https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาการคนท้อง 1 เดือน อาการคนท้อง 1 เดือนเป็นยังไง ( ท้อง 1 เดือนห้ามกินอะไรบ้าง ) MUSLIMTHAIPOST

 

อาการคนท้อง 1 เดือน อาการคนท้อง 1 เดือนเป็นยังไง ( ท้อง 1 เดือนห้ามกินอะไรบ้าง )


1,182 ผู้ชม


อาการคนท้อง 1 เดือน อาการคนท้อง 1 เดือนเป็นยังไง ท้อง 1 เดือนห้ามกินอะไรบ้าง

ดังนั้นในระยะตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก แม่ควรปฎิบัติดังนี้
1. รับประทานอาหารให้พอเหมาะที่ปริมาณและคุณภาพเพื่อให้ได้พลังงานเพียงพอ น้ำหนักในช่วงนี้ควรเพิ่ม 1 - 2 กิโลกรัม
2. รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ให้หลากหลาย รวมทั้งไข่ นม เพื่อให้ได้สารอาหารโปรตีนซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเนื่อเยื่อต่างๆ รวมทั้งการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง
3. รับประทานอาหารประเภทต้ม เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ถั่วเมล็ดแห้ง ผักสีเขียวเข้ม เพื่อให้ได้ธาตุเหล็กเพียงพอสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดง และควรรับประทานอาหารประเภท ส้ม ฝรั่ง ซึ่งให้วิตามินซี ร่วมด้วยจะช่วยให้การดูดซึมเหล็กเป็นไปด้วยดี
4. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมมาก เช่น นมและผลิตภัณฑ์ปลาไส้ตัน ปลากระป๋อง กุ้งแห้ง รวมทั้งผักสีเขียวเข้ม เพื่อให้ได้แคลเซียมเพียงพอสำหรับการสร้างกระดูกของทารก
5. รับประทานผักผลไม้เป็นประจำและให้มีความหลากหลาย นอกจากจะได้วิตามินและเกลือแร่และยังให้กากใย ป้องกันท้องผูกในหญิงตั้งครรภ์
6. รับประทานข้าวหรือธัญญาพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย
7. ดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ 6 - 8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
8. งดรับประทานอาอาหรที่มีรสจัด อาหารหมักดอง อาหารที่ใส่ผงชูรสและอาหารที่ไม่สะอาด
9. ออกกำลังกายเบาๆ สม่ำเสมอ
10. ต้องไปฝากครรภ์ทันทีหลังจากทราบว่าตั้งครรภ์
อาหารต้องห้าม สำหรับ คุณแม่ตั้งครรภ์
"กินไขมันมากลูกเสี่ยงป่วยเป็นโรคเบาหวาน" ภญ.ผกา กรอง ขวัญข้าว เภสัชกรระดับ 6 รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า อาหารต้องห้ามสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ คือ อาหารที่มีไขมันที่ไม่จำเป็นกับร่างกาย อาหารแปรรูป เช่น อาหารบรรจุเสร็จ ขนมอบ เบเกอรี่ เพราะอาหารเหล่านี้มีสัดส่วนของไขมันที่ไม่จำเป็นค่อนข้างสูง มีผลรบกวนการสร้างไขมันที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก และมีผลต่อคุณภาพของน้ำนมแม่ที่จะให้ลูกด้วย "การวิจัยในต่างประเทศพบว่า แม่ที่ทานอาหารที่มีไขมันไม่จำเป็นมากเกินไป ลูกที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักมาก เมื่อโตขึ้นมีแนวโน้มจะเสี่ยงป่วยเป็นโรคเบาหวานด้วย ซึ่งคุณแม่ก็จะมีรูปร่างอ้วนหลังตั้งครรภ์ หุ่นไม่กลับไปสวยเหมือนเดิม"
ภญ.ผกา กรอง กล่าวอีกว่า อาหารที่คุณแม่ซึ่งต้องให้นมบุตร ควรรับประทานคือ อาหารกลุ่มรสร้อน แต่ไม่ใช่เผ็ด อาทิ แกงเลียง ยำหัวปลี แกงส้ม ทั้งนี้ ยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่ตำราการแพทย์แผนไทยระบุว่า ช่วยสร้างการไหลเวียนของโลหิต และทำให้น้ำนมของแม่เพิ่มขึ้น อาทิ กะเพรา พริกไทย ขิง ฟักทอง มะรุม เม็ดขนุน ใบแมงลัก กานพลู กุยช่าย ตำลึง ผลไม้ที่เหมาะกับคุณแม่ ยังมี มะละกอ ที่มีธาตุเหล็กและแคลเซียมสูง ฟอสฟอรัส วิตามินเอ บี ซี และมีเอนไซม์ที่ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย รวมถึงมีเส้นใยอาหารในปริมาณมากด้วย จะทานสุกก็ได้ หรือถ้าดิบก็นำมาประกอบอาหาร แต่ไม่ควรมีรสเผ็ด เพราะถ้ารับประทานรสเผ็ด จะส่งผลให้บุตรได้รับรสเผ็ดจากน้ำนมแม่ด้วยเช่นกัน

