อาหารประจําชาติมาเลเซีย - อาหารประจําชาติอาเซียน MUSLIMTHAIPOST

 

อาหารประจําชาติมาเลเซีย - อาหารประจําชาติอาเซียน


4,375 ผู้ชม


อาหารประจําชาติมาเลเซีย - อาหารประจําชาติอาเซียน
บะกุ๊ดเต๋
อาหารประจําชาติมาเลเซีย - อาหารประจําชาติอาเซียน
ข้าวมันไก่


มาเลย์ชู บะกุดเต๋ - ข้าวมันไก่ อาหารประจำชาติ (คมชัดลึก)
          มาเลเซียเล็งประกาศ "ก๋วยเตี๋ยวแกง บะกุ๊ดเต๋ ปูผัดผงกะหรี่ ข้าวมันไก่" เป็นอาหารประจำชาติ อ้างถูกประเทศอื่นปล้นไปเป็นของตัว ขณะที่ ผอ.สถาบันอาหารของไทยยันเป็นแค่กลยุทธ์การตลาด โครงการครัวมาเลเซียสู่โลก นักวิชาการชี้ไม่ได้แปลว่าเป็นลิขสิทธิ์ของมาเลเซีย แนะไทยควรประกาศ "ต้มยำ" เป็นอาหารประจำชาติบ้าง 

