https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เครียดโว้ย! เป็นสิวอุดตันทําไงดี วิธีกําจัดสิวอุดตัน สิวอุดตัน รักษา ใช้ ยารักษาสิวอุดตัน MUSLIMTHAIPOST

 

เครียดโว้ย! เป็นสิวอุดตันทําไงดี วิธีกําจัดสิวอุดตัน สิวอุดตัน รักษา ใช้ ยารักษาสิวอุดตัน


991 ผู้ชม


เครียดโว้ย! เป็นสิวอุดตันทําไงดี วิธีกําจัดสิวอุดตัน สิวอุดตัน รักษา ใช้ ยารักษาสิวอุดตัน

          สิวเป็นความผิดปกติบริเวณผิวหนังที่พบบ่อย ซึ่งไม่ใช่เฉพาะที่ใบหน้าเท่านั้น บริเวณลำตัวก็พบได้เช่นกัน สาเหตุของสิวได้แก่ การอักเสบของต่อมสร้างไขมันบริเวณของรูขุมขนที่มีอยู่ทั่วไปตามผิวหนังของคนเรา ต่อมสร้างไขมันบริเวณรูขุมขนนี้มีหน้าที่สร้างไขมันมาหล่อเลี้ยงผิวหนัง ทำให้ผิวหนังไม่แห้ง มีความชุ่มชื้น แต่บางครั้งก็มีการสร้างไขมันมากเกินไป ทำให้คั่งค้างอยู่ในรูขุมขน และเกิดการอักเสบ ต่อมาเมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้ามา จะทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นหัวสิวหรือตุ่มหนอง เหมือนที่เราเห็นโดยทั่วไป
สิวแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
          สิวไม่อักเสบ ได้แก่ สิวหัวปิดหรือสิวหัวขาว จะเห็นเป็นตุ่มเล็กๆ ขาวๆ ไม่มีรูเปิด ถ้ามีรูเปิดที่ผิวหนัง มองเห็นเป็นจุดดำอยู่ตรงกลาง เรียกว่า สิวหัวเปิดหรือสิวหัวดำ
          สิวอักเสบ เนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรีย คือสิวที่หัวแดงๆ หรือเป็นหนองเม็ดโตๆ เช่นที่เรียกกันว่า "สิวหัวช้าง"
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสิว
1. ปริมาณไขมันที่สร้างจากต่อมไขมัน
          การอักเสบของต่อมไขมันบริเวณรูขุมขนที่มีอยู่ตามผิวหนังของคนเราเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสิว ต่อมไขมันบริเวณรูขุมขนมีหน้าที่สร้างไขมันมาหล่อเลี้ยงผิวหนัง ทำให้ผิวหนังไม่แห้ง มีความชุ่มชื้น แต่บางครั้งก็สร้างไขมันออกมามากเกินไป ทำให้คั่งค้างอยู่ในรูขุมขนและเกิดการอักเสบ หากติดเชื้อแบคทีเรียด้วย ก็จะทำให้เป็นหัวสิวหรือตุ่มหนอง
2. ความผิดปกติของเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า
          พบว่าหากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้ามีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ และลอกหลุดออกง่ายกว่าปกติ อาจเกิดการอุดตันของรูขุมขนจนเกิดเป็นสิวขึ้นมาได้
3. เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Propionibacterium acnes หรือ P.acnes
