https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เด็ก 2 ขวบเลิกนมจะขาดสารอาหารหรือไม่ ข่าวการขาดสารอาหารของเด็กปฐมวัย การวิจัยของเด็กปฐมวัยเด็กขาดสารอาหาร MUSLIMTHAIPOST

 

เด็ก 2 ขวบเลิกนมจะขาดสารอาหารหรือไม่ ข่าวการขาดสารอาหารของเด็กปฐมวัย การวิจัยของเด็กปฐมวัยเด็กขาดสารอาหาร


2,607 ผู้ชม


เด็ก 2 ขวบเลิกนมจะขาดสารอาหารหรือไม่ ข่าวการขาดสารอาหารของเด็กปฐมวัย การวิจัยของเด็กปฐมวัยเด็กขาดสารอาหาร

               เด็ก 2 ขวบเลิกนมจะขาดสารอาหารหรือไม่

บ๊ายบายขวดนม เมื่อไหร่ดี

บ๊ายบายขวดนม เมื่อไหร่ดี

เลิกขวดนม - baby

บ๊ายบายขวดนม เมื่อไหร่ดี
(M&C แม่และเด็ก)
           การดูดนมขวดของทารกแรกเกิด ถือเป็นการเริ่มการทานนมที่เขาคุ้นลิ้นและคุ้นเคยมาก่อน แล้วจู่ๆ จะเปลี่ยนจากจุกนิ่มๆ มาเป็นหลอดหรือแก้ว ที่ไม่คุ้นเคยเอาเสียเลยนั้น คงจะทำร้ายจิตใจเจ้าหนูมากเกินไป แต่ทุกอย่างมีทางออกเสมอ ถ้าแม่มีความพยายามฝึกลูกอย่างเต็มที่ เชื่อแน่ว่าลูกต้องเลิกนมขวดได้เร็วแน่นอน และถ้าแม่เองทราบถึงผลพวงของการเลิกนมขวดช้าแล้วละก็ น่าจะช่วยให้แม่ให้ลูกเลิกนมขวดได้เร็วขึ้น เพราะอะไรนั้น เรามีคำตอบค่ะ 

เลิกนมขวดช้าไป
           แพทย์ มักแนะให้เลิกดูดนมขวดตั้งแต่อายุประมาณ 6 เดือน และฝึกให้ทานนมจากแก้วหรือจากหลอดแทน เพราะช่วงนี้เด็กเริ่มนั่งได้ สามารถใช้มือจับแก้วได้ เพราะถ้าหากฝึกให้ลูกเลิกนมขวดช้ากว่านี้จะยาก เพราะเขาจะดื้อ ไม่ยอมฟังเหตุผลค่ะ ขณะเดียวกัน ควรหยุดให้นมตอนกลางคืนตั้งแต่อายุ 6 เดือน
           การ เตรียมพร้อมในการเลิกนมขวด ต้องเตรียมตั้งแต่เริ่มให้นม โดยตอนให้นมขวดไม่ควรเติมของรสหวานลงทุกชนิดไปในขวดนม ควรให้ลูกดูดนมเป็นเวลา แยกเวลากินเวลานอนออกจากกัน ไม่ควรให้นมลูกก่อนเข้านอน เพราะการการดูดนมหลับคาขวด จะทำให้มีโอกาสเกิดฟันผุมาก
เมื่อหนูติดนมขวดมีผลอย่างไร
           1. ฟันผุ ฟันสบกันไม่ดี โดยส่วนใหญ่แล้วแม่มักให้ลูกดูดนมก่อนนอน จนลูกหลับคาขวดนม เด็กจะติด บางคนถ้าไม่ได้ดูดนม ก็จะนอนไม่หลับเลย เมื่อเป็นเช่นนั้นบ่อยๆ เด็กก็มีโอกาสเกิดฟันผุจากคราบน้ำนมที่ค้างปากทั้งคืน และยิ่งเป็นขนมชนิดหวาน ก็ย่อมมีผลมากขึ้นด้วยค่ะ และนอกจากนี้ ถ้าคุณแม่ปล่อยให้น้องดูดนมขวดเป็นเวลานาน จนเด็กโต จุกนมที่ดูดนั้นมีผลต่อการเรียงของฟัน ทำให้การสบฟันไม่ดี ฟันยื่น และเสียโอกาสในการเรียนรู้ฝึกฝน พัฒนา ปากและฟัน ตามขั้นตอนด้วยค่ะ
           2. โรคอ้วน ในวัย 1 ขวบขึ้น เป็นวัยที่ทานข้าวเป็นสารอาหารหลัก ส่วนนมนั้นเป็นอาหารเสริม แต่ในเด็กที่ทานนมขวด มักไม่ค่อยทานข้าว เพราะติดรสหวานจากนมขวด ทำให้ไม่สนใจที่จะทานข้าว เมื่อทานนมมากๆ ก็จะได้แต่น้ำตาล ขาดสารอาหารจากข้าวตามวัยที่เด็กควรจะได้รับ จึงทำให้เกิดโรคอ้วนตามมาได้
           3. ไม่ยอมทานข้าว เด็ก ที่ติดขวดนมมักปฏิเสธการทานข้าว ทานน้อย และถ้าปล่อยไว้จนโต เด็กก็จะดื้อจนปรับเปลี่ยนได้ยากมากขึ้น จนติดการดูดนมจนเป็นกิจวัตร แม้ไม่หิวก็ดูด เด็กจึงไม่รู้สึกอยากทานข้าว

