https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประเพณีอิสลาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้(ประเพณีอิสลาม) รูปภาพประเพณีอิสลาม MUSLIMTHAIPOST

 

ประเพณีอิสลาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้(ประเพณีอิสลาม) รูปภาพประเพณีอิสลาม


3,843 ผู้ชม


ประเพณีอิสลาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้(ประเพณีอิสลาม) รูปภาพประเพณีอิสลาม

ประเพณี ท้องถิ่น ถือเป็นแบบฉบับที่สืบทอดกันมา จากอดีตสู่ปัจจุบัน สิ่งที่เราเราต้องทราบคือรากเง้าของเราและรับรู้ เพื่อสืบสานแบบอย่างอันดีงามนี้ต่อไป สำหรับประเพณีท้องถิ่นอิสลาม ผมขอหยิบยกมาพอสังเขป ให้ได้ศึกษากันนะครับ

มาแกปูโละ เป็นภาษามลายูท้องถิ่นของ 3 จังหวัดภาคใต้ ตรงกับภาษาไทยว่า "กินเหนียว" มาแกปูโละเป็นประเพณี "กินเลี้ยง" ของท้องถิ่น นิยมทำกันทั้งชาวพุทธและชาวมุสลิมภาคใต้ ในกลุ่มของชาวมุสลิมนั้น "มาแกปูโละ" หมายถึงงานกินเลี้ยงใน งานแต่งงาน งานเข้าสุหนัด หรือเพื่อหาเงินกิจกรรมอะไรสักอย่างก็ได้ แต่สำหรับชาวไทยพุทธหมายถึงงานเลี้ยงแต่งงานอย่างเดียว ความจริงเมื่อไปในงานนี้แล้ว ไม่ได้ไปกินข้าวเหนียว หากแต่ไปกินข้าวเจ้าเหมือนงานกินเลี้ยง ทั่วไป สันนิษฐานว่า เดิมคงกินข้าวเหนียวกันจริง ๆ แต่เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปจน กลายเป็นข้าวเจ้า แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกว่ากินเหนียวอยู่


--------------------------------------------------------------------------------

ประเพณีการเกิดของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ ส่วนใหญ่จะคล้ายกับของชาวไทยพุทธ แต่เดิมหญิงมีครรภ์จะฝากครรภ์และทำคลอดกับหมอตำแย ซึ่งเรียกว่า มะบิแด หรือโต๊ะบิแด แต่ในปัจจุบันประชาชนได้รับการศึกษามากขึ้นและวิทยาการต่างๆ เจริญก้าวหน้าขึ้น หญิงมีครรภ์ จึงเปลี่ยนมาฝากครรภ์ และทำคลอดกับแพทย์ที่โรงพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเด็กคลอดออกมา หลังจากตัดสายสะดือ และทำความสะอาดแล้วจะกล่าว "อะซาน" หรือ "บัง" ที่หูขวา และ "อิกอมะฮ" หรือ "กอมัต" ที่หูข้างซ้ายของเด็ก ผู้กล่าวอาจจะเป็นบิดาของทารก หรือผู้รู้ ทางศาสนาอิสลาม ก็ได้


--------------------------------------------------------------------------------

การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ของชาวไทยมุสลิม
เรื่องฤกษ์ยามตามหลักการอิสลาม ไม่ได้ระบุไว้จะทำบุญขึ้นบ้านใหม่เมื่อไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับ ความพร้อม เมื่อเจ้าภาพกำหนดวันขึ้นบ้านใหม่แล้ว ก็จะบอกกล่าวญาติพี่น้องและเชิญ เพื่อนบ้านมาร่วมฉลองขึ้นบ้านใหม่ จัดเตรียมอาหารคาวหวานหรือน้ำชาไว้เลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน วันขึ้นบ้านใหม่ เจ้าภาพเชิญผู้นำทางศาสนาได้แก่ โต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม และผู้อาวุโส ตลอดถึงญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน มาทำพิธีละหมาดฮายัด เพื่อขอพรจากพระอัลลอฮ์ให้เจ้าของ บ้าน ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านประสบสุข ความสำเร็จ มีความปลอดภัยจากภัยพิบัติต่าง ๆ เมื่อละหมาดเสร็จก็มีการขอพร (ดูอา) เป็นอันเสร็จพิธี ทางศาสนา แล้วเชิญแขกทั้งหลาย ซึ่งไม่จำกัดว่าต้องเป็นมุสลิม ศาสนิกอื่น ๆ ก็มาร่วมรับประทานอาหารคาวหวานหรือน้ำชาก็ได้ อนึ่ง ของหวานที่จัดเลี้ยง ในการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ของชายไทยมุสลิม ส่วนใหญ่จะมีข้าวเหนียว เหลืองหน้าสังขยาหรือหน้าไก่เสมอ เรื่องข้าวเหนียวเหลืองนั้น ไม่มีการบัญญัติไว้ในหลักการ อิสลาม แต่เป็นประเพณีปฏิบัติสืบกันมาของชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้


