https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ตั้งชื่ออิสลามตามวันเกิด ตั้งชื่ออิสลามพร้อมความหมาย ชื่ออิสลามผู้หญิง MUSLIMTHAIPOST

 

ตั้งชื่ออิสลามตามวันเกิด ตั้งชื่ออิสลามพร้อมความหมาย ชื่ออิสลามผู้หญิง


4,592 ผู้ชม


 ตั้งชื่ออิสลามตามวันเกิด ตั้งชื่ออิสลามพร้อมความหมาย ชื่ออิสลามผู้หญิง

ชื่อแบบไหนที่ตั้งได้และแบบไหนที่ห้ามตั้ง?

แนวทางการตั้งชื่อในอิสลาม

ค้นหาคำตอบโดย อบูฮัมซะฮฺ

คำถาม  อยากทราบหลักการศาสนาที่เกี่ยวกับการตั้งชื่อเด็ก มีชื่อที่หะรอมหรือมักรูฮฺที่ต้องระวังหรือไม่?

คำตอบ   อิส ลามไม่ได้กำหนดลงไปว่าพ่อแม่จะต้องตั้งชื่อลูกด้วยภาษาอาหรับหรือภาษาใดๆ แต่ก็ได้วางแนวทางสำหรับการตั้งชื่อที่สวยงามให้แก่บุตรธิดา อีกทั้งได้กล่าวถึงชื่อที่ไม่อนุญาตให้นำมาเรียกและชื่อที่น่ารังเกียจ ดังต่อไปนี้

 

ก. ชื่อที่ดี

            1/ ต้องเป็นชื่อที่มีความหมายดี ใครๆฟังแล้วก็รื่นหู และชื่อนั้นจะได้ไม่เป็นปมด้อยกับตัวเด็กเองเมื่อเขาโตขึ้น  ดังนั้นต้องไม่ตั้งชื่อที่มีความหมายในด้านลบ หรือเหมือนกับชื่อคนเลวที่เป็นที่รู้จักกันดี  ท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม ได้เคยเปลี่ยนชื่อหญิงคนหนึ่งจาก  عاصية อาศียะฮฺ (ผู้ฝ่าฝืน) ให้มาเป็น جميلة  ญะมีละฮฺ (สวยงาม)

            2/ ชื่อที่ตั้งตามชื่อของบรรดานบี และเหล่าคนดีทั้งชายและหญิงในหน้าประวัติศาสตร์  เพื่อหวังว่าจะมีผลต่อเด็กในแง่การยึดเป็นแบบฉบับ  เช่นมุฮัมมัด อิบรอฮีม อิสมาอีล มูซา อุมัร อุษมาน มัรยัม  เคาะดียะฮฺ อาอีชะฮฺ สุมัยยะฮฺ

            3/ ชื่อที่ให้ความหมายว่าเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮุ วะ ตะอาลา   ดังที่ปรากฏในหะดีษว่า

‏‏ أَحَبُّ الْأَسْمَاءِ إِلَى اللَّهِ تَعَالَى ‏ ‏عَبْدُ اللَّهِ ‏ ‏وَعَبْدُ الرَّحْمَنِ

ชื่ออันเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ ตะอาลา   คือ อับดุลลอฮฺ และอับดุรเราะหฺมาน  (รายงานโดยมุสลิม อบูดาวูด อัตติรมีซียฺ และอิบนุมาญะฮฺ จากท่านอิบนุ อุมัร)

            และเมื่อกิยาส(เปรียบเทียบ)แล้ว ถ้านำคำว่า อับดุล ไปประกอบเข้ากับพระนามอื่นๆที่งดงามของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮุ วะ ตะอาลา ที่ไม่ได้กล่าวไว้ในหะดีษ ก็ถือว่าชื่อเหล่านั้นเป็นชื่อที่ดียิ่ง  เช่น عبد العزيز  อับดุลอะซีซ      عبد العليمอับดุลอะลีม     عبد الواحد  อับดุลวาฮิด 

            4/ แม้ว่าชื่อนั้นจะไม่ใช่ภาษาอาหรับแต่ถ้ามีความหมายที่ดี ก็ถือว่าเป็นชื่อที่ดี  เช่น   مارية   มารียะฮฺ  ซึ่งเป็นชื่อของมารดาของอิบรอฮีมบุตรชายท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม  และนางเป็นชาวอียิปต์

