https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาหารโรครูมาตอยด์ โรครูมาตอยด์ อาการ โรครูมาตอยด์ อาหาร MUSLIMTHAIPOST

 

อาหารโรครูมาตอยด์ โรครูมาตอยด์ อาการ โรครูมาตอยด์ อาหาร


956 ผู้ชม


อาหารโรครูมาตอยด์ โรครูมาตอยด์ อาการ โรครูมาตอยด์ อาหาร

              อาหารโรครูมาตอยด์


กินอะไร เลี่ยงอะไร ในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid)


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)เป็น ความผิดปกติเรื้อรัง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันรุกรานเนื้อเยื่อในร่างกายหลายแห่งโดยเฉพาะส่วนข้อ ทำให้เกิดการอักเสบและทำให้ข้อเสื่อม  อาการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายดี ส่วนระยะที่อาการกำเริบ ผู้ป่วยจะมีอาการเมื่อยล้า เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ     กล้ามเนื้อและข้อเกร็ง(พบมากในช่วงเช้า) ข้อเปลี่ยนเป็นสีแดง บวม ปวด นิ่ม โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้างของร่างกายสมดุลกัน มักเกิดกับข้อเล็ก  หากทิ้งไว้เรื้อรัง จะลุกลามมีผลทำลายอวัยวะอื่นๆ เช่นปอด หัวใจ เม็ดเลือด ทำให้ต่อมน้ำตาฝ่อ ตาแห้งฝืด ฯลฯ 

จะรับประทานอาหารอะไรได้บ้างที่ไม่มีผลทำให้อาการกำเริบ?

อาหารที่ไม่มีผลกระตุ้นให้เกิดอาการปวดข้อ ที่มีบทความต่างประเทศแนะนำไว้ ได้แก่

  • ข้าวกล้อง
  • ผลไม้ที่ผ่านความร้อน หรือทำแห้ง ได้แก่ เชอรี่ แครนเบอรี่ ลูกแพร์ ลูกพรุน (ยกเว้น ผลไม้ตระกูลส้ม กล้วยลูกพีช หรือมะเขือเทศ)
  • ผักสีเขียว เหลือง และส้ม ที่ผ่านความร้อน ได้แก่ หัวอาร์ติโช้ค หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ ผักกาดแก้ว ผักโขม ถั่วฝักยาว มันเทศ มันสำปะหลัง และเผือก เป็นต้น
  • น้ำ ได้แก่ น้ำธรรมดา หรือ โซดา
  • เครื่องปรุงรส ได้แก่ เกลือปริมาณปานกลาง น้ำเชื่อมเมเปิ้ล และสารสกัดวานิลา

ควรหลีกเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง?

                อาหารที่มีผลกระตุ้นให้อาการกำเริบ คือ ผลิตภัณฑ์นมทุกชนิด ทั้งจากนมวัวและนมแพะข้าวโพด เนื้อสัตว์ทุกชนิด ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวราย ไข่ ผลไม้ตระกูลส้ม มันฝรั่ง มะเขือเทศ ถั่ว กาแฟ

อาหารอื่นที่อาจจะรับประทานได้ หรือควรจะหลีกเลี่ยงเพิ่มเติม มีอะไรบ้าง?

อาหารบางชนิดที่อาจจะกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ในบางคน แต่ไม่กระตุ้นอาการในคนกลุ่มใหญ่ เช่น เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ กล้วย ช็อกโกแล็ต มอลต์ ไนเตรต หอมใหญ่ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง น้ำตาลอ้อย และเครื่องเทศบางชนิด

หมายเหตุ     บทความสั้น เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ จากภาควิชาอาหารเคมี ลำดับที่ 4

Link    https://www.pharmacy.mahidol.ac.th

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


              โรครูมาตอยด์ อาการ

    

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ – 6 วิธีในการสู้กับอาการเจ็บปวด

อาธริน็อกซ์ Arthrinox รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
การมีชีวิตอยู่กับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
อาจ จะเป็นเรื่องที่น่าเจ็บปวดมาก มันอาจจะหมายถึงการอยู่กับความเจ็บปวดเรื้อรังที่ทนนาน ทำให้อ่อนล้าและข้อแข็งเป็นเวลาหลายปี มันยังสามารถทำให้คุณทรมานไปจนถึงลมหายใจสุดท้ายเลยก็ได้ 

