https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
job description ของเภสัชกร การเรียนเภสัชกร เงินเดือนเภสัชกรจบใหม่ job description เภสัชกรโรงพยาบาล MUSLIMTHAIPOST

 

job description ของเภสัชกร การเรียนเภสัชกร เงินเดือนเภสัชกรจบใหม่ job description เภสัชกรโรงพยาบาล


3,271 ผู้ชม


job description ของเภสัชกร การเรียนเภสัชกร เงินเดือนเภสัชกรจบใหม่ job description เภสัชกรโรงพยาบาล

หน้าที่ของเภสัชกร/job description ของเภสัชกร
ส่วนมากเภสัชกรจะพบกับผู้ป่วยในจุดแรกด้วยการสอบถามปัญหาเกี่ยวกับสาธารณะสุขพื้นฐานโดยเฉพาะเกี่ยวกับยา การใช้ยา ผลข้างเคียงของยา ฯลฯ ดังนั้นหน้าที่ของเภสัชกรจึงคอนข้างกว้างซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
    บริหารงานเกี่ยวกับการใช้ยาในทางคลินิก (clinical medication management)
    การเฝ้าติดตามสถานการณ์ของโรคเฉพาะ (specialized monitoring) ที่เกี่ยวกับยาและผลของยาทั้งโรคธรรมดาและซับซ้อน
    ทบทวนการใช้ยาอย่างละเอียดถี่ถ้วน (reviewing medication regimens)
    ติดตามการรักษาโรคอย่างต่อเนื่อง (monitoring of treatment regimens)
    ติดตามดูแลสุขภาพอนามัยทั่วไปของผู้ป่วย (general health monitoring)
    ปรุงยา (compounding medicines)
    ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยทั่วไป (general health advice)
    ให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยเป็นการเฉพาะ (specific education) เกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคและการรักษาด้วยยา
    ตรวจสอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจ่ายยา (dispensing medicines)
    ดูแลจัดเตรียม(provision)ยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์(non-prescription medicines)
    ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยถึงการใช้ยาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด(optimal use of medicines)
    แนะนำและรักษาโรคพื้นๆทั่วไป(common ailments)
    ส่งต่อผู้ป่วยไปยังวิชาชีพสาธารณะสุขอื่นที่ตรงกับโรคของผู้ป่วยมากกว่าถ้าจำเป็น
    จัดเตรียมปริมาณยา (dosing drugs) ในผู้ป่วยตับและไตล้มเหลว
    ประเมินผลการเคลื่อนไหวของยาในผู้ป่วย (pharmacokinetic evaluation)
    ให้การศึกษาแก่แพทย์ (education of physicians) เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้อง
    ร่วมกับวิชาชีพทางด้ายสาธารณะสุขอื่นในการสั่งยา (prescribing medications) ให้คนไข้ในบางกรณี
    ดูแล จัดเตรียม จัดหา และรักษาเภสัชภัณฑ์ให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน (pharmaceutical care)

นิยามอาชีพ
          นำแนวคิดและทฤษฎีทางด้านเภสัชศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเตรียมและผสมยาหรือจำหน่ายเวชภัณฑ์และยาต่าง ๆ เตรียมและจัดแจงเวชภัณฑ์ตามใบสั่งยาของแพทย์ ทันตแพย์และ สัตวแพทย์ หรือทำการผสมสูตรยา ตรวจดูใบสั่งยาเพื่อให้แน่ใจว่าขนาดของยาที่สั่งเป็นขนาดที่เหมาะสม และเพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้ หรือผู้ที่จ่ายยาให้คนไข้ เข้าใจวิธีการใช้ยา รวมทั้งให้การแนะนำในกรณีที่เกิดการแพ้ยา จัดเวชภัณฑ์และยาใน
          โรงพยาบาล หรือจำหน่ายในร้ายขายยาทั่วไป จดบันทึกรายการยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาเสพติดสารพิษ และยาที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมซ้ำซาก ทดสอบตัวยาเพื่อให้รู้ว่าเป็นยาอะไร สกัดยาให้บริสุทธิ์และเข้มข้นขึ้น มีส่วนร่วมในการพัฒนา กฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ เขียนรายงานและวารสารทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องและควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานอื่น ๆ
ลักษณะของงานที่ทำ
        ค้นคว้าและพัฒนาสูตรยาตำรับใหม่ๆเพื่อขึ้นทะเบียนและส่งสูตรที่สำเร็จแล้วให้ฝ่ายผลิตเพื่อทำการผลิตยาออกจำหน่าย ควบคุมการผลิตยาให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ วิเคราะห์ ตรวจสอบยาที่ผลิตให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ปรุงยา จ่ายยาและสิ่งที่เกี่ยวข้องตามใบสั่งหรือตามสูตร เตรียมการผลิตยา เช่นยาน้ำ ยาขี้ผึ้ง ยาผง ยาเม็ดกลม ยาเม็ดแบน แค็ปซูล และยาฉีดตามใบสั่งของแพทย์หรือตามสูตรที่ได้รับการรับรองแล้ว ชี้แจงแก่แพทย์ พยาบาลและผู้ปฏิบัติงานในแขนงอื่นๆ ทางการแพทย์เกี่ยวกับยา เคมีภัณฑ์และการใช้สิ่งนั้นๆ ควบคุมและจ่ายยาเสพติดให้โทษ ยาพิษ และสารพิษที่ต้องการใช้เพื่อการแพทย์ กิจการในบ้าน อุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม และจ่ายสิ่งนั้นๆ ตามกฎข้อบังคับ ทำหน้าที่วิเคราะห์และทดสอบตามปกติ เพื่อให้ทราบชนิดความบริสุทธิ์และความแรงของยา จัดระเบียบและควบคุมรักษายาในคลังทำบัญชีประจำคลังโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ เช่น ยาเสพติดให้โทษ ยาอันตราย ยาสามัญ เคมีภัณฑ์และเครื่องใช้ในการแพทย์ อาจจัดซื้อเวชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์และสะสมเครื่องใช้ในการแพทย์ไว้จ่ายแก่คนไข้ และห้องรักษาโรค อาจผลิต จำหน่าย และชี้แจงเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น สุขภัณฑ์ เครื่องสำอาง เคมีภัณฑ์สำหรับเกษตรกรรมและพืชสวน และยาสำหรับสัตว์ ศึกษาวิธีการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งวิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่นเครื่องจักรที่ใช้ผลิตยา เครื่องมือในการวิเคราะห์ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือ
 