          หนังสือพิมพ์เดอะสตาร์ของมาเลเซีย รายงานเมื่อวันที่ 17 กันยายน อ้างการเปิดเผยของนางอึ้ง เหยิน รัฐมนตรีการท่องเที่ยวมาเลเซีย ที่ระบุว่า กำลังดำเนินการอ้างสิทธิเหนืออาหารจานเด็ด เช่น ลักซา หรือก๋วยเตี๋ยวแกง ข้าวมันไก่ และบะกุดเต๋ ให้เป็นอาหารเด็ดประจำชาติมาเลเซีย ซึ่งล้วนแต่เป็นอาหารที่ถูกประเทศอื่นปล้นไปเป็นของตัวเอง
          นางอึ้ง เหยิน กล่าวว่า ในจำนวนรายการอาหารที่มาเลเซียจะประกาศเป็นอาหารจานเด็ดประจำชาตินั้น รวมทั้งข้าวหุงกับน้ำกะทิกลิ่นหอมพร้อมเครื่องเคียงชนิดต่าง ๆ ที่เรียกตามภาษามาเลเซียว่า "นาซิ เลอมัก" เมนู "ลักซา" ก๋วยเตี๋ยวแกง, บะกุดเต๋ เมนูซี่โครงหมูต้มยาจีน
          "เราไม่สามารถปล่อยให้ประเทศอื่นขโมยอาหารเราได้อีกต่อไป ทั้งปูผัดผงกะหรี่ และข้าวมันไก่ไหหลำ ต่างเป็นของมาเลเซีย เราต้องอ้างสิทธิ์เหนืออาหารของเรา" นางอึ้ง เหยิน กล่าว
          รัฐมนตรีการท่องเที่ยวแดนเสือเหลือกล่าวอีกว่า ในอีก 3 เดือนข้างหน้า มาเลเซียจะระบุรายการอาหารจานเด็ดที่แน่นอนออกมา เพื่อประกาศให้อาหารเหล่านี้เป็นอาหารประจำชาติมาเลเซีย เช่น ก๋วยเตี๋ยวแกงลักซาทุกชนิด นาซิ เลอมัก และบะกุดเต๋ โดยกระทรวงจะประกาศยุทธศาสตร์ในการทำให้อาหารเหล่านี้เป็นอาหารมาเลเซีย แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ และจะแถลงให้ทราบในภายหลัง
          ทั้งนี้ นางอึ้งไม่ได้ระบุชัดเจนว่าประเทศใดคือประเทศที่ขโมยอาหารจานเด็ดเหล่านี้ ซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
          ด้าน ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหารของไทย กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า น่าจะเป็นเรื่องกลยุทธ์การตลาดของมาเลเซียในการสานต่อโครงการครัวมาเลเซีย สู่โลก ที่ประกาศไว้เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเป็นนโยบายคล้ายกับของไทย ที่ต้องการขยายร้านอาหารในต่างประเทศ จึงเชื่อว่ากระทรวงการท่องเที่ยวมาเลเซียน่าจะต้องการสร้างขึ้นมาเป็นจุดขาย เพื่อดึงดูดให้คนสนใจ
          "เชื่อว่าทางการมาเลเซียกำลังพยายามสร้างจุดขายทางด้านการท่องเที่ยวให้ ประเทศเท่านั้น ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ไม่มีผลกระทบอะไรกับประเทศไทย โดยตำรับอาหารนั้นไม่มีใครสามารถนำไปจดลิขสิทธิ์ได้อยู่แล้ว ส่วนตัวก็เห็นว่า การที่เราจะสร้างอาหารจานเด็ดของตนเองนั้น ไม่ได้อยู่ที่เรื่องนี้ แต่อยู่ที่การสร้างความรู้ความเข้าใจถึงต้นตำราของอาหารนั้นๆ มากกว่า เช่น ผัดไทย ปัจจุบันพบว่ามีการเปลี่ยนสูตรให้ง่ายขึ้น โดยใช้น้ำส้มสายชู หรือน้ำมะเขือเทศ ทั้งที่ต้นตำรับจริง ๆ  คือจะต้องใช้น้ำมะขามเปียกเท่านั้น เราจึงควรจะสร้างความรับรู้ตรงนี้" ดร.ยุทธศักดิ์กล่าว และว่า สำหรับประเทศไทยที่ผ่านมาถือว่าโครงการครัวไทยสู่โลกสามารถทำการขยายและเติบ โตได้ดี โดยไม่จำเป็นที่จะต้องดำเนินกลยุทธ์แบบเดียวกันนี้
          ด้าน ดร.วรุณี วารัญญานนท์ นักวิจัยเชี่ยวชาญด้านอาหาร อดีตผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า สามารถทำได้ เพราะอาหารชนิดนี้เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย รวมถึงสิงคโปร์ด้วย โดยเฉพาะบะกุดเต๋ จะเป็นอาหารของชาวมาเลย์เชื้อสายจีน ที่นิยมบริโภคในตอนเช้า จะเห็นได้ว่า หากใครเดินทางไปประเทศมาเลเซีย อาหารเช้าประเภทบะกุดเต๋ จะมีการโปรโมทมากมาย ในลักษณะให้นักท่องเที่ยวได้ชิมกัน
          อดีต ผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าและพัฒนาอาหาร กล่าวอีกว่า การที่มาเลเซียจะประกาศอาหารทั้ง 4 อย่างเป็นอาหารประชาติ ไม่ได้แปลว่าเป็นลิขสิทธิ์ของมาเลเซีย เพราะยังไม่มีสถาบันใดในโลกนี้ ที่จะรับรองด้านอาหารของแต่ละชาติ หรือจะรับประกันอาหารแต่ละอย่างเป็นลิขสิทธิ์ของประเทศนั้น ๆ ทำได้เพียงเป็นการประกาศกันเองให้ชาวโลกทราบว่า อาหารเหล่านี้เป็นที่นิยม หรือมีถิ่นกำเนิดในประเทศใดเท่านั้น อย่างต้มยำกุ้งก็เป็นที่ทราบดีว่า เป็นอาหารไทย แต่คนอื่นย่อมนำไปปรุงได้ เพราะเป็นสูตรอาหารที่มีมาตั้งนาน กลายเป็นสากลแล้ว ไม่สามารถที่จะจดเป็นลิขสิทธิ์ได้ แม้แต่การจดลิขสิทธิ์ภายในประเทศก็ยังทำไม่ได้