โรค ข้ออักเสบรูมาตอยด์คือโรคที่เซลล์เม็ดเลือดขาวนั้นเป็นปัญหาต่อสุขภาพร่าง กาย โดยเฉพาะข้อต่อและกระดูกอ่อนโดยไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน  ถ้าคุณกำลังเป็นโรคนี้อยู่แล้วล่ะก็ คุณอาจจะเจอกับช่วงเวลาที่ลำบากมากช่วงหนึ่ง แต่เหมือนกับโรคอื่นๆ คุณยังสามารถเลือกใช้วิธีต่างๆในการช่วยให้คุณลดความเจ็บปวดจากอาการต่างๆ ของโรคที่ทำให้ทุพพลภาพนี้ได้ นี่คือคำแนะนำเล็กๆน้อยๆที่อาจจะช่วยให้คุณจัดการกับความเจ็บปวดเหล่านี้ เมื่อโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นยังอยู่ไกลจากตัวคุณ 

รักษาสุขภาพที่ดีในการใช้ชีวิต มันไม่มีคำว่าสายที่คุณจะเริ่มมีชีวิตอยู่พร้อมกับสุขภาพที่ดี การลดน้ำหนักเป็นสิ่งที่ดีสำหรับข้อต่อของคุณ ยิ่งคุณมีน้ำหนักน้อยเท่าไร แรงดันบนข้อต่อของคุณก็จะน้อยลงไปด้วย ดังนั้นคุณก็จะรู้สึกปวดน้อยลง ดังนั้น จงเริ่มรับประทานอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อ ที่จะรักษาน้ำหนักของคุณให้อยู่ในช่วงที่ดีพอเหมาะ 

ทานยาเพื่อลดความเจ็บปวด :  ไม่ว่าคุณจะเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในขั้นไหนแล้วก็ตาม การกินยาต้านการอักเสบเช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน และ นาโปรเซน  อาจจะช่วยลดอาการปวดและอักเสบให้น้อยลงได้ อย่างไรก็ตาม โปรดระลึกอยู่เสมอว่ายาทุกชนิดนั้นมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดผลข้างเคียง ดังนั้น ให้อ่านคำเตือนในการใช้ยาเหล่านี้ให้ดี เพราะมันอาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือนำไปสู่ภาวะเลือด ออกในทางเดินอาหารได้  ทางที่ดีนะครับ ให้กินยาพวกอะเซตามิโนเฟน หรือพาราเซตามอล ซึ่งสามารถช่วยคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ

ยืดบริเวณข้อต่อเหล่านั้น การ ยืดเส้นยืดสายนั้นคือส่วนสำคัญในการออกกำลังกาย เพราะว่ามันเป็นการช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นได้อย่างดีเยี่ยม ในขณะที่คุณกำลังยืดข้อต่ออยู่นั้น ให้หยุดเมื่อคุณรู้สึกไม่ค่อยสบายและให้จับบริเวณข้อต่อประมาณ 10 – 30 วินาทีก่อนที่จะเลิกทำ


ลองยกน้ำหนัก ถ้าการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของคุณแล้วมันจะนำ ประโยชน์มาให้คุณได้มหาศาล การออกกำลังกายพอสมควรอย่างเช่นการยกน้ำหนักหรือแอโรบิคจะช่วยคุณในการควบ คุมอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ในกรณีนี้การยกน้ำหนักถือเป็นการออกกำลังกายที่สมบูรณ์แบบเนื่องจากมัน สามารถช่วยในเรื่องความยืดหยุ่น พละกำลังและสมดุล มันจึงช่วยให้คุณสามารถจัดการกับโรคนี้ได้อย่างดี