สภาพการจ้างงาน
          ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา เภสัชกรที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงานจะได้รับเงินเดือนในอัตรา ดังนี้
 
     ประเภทองค์กร                      เงินเดือน
       ราชการ                                     7,260 
      รัฐวิสาหกิจ                                  8,500
      เอกชน                               15,000 –18,000
 
          ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่อาจจะต้องทำงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ และ วันหยุด หรือทำงานล่วงเวลา ในกรณีที่ต้องการให้งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จให้ทันต่อการใช้งาน
          นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้ว ในภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส เป็นต้น
สภาพการทำงาน
          ผู้ประกอบอาชีพเภสัชกรอาจต้องทำงานในห้องทดลอง เพื่อปฏิบัติงานด้านปรุงยา จ่ายยาและสิ่งที่เกี่ยวข้องตามใบสั่งหรือสูตร เตรียมหรือควบคุมการผลิตยา  (ยาน้ำ ยาขี้ผึ้ง ยาผง ยาเม็ดกลม ยาเม็ดแบน  แคปซูล  และยาฉีด)  ตามใบสั่งของแพทย์  หรือตามสูตรที่รับรองกันแล้ว ทำการทดสอบยา ต้องอยู่กับสารเคมีที่ต้องใช้ในการทดสอบ ซึ่งสารเคมีในห้องปฏิบัติการทดลองอาจจะทำปฏิกิริยาที่ทำให้เป็นอันตรายได้ ดังนั้น จึงต้องรู้จักวิธีใช้ และวิธีป้องกันรวมทั้งปฏิบัติงานตามขั้นตอนตามระเบียบที่กำหนดไว้ ต้องทำงานในบริเวณที่กำหนด และเป็นบริเวณห้ามสูบบุหรี่หรือรับประทานอาหารต้องใช้อุปกรณ์ป้องกัน  เช่น  ถุงมือ  หน้ากาก เป็นต้น 
          เภสัชกรอาจจะทำงานในห้องจ่ายยา  หรือร้านขายยาโดยทำหน้าที่ควบคุมการจัดยาให้ถูกต้องตามแพทย์สั่ง จัดระเบียบควบคุมรักษายาในคลัง และแนะนำคนไข้ในการใช้ยา
 