          ในระยะแรกที่เกิดหัวสิว มักจะตรวจไม่พบเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว แต่ในระยะท้ายๆ หรือระยะที่มีอาการอักเสบจะตรวจพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ทุกราย แต่ละคนจะมีความไวต่อเชื้อแบคทีเรีย P.acnes ไม่เหมือนกัน คนที่ไวมาก อาการก็จะรุนแรงมาก การรักษาสิวโดยใช้ยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ผลดีกับทุกราย
การดูแลเมื่อเป็นสิว
           ควรล้างหน้าด้วยสบู่อ่อนๆ วันละสองครั้ง (ถ้าใบหน้ามันมากอาจใช้กระดาษซับหน้าในตอนกลางวัน)
            ไม่ควรกดหรือบีบหัวสิว เพราะจะทำให้สิวเกิดการอักเสบมากขึ้น
            ควรใช้เครื่องสำอางชนิดที่ได้มาตรฐาน ผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่ก่อสิว
            รับประทานอาหารได้เป็นปกติ นอกจากบางรายที่มีประวัติแน่ชัดว่า สิวเป็นมากขึ้นเมื่อทานอาหารบางประเภท
            พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การรักษาสิว
            ใช้ยาทาเฉพาะที่หรือรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
            ใช้เครื่องมือกดสิวช่วย กรณีเป็นสิวอุดตันมาก
            กรณีที่เป็นสิวหัวใหญ่ ควรไปให้แพทย์ฉีดยาลดอาการอักเสบเข้าหัวสิว จะช่วยให้สิวยุบลงเร็วขึ้น
สาเหตุของการเกิดแผลเป็นที่เกิดจากสิว
          แผลเป็นจากสิวนั้นเกิดเพราะการอักเสบของสิวที่เป็นปฏิกิริยาแบบเดียวกับการเป็นฝีหนอง ซึ่งมักจะทิ้งแผลเป็นไว้เสมอ หากปล่อยให้อักเสบนานๆ หรือทิ้งไว้ให้อักเสบมากๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง หรือทำการบีบ แกะเกา จะยิ่งทิ้งรอยมากยิ่งขึ้น
โดยทั่วไปแผลที่เกิดจากสิวแบ่งได้ 3 แบบ คือ
          1. แบบที่เป็นรอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็นแบบที่พบเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากขบวนการอักเสบของสิวจะทำลายเนื้อเยื่อ คอลลาเจนในชั้นหนังแท้ ทำให้เป็นรอยบุ๋ม
          2. แบบที่เป็นเนื้อนูนขึ้นมา มักพบที่จมูก คาง และบริเวณขากรรไกร เนื่องจากขบวนการอักเสบของสิวจะทำลายเนื้อเยื่อในชั้นหนังแท้ แต่มีการซ่อมแซมของผิวมากกว่าปกติ ทำให้เนื้อนูนขึ้นมากกว่าปกติ
          3. แบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของสี ซึ่งพบบ่อยมาก มักมีสีออกแดงคล้ำๆ อาจเรียกว่ารอยแดง ไม่ได้เป็นสีดำล้วนแบบกระหรือฝ้า ซึ่งมีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน
วิธีการรักษารอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว
1. การรักษารอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวแบบที่เป็นรอยบุ๋มลงไป
           กรณีที่มีรอยบุ๋มเล็กๆ เป็นจุดๆ ประมาณไม้จิ้มฟันนั้น จะรักษาด้วยการใช้น้ำกรดอ่อนๆ แต้มบริเวณที่เป็นรอย ซึ่งควรจะให้แพทย์หรือพยาบาลเป็นผู้แต้มให้ เพื่อกระตุ้นให้ผิวหน้าเกิดการสร้างเนื้อขึ้นมาเสริมบริเวณรอยบุ๋มของแผลเป็นที่เกิดจากสิว ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน และต่อเนื่องจึงจะเกิดประสิทธิพล
