https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การแก้ปัญหาหนี้ท่วมหัว การแก้ปัญหาหนี้สิน วิธีแก้ปัญหาหนี้ท่วมหัว MUSLIMTHAIPOST

 

การแก้ปัญหาหนี้ท่วมหัว การแก้ปัญหาหนี้สิน วิธีแก้ปัญหาหนี้ท่วมหัว


1,023 ผู้ชม


การแก้ปัญหาหนี้ท่วมหัว การแก้ปัญหาหนี้สิน วิธีแก้ปัญหาหนี้ท่วมหัว
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว

ธุรกิจจะถือว่าอยู่ในภาวะหนี้สินล้น พ้นตัวถ้าธุรกิจไม่มีทรัพย์สินเพียงพอกับหนี้สิน หรือพูดง่ายๆ คือ ไม่มีเงินจ่ายหนี้เมื่อถึงเวลาต้องชำระนั่นเอง ซึ่งถ้าผู้ประกอบการมีการติดตามผลการดำเนินงานของธุรกิจอย่างจริงจัง โดยทำการคาดการณ์กระแสเงินสดและงบประมาณอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยส่งสัญญานเตือนในกรณีที่เกิดความไม่ชอบมาพากล เพื่อให้รีบทำอะไรสักอย่างสำหรับหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าว

เกร็ดความรู้ตอนนี้จะแนะนำวิธีในการ ลดความเสี่ยงของการมีหนี้สินมากเกินไป และทางออกที่เป็นไปได้ของภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของประเภทธุรกิจที่แตกต่างกัน

สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าวคือ การปรับปรุงกระแสเงินสดให้ดีขึ้น (Improve cashflow)

การรักษาเงินสดให้มีการไหลอย่างต่อ เนื่องภายในธุรกิจถือเป็นสิ่งท้าทายสำหรับธุรกิจขนาดเล็กมากพอควร ดังนั้น มาดูกันถึงวิธีต่างๆ ที่จะช่วยทำให้สถานการณ์กระแสเงินสดดีขึ้น

เรียกเก็บเงินอย่างตรงเวลา - การออกใบกำกับสินค้าที่ตรงเวลาและสม่ำเสมอจะช่วยให้เกิดความมั่นใจหนักแน่น ขึ้นว่าจะมีเงินไหลเข้ามาในธุรกิจ มีการต่อรองสำหรับการจ่ายเงินเป็นงวดๆ อย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาสัญญาระยะยาว

หลีกเลี่ยงการค้าเกินตัว – อย่ารับคำสั่งซื้อโดยที่ไม่มีเงินสดหรือทรัพยากรการผลิตที่เพียงพอ

เรียกเก็บหนี้ – ต้องไล่เก็บหนี้จากลูกหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด

ลดจำนวนสินค้าคงคลัง – สินค้าคงคลังเป็นตัวที่ทำให้ธุรกิจขาดเงินสดหมุนเวียน ควรมีการวางแผนในการที่จะลดปริมาณสต็อคลงให้เหลือน้อยที่สุด

ต่อรองการให้เครดิตของซัพพลายเออร์ – โดยการขอขยายระยะเวลาการชำระเงินในการซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์

คุยกับธนาคาร – ว่าจะสามารถสนับสนุนเงินทุนเพิ่มขึ้นได้หรือไม่

Factoring – โดยการขายใบกำกับสินค้าให้กับมือที่สาม ที่เรียกว่า ธุรกิจ Factor ซึ่งเขาจะหักเงินส่วนหนึ่งไว้ก่อนที่จะได้รับชำระจริง

ขายทรัพย์สิน – โดยเฉพาะทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือใช้ไม่เต็มที่แล้วค่อยใช้วิธีเช่าซื้อมาภายหลัง ซึ่งต้องกระทำด้วยความรอบคอบว่า ทรัพย์สินจะต้องถูกขายไปในราคาที่แท้จริง (Real Value) และตรวจสอบถึงผลที่ได้รับจากการขายว่าจะส่งผลต่อกำไรหรือขาดทุน

ต้องรู้จักที่จะต่อรองกับเจ้าหนี้

เจ้าหนี้สามารถที่จะขออำนาจศาลในการเข้ามาจัดการธุรกิจของคุณได้ เพราะฉะนั้น ต้องอย่าเพิกเฉยต่อการทวงหนี้ไม่ว่าทางใดทางหนึ่งก็ตาม
คุย กับเจ้าหนี้ก่อนที่จะประสบกับภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว อาจจะมีหนทางประนีประนอมหนี้ได้บ้าง ที่สำคัญต้องเปิดเผยและแสดงความจริงใจในการที่จะระบุถึงความสามารถในการชำระ หนี้ของคุณ และให้เน้นไปที่เจ้าหนี้ที่มีความตั้งใจจะลดจำนวนของลูกหนี้ที่กำลังจะมี ปัญหาลง เพราะนั่นหมายถึงความเต็มใจที่จะร่วมเจรจาด้วยกันอย่างประนีประนอม
แต่ ถ้าในกรณีที่หลังจากต่อรองกันไปแล้ว และยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา ต้องรีบติดต่อกับเจ้าหนี้ล่วงหน้า ในขณะเดียวกัน ชำระหนี้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้พร้อมทั้งคำมั่นสัญญาที่จะชำระส่วนที่ เหลือ หรือต่อรองเงื่อนไขกันใหม่ ที่สำคัญคือ อย่ารอจนกระทั่งเลยกำหนดเส้นตายในการชำระหนี้ใหม่ไปแล้ว

ที่แน่ๆ คงต้องลดต้นทุนค่าโสหุ้ยลง

เป็นความคิดที่ดีที่จะต้องทบทวนต้น ทุนค่าโสหุ้ยของธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นต้นทุนส่วนที่มีผลต่อเงินสดมาก แต่ต้องระวังไม่มากจนกระทั่งไม่สามารถทำงานได้ ค่าโสหุ้ยที่มักจะถูกตัดก่อนได้แก่ ค่าโฆษณา ค่าวิจัยและพัฒนา ที่เห็นผลได้ทันที ส่วนค่าโสหุ้ยอื่น เช่น ต้นทุนในทรัพย์สิน หรือสินค้าทุน เป็นต้น จะใช้ระยะเวลานานกว่าที่จะส่งผลต่อสถานะของงบดุล
คุณอาจตัดต้น ทุนทางด้านบุคลากรลง ด้วยการจำกัดการทำงานล่วงเวลา หรือตัดชั่วโมงการทำงานลง หรือแม้กระทั่งการลดจำนวนบุคลากร ซึ่งอาจต้องใช้เงินจำนวนมากในระยะสั้น แต่ต้องระวังผลเสียหายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้กับธุรกิจ และในเชิงศีลธรรม รวมไปถึงบุคลากรหลักเองอาจรู้สึกไม่มั่นคงและออกจากธุรกิจได้เช่นกัน จึงควรที่จะมีการพูดคุยกันก่อนที่จะตัดสินใจ บางทีคุณอาจได้รับข้อเสนอแนะดีๆ จากบุคลากรเหล่านั้นในการช่วยลดต้นทุนก็เป็นได้
ยังมีวิธีอื่นอีกที่คุณ อาจลดค่าโสหุ้ยลงได้ชั่วคราว เช่น เลื่อนการซื้อเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆ ออกไป ซึ่งถึงแม้อาจทำให้คุณไม่สามารถลงทุนเพื่อขยายกิจการได้เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ต้องทำภายใต้ความมั่นใจที่ยังคงสามารถแข่งขันได้ในธุรกิจนี้อยู่ การยอมปล่อยทรัพย์สินทางธุรกิจส่วนหนึ่งไป การเช่าซื้อเครื่องไม้เครื่องมือแทนการซื้อ หรือแม้แต่การต่อรองสัญญาใหม่กับซัพพลายเออร์ เป็นต้น

ควรหาข้อแนะนำที่ดีจากแหล่งต่าง ๆ

จะเป็นการดีถ้าได้มีโอกาสขอคำแนะนำ ทางกฎหมายและทางการเงินทันทีที่ธุรกิจมีปัญหา เพราะจะทำให้มีเวลาพอสำหรับการหาทางออกที่ดีสำหรับธุรกิจคุณ สถานการณ์ที่ควรหาคำแนะนำดีๆ ได้แก่

เมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้
เมื่อได้รับหมายศาล
เมื่อไม่สามารถจ่ายค่าจ้างให้กับบุคลากร
เมื่อขาดทุนดำเนินงานอย่างมาก
นัก บัญชีซึ่งคุ้นเคยกับธุรกิจของคุณดีจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการให้ข้อแนะนำ สำนักงานกฎหมายต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน หรือไม่อาจจะไปขอคำปรึกษาจากหน่วยงานภาครัฐที่ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ อย่างเช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นต้น

ทางออกที่เป็นไปได้สำหรับกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัด (Limited Companies)

ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นนี้ได้ จำเป็นที่คุณต้องคิดหาวิธีที่จะจัดการกับปัญหานี้ ซึ่งมีหลายทางเลือก

ขายทรัพย์สินเพื่อนำมาชำระหนี้ (Liquidation) ซึ่งจะทำให้ธุรกิจหยุดดำเนินการเมื่อทรัพย์สินถูกขายให้กับเจ้าหนี้

เตรียมการประนีประนอมหนี้ ซึ่งธุรกิจสามารถใช้ที่ปรึกษาในการจัดการภาระหนี้สิน เพื่อเตรียมตัวและต่อรองจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้และคุณ กรณีนี้คุณและที่ปรึกษาต้องจัดทำแผนการชำระหนี้ใหม่ที่น่าประทับใจ มีความเป็นไปได้สูง และแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงนำเสนอต่อเจ้าหนี้

จัดหาผู้ที่จะเข้ามารับช่วงดูแลกิจการ (Receiver) กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อจำเป็นต้องมีผู้ที่จะเข้ามารับช่วงดูแลกิจการ โดยมักจะได้รับการแต่งตั้งมาจากเจ้าหนี้ให้เข้ามาประเมินสถานการณ์ว่าควรจะ ขายกิจการ หรือดำเนินงานต่อ หรือปิดตัวลง ส่วนใหญ่มักจะเป็นเจ้าหนี้ในระบบอย่างเช่น ธนาคาร เป็นต้น ในบางกรณี ธุรกิจที่เป็นบริษัทจำกัดอาจขอจัดหาผู้ที่จะเข้ามารับช่วงดูแลกิจการเอง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการขายกิจการที่ไม่ถูกต้องได้

จัดหานักบริหารมืออาชีพ (Administrator) มากู้สถานการณ์ นักบริหารที่พูดถึงนี้จะมีบทบาทในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นและพยายามให้ ธุรกิจเดินหน้าต่อไปอีกครั้งถ้าเป็นไปได้ บุคคลเหล่านี้อาจได้รับการแต่งตั้งจากศาล เจ้าหนี้ หรือตัวธุรกิจเอง โดยมีหน้าที่ฟื้นฟูธุรกิจ หรือถ้าเป็นไปไม่ได้ก็จะทำหน้าที่หาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าหนี้ทุกราย

หรืออาจจะเลือกที่จะหาทางออกที่ดีที่ สุดสำหรับเจ้าหนี้รายสำคัญเป็นหลักโดยไม่ทำให้เจ้าหนี้รายอื่นเสียประโยชน์ อย่างไม่จำเป็น ซึ่งนักบริหารมืออาชีพนี้จะบริหารธุรกิจและเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อตัดสิน ใจร่วมกันว่าจะทำอะไรต่อกับกิจการที่เข้ามาดูแล

ทางออกที่เป็นไปได้สำหรับกิจการในรูปแบบห้างหุ้นส่วนหรือเจ้าของกิจการคนเดียว (Partnerships and Sole Traders)

เจ้าของกิจการคนเดียวตกอยู่ในภาวะ หนี้สินล้นพ้นตัว จะมีหนี้สินและกระบวนการที่แตกต่างเล็กน้อยกับบริษัทที่อยู่ในสถานการณ์ เดียวกัน เจ้าของกิจการคนเดียวสามารถยอมให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายได้ถ้ามีภาวะ หนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งผู้ที่เข้ามาดูแลกิจการจะเข้ามาควบคุมสิ่งปลูกสร้าง และทำตัวเหมือนเป็นผู้ดูแลทรัพย์สิน (Trustee) สามารถจำหน่ายหรือเปลี่ยนแปลงสถานะของทรัพย์สินที่มีอยู่เพื่อนำไปชำระหนี้ ให้แก่เจ้าหนี้ได้ ซึ่งก่อนหน้าที่จะยอมเป็นบุคคลล้มละลาย มีความเป็นไปได้ที่จะมีการประนีประนอมหนี้เกิดขึ้น โดยมีแผนการชำระเงินที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าไม่สามารถทำตามแผนดังกล่าวคุณจะต้องถูกประกาศให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทันที

สำหรับธุรกิจที่อยู่ในรูปของห้างหุ้น ส่วน การขายทรัพย์สินเพื่อนำมาชำระหนี้ (Liquidation) การเตรียมการประนีประนอมหนี้ และการจัดหานักบริหารมืออาชีพ (Administrator) มากู้สถานการณ์ สามารถกระทำได้เช่นเดียวกับกรณีของบริษัทจำกัด

ที่มา : เว็บไซต์ pattanakit

อัพเดทล่าสุด