ก่อนที่คุณจะยกน้ำหนัก อย่าลืมที่จะยืดเส้นยืดสายสักนิดก่อนนะครับ เริ่มต้นด้วยการทำซ้ำประมาณ 8 – 10 ครั้ง คุณอาจจะเริ่มต้นด้วยการไม่ใช้น้ำหนักเลยก็ได้ แล้วค่อยๆเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆตามความก้าวหน้าของการฝึก ค่อยๆยกน้ำหนักขึ้นช้าๆและพยายามที่จะป้องกันการกระทำใดๆที่อาจจะเป็น อันตรายต่อข้อต่อและกระดูกอ่อน ทำตัวให้สบายๆครับ แล้วพักเมื่อข้อต่อของคุณเริ่มปวดเพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดบนข้อต่อซึ่งคุณมี ปัญหาอาการบาดเจ็บอยู่แล้ว


ลองการบำบัดโรคทางเลือก หลายๆ คนวางใจในผลแง่บวกจากการทำการบำบัดด้วยน้ำและการรำไทแก็กในการบรรเทาอาการ ของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แค่จำไว้ว่าคุณจะต้องหาผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ก่อนที่จะลงมือในการรักษาด้วย วิธีเหล่านี้ และจำไว้เสมอว่าคุณจะต้องปรึกษากับแพทย์ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติใดๆก็ตาม

พยายามต่อสู้ที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับโรค ความรู้คือพลัง เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสในการต่อสู่กับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นี้ คุณจะต้องพยายามเรียนรู้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้เกี่ยวกับโรคนี้ มีข้อมูลจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์มากมายซึ่งสามารถให้ข้อมูล ที่คุณอาจจะต้องการ และเพื่อมีปัญหาพยายามคุยกับหมอเพื่อให้คำปรึกษาคุณเกี่ยวกับการหาข้อมูล เกี่ยวกับโรคหรือสถานที่ที่จะให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม

บทความนี้เป็นของ https://www.joelookyoung.com  ถ้าจะนำไปเผยแพร่ต่อกรุณาให้ Credit ด้วยนะครับ

