https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วิธีรักษาโรคเท้าแบน โรคเท้าแบนรักษาได้หรือไม่การรักษาโรคเท้าแบน MUSLIMTHAIPOST

 

วิธีรักษาโรคเท้าแบน โรคเท้าแบนรักษาได้หรือไม่การรักษาโรคเท้าแบน


907 ผู้ชม


วิธีรักษาโรคเท้าแบน โรคเท้าแบนรักษาได้หรือไม่การรักษาโรคเท้าแบน

             วิธีรักษาโรคเท้าแบน


เท้าแบน...ทำไงดี

อ.พญ.กุลภา  ศรีสวัสดิ์
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 เท้า แบน เป็นปัญหาของเท้าที่พบบ่อยปัญหาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นภาวะปกติหรือผิดปกติ และอาจแสดงหรือไม่แสดงอาการใด ๆ ลักษณะของภาวะเท้าแบน พบในผู้ที่มีอุ้งเท้าเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย โดยอาจเป็นอยู่เดิมหรือเกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากที่กระดูกมีการเจริญเติบโต เต็มที่แล้ว
พัฒนาการของอุ้งเท้า
            การเจริญเติบโตของโครงสร้างเท้าส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วง 7 - 8 ขวบปีแรก โดยเมื่อเด็กเริ่มตั้งไข่และเดิน เท้าของเด็กจะมีลักษณะ 3F คือ fat, flat และ floppy การ เดินจะไม่มีการถ่ายน้ำหนักจากส้นเท้าไปสู่ปลายเท้าเหมือนในผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงในการยืนและเดิน โครงสร้างของเท้าและอุ้งเท้าจะมีลักษณะเหมือนผู้ใหญ่เมื่ออายุประมาณ 7 - 8 ปี ส่วนการเดินในลักษณะถ่ายน้ำหนักจากส้นเท้าไปสู่ปลายเท้าจะเริ่มเมื่ออายุ 3 - 4 ปี
ปัญหาเท้าแบนที่พบบ่อยในเด็ก
            ส่วน ใหญ่เป็นภาวะเท้าแบนชนิดไม่ติดแข็งที่คงอยู่ต่อเนื่องมาตั้งแต่วัยเด็กเล็ก อุ้งเท้าไม่สูงขึ้นแม้กระดูกจะมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็ตาม มักจะพบทั้งสองข้าง  าเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม ผู้ ป่วยมักรู้สึกว่าเท้าหรือขาอ่อนล้าง่าย ร่วมกับปวดบริเวณอุ้งเท้า ส้นเท้าและเท้าด้านนอก โดยอาการเป็นมากขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนัก ขณะยืนลงน้ำหนักจะพบส้นเท้าบิดออกมากกว่าปกติ ส่วนใหญ่มักจะมีกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวายตึงร่วมด้วย หากมีส้นเท้าบิดมากๆ เป็นเวลานาน อาจทำให้ข้อเสื่อม และเคลื่อนไหวได้น้อยลง เท้าแบนชนิดนี้ไม่ถือว่าเป็นโรค ดังนั้นหากไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใดๆ เพียงติดตามความเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ
 
            การรักษา มุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้มีการผิดรูปเกิดขึ้น ควบคุมน้ำหนัก  ปรับกิจกรรม  ใช้อุปกรณ์เสริมในรองเท้า และปรับรองเท้า อาจรับประทานยาหรือทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง ส่วนการผ่าตัดจะพิจารณาเมื่อการรักษาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล
ปัญหาเท้าแบนที่พบบ่อยในผู้ใหญ่
            ส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบหรือสูญเสียหน้าที่ของเอ็นประคองอุ้งเท้า มักเป็นเพียงข้างเดียว พบบ่อยในเพศหญิง อายุ 45 - 65 ปี ซึ่งไม่มีประวัติอุบัติเหตุนำมาก่อน อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อใช้งานหนัก เช่น ยืนนาน ๆ หรือเดินมาก จะรู้สึกปวดบริเวณอุ้งเท้า ส้นเท้าและข้อเท้าด้านใน หากเป็นมากขึ้นอาจยืนเขย่งปลายเท้าไม่ได้ เท้าผิดรูปจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ข้อติดแข็ง

การรักษา
            คล้าย กับการรักษาเด็ก โดยกาควบคุมน้ำหนัก การใช้อุปกรณ์เสริมในรองเท้า และการปรับรองเท้า อาจรับประทานยาหรือทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง ส่วนการผ่าตัดจะพิจารณาเมื่อการรักษาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล
 
