https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว MUSLIMTHAIPOST

 

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว


710 ผู้ชม


การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ปัจจุบันจะพบว่ามีคนต่างด้าวเข้ามา ในประเทศไทยเป็นจำนวนมากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นคนชาวเอเซียหรือชาวยุโรปหรือคนชาติไหน ไม่ว่าจะเข้ามาโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือเข้ามาโดยหลบหนีเข้าเมืองก็ตาม  ซึ่งการเข้ามาของคนต่างด้าวนั้น เข้ามาในหลายสถานะ บ้างก็เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว นักศึกษา หรือนักธุรกิจ และอีกหลายรูปแบบ  แต่คนต่างด้าวที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศจะประกอบธุรกิจที่คนไทยยังไม่ พร้อมที่จะแข่งขันหรือที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้านนั้นเป็นธุรกิจที่คนไทยต้องมีกฎหมายตราไว้เป็นการต้อง ห้ามสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นคนต่างด้าวที่จะเข้ามาทำธุรกิจในประเทศ  ซึ่งคนต่างด้าวที่ว่านี้จะเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้นั้นจะต้องมีสถานะอย่างไรบ้าง  เรามาลองมาดูว่าเป็นใครบ้าง

(1) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

(2) นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย

(3) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย และมีลักษณะดังต่อไปนี้   

  (ก) นิติบุคคลที่มีหุ้นเป็นทุนจดทะเบียนของบริษัทจำกัด หรือทุนชำระแล้วของบริษัทมหาชน จำกัด หรือเงินที่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือสมาชิกนำมาลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือ นิติบุคคลนั้น ตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคลตาม(1) หรือ(2) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม (1) หรือ (2) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น

  (ข) ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน ซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้จัดการเป็นบุคคล

       ตาม(1)

(4) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย มีหุ้นเป็นทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้นถือโดยบุคคล ตาม

    (1) (2) หรือ (3) หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคคลตาม(1) (2) หรือ (3) ลงทุนมีมูลค่าตั้งแต่กึ่งหนึ่งของทุน ทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น

(5) และให้หมายถึง หุ้นของบริษัทจำกัดที่มีใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือเป็นหุ้นของคนต่างด้าว เว้นแต่จะได้ มีกฎกระทรวงกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

  และคนต่างด้าวต่อไปนี้  จะประกอบธุรกิจได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  และจะประกอบธุรกิจได้เฉพาะประเภทธุรกิจและในท้องที่ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ในประกาศดังกล่าวรัฐมนตรีจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดไว้ก็ได้ตามที่เห็นสมควร

  (1) คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายว่า สัญชาติหรือตามกฎหมายอื่น

  (2) คนต่างด้าวโดยผลของการถูกถอนสัญชาติตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติหรือตามกฎหมายอื่น

     สำหรับคนต่างด้าวดังต่อไปนี้ ห้ามประกอบธุรกิจในประเทศ คือ

  (1) คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศหรือรอการเนรเทศตามกฎหมาย

  (2) คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือกฎหมายอื่น

   การที่จะอนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศได้หรือไม่นั้น ต้องคำนึงถึงผลดีและผลเสียอะไรบ้าง เช่น ความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศ   การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ   ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  ศิลปวัฒนธรรมและจารีตประเพณีของประเทศ  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  การพลังงานและการรักษาสิ่งแวดล้อม  การคุ้มครองผู้โภค  ขนาดของกิจการ  การจ้างแรงงาน  การถ่ายทอดเทคโนโลยี  การวิจัยและพัฒนา   ซึ่งกฎหมายได้มีการห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศ  มาดูว่ามีธุรกิจอะไรบ้าง

  1.   ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ

1.1.  การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์

1.2.  การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน

1.3.  การเลี้ยงสัตว์

1.4.  การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมธรรมชาติ

1.5.  การทำการประมงเฉพาะการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยและในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย

1.6.  การสกัดสมุนไพรไทย

1.7.  การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทยหรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ

1.8.  การทำหรือหล่อพระพุทธรูป และการทำบาตร

1.9.  การค้าที่ดิน

  2.   ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบต่อศิลป วัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยแยกเป็นดังนี้

2.1. ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ

  2.1.1. การผลิต การจำหน่าย และการซ่อมบำรุง

  (ก) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ดินปืน วัตถุระเบิด

  (ข) ส่วนประกอบของอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด

  (ค) อาวุธยุทโธปกรณ์ เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะทางการทหาร

  (ง) อุปกรณ์หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์สงครามทุกประเภท

  2.1.2. การขนส่งทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศในประเทศ รวมถึงกิจการการบินในประเทศ

2.2. ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน

  2.2.1. การค้าของเก่า หรือศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรมของไทย

  2.2.2. การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก

  2.2.3. การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมไทย การทอผ้าไหมไทย หรือการพิมพ์ลวดลายผ้าไหมไทย

  2.2.4. การผลิตเครื่องดนตรีไทย

  2.2.5. การผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม เครื่องทองลงหิน หรือเครื่องเขิน

  2.2.6. การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย

2.3. ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม

  2.3.1.  การผลิตน้ำตาลจากอ้อย

  2.3.2.  การทำนาเกลือ รวมทั้งการทำเกลือสินเธาว์

  2.3.3.  การทำเกลือหิน

  2.3.4.  การทำเหมือง รวมทั้งการระเบิดหรือย่อยหิน

  2.3.5.  การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย

  3. ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว

    1. การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่

    2. การทำการประมง เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

    3. การทำป่าไม้จากป่าปลูก

  4.การผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ ชิปบอร์ด หรือฮาร์ดบอร์ด

  5.การผลิตปูนขาว

  6.การทำกิจการบริการทางบัญชี

  7.การทำกิจการบริการทางกฎหมาย

  8.การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม

  9.การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม

 10.การก่อสร้าง  ยกเว้น

    ก. การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนด้านการสาธารณูปโภค หรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยีหรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป

    ข. การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 11. การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน  ยกเว้น

   ก. การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์

   ข. การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็นต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน

   ค. การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อหรือจัดจำหน่ายหรือจัดหาตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิตในประเทศหรือนำ เข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป

   ง. การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 12. การขายทอดตลาด  ยกเว้น

   ก. การขายทอดตลาดที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อขายระหว่างประเทศที่มิใช่การ ประมูลซื้อขายของเก่า วัตถุโบราณ หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรม หรือโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ

   ข. การขายทอดตลาดประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 13. การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้

 14. การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำรวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้าน บาท หรือที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่ายี่สิบล้านบาท

 15. การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท

 16. การทำกิจการโฆษณา

 17. การทำกิจการโรงแรม เว้นแต่บริการจัดการโรงแรม

 18. การนำเที่ยว

 19  การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม

 20. การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช

 21. การทำธุรกิจบริการอื่น  ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง

  ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจดังกล่าวจะใช่ว่าจะห้ามเสียกัน หมดทุก ๆ คน แต่ก็ยังมีคนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นธุรกิจที่ต้องห้ามดังกล่าว  สามารถประกอบธุรกิจได้โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลเป็นการเฉพาะกาลก่อน  ฉะนั้น คนต่างด้าวที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราช บัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องนี้ด้วย

ที่มา : เว็บไซต์ pattanakit

อัพเดทล่าสุด