Link      https://www.joelookyoung.com

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

            โรครูมาตอยด์ อาหาร

รู้เท่าทันและป้องกัน โรครูมาตอยด์

รู้เท่าทันและป้องกัน โรครูมาตอยด์

รูมาตอยด์
โรครูมาตอยด์ Rheumatoid

รู้เท่าทันและป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
(Healthplus)
         โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือ โรครูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่รุนแรง และสร้างความทรมานต่อผู้ป่วยเป็นเวลาหลายๆ ปี และถ้าได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้องหรือช้าเกินไป สมรรถภาพของข้อจะเสียไป เกิดความพิการ ซึ่งบางครั้งไม่สามารถแก้ไขได้
         สาเหตุ การเกิด โรครูมาตอยด์ ยังไม่ทราบแน่นอน เชื่อว่าเริ่มจากมีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อและเยื่อบุชนิดต่างๆ ของร่างกาย อันเป็นผลจากการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคบางชนิด เชื้อไวรัสหรือสารพิษบางอย่าง และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
         โรครู มาตอยด์ จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5 เท่า อาการอาจเริ่มปรากฏในช่วงอายุเท่าใดก็ได้ แต่จะพบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี ถ้าหากเริ่มเป็น โรครูมาตอยด์ ตั้งแต่เด็ก ก็มักจะมีอาการรุนแรงในเด็กจะมีอาการต่างจากผู้ใหญ่
รู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรครูมาตอยด์
         1. มีการอักเสบเรื้อรังของข้อหลายๆ ข้อทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 อาทิตย์
         2. ข้ออักเสบ พบบ่อยที่บริเวณ ข้อมือ ข้อโคนนิ้วมือ ข้อกลางนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ซึ่งจะมีอาการปวด บวม และกดเจ็บตามข้อต่างๆ ถ้าเป็นมานานจะมีข้อผิดรูปได้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุข้อ การคั่งของเลือดในบริเวณข้อ ขาดการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัด กินอาหารไม่เพียงพอหรือการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ
         3. มีอาการข้อฝืด ข้อแข็ง เคลื่อนไหวลำบาก ในช่วยตื่นนอนตอนเช้า มักต้องใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมงจึงจะเริ่มขยับข้อได้ดีขึ้น ในช่วยบ่ายๆ มักจะขยับข้อได้เป็นปกติ
         4. พบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยหมดทั้งตัว น้ำหนักลด มีไข้ต่ำๆ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ หลอดเลือดอักเสบปุ่มรูมาตอยด์ใต้ผิวหนัง และภาวะเลือดจาง
         5. ตรวจเลือดพบมีรูมาตอยด์แฟคเตอร์ แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะตรวจเลือดพบเพียงร้อยละ 50-70 เท่านั้น ดังนั้นถ้าตรวจไม่พบรูมาตอยด์ ก็ไม่ได้ หมายความว่าไม่เป็นโรครูมาตอยด์แต่ผู้ที่มีปริมาณรูมาตอยด์แฟคเตอร์สูงจะมี อาการรุนแรงกว่า
         6. เจาะน้ำในข้อไปตรวจ
         7. เอกซเรย์ ไม่จำเป็น ยกเว้นในกรณีที่ใช้ประเมินว่าข้อถูกทำลายไปมากน้อยเพียงใด เพราะอาจจะต้องผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง มีอาการเป็นๆ หายๆ สามารถใช้ข้อต่างๆ ได้เกือบเท่ากับคนปกติ
         จะ มีผู้ป่วย โรครูมาตอยด์ ส่วนน้อยประมาณร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีอาการรุนแรง ทำให้เกิดความพิการมีข้อบิดเบี้ยวผิดรูปร่างจนใช้งานไม่ได้ และมีผู้ป่วยจำนวนน้อยมาก ที่จะมีอาการอักเสบของอวัยวะอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ตา หัวใจ หลอดเลือด ปอดม้าม เป็นต้น
         โรครู มาตอยด์ เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ก็เป็นโรคที่สามารถควบคุมอาการได้ แต่ต้องใช้เวลานาน ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องมีความอดทนในการรักษา โรครูมาตอยด์ ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์หรือเปลี่ยนยาเอง เพราะจะทำให้การรักษาไม่ต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลเสียอย่างมากต่อตัวผู้ป่วยเอง โดยเฉพาะเมื่อเกิดความพิการขึ้นแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้
         สำหรับ ข้อที่มีการอักเสบอยู่แล้ว การรักษาจะเป็นการควบคุมโรคไม่ให้เป็นมากขึ้น ดังนั้นข้อก็อาจจะบวม ผิดรูปอยู่เหมือนเดิม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการรักษาไม่ได้ผล
         โรครู มาตอยด์ มีความรุนแรงแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ดังนั้นแพทย์ก็จะให้การรักษาแตกต่างกันไป โดยเฉพาะในระยะแรกแพทย์อาจต้องปรับเปลี่ยนยาไปมา เพื่อหาว่ายาตัวใดเหมาะสมกับผู้ป่วยคนนั้นมากที่สุด
         ส่วน ผลการรักษา โรครูมาตอยด์ จะดีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาที่เป็นโรค ความรุนแรงของโรค การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย โรครูมาตอยด์ โดยเฉพาะการทำกายภาพบำบัดของข้อและการใช้ข้ออย่างถูกวิธี
แนวทางการรักษา โรครูมาตอยด์
1. การทำกายภาพบำบัดของข้อ เช่น