การใช้อุปกรณ์เสริมและการปรับรองเท้า (Pedorthic Management)
            Pedorthics เป็นศาสตร์ของการดูแลรักษาและป้องกันปัญหาต่าง ๆ ของเท้า โดยการออกแบบและผลิตอุปกรณ์เสริมภายในรองเท้า (foot orthoses) รวมทั้งการผลิตหรือปรับรองเท้า (shoe modification) อย่างเหมาะสม โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมและสอบระดับมาตรฐานทาง Pedorthics เรียกว่า Certified Pedorthist (C.Ped.) 
            การ ใช้อุปกรณ์เสริมภายในรองเท้ามีเป้าหมายเพื่อปรับรูปเท้าให้อยู่ในลักษณะปกติ ที่สุดเท่าที่จะทำได้ และป้องกันไม่ให้อุ้งเท้าแบนจนเอียงล้มมากขึ้น อาจทำได้โดยใช้อุปกรณ์เสริมชนิดสำเร็จรูป หรือใช้อุปกรณ์เสริมชนิดหล่อพิเศษเฉพาะราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของปัญหาเท้าแบน อย่างไรก็ตามอุปกรณ์เสริมนั้นจะใช้ได้ประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อใช้กับ รองเท้าที่เหมาะสมเท่านั้น
            รองเท้า ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เท้าแบน ควรเป็นรองเท้าชนิดหุ้มส้น เช่น รองเท้าคัทชูส์หรือรองเท้ากีฬา และควรมีความกว้างส่วนหน้าเท้าพอสมควร ควรหลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าแตะ หรือรองเท้าชนิดที่มีสายรัดส้นเท้า นอกจากนี้พื้นรองเท้าภายในควรจะมีเนินช่วยประคองบริเวณอุ้งเท้าอีกด้วย
            การ สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสมร่วมกับการใช้อุปกรณ์เสริมภายในรองเท้า จะช่วยให้ผู้ที่เท้าแบนสามารถใช้เท้าทำงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

            Link   https://www.si.mahidol.ac.th

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

              โรคเท้าแบนรักษาได้หรือไม่

      โรคเท้าปุก / โรคเท้าแบน      

โรคเท้าปุก คือ โรค เท้าปุกเป็นความผิดปกติของเท้าที่เป็นตั้งแต่กำหนดประเภทหนึ่ง โดยมีลักษณะความผิดรูปแบบข้อเท้าจิกลงล่าง บิดเข้าใน และฝ่าเท้าหงายขึ้น ทำให้มีรูปร่างเหมือนไม้กอล์ฟ อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้

สาเหตุของโรคเท้าปุก?

สาเหตุ ของโรคเท้าปุกยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีองค์ประกอบของสาเหตุหลาย ๆ อย่างรวมกัน อันได้แก่ สิ่งแวดล้อมในครรภ์มารดาซึ่งมีผลต่อท่าของเท้าในขณะที่อยู่ในมดลูก, กรรมพันธุ์, กระดูกเท้าถูกสร้างมาผิดรูป, กล้ามเนื้อควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อเท้า และเท้าไม่สมดุลกัน

อุบัติการของโรคเท้าปุก?

โรค เท้าปุกเกิดขึ้นเป็น 1 ใน 1,000 ราย ของเด็กทารกที่คลอดใหม่ (สถิติในสหรัฐอเมริกา) ในประเทศไทยพบว่าบ่อยกว่านี้ เด็กผู้ชายเป็นโรคนี้น้อยกว่าเด็กผู้หญิงพบเป็นสองข้างมากพอ ๆ กับเป็นข้างเดียว

การรักษาโรคเท้าปุก

โรค นี้สามารถรักษาให้หายได้ ยิ่งรักษาเร็วเท่าไรยิ่งได้ผลดี การรักษาในเด็กแรกคลอด คือ การดัดเท้าให้กลับคืนสู่รูปร่างที่ปกติและควบคุมด้วยเผือก ทำการดัดและเปลี่ยนเฝือกทุก ๆ สัปดาห์จนได้รูปร่างที่ปกติแล้วตามด้วยการใส่รองเท้าพิเศษตลอดเวลาอีก 2 เดือน และใส่เฉพาะเวลากลางคืนจนอายุ 4-5 ขวบ วิธีการนี้อาจต้องมีการดัดเอ็นร้อยหวายร่วมด้วย เพื่อให้เท้ามีรูปร่างที่ปกติอย่างสมบูรณ์ การรักษาด้วยการดัดเท้าร่วมกับการเข้าเฝือกนี้ถ้าทำตั้งแต่เด็ดคลอดใหม่จะ ได้ผลดีถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีรูปร่างเท้ายังไม่ปกติ (โดยทั่วไปมักจะดีขึ้นกว่าตอนแรกคลอดมาก) ก็จะต้องรับการผ่าดัดรักษาตามด้วยการเข้าเฝือกและการใส่รองเท้าพิเศษ

