกันเมืองนี้ ต้องยอมแพ้แก่พวกครูเสด เมื่อเข้าเมืองได้ ปรากฏว่าพวกครูเสดได้ก่อโศกนาฏกรรมอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการสังหารประชาชนในเมือง ซึ่งมีทั้งมุสลิม ยิว และคริสเตียนที่นอกคอกจำนวนถึง 60,000 คน เป็นเวลานาน 8 วัน โดยไม่ละเว้นแม้กระทั่ง เด็กสตรี และคนชรา

หลังจากนั้นพวกครูเสดก็ได้ยกไปตีเมืองอื่นๆต่อไปอีก เบรุต และไซคอน ตกเป็นของพวกครูเสด ในปี ค.ศ. 1101 คอยซาเรียในปี ค.ศ.1101 และยังได้ยกกองทัพลงไปทางใต้จนถึงเมืองอัสเกาะลาน  ถึงตอนนี้ซีเรียและปาเลสไตน์ได้ตกไปอยู่ในมือของพวกครูเสดโดยสิ้นเชิง พวกครูเสดได้ส่งมอบส่วนที่เป็นเอเชียไมเนอร์ให้ไบเเซนไทน์ปกครอง และจัดตั้งอาณาจักรของตนขึ้นในตะวันออกกลางคือ

1. อาณาจักรเอเดสสา ( อัรรูฮะฮฺ ) สถาปนาขึ้นในปี ค.ศ.1098 มีบอลด์วินเป็นกษัตริย์ปกครองเหนือแคว้นซิลิเซีย

2. อาณาจักรเยรูซาเล็ม สถาปนาขึ้นในปี ค.ศ.1099 ครอบคลุมอาณาเขตตั้งแต่เมืองเบรุตจนถึงริมฝั่งทะเลแดงทางตอนใต้ มีกอดเฟรย์เป็นกษัตริย์ แต่หลังจากนั้นเพียงปีเดียว กอดเฟรย์ก็ได้ตายลง จึงได้มีการคัดเลือกให้บอลด์วินกษัตริย์แห่งโอเดสสาเป็นกษัตริย์แห่งเยรูซาเล็มด้วย

3. อาณาจักรอันตากียะฮฺ สถาปนาขึ้นในปี ค.ศ.1098 โดยมีโบเฮมุนด์เป็นผู้ปกครอง

         ขณะเดียวกันกษัตริย์แห่งเยรูซาเล็มก็ได้สั่งให้เรย์มอนด์ทำการพิชิตเมืองทริโปลี ปรากฏว่ากองทัพเรือของพวกครูเสดได้ยกมาตีเมืองญุไบล์ทางใต้ของทริโปลี ในปี ค.ศ.1104 และจากเมืองนั้น พวกครูเสดก็คืบคลานเข้าสู่ทริโปลี ชาวเมืองทริโปลีต่อต้านการรุกรานของพวกครูเสดอยู่จนถึงปี ค.ศ.1109 เมืองนี้แตกในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ.1109 เรย์มอนด์จึงได้สถาปนาอาณาจักรทริโปลีขึ้นทั้ง 4 อาณาจักรนี้ ขึ้นตรงต่อกษัตริย์แห่งเยรูซาเล็ม  ส่วนในแถบเทือกเขาของเลบานอนนั้น เป็นเขตอิทธิพลของพวกอัซซาชูน มีผู้นำชื่อรอชีดุดดีนซีนาน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับพวกครูเสด


สงครามครูเสดครั้งที่  2


           หลังจากสงครามครั้งที่ 1 แล้ว อิสลามเริ่มตระหนักถึงหายนะอันมีต่ออารยธรรมของตน และเริ่มปรองดองกันในอันที่จะร่วมมือเพื่อต่อต้านภยันตรายดังกล่าว ทางฝ่ายคริสเตียนเริ่มประสบพบเห็นด้วยตาตนเองจึงได้รู้ว่า อิสลามมิได้เป็นคนป่าเถื่อนไร้ศีลธรรม ดังที่ได้ยินจากคำเล่าลือในยุโรป ชาวยุโรปซึ่งมีวัฒนธรรมโดยทั่วไปที่ต่ำกว่าอิสลาม ได้มาสัมผัสกับวัฒนธรรมที่สูงส่งกว่าในโลกอิสลาม พระเยซูนั้นมุสลิมก็ยอมรับว่าเป็นศาสดาคนหนึ่งของตนเช่นเดียวกันกับศาสดามุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ( มุสลิมเรียกพระเยซูว่า อีซา ) ยอมรับว่าคริสเตียนและยิวเป็นผู้เจริญและเรียกคริสเตียนและยิวว่า เป็นชาวคัมภีร์ ( อะฮฺลุลกีตาบ ) สงครามครูเสดได้นำฝรั่งจำนวนนับหมื่นนับแสนให้มาพบเห็นความเจริญ เห็นวัฒนธรรมอันสูงส่งและศีลธรรมอันดีงามของอิสลาม ทำให้ความศรัทธาในศาสนาและวัฒนธรรมของตนลดน้อยลงไป