          "เข้าใจว่าทางมาเลเซียต้องการสร้างชื่อเสียงด้านอาหารให้แก่ประเทศตัวเอง เพราะในโลกนี้มีอาหารที่ขึ้นชื่อหลายประเทศ อาทิ อาหารอิตาเลียน อาหารเวียดนาม อาหารญี่ปุ่น แม้แต่อาหารไทยยังติดอันดับ 5 ที่มีความนิยมระดับโลก แต่อาหารมาเลเซียยังไม่ติดชื่อและไม่มีใครพูดถึง ทั้งที่ความจริงบะกุดเต๋เป็นอาหารจีนฮกเกี้ยน ข้าวมันไก่เป็นของจีนไหหลำ ส่วนปูผัดผงกะหรี่ และแกงกะหรี่นั้นไม่มั่นใจ เพราะในบ้านเราก็มีเช่นกัน ที่สำคัญผงกะหรี่นั้นมาจากประเทศอินเดีย อย่างต้มยำ และอาหารอีกหลายอย่าง ดิฉันเห็นเป็นอย่างยิ่งว่า ไทยควรจะประกาศเป็นอาหารประจำชาติของไทย" ดร.วรุณี กล่าว
          ด้าน ม.ล.ภาสันต์ สวัสดิวัตน์ กูรูด้านอาหารชื่อดังในนาม "ปิ่นโตเถาเล็ก" กล่าวว่า ทั้งหมดทั้งมวลต้องออกตัวก่อนว่าเป็นความเข้าใจส่วนตัวและที่รับรู้มาจากคุณ พ่อ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ อย่างข้าวมันไก่ ที่เคยเห็นมาเป็นของคนจีนที่เรียกว่า ไห่หนาน ชิคเก้น เคยเห็นมีขายทั่วไปหมดเลย โดยเฉพาะเมืองไทยมีข้าวมันไก่ไหหลำขายมาเป็นร้อย ๆ ปีแล้ว จำได้ว่าได้กินตั้งแต่จำความได้ คุณพ่อพาไปกินสม่ำ อย่างที่ร้านไทเฮงที่เป็นข้าวมันไก่ไหหลำ คุณพ่อก็ไปชิมมาตั้งแต่ยังหนุ่มๆ ด้วยซ้ำ อาหารจานนี้น่าจะเป็นของคนจีนด้วยซ้ำ ไม่น่าจะเป็นของมาเลเซีย แล้วคนจีนก็อพยพมาเมืองไทยมานมนาน ข้าวมันไก่ไหหล่ำก็กินกันมานมนานแล้ว
          ส่วน บะกุ๊ดเต๋ เป็นอาหารที่ไปกินในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ อาหารจานนี้ถ้าเขาจะยกให้เป็นอาหารประจำชาติของเขาก็ไม่ผิด แต่สงสัยมากกับข้าวแกงกะหรี่จะผลักดันได้อย่างไร เพราะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าผงกะหรี่เป็นเครื่องเทศของอินเดีย