สรุป โรค เท้าปุก เป็นความผิดรูปของเท้าที่เป็นตั้งแต่กำหนด ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเด็กจะเดินด้วยหลังเท้า มีขาลีบและยาวไม่เท่ากัน นำมาซึ่งความพิการที่ทุกข์ทรมาน และเป็นปมด้อยกับเด็กไปตลอดชีวิต

โรคเท้าแบน ที่จะพูดในที่นี้จะพูดเฉพาะโรคเท้าแบนที่เรียกว่าเท้าแบนแบบยืดหยุ่น (FLEXIBLE FLATOOT) คือมีลักษณะที่อุ้งเท้าจะหายไปเวลายืนลงน้ำหนัก แต่เวลานั่งและนอนจะมีอุ้งเท้ากลับคืนมา หรือถ้ามองเห็นอุ้งเท้าไม่ชัดในท่าที่นั่งหรือนอนอยู่ให้ยืนเขย่งปลายเท้าก็ จัเห็นอุ้งเท้าได้ชัดเจน โรคนี้ไม่มีสาเหตุที่แน่นอน แพทย์บางท่านเชื่อว่าโรคนี้ เกิดขึ้นจากการที่เอ็นที่ยึดกระดูกฝ่าเท้าไม่แข็งแรงทำให้เท้าแบนราบเวลารับ น้ำหนัก เด็กแรกคลอดจนถึง 2 ขวบเท้าอาจจะดูแบนโดยที่ไม่ได้เป็นโรคเท้าแบน โรคเท้าแบนแบบยืดหยุ่นนี้อาจจะดีขึ้นเอง ตามการเจริญเติบโตของเท้า สำหรับในรายที่โรคเท้าแบนไม่หายไปก็ไม่เป็นไร เพราะคนที่เป็นโรคเท้าแบนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอะไร

การรักษา

1. ไม่ต้องรักษา ส่วนใหญ่ของคนที่มีโรคเท้าแบนจะไม่มีอาการอะไร เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องการการรักษา

2. การใส่รองเท้าที่มีหมอนหนุนตรงบริเวณอุ้งเท้าทำได้ง่ายโดยดัดหมอนหนุนเข้า กับรองเท้าอะไรก็ได้ที่ผู้ป่วยชอบใส่ การใส่รองเท้าแบบนี้อาจช่วยให้คนที่มีอาการเมื่อยหรือปวดฝ่าเท้าสามารถ บรรเทาอาการลงได้

3. การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดเท้า อันมีเท้าแบนเป็นสาเหตุและมีความรุนแรงของอาการมาก และไม่ดีขึ้นด้วยวิธีอื่นๆ

                Link   https://www.chaophyachildrenhospital.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