--------------------------------------------------------------------------------

มาโซะยาวี "เข้าสุหนัด" ก็ว่า เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของอิสลาม ที่มุสลิมทุกคนถือปฏิบัติกัน อย่างเคร่งครัด คำว่า "มาโซะยาวี" เป็นภาษามลายูถิ่นหมายถึง การตัดหนังหุ้มปลายอวัยยะเพศ พิธีนี้มิได้ทำเฉพาะคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น แม้ชาวยิวและ คริสต์ก็เคยถือปฏิบัติกันมาก่อน แต่มาเลิกรากันไปในภายหลังเช่นเดียวกับศาสนาอื่น ๆ เช่น การถือศีลอด
มาโซะยาวี จะทำกันในวัยเด็ก มุสลิมบางประเทศ เช่น อาหรับ นิยมทำหลังคลอดไม่กี่วัน มุสลิมภาคใต้สมัยก่อนทำมาโซะยาวีเมื่อโตแล้ว บางคนมาทำเอาเมื่ออายุ 20 ปี พอแผลหายดีแล้ว ก็แต่งงาน ต่อมาอีกสมัยหนึ่ง ถือหลักว่าต้องว่ามีอายุครบ 15 ปี จึงจะดีที่สุด แต่ในปัจจุบันนิยม ทำกันเมื่อเด็กมีอายุระหว่าง 6-15 ปี


--------------------------------------------------------------------------------

ประเพณีการแต่งงาน

ชาวไทยมุสลิมภาคใต้ มีประเพณีการแต่งงานแตกต่างไปจากชาวไทยพุทธ ทั้งนี้เพราะต้อง ปฏิบัติให้เป็นไปตามศาสนาบัญญัติ จะละเมิดไม่ได้
การเลือกคู่ครองของไทยมุสลิม ต้องเป็นไปตามศาสนบัญญัติที่ว่า ต้องแต่งงานกับ คนที่เป็นมุสลิมด้วยกันเท่านั้น ในกรณีที่เป็นคนนอกศาสนา จะต้องให้เข้านับถือศาสนาอิสลาม เสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทางเดียวกัน และเมื่อมีลูกด้วยกันลูกจะได้เริ่มนับถือ ในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นการวางรากฐานศาสนาแต่เยาว์วัย อายุที่สมควรแต่งงาน ถ้าเป็นผู้หญิงต้อง ภายหลังจากที่มีประจำเดือนแล้วอายุประมาณ 13 -15 ปี แต่ในปัจจุบันเยาวชนมีการศึกษาดีขึ้น การแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยได้ลดน้อยลงไปด้วย

การสู่ขอ
ผู้ไปสู่ขอคือมารดาฝ่ายชาย หรือญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชาย ต้องไปขอพบกับผู้ใหญ่ ของฝ่ายหญิงพร้อมกับมีของไปฝากฝ่ายหญิง อาจจะเป็นขนมหรือผลไม้ก็ได้ เมื่อไปถึงแล้วก็บอกว่า มีธุระจะปรึกษาด้วย แล้วสอบถามว่าผู้หญิง (คนที่ต้องการสู่ขอ) มีคู่แล้วหรือยัง มีชายใดหมายปอง อยู่แล้วหรือไม่ ถ้าฝ่ายหญิงตอบว่ายังไม่มี ก็บอกว่าต้องการสู่ขอให้กับใคร ฝ่ายหญิงจะไม่ตอบ ตกลงในตอนนั้นและจะไม่ตอบรายละเอียดใด ๆ แต่จะขอเวลาปรึกษากันระหว่างญาติ ๆ ประมาณ 7 วัน ช่วงเวลานี้ฝ่ายหญิงอาจจะสืบถามรายละเอียดเกี่ยวกับฝ่ายชาย (หากไม่รู้จักกัน มาก่อนหรือยังรู้จักไม่ดีพอ) แม้จะรู้จักกันอยู่เป็นอย่างดีแล้ว ก็จะขอให้รอคำตอบตามประเพณี เมื่อครบกำหนดฝ่ายหญิงจะส่งคนที่นับถือไปบอกฝ่ายชายในกรณีที่ตกลง ถ้าไม่ตกลงก็จะเงียบเฉย ให้เป็นที่รู้เอาเอง เมื่อฝ่ายหญิงตกลงแล้ว ผู้ใหญ่ฝ่ายชายก็จะไปตกลงวิธีการแต่งงานที่บ้าน ฝ่ายหญิงอีกครั้งในวันนี้จะตกลงเรื่องวันแต่งงาน สินสอด ของหมั้น และมะฮัร

การหมั้น
ตามประเพณีไทยมุสลิมอาจะเลือกทำได้ 2 ลักษณะ คือ หมั้นก่อนทำพิธีนิกะห์ (แต่งงานตามหลักศาสนา)หรือหมั้นหลังทำพิธีนิกะห์ ซึ่งจะเป็นผลดีและมีข้อห้ามต่างกันกล่าวคือ ถ้าหมั้นก่อนแต่งงาน เจ้าบ่าวจะถูกต้องเจ้าสาวไม่ได้ จะกระทำกันระหว่างผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่าย เท่านั้น แล้วจึงแจ้งให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวรู้ว่าตนมีคู่หมั้นแล้ว หลังจากนั้นจะทำให้การติดต่อกัน เป็นไปด้วยความสะดวก คือฝ่ายชายสามารถติดต่อกับญาติของฝ่ายหญิงได้โดยไม่ถูกครหานินทา ส่วนการหมั้นหลังพิธีนิกะห์แล้ว เจ้าบ่าวสามารถถูกต้องเจ้าสาวได้ เจ้าบ่าวจึงสวมของหมั้น ให้กับเจ้าสาวได้ และสามารถจัดพิธีนั่งบัลลังก์เพื่อให้ญาติทั้ง 2 ฝ่าย ร่วมแสดงความยินดีได้อย่าง สมเกียรติ

พิธีแต่งงาน
การแห่ขันหมากและแห่เจ้าบ่าวไปยังบ้านเจ้าสาวจะมีหรือไม่ก็ได้ ถ้ามีขบวน ที่แห่เจ้าบ่าวจะประกอบด้วยขันหมากตามที่ตกลงกัน ซึ่งจะต้องมีจำนวนเป็นเลขคี่อย่างน้อย 5 ขัน ขันหมากสำคัญ ๆ คือ เงินหรือของ "มะฮัร" ขันหมาก ขันพลู ขันของหมั้น (หากหมั้นกับวันแต่งเป็น วันเดียวกัน) นอกนั้นก็เป็นขนมต่าง ๆ
ผู้ที่จะถือขันหมาก นิยมเลือกคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต หรือเป็นคนที่น่านับถือ รายที่ เคร่งครัดมาก ๆ จะห้ามหญิงหม้ายและสาว ๆ ถือขันหมาก เมื่อขบวนพร้อมแล้วจะเดินทางเพื่อให้ ทันฤกษ์กำหนดนิกะห์ เมื่อไปถึงบ้านเจ้าสาว จะมีคนออกมารับขันหมาก อาจเป็นสาว ๆ หรือ ผู้มีอาวุโสเป็นผู้เชิญขันหมากเข้าบ้านก็ได้ แล้วแต่ประเพณีนิยม
การนิกะห์ ต้องประกอบด้วยองค์ 5 ได้แก่
1. วลี คือ ผู้ปกครองของหญิงซึ่งมีสิทธิ์ให้หญิงนั้นประกอบพิธีสมรสต้องเป็นเพศชายมีสติ สัมปชัญญะ ไม่อยู่ระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์ อาจเป็นบิดา ปู่ พี่ชายหรือน้องชายของหญิงก็ได้
2. เจ้าบ่าว
3. พยาน 2 คน (ต้องเป็นมุสลิมที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ และบรรลุนิติภาวะ)
4. ประธานผู้ทำพิธีนิกะห์ (อาจเป็นคนเดียวกับวลีก็ได้) หรือเป็นโต๊ะอิหม่ามในละแวกนั้น
5. มะฮัร