         ประคบด้วยความร้อน หรือแช่ในน้ำอุ่น
         ใส่เฝือกชั่วคราวในช่วงที่อักเสบมากหรือตอนกลางคืน เพื่อลดอาการปวดและป้องกันข้อติดผิดรูป
         ขยับข้อให้เคลื่อนไหวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันข้อติดแข็ง โดยเฉพาะนิ้วมือและข้อมือ
         ออก กำลังให้กล้ามเนื้อแข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อนิ้วมือ มือ และแขน ซึ่งอาจจะใช้วิธีบีบฟองน้ำ ลูกบอลยาง ลูกเทนนิสหรือเครื่องออกกำลังที่ใช้มือบีบอื่นๆ รวมถึงการยกน้ำหนัก 1-3 กิโลกรัมร่วมด้วยก็ได้
         ใช้ ข้ออย่างถูกวิธี พยายามกระจายแรงไปหลายๆ ข้อ เช่น ใช้มือสองข้างช่วยกันจับสิ่งของแทนการใช้มือข้างเดียว ใช้ข้อใหญ่ออกแรงแทนข้อเล็ก เช่น ใช้แขนเปิดประตูแทนใช้ข้อมือ หรือ ใช้อุ้งมือเปิดฝาขวดแทนใช้นิ้วมือ
         ปรับ สภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม เช่น ก๊อกน้ำควรเป็นแบบคันโยก ไม่ควรใช้แบบบิด-หมุน ประตูควรเป็นแบบเลื่อนเปิด-ปิด ไม่ควรใช้ลูกบิด
2. ยากลุ่มระงับการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
         ใน ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง จะช่วยลดอาการปวดและบวมตามข้อได้ค่อนข้างดี และเมื่อเลือกใช้ยาตัวใดก็ควรรับประทานยาติดต่อกันอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่น
         ผล ข้างเคียงที่สำคัญของยาทุกตัวในกลุ่มนี้ คือ ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ แสบท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร อาจจะมีบวมบริเวณหน้าแขน ขา ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังและ ต้องระวังการใช้ยาในผู้สูงอายุ
         ยากลุ่ม นี้จะมียาใหม่ที่มีผลข้างเคียงเกี่ยวกับการเกิดแผลในทางเดินอาหารน้อย แต่จะมีราคาค่อนข้างแพง จึงควรเลือกใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในทางเดินอาหาร เช่น ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่เคยมีแผลในทางเดินอาหาร
3. ยากลุ่มสเตียรอยด์
         ยากลุ่ม นี้มีทั้งชนิดกินและฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าข้อ จะใช้เมื่อการอักเสบรุนแรง แต่ไม่ควรใช้ในขนาดสูงหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะผลข้างเคียงมาก เช่นกระดูกพรุน ไตวายเฉียบพลัน ติดเชื้อง่าย เมื่อหยุดยาก็จะกลับมีอาการขึ้นอีก ในช่วงที่มีการอักเสบมาก อาจใช้ในขนาดสูง เมื่ออาการดีขึ้นก็ควรลดยาลง

4. ยากลุ่มยับยั้งข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ออกฤทธิ์ช้า

         เป็น ยาที่ค่อนข้างอันตราย มีผลข้างเคียงมาก แพทย์จึงจะใช้ในกรณีที่ใช้ยากลุ่มอื่นแล้วไม่ได้ผล หรือในผู้ที่มีอาการอักเสบรุนแรง มีรูมาตอยด์แฟคเตอร์ในเลือดสูง ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ช้า กว่าจะเห็นผลต้องให้ยาติดต่อกันอย่างน้อย 2 เดือนขึ้นไป
         ยา ที่ใช้บ่อย และค่อนข้างปลอดภัยคือ ยาคลอโรควิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย และสามารถลดการอักเสบในโรครูมาตอยด์ได้ด้วย โดยมักจะใช้ควบคู่ไปกับยาในข้อ 2 มีผลข้างเคียงคือ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ ตาพร่า ผื่นคัน ผิวแห้ง ผิวคล้ำ ซึ่งจะลดอาการทางผิวหนังได้โดยหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรง แต่ถ้าเกิดผลข้างเคียงมาก เช่น ตาพร่า ก็ต้องหยุดใช้ยา
         ยา ตัวอื่นในกลุ่มนี้ เช่น ยา MTX ยาเกลือทอง ยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย และยังมียาใหม่ๆ ที่เริ่มนำมาใช้อีกหลายชนิด ซึ่งเป็นยาที่อันตราย มีผลข้างเคียงสูง ถ้าจะใช้ต้องอยู่ภายได้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด
5. การผ่าตัด เช่น
         ผ่า ตัดเลาะเยื่อบุข้อที่มีการอักเสบออก ผ่าตัดเย็บซ่อมหรือย้ายเส้นเอ็น ผ่าตัดเชื่อมข้อติดกัน ผ่าตัดกระดูกปรับแนวข้อให้ตรงขึ้น ผ่าตัดใส่ข้อเทียม การผ่าตัดถือว่าเป็นการรักษาปลายเหตุเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น

  เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย 

      คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ  


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 

อัพเดทล่าสุด