          การรักษาโรคเท้าแบน

รู้จักกับโรคเท้าแบน

รู้จักกับโรคเท้าแบน


เท้า

รู้จักกับโรคเท้าแบน (Men's Health)
โดย พ.ต.ท.นพ.ธรรมโรจน์ ปุญญโชติ
          โรคเท้าแบน (Flat Feet) จัดเป็นปัญหาหนึ่งของเท้าที่พบได้บ่อย ๆ บางคนอาจจะงง หรือแปลกใจว่าคือโรคอะไร ไม่เห็นเคยได้ยิน แล้วจะร้ายแรงขนาดไหน เป็นโรคติดต่อหรือเปล่า รักษาให้หายได้ไหม ถ้าอย่างนั้น ลองมาทำความรู้จักกับโรคนี้ รวมทั้งวิธีการรักษา และป้องกันในอนาคตกันนะครับ
          จริง ๆ แล้วโรคเท้าแบนไม่ใช่โรคครับ แต่เป็นภาวะที่ฝ่าเท้าไม่มีอุ้งเท้า ซึ่งเป็นปัญหาของเท้าที่พบได้บ่อยปัญหาหนึ่ง เกิดจากรูปร่างเท้าผิดปกติที่ส่วนโค้งด้านในของเท้าหรืออุ้งเท้า ซึ่งโดยปกติจะเป็นส่วนโค้งเว้าเข้าไปด้านใน แต่ในผู้ที่มีเท้าแบน ส่วนโค้งนี้จะน้อยกว่าปกติ อาจแบนราบเป็นเส้นตรงหรืออาจโค้งนูนยื่นออกมา ซึ่งสามารถแบ่งเท้าแบนได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1.เท้าแบนแบบยืดหยุ่น (Flexible Flat Feet)
          แยกได้ง่าย ๆ คือให้ยกเท้าขึ้นจากพื้น ถ้าเป็นแบบยืดหยุ่นจะพบว่า มีอุ้งเท้าได้เหมือนเดิม แต่เมื่อยืนลงน้ำหนัก ส่วนโค้งเว้าด้านในจะลดลงหรือหายไป ซึ่งลักษณะนี้พบบ่อยที่สุดคือประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไป
          บางรายอาจมีอาการเจ็บบริเวณเท้า ข้อเท้าเอ็นร้อยหวาย หรือสังเกตได้ว่ารองเท้าสึกบริเวณด้านในมากกว่าด้านนอก เนื่องจากน้ำหนักของฝ่าเท้าที่ลงด้านนี้มากกว่า มักพบตอนโต และในวัยรุ่นที่มีน้ำหนักตัวเพิ่ม สาเหตุที่ชัดเจนยังไม่พบ แต่พบว่าสัมพันธ์กับพันธุกรรม กล่าวคือพบในญาติพี่น้องที่มีลักษณะเท้าแบนเหมือนกันด้วย
2.เท้าแบนแบบยืดติด (Rigid Flat Feet)
          พบได้น้อย วิธีสังเกตคือไม่ว่าจะลงน้ำหนักหรือไม่ก็ตาม เท้าก็จะแข็งแบนผิดรูปในลักษณะนั้นตลอด
          วิธีการรักษา มุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดการผิดรูปควบคุมน้ำหนัก ปรับกิจกรรม ใช้อุปกรณ์เสริมในรองเท้า ทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง
โรคเท้าแบน
โรคเท้าแบน

การใช้อุปกรณ์เสริมและปรับรองเท้า
          1.รองเท้าที่เหมาะสมควรเป็นรองเท้าหุ้มส้น เช่น คัตชู หรือรองเท้ากีฬา ส่วนหน้าเท้ามีความกว้างพอสมควร และควรหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าแตะ
          2.ใส่พื้นรองกายในเท้า หรือเรียกว่า "Insole" ที่มีเสริมบริเวณอุ้งเท้าด้านใน (Medel Arch Support) ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ เพื่อสั่งตัดเฉพาะแต่ละคนไป หรือบางคนอาจจะซื้อ Insole แบบสำเร็จรูปมาใช้ก็ได้ ถ้ามีภาวะเท้าแบนไม่มากหรือไม่เจ็บส้นเท้า
          3.ทำกายภาพบำบัด โดยการสร้างความแข็งแรงบริเวณอุ้งเท้า เช่น เดินหรือยืนบนปลายเท้า โดยที่ส้นเท้าไม่แตะพื้นเลย อาจใช้เวลาประมาณ 5 นาที และทำทุกวัน
          การ แก้ไขภาวะเท้าแบนไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเห็นผลในระยะเวลาสั้น ๆ คุณอาจจะต้องขยันและอดทนในการแก้ไขภาวะนี้ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหากับเท้าหรือส้นเท้า เมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัยขึ้นไป

Tip
          การรักษาอาการปวดส้นเท้าที่อาการไม่วิกฤตมากนัก สามารถทำได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่น
          1. ลดกิจกรรมที่ทำให้ปวด หรือกิจกรรมที่ต้องลงน้ำหนัก เช่น การยืนหรือเดินนาน ๆ และควรเลือกออกกำลังกายแบบที่ไม่ต้องใช้การลงน้ำหนักมากควบคู่กันไป เช่น ว่ายน้ำ
          2. ใส่รองเท้าที่เหมาะสม มีขนาดพอดี มีพื้นรองเท้าที่นุ่ม และมีแผ่นรองรับอุ้งเท้า อาจใช้แผ่นนุ่มๆ รองที่ส้นเท้าเพื่อลดอาการปวด หรือใช้แผ่นยางสำหรับรองส้นเท้าโดยเฉพาะก็ได้

  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย 



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก wikipedia
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด