https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การตั้งชื่ออิสลาม ความหมายชื่ออิสลาม ค้นหาชื่ออิสลามและความหมายของเด็กหญิง MUSLIMTHAIPOST

 

การตั้งชื่ออิสลาม ความหมายชื่ออิสลาม ค้นหาชื่ออิสลามและความหมายของเด็กหญิง


7,016 ผู้ชม


การตั้งชื่ออิสลาม ความหมายชื่ออิสลาม ค้นหาชื่ออิสลามและความหมายของเด็กหญิง

นบี (อาหรับ)แปลว่า ผู้พยากรณ์, ศาสดาพยากรณ์ คือ บุรุษที่อัลลอหฺทรงติดต่อด้วยเพื่อให้ทราบเรื่องศาสนาของพระองค์

นมาซ (ฟารซี) แปลว่าการวิงวอนขอพรจากอัลลอหฺที่มุสลิมทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติ วันละห้าเวลา คือเวลารุ่งอรุณก่อนตะวันขึ้น (ฟัจญ์ริ) เวลาหลังเที่ยง (ซุหฺริ (ดุหฺริ) และ อัศริ) เวลาหลังตะวันตกดิน (มัฆริบ และ อิชาอ์) การนมาซถือว่าเป็นการทำอิบาดะหฺที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่ง เป็นหลักอิสลามข้อหนึ่งซึ่งมุสลิมต้องปฏิบัติ ดู ศอลาต

นะญาซะหฺ ดู นะญิส

นะญิส (อาหรับ) สิ่งสกปรกต่าง ๆ ในกฎบัญญัติอิสลามหมายถึงสิ่งสกปรกที่ห้ามรับประทาน หรือใช้สอย ตัวอย่างเช่นเลือด ปัสสาวะ เนื้อสุกร

นุบูวะห์ (อาหรับ) การเป็นศาสดาพยากรณ์

นัฟซุ (อาหรับ แปลว่า ร่างกาย จิตใจ ตัณหา) ใช้ในภาษาไทยและมลายู มีความหมายว่า ตัณหา

นิฟาซ, นิฟาส (อาหรับ) เลือดหลังคลอด สตรีที่ยังมีเลือดหลังคลอด ห้ามนมาซ หรือ ถือศีลอด นิสฟู ชะอิบาน (อาหรับ) คืนวันเพ็ญแห่งเดือนชะอฺบาน เป็นวันเกิดของอิมามมะหฺดี

บะนี (อาหรับ) วงศ์วาน

บัยตุลลอหฺ (อาหรับ แปลว่า บ้านแห่งอัลลอหฺ) หมายถึง กะอฺบะหฺใน อัลมัสยิด อัลฮะรอม ในพระมหานครมักกะหฺ เป็นหลักของชุมทิศ ที่มุสลิมหันเข้าหาเมื่อนมาซ

บิลาล ชื่อสาวกศาสนทูต เป็นมุสลิมรุ่นแรก มีหน้าที่กล่าวคำอะซานเรียกผู้คนสู่การนมาซ เดิมเป็นทาส

บิลาล หรือ บิหล่าล (อาหรับ) ผู้ประกาศเรียกร้องมุสลิม สู่การนมาซเมื่อถึงเวลา เดิมเป็นชื่อของสาวกคนแรกที่ประกาศอะซาน มุอัซซิน ก็เรียก

ปอเนาะ (ยืมจากภาษามลายูกลาง ปนดก ยืมจากอาหรับ ฟุนดุก แปลว่า โรงแรม) โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามที่จัดเตรียมหอพักให้นักเรียนอาศัย

ฟัรดู ดู ฟัรฎ (อาหรับ การกำหนด การบังคับ) กฎบังคับ

ฟัรดูอัยนิ (อาหรับ) ข้อบังคับที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติ ในภาษาไทยเพี้ยนเป็น ฟัรดูอีน เช่น โรงเรียนฟัรดูอีน คือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามที่สอนวิชาภาคบังคับ เกี่ยวกับความเชื่อถือและการปฏิบัติ

ฟัรดูกิฟายะหฺ (อาหรับ) ข้อบังคับที่คนใดคนหนึ่งในชุมชนมุสลิมต้องปฏิบัติ เช่นการจัดการฝังศพผู้ตาย