           4. ขาดทักษะที่สำคัญ ยังทำให้เด็กเสียโอกาสในการพัฒนาทักษะการพูด การเคี้ยวและการใช้มือในการทำกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย
เมื่อหนูเลิกนมขวด
           1. ฟันไม่ผุ ฟันสวย เพราะเด็กที่เลิกทานนมขวด หันมาทานนมจากแก้วหรือจากหลอด ทำให้เลิกนมมื้อดึกได้เร็วขึ้น ไม่ต้องดูดนมจนหลับคาปาก โอกาสเกิดฟันผุก็น้อยลง ทำให้ฟันสวยและไม่เสียรูปทรง
           2. ไม่ปัสสาวะรดที่นอน การเลิกนมขวดมาทานนมจากแก้ว ไม่ต้องทานนมตอนกลางคืนเหมือนแต่ก่อน ก็จะปัสสาวะได้น้อยลง จึงช่วยฝึกการขับถ่ายให้ลูกด้วย
           3. ทานข้าวได้เยอะ เพราะเด็กไม่ติดขวดนม ก็จะลดการดูดนม ทำให้ทานข้าวได้มากขึ้น เพราะไม่อิ่มนม
           4. แม่เหนื่อยน้อยลง เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการล้างขวด สามารถพกพาแก้วหรือดื่มจากกล่องได้ทุกที่ทุกเวลา
           5. ได้ฝึกทักษะ เด็กจะได้ฝึกทักษาการใช้มือและพัฒนาการปากและฟัน ตามพัฒนาการที่ควรจะเป็น และเด็กก็จะไม่รู้สึกอายเมื่ออยู่ร่วมกับเพื่อนในชั้นด้วย ทำให้เด็กมีบุคลิกภาพที่ดีด้วย
           จาก การศึกษาการใช้ขวดนมในเด็กอายุ 1 - 4 เดือน ระหว่างปี 2546 - 2549 จำนวน 1,038 ราย พบว่า เด็กอายุ 1 ปีขึ้น ไม่สามารถที่จะเลิกขวดนมได้ ส่วนเด็กอายุ 6 เดือน ร้อยละ 85 ยังดูดนมมื้อดึก เด็กอายุ 2 - 3 ปีร้อยละ 70 ยังดูดนมจากขวด และร้อยละ 50 ยังดูดนมมื้อดึก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
                   ข่าวการขาดสารอาหารของเด็กปฐมวัย

หลักการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดเตรียมอาหารที่จะสามารถให้ ประโยชน์แก่เด็กได้อย่างเต็มที่ โดยใช้งบประมาณที่เหมาะสม ในการจัดการที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่โดยยึดหลัก
1. การจัดอาหารที่มีประโยชน์
2. เป็นอาหารที่มีคุณค่า
3. การจัดอาหารที่ประหยัด
นอกจากนี้ควรศึกษาและเข้าใจในสาระสำคัญใน ด้าน การจัดรายการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดรายการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
เป็นการจัดอาหารสำหรับเด็กเมื่อมาอยู่ในสถานศึกษา คือ อาหารหลัก 1 มื้อ และอาหารว่าง พร้อมเครื่องดื่มในตอนเช้าและบ่ายอีก 2 มื้อ รวมเป็น 3 มื้อ อาจแยกได้ ดังนี้
1. อาหารหลัก เป็นอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการในการเสริมสร้างความเจริญเติบโต มีคุณ ค่าทางอาหารมาก เพื่อความสะดวกของผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจัดเป็นรูปแบบอาหารจานเดียว ที่มี ความสมบูรณ์แบบทั้งคุณค่าทางโภชนาการ และเด็กสะดวกในการกินอาหารจานเดียว ซึ่งจะอยู่ ในลักษณะอาหารที่ปรุงสำเร็จใส่มาในจานเดียวกินได้โดยไม่ต้องมีอาหารอื่น เป็นการประหยัด เวลาและแรงงาน กำหนดคุณค่าทางอาหารได้ชัดเจน เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยวทั้งน้ำและแห้ง ผัดมักกะโรนี ผัดไทย ซึ่งต้องมีอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เนื้อสัตว์ ผัก เด็กจะกินได้สะดวก

ข้อดี ของอาหารหลักประเภทอาหารจานเดียว คือ ไม่ต้องเสีย เวลาประกอบอาหารมาก สามารถทำได้อย่างรวดเร็วใช้เครื่อง มือ เครื่องใช้น้อย สามารถเพิ่มเติมส่วนประกอบได้ง่าย แต่ผู้ ปรุงต้องมีความรู้ทางโภชนาการที่จะปรับปรุงอาหารให้ดูน่ากิน โดยยังคงคุณค่า (ตัวอย่างการจัดอาหารหลักที่เป็นอาหารจานเดียว)

2. อาหารว่าง เป็นอาหารที่มิใช่อาหารคาวหรืออาหารหวาน แต่เมื่อเด็กกินแล้วจะอิ่มใช้สำหรับ เสริมให้แก่เด็กก่อนกินอาหารกลางวันเวลา 10.00 น. เพราะเด็กบางคนอาจกินอาหารเช้ามาน้อยหรือไม่ได้กินเลย และก่อนกลับบ้านเวลา 14.00 น. เพื่อ เสริมอันเกิดจากเด็กกินข้าวเที่ยงน้อยหรือมิให้ท้องว่างเกินไป ก่อนกินอาหารเย็น ควรเป็นอาหารที่เตรียมง่ายหาได้ในท้องถิ่น เช่นชาละเปา ข้าวต้มมัด ฟักทอง นึ่ง ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคู ไส้หมู แซนวิชง่าย ๆ หลักการจัดอาหารว่างเสริมให้แก่เด็ก จะ ต้องจัดอาหารที่ให้แคลอรีและโปรตีน นอกจากนี้แล้วยังต้องให้ วิตามินหรือสารอาหารที่เพิ่มเติม ที่ยังขาดอยู่ให้แก่เด็กในแต่ ละวัน ทำได้ง่าย หาได้ในท้องถิ่น เด็กสามารถกินได้สะดวก ต้องไม่จัดอาหารด้อยคุณค่าให้แก่เด็ก เช่น ขนมกรุบกรอบเป็น ซองที่ใส่สารชูรสมาก หรือขนมสำเร็จรูปใส่สี เช่น เยลลี่ที่ไม่มี คุณค่าทางอาหารเพราะเด็กจะได้รับพิษจากอาหารเหล่านี้ เมื่อ กินสะสมเป็นเวลานานๆ (ตัวอย่างการจัดอาหารว่างหรืออาหารเสริม)

3. อาหารหวาน เป็นอาหารที่สามารถเสริมคุณค่าของอาหาร หลักได้ จะมีรสชาติหวานน้อยไปจนหวานมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ ควรเลือกอาหารที่ให้ความหวานแต่เพียงอย่างเดียว ควรเลือก ขนมหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วย อาทิ เช่น ของหวาน ระหว่างขนมวุ้นใส่น้ำเชื่อมกับขนมถั่วแดงน้ำเชื่อม ควรเลือก ถั่วแดงที่จะให้คุณค่ามากกว่า โดยอาจใส่สีแดงหรือนมสดใน ถั่วแดงเป็นถั่วแดงเย็น เพื่อเปลี่ยนรสชาติของเด็ก (ตัวอย่างการจัดอาหารหลักที่เป็นอาหารหวาน)

