https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ยาสมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน ยาสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานหายขาด MUSLIMTHAIPOST

 

ยาสมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน ยาสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานหายขาด


624 ผู้ชม


ยาสมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน ยาสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานหายขาด

สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน
         โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและวัยกลางคน ซึ่งมีสาเหตุมาจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลที่รับประทานเข้าไปได้หมดจึงทำให้น้ำตาลคั่งอยู่ในเลือด ถ้ามีน้ำตาลในเลือดมากจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ วิธีรักษาที่ดีที่สุดคือการรักษาระดับน้ำตาลในร่างกายไม่ให้สูงขึ้น รวมทั้งการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง งดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดจากโรคเบาหวาน

ทำอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากโรคเบาหวาน

- ทานอาหารที่เป็นประโยชน์
การ เลือกรับประทานอาหารคนไทยในสมัยนี้มักจะถือค่านิยมของวัฒนธรรมตะวันตก เน้นการรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ซึ่งมีระดับไขมันสูง รับประทานผัก น้อยลงทั้งที่ผักนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพของเรามาก มีสมุนไพรไทยหลายชนิดที่ช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ได้แก่

1. มะระ  ส่วนใหญ่จะใช้มะระขี้นก โดยใช้ผลดิบแก่ที่ยังไม่สุก และยอดอ่อน ใช้เนื้อรับประทานเป็นผักจิ้ม ผลของมะระนำมาลวกรับประทานกับน้ำพริก ส่วนผลมะระจีน ใช้ประกอบอาหาร เช่นแกงจืด ผัด

สรรพคุณทางยา

ตามตำรายาไทย เป็นยารสขม ช่วยเจริญอาหาร น้ำคั้นจากผลช่วยแก้ไข้ และใช้อมแก้ปากเปื่อย ผลของมะระจีนที่โตเต็มที่แล้วนำมาหั่นตากแห้งชงกับน้ำร้อน ใช้ดื่มแทนน้ำชา แก้โรคเบาหวาน ใบสดของมะระขี้นกหั่นชงกับน้ำร้อนใช้ถ่ายพยาธิเข็มหมุดและนอกจากนั้นในผลและใบของมะระยังมีสารที่มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ พี-อินซูลิน (p-insulin) ซึ่งเป็นสารโปรตีน และคาแรนติน(charantin) ซึ่งเป็นสารผสมของสเตียรอยด์ กลัยโคไซด์ 2 ชนิด

2. ตำลึง ตำลึงเป็นผักพื้นบ้าน ที่มีคุณค่าทางด้านอาหารสูง :ประกอบด้วยวิตามิน 10 แร่ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินอื่น ๆ อีกมาก ยอดตำลึงใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่นแกงจืด ผัดผัก ลวกจิ้ม น้ำพริก แกงเลียง ใส่ก๋วยเตี๋ยว นอกจากจะมีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารสูง ในตำลึงยังพบกรดอะมิโน หลายชนิดในผลตำลึงพบสารคิวเดอร์ บิตาขึ้น –บี (cucurbitacinB)

สรรพคุณทางยา
3. ใบและเถาตำลึง  มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ โดยมีการทดลองใช้น้ำคั้นจากใบและเถาตำลึง น้ำคั้นจากผลดิบ และสารสกัดจากเถาตำลึงด้วยแอลกอฮอล์ พบว่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้

4. เตยหอม ใบเตยมีสีเขียว น้ำคั้นจากใบเตย มีกลิ่นหอมนำมาใช้แต่งสีขนม แต่งกลิ่นอาหาร นอกจากนี้ยังนิยมนำมาเป็นเครื่องดื่ม น้ำที่ได้จากใบเตยมีสารสำคัญหลายชนิด เช่น ไลนาลิลอะซีเตท (Linalyl acetate),เบนซิลอะซีเตท (benzyl acetate), ไลนาโลออล(Linalool), และเจอรานิออล (geraniol) และมีสารหอมคูมาริน(Coumarin) และเอททิลวานิลลิน(ethyl vanilin)

สรรพคุณทางยา

ในตำรายาไทย ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจ ให้ชุมชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาเบาหวาน น้ำต้มรากเตยสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้
ตรวจร่างกายเป็นประจำ และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ดูแลรักษาร่างกาย ระมัดระวังไม่ให้เกิดแผล เพราะจะทำให้แผลหายช้า
สำหรับท่านที่ยังไม่เป็นโรคเบาหวานก็ควรปฏิบัติตัวตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น จะเป็นการป้องโรคได้ดีที่สุด

ข้อมูล : oknation.net

อัพเดทล่าสุด