           การรักษาด้วยการยิงแสงเลเซอร์ (Fractional Photothermolysis Laser) เพื่อให้แผลดูตื้นขึ้น ในการรักษาด้วยแสงเลเซอร์แต่ละครั้งจะกระตุ้นให้ผิวหน้าสร้างเนื้อเยื่อขึ้นเสริม โดยอาจต้องทำการรักษาด้วยแสงเลเซอร์หลายครั้งติดต่อกันเพื่อให้การรักษาได้ผลดี
           การฉีด Hyaluronic Acid เช่น Restylane ซึ่งเป็นสารสกัดที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งประเทศไทย โดยจะเสริมเนื้อขึ้นมาบริเวณรอยบุ๋มของแผลเป็น ซึ่งไม่ต้องทำการทดสอบเหมือนการใช้คอลลาเจน
           กรณีที่เป็นแผลลึกและใหญ่ สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเอาแผลเป็นนั้นออกไป แล้วเย็บแผลให้เรียบร้อยเหมือนการผ่าไฝ หลังจากนั้นอีก 2-3 เดือนถ้ายังมีรอยเย็บอยู่ก็สามารถลบรอยให้ดีขึ้นได้
2. การรักษาแผลเป็นที่เกิดจากสิวแบบที่นูนขึ้นมา
           การรักษาด้วยการฉีดยาเพื่อให้แผลเป็นที่นูนนั้นเรียบขึ้น โดยตัวยาที่ฉีดจะทำให้เนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นมากกว่าปกติลดจำนวนลง ทำให้แผลยุบตัว อาจต้องฉีดยาอย่างต่อเนื่องหลายครั้งจนกว่าแผลจะยุบ
           การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ Laser Resurfacing วิธีการรักษาแบบนี้เหมาะสำหรับแผลนูนบริเวณจมูกโดยการใช้แสงเลเซอร์กรอบริเวณแผลเป็นที่เกิดจากสิวที่นูนขึ้นมาให้เรียบ ทำให้ผิวเรียบขึ้น แต่อาจจะมีรอยแดงบริเวณที่รักษาประมาณ 3-6 เดือน
3. การรักษาแผลที่เป็นรอยแดงหรือรอยดำ
           วิธีการรับประทานยา ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง
           การรักษาด้วยการทำ E-laser โดยใช้แสงเลเซอร์ Pulsed dye Laser เป็นวิธีที่ไม่เจ็บและใช้เวลาทำไม่นาน สามารถช่วยให้รอยแดงหายเร็วยิ่งขึ้น โดยรอยแดงจะจางประมาณครั้งละ 20-30%
ไอออนโต (Ionto)
          ไอออนโตโฟรริซีส หรือที่เรียกย่อๆ ว่า ไอออนโต คือการขับยาหรือวิตามินเข้าไปในผิวหนัง โดยอาศัยเครื่องมือที่ให้กระแสไฟฟ้าปริมาณต่ำๆ เป็นตัวขับยาหรือสารที่มีประจุไฟฟ้า ด้วยวิธีนี้ปริมาณยาจะเข้าไปในผิวหนังได้มากกว่าการทายาหลายเท่า ทำให้เห็นผลในการรักษาเร็วขึ้น
          ซึ่งหลังทำไอออนโตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะสังเกตเห็นว่าผิวหน้าจะเป็นสีชมพูระเรื่อ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าได้ไปกระตุ้นระบบหมุนเวียนของเลือดบริเวณนั้นได้ดีขึ้น และสามารถสัมผัสได้ว่าผิวหน้าจะนุ่มเนียนขาวใสขึ้น แต่หลังจากทำแล้วควรจะต้องใช้ครีมกันแดด และหลีกเลี่ยงแสงแดดที่แรงจัด และโดยทั่วไปควรทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง



สิวอุดตัน (commedone) เกิดได้ทุกกลุ่มอายุ ทุกเพศ เกิดได้บ่อยบริเวณใบหน้า ลำคอ และลำตัว (หน้าอก หลัง และไหล่) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีต่อมไขมันเป็นจำนวนมาก


สาเหตุของการเกิดสิวอุดตัน (comedone) ประการแรกเกิดจากปัจจัยภายในร่างกายได้ เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน เช่น การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนช่วงวัยรุ่น หรือการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในช่วงวัยต่างๆ ความเครียด การนอนไม่เป็นเวลา การนอนไม่หลับ และการพักผ่อนไม่เพียงพอก็เป็นปัจจัย ในการทำให้เกิดสิวอุดตัน (Comedone) ได้

สาเหตุประการที่สองเกิดจากปัจจัยภายนอก ร่างกาย ได้แก่ เครื่องสำอางหรือครีมบำรุงผิวชนิดต่างๆ การขัดหน้า หรือการนวดหน้าเมื่อร่างกายถูกกระตุ้นด้วย ปัจจัยดังกล่าวจะทำให้เกิดมีสิวอุดตัน (Comedone) โดยไปกระตุ้นต่อมไขมันใต้เซลล์ผิวหนัง และเซลล์ชั้นขี้ไคลในรูขุมขนสร้างมากิดปกติ ระบายออกไม่ทัน


ทำให้มีการสะสมอยู่ในรูขุมขนร่วมกับเชื้อโรค P. Acne ทำให้มีการเจริญเติบโตได้มากกว่าปกติ และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ



เมื่อเป็นสิวอุดตันแล้วละเลยหรือรักษาไม่ถูกวิธี ทำ ให้มีการเจริญเติบโตของเชื้อโรค P. Acne ได้มากกว่าปกติ และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาแบบเดียวกับการเป็นฝีหนอง ทำลายผิวและคอลลาเจนใต้ผิว

เปรียบเทียบสิวอุดตันที่ไม่ได้รับการรักษาอย่าง ถูกวิธี และรวดเร็ว เป็นเหมือนกับ ระเบิดเวลาที่พร้อมจะระเบิดเป็นสิวอักเสบ ทำให้รักษาได้ยากขึ้น


และเกิดรอยแผลเป็นหลังการรักษา ไม่ว่าจะเป็นแผลเป็นแบบหลุมสิว แบบที่เป็นเนื้อนูนขึ้นมา หรือแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของสีซึ่งมี ลักษณะ สีแดงคล้ำๆ



การักษาสิวอุดตัน การรักษาสิวอุดตันทั่วไปรักษาโดย
1. การรักษาสิวอุดตันโดยการใช้ยาสลายหัวสิว (comedolytic) โดยใช้ยากลุ่มดังกล่าวทาบริเวณหัวสิว แต่ต้องใช้เวลานานในการรักษา
2. การรักษาสิวอุดตันโดยการกดสิว วิธีการรักษาแบบนี้ได้ผลดีแต่มีเลือดออก กรณีที่สิวอุดตันมีหัวสิวที่มีขนาดใหญ่อยู่ลึก และมีจำนวนมาก ไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีนี้
3. การรักษาสิวอุดตันโดยใช้วิธีจี้ด้วยไฟฟ้า การรักษาด้วยวิธีนี้ไม่เป็นที่นิยม เพราะมีโอกาสเป็นแผลเป็นได้

การรักษาสิวอุดตันโดยวิธีดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าเป็นการรักษาโดยการใช้ยาสลายหัวสิว การกดสิว หรือการจี้ด้วยไฟฟ้ายังมีข้อเสียในการรักษา และเกิดผลข้างเคียง
"ดังนั้นจึงมีการพัฒนานวัตกรรมเลเซอร์ ในการรักษาสิวอุดตันที่มีประสิทธิภาพ ในการรักษาสูง และไม่เกิดผลข้างเคียง"


การรักษา สิวอุดตันด้วยเลเซอร์ CO2 ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางผิวหนัง (Dermatologist)

เลเซอร์ CO2 จะเปิดช่องให้สิวอุดตันหลุดออก ให้ผลการรักษาสิวอุดตันที่อยู่ลึก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดรอยแผลเป็น ไม่มีเลือดออก

    ข้อดีของการรักษาอุดตันด้วยเลเซอร์
  • เหมาะสำหรับในกรณีที่สิวอุดตันมี จำนวนมาก และอยู่ลึก
  • ให้ผลการรักษาที่รวดเร็ว ปลอดภัย
  • ได้ผลการรักษาดีกว่าการกดสิว
  • ไม่เกิดรอยแผลเป็น
  • ไม่มีเลือดออก

อัพเดทล่าสุด