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1.  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์
2.  มีสุขภาพกายและจิตใจดี  ไม่พิการ   ไม่ตาบอดสี  มีมนุษยสัมพันธ์ดี    มีความสามารถเป็นผู้นำได้เนื่องจากอาจจะทำงานควบคุมผู้อื่นโดยเฉพาะในงานการผลิต มีบุคลิกภาพดี
3.  รักในอาชีพนี้ มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมสูง
4.  ต้องมีความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์ เคมี ชีววิทยา และสามารถสอบได้คะแนนดีในวิชาเหล่านี้
5.  ชอบการค้นคว้าทดลอง การใช้ปัญญาในการวิเคราะห์
6.  มีความละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกต
7.  ซื่อสัตย์ต่ออาชีพ
8.  ผู้ที่สนใจประกอบอาชีพนี้ต้องชอบการท่องจำ เพราะจำเป็นต้องจำชนิดของยา ส่วนประกอบของยา ชื่อและประโยชน์ของต้นไม้ที่มีฤทธิ์ทางยารวมทั้งชื่อยาและชื่อสารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรค
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ 
          สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา ในคณะเภสัชกรรม สาขาวิชาเภสัชศาสตร์  (หลักสูตร 5 ปี) จากสถาบันอุดมศึกษาของภาครัฐหรือภาคเอกชน  เช่น  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   มหาวิทยาลัยขอนแก่น    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   มหาวิทยาลัยมหิดล  เป็นต้น
 โอกาสในการมีงานทำ
         ปัจจุบัน ความต้องการยาสำหรับรักษาโรคทางการแพทย์แผนปัจจุบัน และแผนโบราณเพิ่มมากขึ้นตามอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรและชนิดของเชื้อโรคที่พัฒนาตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การพัฒนาคุณภาพของยา ตลอดจนการควบคุมขั้นตอนการผลิตยารักษาโรค ให้มีประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาต้องดำเนินการอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้มียาที่สามารถใช้ในการรักษาบำบัดโรคต่างๆ ที่เพียงพอกับจำนวนประชากร เภสัชกรจึงยังเป็นที่ต้องการทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชนเป็นอย่างมากแนวโน้มของโอกาสในการมีงานทำของอาชีพนี้ ยังคงมีอยู่ ดังนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาทางด้านนี้สามารถหางานทำได้ง่าย และหากไม่เลือกงานก็จะไม่มีการตกงานเลยสำหรับเภสัชกร อาชีพเภสัชกรสามารถทำงานในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ เช่น โรงพยาบาล องค์การเภสัชกรรม ส่วนในหน่วยงานเอกชน ได้แก่ บริษัทผลิตยา บริษัทนำเข้ายา บริษัทผลิตเครื่องสำอางหรืออาจประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยการเปิดร้านขายยา
 
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
          ผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการในโรงพยาบาลทั่วไป ในองค์การเภสัชกรรม  จะได้รับตำแหน่งและเลื่อนขั้นยศตามขั้นตอนของระบบราชการ  การศึกษาต่อเพิ่มเติมจะช่วยให้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งได้รวดเร็วและสามารถเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานได้ ส่วนในภาคเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร ซึ่งสามารถเป็นผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการด้านคุณภาพหรือผู้จัดการ ฝ่ายขาย 
          เภสัชกรสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัว คือ  เป็นเจ้าของร้านขายยาสำหรับผู้ที่สามารถผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่สามารถบำบัดรักษาอาการ เจ็บป่วยหรือบำรุงรักษาสุขภาพได้โดยผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากองค์การเภสัชกรรมสามารถจดลิขสิทธ์การเป็นเจ้าของสูตรในการปรุงยา  หรือผลิตภัณฑ์นั้น และผลิตเป็นสินค้าออกจำหน่ายในลักษณะอุตสาหกรรมได้เช่นกัน
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
          ตัวแทนจำหน่ายยา เจ้าของร้านขายยา ผู้ควบคุมห้องทดลองปฏิบัติการ   พนักงานตรวจสอบอาหารและยา

พระราชบัญญัติ

วิชาชีพเภสัชกรรม

พ.ศ. ๒๕๓๗

                  

 

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗

เป็นปีที่ ๔๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

 

โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเภสัชกรรม

 

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

 

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗”

 

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน

 

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

“วิชาชีพ เภสัชกรรม” หมายความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการกระทำในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การวิเคราะห์ยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงและจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ รวมทั้งการดำเนินการปรุงยาและการขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา

“ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรม

“ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจากสภาเภสัชกรรม

“สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสภาเภสัชกรรม

“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการสภาเภสัชกรรม

“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสภาเภสัชกรรม

“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสภาเภสัชกรรม

“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา ๕ ในกรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอ้างถึงการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขา เภสัชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาเภสัชกรรม ให้หมายความถึงการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมตามพระราชบัญญัตินี้

 

มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงและระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

หมวด ๑

สภาเภสัชกรรม

                  

 

มาตรา ๗ ให้มีสภาเภสัชกรรม มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้สภาเภสัชกรรมเป็นนิติบุคคล

 

มาตรา ๘ สภาเภสัชกรรมมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(๑) ส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

(๒) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก

(๓) ผดุงไว้ซึ่งสิทธิ ความเป็นธรรมและส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก

(๔) ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม

(๕) ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการเภสัชกรรมและการสาธารณสุข

(๖) ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับการเภสัชกรรมและการสาธารณสุข

(๗) เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย

มาตรา ๙ สภาเภสัชกรรมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

(๒) วินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๔๒ วรรคสาม

(๓) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิก

(๔) รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรมของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพเภสัชกรรม

(๕) รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการฝึกอบรมใน (๔)

(๖) ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ เภสัชกรรมสาขาต่าง ๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพเภสัชกรรม

(๗) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาเภสัชกรรม

 

มาตรา ๑๐ สภาเภสัชกรรมอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้

(๑) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน

(๒) ค่าขึ้นทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ

(๓) ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในมาตรา ๘

(๔) เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้ให้แก่สภาเภสัชกรรม

(๕) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)

 

มาตรา ๑๑ ให้รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งสภานายกพิเศษแห่งสภาเภสัชกรรมมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้

อ่านทั้งหมด คลิก

 

อัพเดทล่าสุด