อาการแพ้ท้องที่อาจจะเกิดขึ้น
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ใหม่ๆ อาจจะเกิดอาการแพ้ท้อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นอาการปกติของการตั้งครรภ์ และมักจะมีอาการแพ้มากถ้าเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก (ท้องแรก) การแพ้ท้องมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจของตัวคุณแม่เอง โดยจะมีอาการแพ้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวทั้งทางร่างกายและจิตใจ การดูแลอารมณ์ไม่ให้วิตกกังวล เศร้าหมอง กลัว ก็จะช่วยให้อาการแพ้ท้องลดลงได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีการช่วยลดอาการแพ้ท้องดังนี้
    ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนสูง แต่ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่ายๆ เช่น นม น้ำซุป หรือน้ำหวาน เป็นต้น การทานเนื้อสัตว์นั้นควรเลือกประเภทที่ย่อยง่ายๆ เช่น ปลา เพราะหาเป็นเนื้อสัตว์ประเภท หมู เนื้อ จะย่อยยาก อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้
    ดื่มน้ำให้มากขึ้น เนื่องจากร่างกายของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อาจต้องสูญเสียน้ำจากการอาเจียน การดื่มน้ำสะอาดหรือกินอาหารที่มีน้ำหรือผลไม้ที่มีน้ำมากๆ ก็จะช่วยได้ การดื่มน้ำ ควรดื่มทีละน้อยๆ แต่ดื่มบ่อยๆ ไม่ควรดื่มน้ำทีละมากๆ หลังอาหารทันที เพราะจะไปรบกวนการย่อยอาหารได้
    ควรกินวิตามินเสริมอาหารตามคำแนะนำของแพทย์ เนื่องจากการอาเจียน อาจทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน จึงควรทานวิตามินเสริม และในรายที่มีอาการแพ้ท้องมากๆ คุณหมออาจให้ยาแก้อาเจียน สำหรับในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา หรือกินยาใดๆ ก็ตาม ไม่ควรซื้อยาใดๆ มากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลครรภ์ของเราโดยเด็จขาดเพราะยาบางตัวอาจเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์
    หลีกเลี่ยงกลิ่น รส หรืออาหารที่ไม่ชอบ แม้แต่อาหารที่มีกลิ่นฉุน เช่น กระเทียม ก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้
    กินให้บ่อยขึ้น อย่าปล่อยให้ท้องว่างนานเกินไป เพราะว่ากระเพาะจะหลั่งน้ำย่อยออกมา ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้เช่นกัน ควรแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 6 มื้อย่อยๆ แทน 3 มื้อหลักๆ อาหารว่างที่ดีควรเป็นขนมปังกรอบหรือผลไม้ต่างๆ เป็นต้น พยายามอย่าปล่อยให้ท้องว่างจนเกิดอาการหิว หรือน้ำย่อยออกมามากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดการอาเจียน เช่น ในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนมา ควรได้ดื่มน้ำ กินขนมปังปิ้งซัก 1-2 แผ่น บางคนอาจจะไม่ค่อยมีแรง ก็อาจต้องกินบนเตียงนอนก่อนลุกจากที่นอน การกินอาหารลงไปบ้างก็มีส่วนช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้เช่นกัน บางคนอาจมีอาการอาเจียนตอนเย็นหลังเลิกงาน ก็ควรที่จะกินอาหารว่างในช่วงก่อนเลิกงานซักเล็กน้อย ทั้งนี้ควรสังเกตอาการของตัวเองแล้วปรับการกินให้เข้ากับอาการของตนเองค่ะ หากเกิดอาการหิวขึ้นมากลางดึกก็ควรดื่มนมซักแก้ว หรือกินของว่างเบาๆ ได้ค่ะ สามารถเตรียมขนม ไว้ข้างเตียงเพื่อจะได้หยิบกินสะดวกได้ค่ะ
    พักผ่อนให้มากขึ้น และผ่อนคลายความเครียดซึ่งเป้นสาเหตุของอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ อาจจะใช้เวลาในช่วงบ่ายเอนหลังนอนหลับสักงีบ หรือหากิจกรรมเพลินๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือร้องเพลงบ้างเพื่อผ่อนคลายความเครียด
    อย่าเพิ่งลุกจากเตียงเมื่อตื่นนอน การรีบลุกจากเตียงทันทีหลังจากตื่นนอนอาจจะทำให้หน้ามืดได้ นอกจากนั้นในช่วงเช้าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่อาจจะต้องมีหน้าที่ในการทำโน้น เช่น เตรียมอาหารเช้าให้กับสามีสุดที่รัก ซึ่งการรีบตื่นรีบลุกมาทำงานทันทีจะทำให้เสียพลังงานมากและเหนื่อยโดยไม่จำเป็น ควรจัดเวลานอนให้มีเวลาหลังจากตื่นอนให้นอนอยู่บนเตียงซัก 10-20 นาที แล้วกินอาหารว่าง หรือทานมื้อเช้าบนเตียงก่อนที่จะลุกจากเตียงมาทำภารกิจประจำวัน
    หมั่นดูแลทำความสะอาดฟันอยู่เสมอ สุขภาพปากและฟันที่ไม่ดีก็สามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ได้ บ้วนปากด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำเกลืออ่อนๆ เป็นประจำ นอกจากจะช่วยให้ปากสะอาดแล้วยังช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากได้ด้วยค่ะ