ฟะกีหฺ (อาหรับ) นักนิติศาสตร์อิสลาม

ฟะรีเฎาะหฺ (อาหรับ) กฎข้อบังคับ

ฟิร่อก (อาหรับ พหูพจน์ของคำว่า ฟิรเกาะหฺ) กลุ่ม พวก

ฟิกหฺ (อาหรับ แปลว่า ความเข้าใจ) หมายถึงนิติศาสตร์ศาสนาอิสลาม

ฟุรูอฺ (อาหรับ) แขนง

มะมูม (อาหรับ) ผู้นมาซตาม[[อิมาม ]] มะนีย์ (อาหรับ) น้ำอสุจิ

มะกอม (อาหรับ สถานที่ยืน) สถานที่อันเคยเป็นที่ยืน เช่น มะกอม อิบรอฮีม หรือสุสานของบุคคลสำคัญ

มุอัลลัฟ (อาหรับ) ผู้ที่พึ่งเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม

มักรูหฺ (อาหรับ แปลว่า สิ่งที่น่ารังเกียจ) ในทางฟิกห์ หมายถึง สิ่งที่ไม่พึงปฏิบัติ หากละทิ้งจะได้รับผลบุญ แต่ถ้าหากปฏิบัติก็ไม่เป็นบาป

มับอัษ (อาหรับ แปลว่า กาลเวลา หรือ สถานที่ส่ง) การที่อัลลอหฺทรงได้ส่งมุฮัมมัดเป็นศาสนทูต

มัยยิต (อาหรับ) ศพ, ผู้ตาย ศอลาต มัยยิต การละหมาดให้แก่ศพมุสลิม

มัรยัม (อาหรับ จากฮิบรู) มาเรีย ผู้มารดาศาสนทูตอีซา(เยซู)

มัสยิด (อาหรับ) ศูนย์รวมมุสลิมในชุมชนเพื่อทำการละหมาด ประชุม สอนหนังสือ หรืออื่น ๆ ในการทำกิจการที่ดี มีประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม

มาซุ ญาวี, มาโซะ ญาวี (มลายู แปลว่า เข้าญาวี) หมายถึง การขลิบปลายหนังอวัยวะเพศชายเพื่อเข้าศาสนาของคนญาวี(มลายูมุสลิม)

มาซุ เมอลายู, มาโซะ มลายู (มลายู แปลว่า เข้ามลายู) หมายถึงการเข้ารีตของพวกมลายู นั่นคือ เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม

มิมบัร (อาหรับ) ธรรมาสน์ในมัสยิด ที่คอฏีบขึ้นยืนบรรยายธรรม ส่วนมากเป็นแท่นหรือพื้นยกระดับ

มุอัซซิน (อาหรับ) ผู้ประกาศเรียกร้องมุสลิม สู่การนมาซเมื่อถึงเวลา บิหล่าล หรือ บิลาล ก็เรียก

มุชฺริก (อาหรับ แปลว่า ผู้ตั้งภาคี) ในอิสลามหมายถึง ผู้ที่ตั้งภาคีต่ออัลลอหฺ เคารพบูชาสิ่งอื่นร่วมกับอัลลอหฺ

มุรีด (อาหรับ แปลว่า ผู้ต้องการ, ลูกศิษย์) ใช้ในภาษามลายูมีความหมายว่า นักเรียน ใช้ในวงการซูฟีย์ มีความหมายว่า ศิษย์

มุนาฟิก (อาหรับ แปลว่า คนสับปลับ) หมายถึง ผู้ที่แสดงตนเป็นมุสลิมแต่ซ่อนความปฏิเสธ หรือความสับปลับไว้ในใจ

มุอฺตะซิละหฺ (อาหรับ แปลว่า ชนผู้แยกตัว) สำนักปรัชญาหนึ่งในอิสลาม

มุอัลลิม (อาหรับ) ครู

มุฮัรรอม (อาหรับ) เดือนแรกในปฏิทินอิสลาม

มูซา ศาสนทูตท่านหนึ่ง เป็นบุตรของอิมรอน ประสูติในอิยิปต์และเติบโตในวังของฟาโรห์ ในที่สุดได้ช่วยเหลือบะนีอิสรอีลให้พ้นจากการตกเป็นทาสของฟาโรห์

รอมะฎอน เดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน

แหล่งข้อมล https://th.wikipedia.org/wiki

อัพเดทล่าสุด