             Link    https://www.northeducation.ac.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
 

             การวิจัยของเด็กปฐมวัยเด็กขาดสารอาหาร

ประวัติและความเป็นมา

          นับแต่ก่อตั้งมา สถาบันโภชนาการได้ทำงานวิจัยเพื่อส่งเสริมภาครัฐ ในการแก้ปัญหาโภชนาการ ของชาติอย่างต่อเนื่อง ตามกระแสการเปลียนแปลงของสภาพปัญหาที่เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

          ผลงานวิจัยของสถาบันโภชนาการ ได้ถูกส่งต่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งในประเทศและ ภูมิภาค เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาทุพโภชนาการและพิษภัยในอาหาร นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านอาหารและโภชนาการ และพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชน

ทศวรรษที่ 1 (พ.ศ. 2520-2529)

          สถาบันเน้นการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารที่ รุนแรง ทั้งในแม่และเด็ก ในกลุ่มคนยากจนในชนบท โดยมีผลงานที่มีผลกระทบต่อสุขภาวะของประชาชนตลอดจนการพัฒนาประเทศและภูมิภาค ดังนี้

โครงการศึกษาเรื่องโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

          การได้รับโปรตีนต่ำ  และการกินผักที่มีออกซาเลทสูง ส่งผลให้เกิดการสะสมผลึกของออกซาเลท จนไม่สามารถถูกขับออกทางปัสสาวะทำให้เกิดนิ่ว แนวทางการแก้ไขโดยเพิ่มการกินอาหารที่มีโปรตีน จากเนื้อสัตว์และถั่ว ซึ่งมีฟอสฟอรัสสูง และดื่มน้ำมากขึ้น

โครงการพัฒนาสุขภาพอนามัยโภชนาการ และกำลังคนระดับหมู่บ้าน (โครงการหนองไฮ)

          การบูรณาการความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ทำให้ได้รูปแบบการแก้ปัญหาโภชนาการแม่และเด็ก ที่เหมาะสมกับชุมชน และพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน สามารถใช้เป็นต้นแบบสำหรับการขยายใช้ไปทั่วประเทศ

โครงการศึกษาและพัฒนาอาหารเสริม

          การคิดค้นสูตรอาหารเสริมที่ผลิตจากอาหาร ที่มีในท้องถิ่น ที่ทำจากข้าว ถั่ว งา แล้วหารูปแบบการผลิต และกระจายอาหารเสริม ในระดับชุมชน โดยใช้การตลาดเชิงสังคม เป็นต้นแบบของอาหารเสริมทารก ที่ใช้แก้ปัญหาทุพโภชนาการ ในชนบทในทศวรรษต่อมา

โครงการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการกินของคนไทย

          การวิจัยเพื่อการพัฒนาบริโภคนิสัยที่ดี ต่อสุขภาพอนามัย อันจะส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยประสานงานกับนักวิชาการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทำให้เข้าใจถึงต้นเหตุความเชื่อ และหาแนวทางปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคของคนไทย

โครงการวิจัยโลหิตจางในหญิงมีครรภ์

          การวิจัยผลของการเสริมธาตุเหล็กในหญิงมี ครรภ์ พบว่าการเสริมธาตุเหล็กในปริมาณ 120 มิลลิกรัม/วัน ตั้งแต่ช่วงกลางของการตั้งครรภ์มีผลป้องกันโลหิตจาง ในหญิงมีครรภ์ได้ และการให้ โภชนศึกษาที่เหมาะสม รวมทั้งการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน ช่วยเพิ่มประสิทธิผลของมาตรการดังกล่าว

ทศวรรษที่ 2 (พ.ศ. 2530-2539)