ขขขขขขขขขขขขขขขขข

อาหารชนิดใดที่ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์
 
*ไข่ดิบหรือไข่ที่ปรุงไม่สุกหรืออาหารที่ทำจากไข่เหล่านั้น โดยไข่ที่ทานได้ ควรผ่านการปรุงให้สุก ไม่ควรอยู่ในสภาพที่ เป็นของเหลว
* เนื้อหรือปลาที่ปรุงไม่สุก หรือเกือบดิบ โดยเนื้อที่ทานได้ต้องไม่มีสีชมพูเหลืออยู่
* ปลาหรือเนื้อที่เสิร์ฟดิบๆ เช่น ซูชิ สเต็กบางชนิด ปลาแซลมอนรมควัน หอยนางรม
* นมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อและ เนยแข็ง
* ตับบดหรืออาหารประเภทตับ โดยอาหารพวกนี้จะมีวิตามินเออยู่สูงมาก ซึ่งอาจทำอันตรายต่อลูกน้อย ของคุณ
* อาหารที่ผ่านการปรุงบางชนิด เช่น สลัดมันฝรั่ง หรือโคสลอว์ บางครั้งอาจมีเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Listeria อยู่เป็นจำนวนมาก
* ก่อนจะรับประทาน ตรวจดูให้แน่ใจว่าอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารที่อุ่นซ้ำนั้นผ่านความร้อนทั่วถึงดีแล้วหรือยัง
* ระมัดระวังการทานบาร์บีคิว เพราะเนื้อมักจะถูกวางทิ้งไว้ ก่อนจะนำมารับประทาน
* ปลาดาบเงิน ปลากระโทงแทง และปลาฉลาม ปลาเหล่านี้มีสารปรอทตามธรรมชาติอยู่ในระดับที่อาจไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจทำอันตรายต่อระบบประสาทที่กำลังพัฒนาของลูกน้อยในครรภ์ ปลาทูน่าก็มีสารปรอทเช่นกัน คุณแม่จึงควรจำกัดปริมาณการรับประทานอยู่ที่กระป๋องขนาดกลาง (น้ำหนักไม่รวมน้ำ 140 กรัมต่อกระป๋อง) หรือเนื้อปลา 2 ก้อน (สูงสุด 170 กรัม ต่อก้อน) ต่อสัปดาห์
* ควรหลีกเลี่ยงการทานถั่วลิสงระหว่างตั้งครรภ์และการให้นม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีประวัติการเป็นภูมิแพ้ในครอบครัว เช่น โรคหอบหืด โรคเรื้อนกวางหรือโรคแพ้ละอองเกสร
* แอลกอฮอล์ การได้รับปริมาณแอลกอฮอล์มากเกินไป เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหามากมายกับลูกน้อยในครรภ์ โดยเฉพาะลูกอ่อนที่อายุน้อยกว่า 8 สัปดาห์ และแม้จะบริโภคแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อย ก็ยังอาจมีผลกระทบต่อการพัฒนาสมองของลูกในครรภ์ได้
 
* ชา กาแฟ น้ำโค้ก แป๊บซี่ เพราะน้ำพวกนี้มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
 
*สตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่มกาแฟเกินวันละ 2 แก้ว สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ถ้าจะให้ปลอดภัยต้องเลิกดื่มกาแฟ แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้พยายามดื่มกาแฟไม่ให้เกินวันละ 2 แก้ว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแท้งลูก สตรีมีครรภ์ที่ดื่มกาแฟวันละมากกว่า 2 แก้วขึ้นไปมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2 เท่าที่จะแท้งลูก เมื่อเปรียบเทียบกับสตรีมีครรภ์ที่หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มมีกาเฟอีน

อัพเดทล่าสุด