          "มัน ประหลาดนะ ที่เขาจะให้ข้าวแกงกะหรี่เป็นอาหารประจำชาติมาเลเซีย อย่างประเทศญี่ปุ่นเขาก็มีข้าวแกงกะหรี่ที่เขานำเอาเมนูของอินเดียไปผสมผสาน ให้ถูกปากจนเป็นข้าวหน้าแกงกะหรี่ของเขา หรืออย่างราเมงคนเข้าใจว่าเป็นของญี่ปุ่น ความจริงแล้วไม่ใช่ เป็นของจีน ส่วนปูผัดผงกะหรี่ผมไม่รู้จริง ๆ ว่าเป็นของชาติไหน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็น่าจะเป็นอาหารอินเดียนะ แต่ก็อยากเสนอแนะในเรื่องของข้าวมันไก่นะ เพราะคนไทยได้กินมานมนาน น่าจะรวมตัวกันผลักดันให้เป็นอาหารของบ้านเรานะ" กูรูด้านอาหารกล่าวทิ้งท้าย
          นายสมพล สืบสมาน เจ้าของร้านจิงจูฉ่ายเกาเหลาเลือดหมู ย่านสวนหลวง กรุงเทพฯ และวิทยากรสอนหลักสูตรอาหารจีน ประจำโครงการ "คม ชัด ลึก ฝึกอาชีพ" กล่าวว่า ในจำนวนอาหารที่มาเลเซียจะประกาศเป็นอาหารประจำชาตินั้น อาหาร 2 อย่างคือ บะกุดเต๋ และข้าวมันไก่ เป็นอาหารของชาวจีน อย่างบะกุดเต๋ มีชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาจากเมืองจีนโดยเรือสำเภอแวะขึ้นที่แหลมมลายู ทำให้อาหารชนิดนี้เป็นที่นิยมในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และทางภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
          "บะ คือหมู กุด คือกระดูก เต๋คือเครื่องยาจีนแห้ง ที่ใช้ประกอบการในการตุ๋นกว่า 10 ชนิด หากแปลคือกระดูกหมูตุ๋น เดิมที่บะกุดเต๊เป็นการตุ๋นกระดูกหมูรับประทานเป็นน้ำซุปของอาหารเช้า ตอนหลังมีการดัดแปลงใส่เครื่องใน กระเพาะหมู และผัก มารับประทานในลักษณะคล้าย ๆ กับเกาเหลาเลือดหมู หากมาเลเซียจะประกาศเป็นอาหารประจำชาติก็รับได้ เพราะเป็นที่นิยมชองชาวมาเลเซียจริงและนานด้วย ส่วนข้าวมันไก่นั้นเป็นของชาวจีนไหหลำ มีแพร่หลายไม่เฉพาะในมาเลเซีย ในบ้านเราก็นิยมมากเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนย่านเยาวราช เช่นเดียวกับปูผัดผงกะหรี่ ทางมาเลเซียไม่ได้นิยมมากไปกว่าบ้านเรา ไม่น่าจะเป็นของมาเลเซีย เพราะเครื่องเทศเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากประเทศอินเดีย และอีกส่วนหนึ่งมาจากเมืองจีน" นายสมพล กล่าว

-----------------------

ประเทศมาเลเซีย Malaysia 

 

อาหารประจําชาติมาเลเซีย - อาหารประจําชาติอาเซียน

ธงชาติมาเลเซีย   หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "Jalur Gemilang"  (แปล ว่า ธงริ้วแห่งความรุ่งเรือง) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "Bintang Persekutuan" หรือ "ดาราแห่งสหพันธ์" 

แถบ ริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 แถบ หมายถึงรัฐในสหพันธ์รัฐมาเลเซียทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ รัศมีดาวทั้ง 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราแห่งสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย ซึ่งแต่เดิมสีนี้ใช้แทนความเชื่อมโยงระหว่างสหพันธรัฐมาเลเซียกับเครือ จักรภพอังกฤษ แต่คำนิยามดังกล่าวนี้ได้ถูกลดความสำคัญลง และได้มีการนิยามความหมายของสีนี้ใหม่ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันโดยรวมแล้วแม้ ธงนี้จะคล้ายกันกับธงชาติสหรัฐอเมริกาและธงประจำบริษัทอินเดียตะวันออกของ อังกฤษก็ตาม แต่ธงนี้ก็ไม่มีความเชื่องโยงกับทั้งสองธงข้างต้นแต่อย่างใด  

  ตราแผ่นดิน National Emblem of Malaysia

อาหารประจําชาติมาเลเซีย - อาหารประจําชาติอาเซียน

ตรา แผ่นดินของมาเลเซีย (ภาษาอังกฤษ: National Emblem of Malaysia,the Coat of Arms of Malaysia; ภาษามาเลย์: Jata Negara in Malay) ประกอบด้วยส่วนหลักๆห้าส่วนคือ โล่ เสือสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง และดาวสีเหลือง 14แฉก และแถบผ้า ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาเลย์ระหว่างที่ เป็นอาณานิคมของอังกฤษตราในปัจจุบันจึงมีอิทธิพลของตราแบบตะวันตกอยู่มาก 

 

 

Map of Malaysia

 

อาหารประจําชาติมาเลเซีย - อาหารประจําชาติอาเซียนอาหารประจําชาติมาเลเซีย - อาหารประจําชาติอาเซียน 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เพลงชาติ : The national anthem of Malaysia

  

เนอการากู - เพลงชาติมาเลเซีย
ถึงคิวของเพลงชาติของประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ ของเราบ้าง คือ มาเลเซีย ครับ จากการที่เป็นประเทศประชาธิปไตยเหมือนกัน มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเหมือนกัน จึงเป็นประเทศที่มีความใกล้ชิดกันทางการเมืองกับไทยยิ่งกว่าประเทศเพื่อน บ้านอื่นๆ ที่เป็นสังคมนิยมด้วยซ้ำ ส่วนเรื่องการค้าหรือวัฒนธรรมก็อีกเรื่องนะครับ ความเป็นมาของเพลงชาติมาเลเซียคงต้องอ้างอิงถึงบทนำในวิกิพีเดียภาษาไทยที่ มีความกระชับดีอยู่แล้ว ดังนี้ครับ
เพลง ชาติมาเลเซีย มีชื่อว่า "เนอการากู" (Negaraku แปลว่า "ประเทศของฉัน") เพลงนี้ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติมาเลเชียในสมัยสหพันธรัฐมลายาเมื่อปี พ.ศ. 2500 ทำนองเพลงนี้เดิมใช้เป็นเพลงคำนับประจำรัฐเประ และเคยใช้เป็นทำนองเพลงยอดนิยมในมาเลเซียสมัยหนึ่งที่ชื่อว่า เตอรัง บูลัน (Terang Bulan) ซึ่งหยิบยืมทำนองมาจากเพลงฮาวายชื่อ เพลงมามูลา มูน (Mamula Moon) อีกชั้นหนึ่ง
เพลงเนอการากูมีการบรรเลงอยู่ 2 แบบ คือ การบรรเลงแบบสังเขป ซึ่งใช้ในโอกาสต่างๆ โดยทั่วไป และการบรรเลงแบบเต็มฉบับ ใช้ในยามที่ยังดี เปอร์ตวน อากง (พระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย) เสด็จออกในงานทางราชการ
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
https://en.wikipedia.org/wiki/Negaraku และ https://th.wikipedia.org/wiki/เพลงชาติมาเลเซีย)
สังเกต ด้วยนะครับว่าประเทศที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมากนัก ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อร้องหรือทำนองเพลงชาติกันบ่อยๆ ในที่นี้ขอนำมาเสนอเฉพาะทำนองเพลงเช่นเคยครับ

ภาษา: Language

ภาษา มาเลย์ หรือ ภาษามลายู ซึ่งเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า Bahasa Melayu เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์ตะวันออก
ในการใช้ภาษาโดยทั่วไป ถือว่าเหมือนกัน หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไป แต่ไม่มากนัก
มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซารีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน

ศาสานาและวัฒนธรรม

 มี สภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเชีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู  7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทาง ภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย "ภูมิบุตร"

เมืองหลวงตึกสวยๆที่มาเลเซีย

กัว ลาลัมเปอร์ (ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์ เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL
กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามเขตสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐสลังงอ (Selangor state) บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมาเลเซีย (Peninsular Malaysia)
ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปุตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์

สกุลเงิน

ริงกิต มาเลเซีย หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า ดอลลาร์มาเลเซีย เป็นเงินตราประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 100 เซ็น (รหัสเงินตรา MYR). ดอลลาร์สิงคโปร์และดอลลาร์บรูไนก็เรียกว่า ริงกิต ในภาษามาเลย์ คำว่า ringgit ในภาษามาเลย์แปลว่า "เป็นหยัก ๆ" และใช้อ้างถึงขอบหยัก ๆ ของ เหรียญเงินของประเทศสเปนที่ใช้แพร่หลายในพื้นที่
ในปี พ.ศ. 2380 รูปีได้กลายเป็นเงินตราราชการชนิดเดียวในอาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements) แต่ในปี พ.ศ. 2410 เหรียญเงินได้เป็นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการนำดอลลาร์ช่องแคบ (Straits dollar) ออกมาใช้โดย Board of Commissioners of Currency โดยที่ตั้งราคาไว้ที่ 2 ชิลลิง และ 4 เพนซ์ และได้มีการห้ามไม่ให้ธนาคารเอกชนออกธนบัตรเอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้เกิดความไม่ต่อเนื่องของเงินตรา 2 ครั้ง คือ การยึดครองของประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485-2487) และการลดค่าเงินของปอนด์สเตอร์ลิงในปี พ.ศ. 2510 เป็นเหตุให้ธนบัตรของ Board of Commissioners of Currency of Malaya and British Borneo ลดค่าไป 15% ในขณะที่ดอลลาร์ของ Bank Negara Malaysia และ Commissioners of Currency ของสิงคโปร์และบรูไนไม่มีการลดค่า
ชื่อภาษามาเลย์ คือ ริงกิต และ เซ็น ได้กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในสิงหาคม พ.ศ. 2518 ก่อนหน้านี้ เงินตราได้เรียกเป็น ดอลลาร์ และ เซนต์ ในภาษาอังกฤษ และ ริงกิต และ เซ็น ในภาษามาเลย์ อย่างไรก็ดี การใช้สัญลักษณ์ดอลลาร์ "$" (หรือ "M$") ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น "RM" (Ringgit Malaysia) จนถึงช่วง พ.ศ. 2533
ตั้งแต่วิกฤตทางการเงินในเอเซียเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของริงกิตกับดอลลาร์สหรัฐไว้ที่ RM3.80 ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

ริงกิต
Ringgit Malaysia
รหัส ISO 4217 MYR
ใช้ใน มาเลเซีย
อัตราเงินเฟ้อ 2.1%
ข้อมูลจาก The World Factbook (พ.ศ. 2549)
หน่วยย่อย  
1/100 เซ็น
สัญลักษณ์ RM
เหรียญ 5, 10, 20, 50 เซ็น
ธนบัตร 1, 5, 10, 50, 100 ริงกิต
ธนาคารกลาง ธนาคารกลางแห่งมาเลเซีย
เว็บไซต์ https://www.bnm.gov.my/
โรงกษาปณ์ Royal Mint of Malaysia
เว็บไซต์ https://www.royalmint.com.my/

อาหารประจำชาติ

อาหาร มาเลเซีย มีลักษณะเด่นอยู่ที่การใช้สมุนไพร เครื่องเทศ พริก มีรสเผ็ด และมักจะใช้ผงกะหรี่ คนในปีนังไม่ว่าจะเป็นคนอินเดีย คนจีนหรือคนมาเลเซียเองชอบทานอาหารที่มีผงกะหรี่และไม่มีใครปฏิเสธอาหารที่ มีผงกะหรี่ สมุนไพรที่นำมาประกอบอาหารนอกจากสมุนไพรท้องถิ่นซึ่งมีอยู่มากมาย บางครั้งยังมีการรวมสมุนไพรหลายชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีกลิ่นหอม มักใช้ในการผัดข้าว อาหารมาเลเซียส่วนใหญ่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอาหารมุสลิม เพราะไม่ใช้เนื้อหมู และไม่ใส่ไวน์ เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทานกันจึงเป็น เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ และ อาหารทะเล และภูมิภาคของมาเลเซีย

อาหารจะมีลักษณะเฉพาะต่างกัน ในปีนังจะใช้ผงกะหรี่ในการประกอบอาหารมาก เพราะคนส่วนใหญ่ชอบผงกะหรี่ ขณะที่ทางตอนใต้ของประเทศจะนิยมใช้กะทิ คล้ายกับอาหารไทย โดยจะใช้กะทิกับอาหารเกือบทุกอย่าง ข้าว เป็นอาหารจานหลักในทุกมื้อของอาหารมาเลเซียเหมือนอาหารไทย ต่างกับอาหารยุโรปที่บางมื้อเป็นขนมปัง บางมื้อเป็นเนื้อ หลายคนเห็นหน้าตาอาหารมาเลเซียคล้ายกับอาหารอินเดีย แต่ อาหารอินเดียจะใช้กะทิเป็นส่วนผสมน้อยมาก ในอาหารมาเลเซียยังมีเครื่องจิ้มคล้ายน้ำพริกกะปิ เรียกว่า ซัมบัล (Sambal) ทำจากพริกป่น หัวหอมและน้ำมะขาม เป็นส่วนหนึ่งของสำรับอาหารของชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ยังนิยมใช้ กะปิ ในการปรุงอาหารแทบทุกชนิดไม่ว่าจะผัดหรือแกง ลองมาดูสูตรอาหารมาเลเซีย

อาหารมาเลเซีย เป็นอาหารประจำชาติของชาวมาเล ที่มีการสั่งสม และถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งอดีตจนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติอย่างหนึ่งที่ ชวนให้ไปสัมผัสกันที่
1. ห้องอาหาร นานาชาติ ซิตี้บิสโทร โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส โดยมีเมนูเด็ดต้นตำรับอาหารมาเลเซียให้ได้ลิ้มลอง มีความโดดเด่นคือการผสมผสานเครื่องเทศ และสมุนไพรของอินเดีย อิ่มอร่อยได้ทุกวันในบุฟเฟต์มื้อเย็น 890 บาท/ท่าน โทร. 0-2216-3700 ต่อ 20100

2. ห้องอาหารคาเฟ่ จี โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ กรุงเทพฯ เชิญมาพบกับเชฟ ชาติ อาเทฟ ซาพ เป็นเชฟอาหารตะวันออกกลางรับเชิญที่บินตรงมาจากประเทศคูเวต เพื่อมารังสรรค์หลากหลายเมนูสไตล์เลบานิส แบบต้นรำรับ เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสลิ้มลอง โทร. 0-2656-0360

3. ห้องอาหารเบนิฮาน่า โรงแรมแมริออท รีสอร์ท แอนด์สปา กรุงเทพฯ ชวนมาลิ้มลองโปรโมชั่นสุดพิเศษกับ มากิ โมโน แมดเนส ให้เลือกเต็มอิ่มกับขบวนเมนูข้าวห่อสาหร่ายหลากหลายไส้รสเลิศ อาทิ ข้าวห่อสาหร่ายสอดไส้กุ้งตัวโต ข้าวห่อสาหร่ายสอดไส้ปลาแซลมอนรมควันกับมะขื่อเทศตากแห้งข้าวห่อสาหร่ายสอด ไส้ตับห่าน และปูอัด ฯลฯ โทร. 0-2476-0022 ต่อ 1416

4. เปลี่ยนจากอาหารคาว มากินอาหารหวานกันบ้าง ซึ่งที่ห้อง บอง บอง โรงแรม แกรนด์ สุขุมวิท โซฟิเทล (สุขุมวิท6) เค้กผลไม้หลากกหลายรสชาติมาให้ลิ้มลองแบบไม่จำกัด อาทิ ฟองดูว์ผลไม้นานาชนิด, เชอรี่ทาร์ต, บลูเบอร์รี่ชีสเค้ก, กีวีมูสหวานหอม ไอศกรีมผลไม้นานาชนิด อาทิ มะม่วง, สตอเบอร์รี่, บอยเซ็นเบอรรี่ พร้อมปิดท้ายด้วย ฟรุ๊ตพันช์ หรือ ฟรุ๊ตสมู๊ตตี้ ฯลฯ โทร. 0-2207-9999 ต่อ 5611

5. ปิดท้ายกับของหวานอย่างเบเกอรี่ กันที่บุหงาตันหยง เบเกอรี่ โรงแรม เดอะแกรนด์ อยุธยา บางกอก นำเสนอลำไยหอมชื่นคอ ผสานชีสนุ่มละมุน เติมแต่งด้วยนานาผลไม้ปรุงแต่งความมหัศจรรย์ของเค้กที่เหมาะกับทุกโอกาส คัดสรร และนำเสนอ มาพร้อมๆกับ ขนมปังธัญพืชหลากชนิด เพื่อสุขภาพ และความอร่อยลิ้น.....

 ดอกไม้ประจำชาติ

ดอกไม้ประจำชาติของมาเลเซีย

มี ชื่อไทยที่สง่างามว่า ชบา ครับ แต่ก่อนบ้านแมคก็มีนะครับ แต่ทำรั้วบ้านใหม่เลยต้องจำใจตัดเค้าทิ้งไป เสียดายมากๆ เวลาเค้าบานเค้าจะสง่างามมากๆครับ ถึงแม้ว่าจะไม่มีกลิ่นก็ตาม ชบา เป็นดอกไม้ประจำชาติของ ประเทศมาเลเซีย ครับ ชบา และ พู่ระหง ก็เป็นไม้มงคลอีกชนิดครับ เชื่อกันว่าจะช่วย ส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างามดั่งพู่ระหงแก่ผู้อยู่อาศัยครับ ทิศเหมาะสมคือตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ใครปลูกก็ได้ครับ แต่ควรปลูกวันพุธจ้า

 

ชุดประจำชาติ

ชุดประจำชาติมาเลเซีย ชาย

ผ้าซิ่น หรือ ซิ่น เป็นผ้านุ่งของผู้หญิง มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทั้งขนาด การนุ่ง และลวดลายบนผืนผ้า
ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณ การทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่างๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง
ผ้าซิ่นของไทยมักจะแบ่งได้เป็นสองลักษณะ อย่างแรกคือ ผ้าซิ่นสำหรับใช้ทั่วไป มักจะไม่มีลวดลาย ทอด้วยผ้าฝ้าย หรือด้ายโรงงาน (ในสมัยหลัง) อาจใส่ลวดลายบ้างเล็กๆ น้อยๆ ในเนื้อผ้า อีกอย่างหนึ่ง คือผ้าซิ่นสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ มักจะทอด้วยความประณีตเป็นพิเศษ มีการใส่ลวดลาย สีสันงดงาม และใช้เวลาทอนานนับแรมเดือน
ขนาดและลักษณะของผ้าซิ่นนั้น ขึ้นกับฝีมือ รสนิยม ขนบการทอในแต่ละท้องถิ่น และยังขึ้นกับขนาดของกี่ทอด้วย การทอผ้าด้วยกี่หน้าแคบ จะได้ผ้าที่แคบ ผ้าซิ่นสำหรับใช้จริงจึงต้องนำมาต่อเป็นผืนให้กว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม ผ้าซิ่นในปัจจุบันจะทอด้วยกี่หน้ากว้าง ไม่ต้องต่อผืนอย่างในสมัยโบราณอีกต่อไป
ชุดประจำชาติหญิงมาเลเซีย

เครื่อง แต่งกายประจำชาติของสาวมาเลย์ (สาวมาเลย์หมายถึง หญิงมาเลเซียนที่เป็นมุสลิมค่ะ) ที่เป็นชุดยาว แขนยาว กระโปรงยาวกรอมเท้า (ถ้าเคร่งจัดต้องใส่ถุงเท้าด้วย) และต้องคลุมผมมิดชิด (คนใกล้ตัวบอกว่า เป็นความเชื่อทางศาสนาที่ว่า ห้ามผมของหญิงสาวต้องแสงแดด - แต่ไม่ยักกะบอกเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นเช่นนั้น) ชุดประจำชาติแบบนี้ เรียกว่าชุด tudung

อัพเดทล่าสุด