          โครงสร้างของประเทศที่กำลังเปลี่ยนจาก เศรษฐกิจภาคการเกษตร มาเป็นภาคอุตสาหกรรม ทำให้สังคมไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบท มาสู่ความเป็นสังคมเมืองมากยิ่งขึ้น ปัญหาโภชนาการเกินมีมากขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเกิดร่วมกับการขาดวิตามินและแร่ธาตุ (Double Burden) ประชากรเริ่มมีความตื่นตัวกระแสอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ปัญหาการขาดสารอาหารที่พบ ในช่วงทศวรรษที่ 1 ลดระดับความรุนแรงลง ภาครัฐมุ่งส่งเสริมให้มีการส่งออกมากขึ้น

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมสารอาหาร และศึกษาการใช้ประโยชน์ในร่างกาย

          ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการเสริมสารอาหาร เช่น วิตามินเอ เหล็ก ไอโอดีน แคลเซียม และอื่นๆ ได้ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการขาดสารอาหารเหล่านั้น ในประชากร นอกจากนี้ยังมีการทดสอบการใช้ประโยชน์ของสารอาหาร ที่เสริมลงไปในร่างกาย ทั้งในระดับ in vitro และ in vivo

การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อแก้ปัญหาโภชนาการเกิน และศึกษาผลต่อร่างกาย

          การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและส่วนประกอบ อาหาร ที่มีการปรับลดปริมาณโซเดียมและน้ำตาล ปรับสัดส่วนกรดไขมันให้เหมาะสม ลดพลังงาน หรือเสริมใยอาหารและมีการนำไปทดลองในมนุษย์ ผลิตภัณฑ์บางส่วนได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ไปยังผู้ประกอบการและผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์แล้ว

การวิจัยความปลอดภัยของอาหาร

          การศึกษาสารเจือปนในอาหาร ที่เชื่อมโยงกับการเกิดโรคมะเร็ง และแนวทางการป้องกัน การศึกษาฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์โดยเทคนิค Ames’Test นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาความปลอดภัยของอาหาร ที่ผลิตจากสถานประกอบการขนาดกลางและเล็ก ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ที่กำกับดูแลมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง สามารถนำไปปฏิบัติได้

การจัดทำฉลากโภชนาการ

          สถาบันเป็นหน่วยงานแห่งแรกในประเทศไทยที่ สามารถ ให้บริการวิเคราะห์ และประเมินข้อมูล เพื่อจัดทำฉลากโภชนาการประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตามข้อกำหนด และวิจัยในการจัดทำฉลากโภชนาการของประเทศไทย ให้เหมาะสม

การพัฒนาฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย

          สถาบัน ในฐานะศูนย์กลางเครือข่ายระบบข้อมูล ทางด้านอาหาร ของภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Network of Food Data System of ASEANFOODS) ในเครือข่าย (International Network of Food Data System: INFOODS) ได้นำฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร ในประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน จัดทำเป็นฐานข้อมูลอาหารของภูมิภาคอาเซียนอย่างเป็นระบบ และจัดทำในรูปแบบของหนังสือ และสื่ออิเลคโทรนิคส์

การค้นหารูปแบบของการสื่อสารเพื่อพัฒนา และส่งเสริมพฤติกรรมโภชนาการ

          การวิจัยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ ประชากร เพื่อลดปัญหาอันเกิดจากการขาดวิตามินเอ โดยนำหลักการตลาดเพื่อสังคมมาประยุกต์ใช้ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะนำไปปฏิบัติจริงได้ (Research for Change or Action) เป็น โครงการตัวอย่างต้นแบบที่มีประสิทธิภาพ ในการสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในหลายระดับอย่างต่อเนื่อง

ทศวรรษที่ 3 (พ.ศ. 2540-2549)

          เน้นการพัฒนา“คน”ตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติโดยการเตรียมความพร้อม ของเด็กปฐมวัย  พัฒนาสุขภาพและพลานามัย ที่มุ่งเสริมสร้างโอกาสให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า และมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรค การแก้ปัญหาลักษณะ Double Burden ต้องใช้การวิจัยแบบสหสาขาวิชาที่มีการสร้างองค์ความรู้ ในเชิงลึกมากขึ้น

การประเมินภาวะโภชนาการ

          สถาบันดำเนินการสำรวจการบริโภคอาหารของคน ไทย (National Food Consumption Survey) เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินด้านความเพียงพอ ทางโภชนาการและความเสี่ยงด้านความปลอดภัย จากการบริโภคอาหาร  นอกจากนี้ยังมีการวิจัยสร้างเครื่องมือ ในการประเมินภาวะโภชนาการ ในรูปโปรแกรมคอมพิวเตอร์