         ผลสะท้อนที่เกิดจากสงครามครั้งนั้นใหญ่หลวงและกว้างขวางมาก ชาวยุโรปเมื่อกลับไปถึงบ้านเมืองของตนแล้ว ก็ได้ทำให้ยุโรปซึ่งหลับใหลมาเป็นศตวรรษให้กลับตื่นขึ้นมา จิตใจของคนมีความดิ้นรนต้องการปัญหา ความรอบรู้ และชีวิตใหม่ สิ่งที่ตามมาจากความเคลื่อนไหวทางจิตใจอันรุนแรงเช่นนี้ ทำให้ประวัติศาสตร์ของยุโรปต้องเปลี่ยนไปโดยไม่มีใครคาดคิด

ซึ่งได้แก่สิ่งที่เราเรียกว่า “Renaissance” เรอเนซซองส์ คือการกลับฟื้นคืนชีพแห่งปัญญาทางด้านวัฒนธรรรม และศิลปะวิทยาการต่างๆ และทำให้ความศรัทธาในศาสนาของตนที่ได้สั่งสอนกันมาลดน้อยลง ซึ่งผลทำให้เกิดการแตกนิกายในที่สุด นับตั้งแต่พวกครูเสดได้ปกครองซีเรียและปาเลสไตน์เป็นต้นมา ได้นำลัทธิเจ้าผู้ครองนคร (ฟิวดัลลิสม์) มาใช้ มุสลิมมีฐานเพียงทาสและถูกกดขี่ทารุณต่างๆนานา บัยตุลมักดิสสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของมุสลิมถูกเหยียดหยามด้วยการถูกใช้เป็นคอกม้า

           ในปี ค.ศ.1127 ได้เกิดมีวีรบุรุษมุสลิมคนหนึ่งปรากฏขึ้น ชื่อ อิมาดุดดีน ซังกี ได้รวบรวมกำลังพลอยู่ที่เมืองมูศิล และได้ยกทัพเข้าตีเมืองต่างๆของพวกครูเสด ในปี ค.ศ. 1130 เขาสามารถตีป้อมเมืองอัลอะซาริบใกล้เมืองฮะลับได้ ต่อมาในปี ค.ศ.1144 เขาก็ยึดเมืองอัรรูฮะฮฺ (Edessa) มาได้อีกภายหลังที่ล้อมเมืองนี้อยู่เป็นเวลา 4 สัปดาห์ จนกระทั่งอาณาจักรเอเดสสาทั้งหมดตกไปเป็นของมุสลิม ซังกีเป็นผู้ที่มีความสามารถในการรบ แต่เขาไม่สามารถรวบรวมกำลังของอิสลามเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจากการแตกแยกและแก่งแย่งชิงดีกัน ในที่สุดซีงกีได้ถูกมุสลิมด้วยกันลอบฆ่าตายในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ.1146

ในระหว่างที่มุสลิมเกิดความขัดแย้งกันนี้ พวกครูเสดภายใต้การนำของโยสเซลิน ( Jocelin ) ก็ยึดเมืองอัรรูฮะฮฺคืนได้ แต่นูรูดดีน มะมูด บุตรชายคนที่ 2 ของซังกี ก็สามารถตีเมืองนี้คืนมาได้ ความสูญเสียของเมืองอัรรูฮะฮฺครั้งนี้ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกครั้งใหญ่ขึ้นในยุโรปพวกคริสเตียนหวั่นวิตกว่า เยรูซาเล็มกำลังถูกมุสลิมคุกคาม จึงได้มีการปลุกระดมเพื่อทำสงครามครูเสดอีกครั้ง คราวนี้ปรากฏว่ามีกษัตริย์ที่สำคัญๆของยุโรปร่วมด้วยคือ กษัตริย์หลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส ( Louis VII ) กษัตริย์คอนราดที่ 3 ( Conrad III ) แห่งเยอรมัน เริ่มออกเดินทางในปี ค.ศ. 1141 ส่วนใหญ่เดินทางมาทางทะเล เพราะไม่ได้รับการสนับสนุนจากไบแซนไทน์

ในระหว่างที่ครูเสดยกทัพมานี้ นูรุดดีนได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในอันที่จะยึดเมืองอันตากียะฮฺ เขาได้รวบรวมกำลังทหารเข้าทำสงครามอย่างเป็นแบบแผนไม่ใช่เฉพาะอย่างที่เป็นมา ปรากฏว่าเมื่อพวกครูเสดยกทัพมาถึงจึงถูกตีแตกพ่ายยับเยิน กองทัพของคอนราดถูกทำลายที่เมืองลาตากียะฮฺ ( Latakia ) ส่วนกองทัพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ก็ถูกตีแตกที่เมืองคัดมุส ผู้ที่หนีรอดจากสมรภูมิทั้งสองแห่งได้มารวมพลกันอยู่ที่เมืองอันตากียะฮฺ และได้ยกเข้าตีดามัสกัสแต่ไม่สำเร็จ เพราะนูรุดดีนได้ยกทัพมาช่วย ทั้งกษัตริย์หลุยส์ที่ 7 และคอนราดที่ 3 ได้เลิกทัพกลับยุโรปพร้อมกับความผิดหวัง สงครามครูเสดครั้งที่ 2 จึงยุติลง

           ภายหลังสงครามครูเสดครั้งนี้แล้ว นูรุดดีนมิได้ปล่อยให้โอกาสอันสำคัญนี้ให้หลุดลอยไป เขาได้มุ่งมั่นที่จะตีพวกครูเสดให้พ้นออกไปจากเอเชียไมเนอร์ ในระหว่างการรบใกล้กับอันเนบ เจ้าชายเรย์มอนด์แห่งอันตากียะฮฺถูกฆ่าตาย และอีกหนึ่งปีต่อมาคือในปี ค.ศ.1151 นูรุดดีนก็จับศัตรูตัวฉกาจคือโยสเซลินได้ และในปี ค.ศ.1164 นูรุดดีนก็บุกเข้าไปในเมืองอันตากียะฮฺ จับโบเฮมุนด์ที่ 3 และเรย์มอนด์ที่ 3 ได้อีก

           ในปี ค.ศ.1154 เขาได้ผนวกเมืองดามัสกัสเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอะตาเบคฮะลับ ซึ่งในขณะนั้นปกครองโดยมะญีรุดดีน แห่งรัฐอะตาเบคดามัสกัส การกระทำเช่นนี้ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ดามัสกัสตกเป็นของพวกครูเสดที่กำลังบุกเข้าโจมตีอยู่ เขาได้แต่งตั้งอัยยูบ อิบนุ ชาดี เพื่อนสนิทของบิดาเป็นผู้ปกครองเมืองนี้ ส่วนซีเรียนอกเหนือจากดามัสกัสนั้นให้ชีกูรเป็นผู้ปกครอง ถึงตอนนี้พวกครูเสดถูกต่อต้านอย่างเข้มแข็งจากมุสลิมทั้งด้านเหนือและด้านทิศตะวันออก ทางเดียวที่จะขยายอำนาจออกไปได้คือบุกลงไปทางใต้ซึ่งก็คืออียิปต์

ขณะนั้นอียิปต์อยู่ภายใต้การปกครองของผู้ปกครองที่อ่อนแอคือ คอลีฟะฮฺอัลอาฎิด แห่งฟาฏิมียะห์ ซึ่งขณะนั้นวะซีร์ของเขาเกิดขัดแย้งกันเอง นูรุดดีนเห็นถึงความจำเป็นในอันที่จะต้องแทรกแซงอียิปต์โดยเร็วเพื่อป้องกันการรุกรานของพวกครูเสด เขาได้ส่งกองทัพโดยมีชีกูรเป็นแม่ทัพบุกเข้าอียิปต์ถึง 3 ครั้ง ทุกครั้งเขาได้รับชัยชนะกลับมาเสมอ ในที่สุดค่อลีฟะฮฺอัลอาฎิดก็ได้แต่งตั้งชีกูรให้เป็นวะซีร์ ( รัฐมนตรี ) ประจำอียิปต์ แต่หลังจากนั้นอีก 2 เดือน เขาก็ตายลง ตำแหล่งวะซีย์จึงตกเป็นของลูกของพี่ชายที่ชื่อ ศอลาฮุดดีน อัยยูบ ผู้ได้รับสมญานามว่า อัลมะลิกูน นาซิร3

อัพเดทล่าสุด