ข. ชื่อที่หะรอม(ห้ามตั้ง)

1/ ชื่อที่เป็นนามชื่อต่างๆของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮุ วะ ตะอาลา   ซึ่งเป็นนามที่ใช้เฉพาะสำหรับพระองค์เท่านั้น  อิบนุล กอยยิมได้กล่าวไว้ในหนังสือ  تحفة المودود  ว่า นามใช้เรียกอัลลอฮฺซุบฮานะฮุ วะ ตะอาลา   เท่านั้นได้แก่ อัลลอฮฺ الله    อัรเราะมาน الرحمن    อัลหะกัม الحكم    อัลอะหัด الأحد    อัศเศาะมัด الصمد อัลคอลิกالخالق    อัรรอซซากالرزاق        อัลญับบารالجبار     อัลมุตะกับบิรالمتكبر    อัลเอาวัลالأول   อัลอาคิรالآخر     อัลบาฏินالباطن     อัลลามุลฆุยูบعلام الغيوب

            นอกจากนี้ก็ยังห้ามที่จะตั้งชื่อที่ไม่มีใครมีคุณสมบัติตามชื่อนั้นอย่างเหมาะสมนอกจากอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮุ วะ ตะอาลา  เท่านั้น เช่น มะลิกุล มุลูก  ملك الملوك   ซึ่งมีความหมายว่า ราชาเหนือราชาทั้งปวง  ดังที่มีรายงานจากอัลบุคอรียฺและมุสลิมว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม  ได้กล่าวว่า

‏‏ أَخْنَى ‏‏ الْأَسْمَاءِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ عِنْدَ اللَّهِ رَجُلٌ تَسَمَّى مَلِكَ الْأَمْلَاكِ

ชื่อที่ต่ำต้อยที่สุด ณ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮุ วะ ตะอาลา  ในวันกิยามะฮฺ คือผู้ที่มีชื่อว่า กษัตริย์ของกษัตริย์ทั้งหลาย

            ส่วนนามของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮุ วะ ตะอาลา  ที่ ไม่เป็นคุณลักษณะเฉพาะสำหรับพระองค์เท่านั้น อนุญาตให้นำมาตั้งชื่อได้ โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามใส่อลิฟและลามหน้าชื่อนั้น(เพราะถ้าใส่มันจะกลายเป็นคำ นามเจาะจง ซึ่งจะหมายถึงพระนามของอัลลอฮฺทันที) เช่น อะลียฺعلي   อะซีซعزيز    เราะอูฟ رءوف    กะรีมكريم    ฮาดียฺهادي

            2/  ชื่อที่แปลว่า บ่าวของสิ่งอื่นๆนอกจากอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮุ วะ ตะอาลา   เช่น บ่าวของกะอฺบะฮฺعبدالكعبة   บ่าวของนบีعبدالنبي    บ่าวของหุซัยนฺعبدالحسين

            และ มีคำที่ใกล้เคียงกับข้อห้ามนี้ที่นิยมกันในชมพูทวีปคือคำว่า ฆุลาม เพราะคำๆนี้ให้ความหมายใกล้เคียงกับความเป็นบ่าวทาสเช่น ฆุลาม อะหฺมัดغلام أحمد   หรือ ฆุลาม อะลียฺ غلام علي   ซึ่งหมายถึงเด็กรับใช้หรือผู้รับใช้ของอะหฺมัด  หรือผู้รับใช้ของอะลียฺ

            3/ ชื่อที่ความหมายของมันบอกว่าไปใครไปไม่ได้นอกจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม เท่านั้น เช่น ซัยยิดุลนาส คือหัวหน้าของมนุษย์  หรือซัยยิดุ วะละดิ อาดัม  คือหัวหน้าของลูกหลานอาดัม

            4/  ชื่อของพวกชัยฏอน เช่น อิบลิส إبليس   คอนซับخنزب

            5/ ชื่อของรูปเคารพ เจว็ดที่มีผู้กราบไหว้บูชาตามลัทธิศาสนาต่างๆ

ค. ชื่อที่มักรูฮฺ(ไม่สมควรตั้ง)

            1/ ชื่อที่มีถ้อยคำหรือมีความหมายที่ขัดต่อความรู้สึกอันดีงาม ซึ่งอาจนำไปสู่การถูกล้อเลียน และสร้างความรู้สึกที่ไม่ดีให้แก่เจ้าของชื่อ