การพัฒนาพันธุ์ข้าวอุดมสารอาหาร

          สถาบันได้ร่วมงานกับเครือข่ายนักวิจัย จากหน่วยงานด้านการเกษตร ในการปรับปรุงและคัดเลือกสายพันธุ์ข้าว เพื่อให้มีคุณค่าทางโภชนาการ และสารสำคัญที่เพิ่มขึ้น

การวิจัยด้านอาหารไทย

          สถาบันดำเนินการวิจัย “อาหารไทย” อย่างครบวงจร ตั้งแต่การศึกษาคุณค่าของอาหารไทยเพื่อสุขภาพ ปริมาณ สารพฤกษเคมี (Phytochemicals) การจัดทำตำรับอาหารและสำรับเพื่อสุขภาพ  การศึกษาคุณสมบัติต่างๆ ในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

การพัฒนาโภชนาการอย่างมี ส่วนร่วม เพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลง ในระดับพื้นที่และนโยบายด้านโภชนาการของเด็ก และเยาวชน โดยเน้นการเผยแพร่สื่อสาร และพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการ

          การวิจัยเพื่อพัฒนาโภชนาการในรูปองค์รวม ที่เน้นการเผยแพร่สื่อสารและพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการ  เพื่อนำความรู้ทางด้านโภชนาการมาประยุกต์ใช้ ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โครงการได้รับรางวัลเกียรติยศ ในการประกวดโครงการสร้างกำไร ให้สุขภาพชุมชน ของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติร่วมกับสำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย และองค์การอนามัยโลก

อาหารโภชนาการเชิงรุก

          สถาบันโภชนาการ ร่วมกับ กองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการขับเคลื่อนงานอาหาร และโภชนาการเชิงรุก ในรูปภาคีเครือข่าย เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในทารกและเด็ก ให้มีพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา อย่างเต็มศักยภาพ และควบคุมปัจจัยเสี่ยงภาวะโภชนาการเกิน ในเด็ก ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี และป้องกันโรคเรื้อรังในกลุ่มประชาชนทั่วไป

งานวิจัยปัจจุบัน

          ในทศวรรษที่ 4 (พศ. 2550-2560) สถาบันยังคงมีการดำเนินงานวิจัยหลายด้านอย่างต่อเนื่อง จากช่วงที่ผ่านมา เพื่อสานต่อทั้งการสร้างองค์ความรู้ใหม่ และการสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน สถาบันต้องเตรียมความพร้อมให้สังคมไทย ที่กำลังเคลื่อนเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aging society) มากขึ้น โดยงานวิจัยต้องสามารถเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสม ในการลดผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ยังคงมีส่วนในการพัฒนาประเทศและไม่สร้างภาระให้กับภาครัฐ ในด้านสาธารณสุขจนมากเกินไป

          นอกจากนี้ สถาบันได้ร่วมกับภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินงานวิจัย เพื่อสร้างเสริมความมั่นคงทางด้านอาหาร และโภชนาการในห่วงโซ่อาหาร ทั้งในด้านคุณภาพอาหาร คุณค่าทางโภชนาการ ความปลอดภัยของอาหาร และอาหารศึกษา เพื่อสนองตอบนโยบายของชาติ ในความพยายามแก้ปัญหาอาหารและโภชนาการ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรและการส่งออก

    

ทั้งนี้งานวิจัยที่ดำเนินการในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มงาน ดังนี้

  1. การพัฒนาเครื่องมือและตัวชี้วัดในการประเมินสุขภาวะที่เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ
  2. การศึกษาองค์ประกอบ กระบวนการ กลไกและประสิทธิผลที่เกี่ยวข้องกับอาหารและ double burden of malnutrition
  3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อลดความเสี่ยงและ/หรือความรุนแรงของโรค
  4. พิษวิทยาและความปลอดภัยทางอาหาร
  5. การประยุกต์ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนให้เกิดพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ

             Link   https://www.inmu.mahidol.ac.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อัพเดทล่าสุด