https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
คําราชาศัพท์ หมายถึง คําราชาศัพท์หมวดต่างๆ คําราชาศัพท์ที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ MUSLIMTHAIPOST

 

คําราชาศัพท์ หมายถึง คําราชาศัพท์หมวดต่างๆ คําราชาศัพท์ที่ใช้กับพระมหากษัตริย์


1,208 ผู้ชม


คําราชาศัพท์ หมายถึง

ความหมายและความสำคัญของราชาศัพท์
                   พระยาอุปกิตศิลปสาร (๒๕๓๓ : ๑๕๗) ได้ให้ความหมายของราชาศัพท์ว่า “ศัพท์สำหรับพระราชาหรือศัพท์หลวง แต่ในที่นี้ให้หมายความว่าศัพท์ที่ใช้ในราชการ เพราะในตำรานั้นบางคำไม่กล่าวเฉพาะสำหรับกษัตริย์หรือเจ้านายเท่านั้น กล่าวทั่วไปถึงคำที่ใช้สำหรับบุคคลชั้นอื่น เช่น ขุนนาง และพระสงฆ์ เป็นต้นด้วย”
จากการสันนิษฐานของ ม.ล. ปีย์ มาลากุล (๒๕๒๖ : ๑๗๓ - ๑๗๔) สรุปได้ว่า มูลรากของราชาศัพท์ คือศัพท์ที่จะใช้เมื่อกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือกราบทูลพระราชวงศ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่เคารพสูงสุด ตามธรรมเนียมไทยเมื่อกล่าวถึงพระองค์ หรือแม้แต่คนที่เคารพคารวะก็จะไม่กล่าวพระปรมาภิไธย หรือชื่อตรงๆ ดังนั้นเมื่อจะใช้ศัพท์ในการกราบบังคมทูล หรือกราบทูลจึงใช้ศัพท์ที่แตกต่างไปจากคำที่ใช้อยู่โดยทั่วไป สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นมูลเหตุแห่งราชาศัพท์ ศัพท์ก็ดี ถ้อยคำก็ดี ในชั้นต้นคงมุ่งหมายเพียงให้เป็นถ้อยคำ สำนวนที่พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ทรงฟังได้ ต่อมาคงเนื่องจากการคลี่คลายของภาษา ราชาศัพท์จึงขยายออกไป มีศัพท์สำหรับใช้กับพระ-ภิกษุ ข้าราชการ และกว้างขวางออกไปจนถึงคำสุภาพ
กล่าวโดยสรุป ราชาศัพท์จึงหมายถึง ถ้อยคำที่ใช้ให้เหมาะสมกับบุคคลในฐานะตำแหน่งต่างๆ กัน ๕ ชั้น ดังนี้
๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี
๒. เจ้านาย (พระบรมวงศานุวงศ์)
๓. พระภิกษุ
๔. ข้าราชการ
๕. คำสุภาพสำหรับบุคคลทั่วไป
ราชาศัพท์เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่สำคัญยิ่งของไทย จึงเป็นเรื่องที่คนไทยควรศึกษาและเรียนรู้ ชาคริต อนันทราวัน (๒๕๓๖ : ๘๗) ได้กล่าวถึงเหตุผลที่คนไทยควรรู้เรื่องราชาศัพท์ สรุปได้ดังนี้
๑. คนไทยยังนิยมนับถือกันตามความลดหลั่นในทางชาติวุฒิ วัยวุฒิ และคุณวุฒิ
๒. วัฒนธรรมไทยแต่โบราณ เน้นเรื่องการใช้ถ้อยคำและความประณีตเรียบร้อยในการใช้ภาษาทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง
๓. ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ปกครองมาไม่น้อยกว่า ๗๐๐ ปี และเชื่อว่ากษัตริย์คือเทวสิทธิ์แทนพระเป็นเจ้า
๔. ความสำคัญในการสืบทอดวัฒนธรรมทางภาษาเพื่อดำรงความเป็นชาติไว้       

--------

หลักการใช้คำราชาศัพท์
การใช้คำราชาศัพท์ในการกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์หรือกราบทูลพระราชวงศ์นั้น
 มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑. นามราชาศัพท์
๑.๑ พระบรมราชและพระบรม ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์นำหน้าคำที่สำคัญยิ่งในกรณีที่ต้องการเชิดชูเกียรติยศพระราชอำนาจและ พระราชกฤษฎาภินิหาร เช่น พระบรมราชโองการ พระบรมมหาราชวัง (มีแห่งเดียว) พระบรมราโชวาท พระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมโพธิสมภาร (บุญบารมี) พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมรูป พระบรมราชินี
ข้อสังเกต
“พระบรม” ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์เท่านั้น เมื่อใช้กับสมเด็จพระบรมราชินี ให้ตัดคำว่า “บรม” ออก เช่น พระนามาภิไธย พระราชานุเคราะห์ พระราโชวาท เป็นต้น
๑.๒ พระราช นำหน้าคำที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และเจ้านายที่ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรม เช่น สมเด็จพระบรมโอรสธิราช สมเด็จพระบรมราชกุมารี ได้แก่ พระราชวัง พระราชทรัพย์ พระราชนิพนธ์ ฯลฯ ส่วนเจ้านายอื่น ๆ ใช้คำว่า “พระ” นำหน้าเท่านั้น เช่น พระนิพนธ์ พระกุศล ฯลฯ
๑.๓ พระมหา ใช้เหมือน “พระราช” เช่น พระมหากรุณาธิคุณ พระมหาเศวตรฉัตร พระมหามงกุฎ
๑.๔ พระ เป็นคำใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ที่เกี่ยวกับของใช้ อวัยวะ บุคคลที่เกี่ยวข้อง และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย ชีวิต เช่น พระแสง พระที่นั่ง พระหัตถ์ พระนาสิก พระวรกาย พระพี่เลี้ยง พระสหาย พระชาตา พระบังคนหนัก พระเคราะห์ เป็นต้น
ข้อสังเกต
๑. คำประสมที่เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ “พระ” นำหน้าอีก เช่น ฉลองพระเนตร ม้าพระที่นั่ง ธารพระกร บั้นพระองค์ เครื่องพระสำอาง เป็นต้น
๒. เจ้านายชั้นหม่อมเจ้า ใช้ราชาศัพท์เฉย ๆ ไม่ต้องมี “พระ” นำหน้า เช่น หัตถ์ กร ยกเว้นคำเฉพาะบางคำ เช่น ขอบพระทัย
๑.๕ ราช ใช้นำหน้าคำสามัญเพื่อบอกให้ทราบว่าเป็นของพระมหากษัตริย์ เช่น ราชรถ ราชพัสดุ ราชสมบัติ ราชยาน ราชทัณฑ์ เป็นต้น
๑.๖ ต้นหรือหลวง ใช้ประกอบท้ายคำที่เป็นคำไทยสามัญทั่วไป ทั้งคน สัตว์สิ่งของ เช่น ช้างต้น ม้าต้น เรือหลวง รถหลวง เป็นต้น

อัพเดทล่าสุด