            2/ ชื่อที่มีความหมายในแง่เสน่ห์ทางเพศ ซึ่งมีการนำมาตั้งเด็กผู้หญิงกันมากในเวลานี้ เช่น ฟาตินفاتن  แปลว่า เจ้าเสน่ห์หรือยั่วยวนใจ  หรือมิฆนาจญ์مغناج   แปลว่า เจ้าชู้ มีมารยา

            3/ ชื่อของคนที่อยู่ในแวดวงบันเทิงที่ไร้สาระและเป็นบาป เช่นพวกดาวตลก ดารา นักร้อง  ซึ่งก็ปรากฏว่ามีผู้ตั้งชื่อลูกตามนักแสดงที่ตนชื่นชมในบทบาท

            4/ ชื่อที่ให้ความหมายถึงสิ่งที่เป็นบาปและสิ่งที่ศาสนาห้าม

            5/ ชื่อพวกฟิรอูน และจอมเผด็จการทั้งหลาย

            6/ ชื่อที่ตั้งตามแบบที่คนยุโรปและอเมริกานิยมตั้งให้ลูกๆของพวกเขาเป็นการเฉพาะ  เพราะเป็นการแสดงถึงการยอมรับว่าชื่อเหล่านั้นดีกว่าชื่อแบบมุสลิม เช่น คริสโตเฟอร์  เจนนิเฟอร์

            7/ ชื่อสัตว์ที่มีลักษณะที่ต่ำต้อย เช่น ลา สุนัข  ถ้าจะตั้งชื่อด้วยชื่อสัตว์ก็ให้เลือกสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ที่ดีและสง่างาม เช่น อะซัด (สิงโต)  ฟะฮัด(เสือดาว) ศอกรฺ (เหยี่ยว)

            8/  ผู้รู้จำนวนหนึ่งเห็นว่ามักรูฮฺที่จะตั้งชื่อเด็กชายด้วยชื่อของเหล่ามะลาอีกะฮฺ  ส่วน การตั้งชื่อเด็กหญิงด้วยชื่อของมะลาอีกะฮฺนั้นต้องห้าม เพราะจะไปสอดคล้องกับความเชื่อของพวกมุชริกที่ถือว่ามะลาอิกะฮฺเป็นบุตรสาว ของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮุ วะ ตะอาลา

            9/ อุละมาอ์บางกลุ่มเห็นว่ามักรูฮฺที่จะตั้งชื่อตามชื่อบางซูเราะฮฺในอัลกุรอาน เช่น طه    หรือ  يس    ส่วนที่มีคนกล่าวว่า يس  และ طه    นั้นเป็นชื่อของท่านนบี  ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม    เป็นการไม่ถูกต้อง

            10/ ชื่อที่ให้ความหมายในเชิงรับรองความดี หรือเป็นการขัดเกลาให้กับตนเอง เช่น บัรเราะฮฺ برة  (เปี่ยมความดี)   ตะกียฺ  تقي  (ยำเกรง)    อาบิด عابد (นักอิบาดะฮฺ)   ซึ่งเรื่องนี้มีรายงานของอิมามมุสลิม จากซัยหนับ บินติ อะบีซะละมะฮฺ ว่า

سُمِّيتُ ‏ ‏بَرَّةَ ‏ ‏فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏لَا تُزَكُّوا أَنْفُسَكُمْ اللَّهُ أَعْلَمُ بِأَهْلِ الْبِرِّ مِنْكُمْ فَقَالُوا بِمَ ‏ ‏نُسَمِّيهَا قَالَ سَمُّوهَا ‏‏ زَيْنَبَ

ฉันเคยถูกเรียกว่า “บัรเราะฮฺ” ท่านเราะซูล  ได้กล่าวว่า “พวกท่านอย่าได้รับรองตนเองว่าเป็นผู้ขัดเกลา อัลลอฮฺซุบฮานะฮุ วะ ตะอาลา   นั้นทรงรู้ดีที่สุดถึงผู้ที่มีคุณธรรมในหมู่พวกท่าน” พวกเขากล่าวว่า แล้วเราจะเรียกนางว่าอะไร? ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะ ซัลลัม  กล่าวว่า จงเรียกนางว่า ซัยหนับ 

แหล่งข้อมูลhttps://www.oknation.net

อัพเดทล่าสุด