คำกล่าวสำหรับว่าที่เจ้าบ่าวต่อหน้าโต๊ะอิหม่าม : "อากูตรีมอ อันกันนิกะห์ญอฮ์  ดืองันอีซีคาเวงญอฮ์ บาเญอะ ตาสซือโบะห์"


--------------------------------------------------------------------------------

การกวนขนมอาซูรอ เป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่า "อาซูรอ" เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่ 10 ของเดือนมูฮรอม อันเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ชาวบ้าน นิยมกวนขนมอาซูรอกันในเดือนนี้ จึงเรียกกันว่า ขนมอาซูรอ
ขนมอาซูรอ เริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ผู้คนรู้กันทั่วว่าจะกวนขนมอาซูรอ ที่ไหน เมื่อใด พอถึงวันกำหนดนัด ชาวบ้านก็จะช่วยกันนำอาหารดิบ อันเป็นเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ มารวมกัน ผู้คนจะมามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าภาพผู้เชิญชวน เมื่อได้ของมามาก พอแล้วก็จะช่วยกันกวน เครื่องปรุงที่สำคัญประกอบด้วย
1. เครื่องแกง มี ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผังชี ยี่หร่า
2. ข้าวสาร
3. เกลือ น้ำตาล กะทิ
4. อื่น ๆ เช่น มัน กล้วย (หรือผลไม้อื่น ๆ) เนื้อ ไข่

วันนี้วันที่ 11 ของเดือนมุหัรร็อมของอิสลาม จริงแล้วบันทึกนี้ผมจะเขียนตั้งแต่เมื่อวานเพราะชื่อมันบอกว่า อาชูรออฺ หมายถึงวันที่ 10 และวันที่ 10 ตรงกับ 7 มกราคมของไทยเรา แต่เมื่อวานไปศึกษางานใหม่แถมปวดขาด้วยเลยทำให้ทั้งไม่มีเวลาทั้งไม่มีอารมณ์เขียน

เมื่อถึงเดือนนี้แล้วก็จะได้ยินข่าวๆหนึ่งในหมู่มุสลิมในภาคใต้ คือ การทำบูโบซูรอ มันคืออะไร มันเป็นอย่างไร และเกี่ยวข้องกับมุสลิมอย่างไร..?

คำว่าซูรอ ก็คือ คำว่า อาขูรออฺ นั้นเอง หมายถึงวันที่ 10 เดือนมุหัรร็อม ปีนี้ก็วันที่ 7 อย่างที่กล่าวมา(และได้เขียนในบันทึกก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการกำหนดแล้วด้วย)

คำว่า บูโบ ก็คือขนม เป็นขนมที่กวนๆ เละๆ เข้ากัน

บูโบซูรอ หมายถึง ขนมอย่างหนึ่งที่ทำขึ้นเพื่อรำลึกถึงวันอาชูรออฺ (บางคนไม่เข้าใจวันอาชูรออฺหรอก แต่รู้จักทำบูโบซูรอดี)

เมื่อทำกันทุกปี เวลาทำก็จะทำในลักษณะรวมกลุ่มกันทำ บางทีทั้งหมู่บ้านหรือทั้งตำบล จนกลายเป็นประเพณี นับได้ว่าเป็นวัฒนธรรมประเพณีอย่างนี้

การทำบูโบซูรอ ชาวบ้านจะรวมกลุ่มกันนำอาหารดิบ จำพวก ฟักทอง มะละกอ กล้วย เผือก มัน และข้าวสาร มาปรุงรวมกัน โดยมีผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ (พ่อผมให้ใส่ไก่ด้วย) มากวนเคี่ยวรวมกันในกระทะ และใช้ไม้พายคนให้อาหารทั้งหมดเปื่อยยุ่ยเคี่ยวจนงวดเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้เวลากวนเคี่ยวร่วม 4-5 ชั่วโมง จากนั้นตักใส่ถาด โรยหน้าด้วยไข่เจียว เนื้อสมัน หรือไม่โรยหน้าก็ได้ ซึ่งอาซูรอมีทั้งชนิดหวานและชนิดจืด

ระยะหลังทางการทำการประกวดการทำบูโบซูรอด้วย จึงมีลักษณะการแต่งหน้าบูโบนี้อย่างสวยงานแล้วแต่ความถนัด

  ประเพณีอิสลาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้(ประเพณีอิสลาม) รูปภาพประเพณีอิสลาม

ประเพณีอิสลาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้(ประเพณีอิสลาม) รูปภาพประเพณีอิสลาม

ประเพณีอิสลาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้(ประเพณีอิสลาม) รูปภาพประเพณีอิสลามประเพณีอิสลาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้(ประเพณีอิสลาม) รูปภาพประเพณีอิสลามประเพณีอิสลาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้(ประเพณีอิสลาม) รูปภาพประเพณีอิสลาม

ประเพณีอิสลาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้(ประเพณีอิสลาม) รูปภาพประเพณีอิสลาม 

บางคนอ้างว่าการทำบูโบซูรอนี้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยนบีนูฮ(โนอา) ครั้งเกิดน้ำท้วมโลก นบีนูฮไม่มีอะไรจะกินก็นำทรัพยสินที่กินได้มารวมๆกันแล้วทำเป็นอาหารประทังชีวิต

บางคนอ้างว่า บูโบซูรอนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งเกิดสงครามอัล-อะหฺซาบ ในสมัยนบีมุฮำมัด เพราะตอนนั้นท่านนบีและชาวมุสลิมถูกปิดล้อมไม่สามารถติดต่อกับภายนอกได้ ทำให้อาหารไม่พอ ท่านนบีเลยสั่งมาให้นำสิ่งที่กินได้มารวมๆเป็นอาหารสำหรับหล่อเลี้ยงชีวิต

คำอ้างทั้งสองนี้ ผมไม่เคยเห็นที่ไหนเลย ไม่มีทั้งในหะดีษและคำบอกเล่าของคนมุสลิมรุ่นแรกๆ แต่แปลก...ผมได้เห็นคำอ้างเช่นนี้ ในหนังสือของหน่วยงานบางหน่วยงานของไทยเราที่กล่าวอ้างเช่นนั้น ..!!!???

ในตอนแรกๆ(สมัยผมยังเด็กๆ) พ่อผมบอกว่าให้ใส่ไก่ด้วย ผมมาเรียนรู้ภายหลังว่าท่านนี้ฉลาดมาก ท่านไม่อยากขัดกับประเพณีที่เคยทำมา แต่อยากให้มันมีประโยชน์เลยให้ใส่โปรตีนไปด้วยจะได้เป็นอาหารอย่างสมบูรณ์

ในช่วงปลายชีวิตของท่าน ท่านบอกว่าท่านกินไม่ได้ปวดท้อง จะทำก็ทำเถอะแต่ท่านจะไม่กิน.. ขนาดผู้นำศาสนาปฏิเสธการกินแบบนี้ บ้านผมและหลายบ้านก็ได้ละทิ้ง อย่างบ้านผมทิ้งจนลืมไปเลย

ผมเรียนรู้ภายหลังว่า นั้นเป็นกระบวนการลบล้างในสิ่งบิดอะฮฺของท่าน คือเรื่องบูโบซูรอนี้จริงๆแล้วไม่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามเลย คำอ้างต่างๆเป็นคำอ้างปลอมๆ แต่เพื่อไม่ให้เป็นการหักห้ามหรือขัดกับความรู้สึกชาวบ้านมากเกินไปท่านก็เลยหาทางให้เลิกที่ละเล็กทีละน้อย

แถวๆบ้านผมจะมาทำอีกครั้งก็ต่อเมื่อทางอำเภอบอกให้ไปแข่งขัยการทำบูโบซูรอ...  ก็นับว่าเป็นเรื่องแปลกเหมือนกันถ้าการทำบูโบซูรอเป็นเรื่องศาสนาทำไมคนเคร่งศาสนาอิสลามไม่คิดฟื้นฟู

บางคนว่า บูโบซูรอนี้ หะร็อม เป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม ก็มีคนมาถามผมหลายคนว่าจริงๆแล้ว หะร็อม(ห้าม..ทำแล้วบาป)จริงไหม

ผมก็ตอบเท่าที่ผมได้ศึกษา ผมว่าบูโบซูรอไม่ห้าม บ้านผมก็กิน ภรรยาผมชอบมาก แต่ขออย่างเดียวอย่าให้มันเกี่ยวข้องกับศาสนาก็แล้วกัน เพราะเมือไรบอกว่ามันเกี่ยวข้องศาสนาเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงมาก ..

การทำบูโบซูรอ.. คือ.. ประเพณี

การกินบูโบซูรอ.. คือ.. กินขนมอย่างหนึ่ง

การทำและการกินบูโบซูรอไม่ใช่ศาสนปฏิบัติ

อัพเดทล่าสุด